เรียน ดร.
เมื่อปี 54-55 ได้มีนโยบายการสร้างผังเมืองซึ่งเป็นที่รู้กันว่ากระทบต่อพรบ.ที่ดินโดยตรง ซึ่งไปชนกับยุทธศาสตร์ที่วางไว้ตั้งแต่ปี 2497 แบ่งเป็นที่ราชพัสดุ ที่กรม ที่ทรัพสิน ที่ส่วนตัว01 ที่การทาง ที่ป่าอุทยาน ตอนวางแผนผังเมืองนั้นได้วางไปถึง เขตเมืองล้อมด้วยเขตที่พักอาศัยล้อมด้วยเขตเกตรกรรมและวงนอกคือเขตอุตสาหกรรมการเกษตรและนิคมอุตสาหกรรม ทำให้ไม่สามารถวางผังระบบกริดหรือระบบกระจายจากโหนดได้เนื่องด้วยต้องตัดถนนหรือสาธารณูปโภคผ่านที่เจ้า(ของ) ประเทศไทยจึงมีระบบการสร้างเมืองแบบสะเปะสปะ และแนวคิดเขตนิคมอุตสาหกรรมการเกษตรก็ล้มลงไม่เช่นนั้นคนในพื้นที่พักอาศัยวิ่งเข้าเมือง เกษตรกรวิ่งออกนอกเมืองเข้านิคม ลดความแออัดเขตเศรษฐกิจและแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตคนเมือง อีกทั้งมีการแบ่งโซนอุดมการ์ณคนอีกด้วยเป็นการสร้างพื้นที่ยืน ทุนเสรีขนาดเล็กอยู่เขตดาวน์ทาวน์ ทุนเสรีขนาดใหญ่อยู่เขตชายขอบ อนุรักษ์นิยมอยู่เขตการเกษตรหรือเขตสีเขียว เขตที่พักอาศัยเป็นที่กึ่งกลางระหว่างคนเมืองและคนกึ่งชนบท อีกทั้งคนชั้นล่างจะได้รับการยกระดับเนื่องด้วยนิคมการเกษตรใช้เทคโนโลยีทำให้เกษตรกรจะรู้ราคาตลาดโลกทันที สินค้าการเกษตรมีกลไกระดับโลกควบคุมไม่ใช่โรงสีหรือโรงงานแปรรูปควบคุม จุดนี้ที่เขากลัวมาก เมื่อเขตดาว์นทาว์นเกิดคนส่วนใหญ่จะไหลเข้าหาความเจริญที่เป็นเขตตึกสูงที่รองรับคนได้มากโดยใช้พื้นที่น้อย ทำให้พื้นที่ป่ามีสูงขึ้นคล้ายคนสมัยก่อนทิ้งบ้านเข้ากรุงแต่นี่จะเป็นย้ายรกรากเข้าเขตเมืองที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบรองรับ (ถือเป็นการรับคำท้าที่คุณกรณ์ บอกว่าแน่จริงปฏิรูปที่ดิน พอทำได้จริงก็เล่นนอกเกม)
(ปล. ใบนส4จ หรือเรียกว่าโฉนดนกแดงนั้นสมัย รศ127 เป็นใบกำหนดเก็บภาษีไม่ใช่กำหนดสิทธิครอบครองจนมาถึงยุค จอมพล ป. จึงให้สิทธิในการซื้อขายแลกเปลี่ยน สมัยก่อนคนไม่เห็นค่าที่ดิน บางแปลงไร่ละไม่กี่พันเอาไปวางกันในบ่อน จนโฉนดกลายเป็นทองในยุค ท่านชาติชาย ถึงขั้นต้องยึดอำนาจกลางอากาศทันที)
ด้วยความเคารพอย่างสูง
เสรีชนนิรนาม