An essence of truth here. Must be corrected.
เป็นบทสนทนาสั้นๆของฝรั่ง 2 คน
ที่ดูแล้วเดาว่าน่าจะเป็น "อาจารย์"ของโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งบนถนนสุขุมวิท
ทั้งคู่คุยกันด้วยสีหน้าเบื่อหน่ายเมืองไทย
ในระหว่างนั่งรอแซนด์วิชอยู่ในร้านซับเวย์
ที่ไม่มีลูกค้าอื่นใดนอกจากผม
พวกเขาพูดเรื่องทางเท้าซึ่งในประเทศเรา
ไม่ได้ออกแบบไว้ให้"คน"เดิน
แต่มีไว้ให้พ่อค้าแม่ค้าขายของ
ไว้ให้มอเตอร์ไซค์รับจ้างขี่สวนทางและไว้จอดรถ
แล้วฝรั่งคนหนึ่งก็พูดว่า
"พื้นฐานของคนประเทศผมคือวินัย
แต่พื้นฐานของคนไทยคือความเห็นแก่ตัว"
"คนในประเทศผมจะคิดแล้วคิดอีก"
ถ้าการจอดรถของเขาทำให้ใครลำบาก
และทุกครั้งจะจบลงด้วยการบอกตัวเองว่า "ไม่จอดดีกว่า"
หรือไม่ก็ไปจอดไกลๆ แล้วเดินย้อนมา
แต่คนไทยไม่…
คนไทยจะ "เห็นแก่ตัว" ทุกที่ที่มีจังหวะ
ไม่ว่ามันจะเป็นการจอดบนทางเท้า
บนเลนจักรยานและแม้กระทั่งปากซอย
หรือกลับรถแล้วจอดทันที
เพราะสันดานพื้นฐานของคนไทยคือ"ความเห็นแก่ตัว"
และ "บังคับให้คนอื่นต้องหลบ"
เพื่อให้ตนเองได้รับสิทธิพิเศษหรือความสบายมากที่สุดเสมอ
เมื่อไรที่ความเห็นแก่ตัวของคนไทยไม่ได้รับการตอบสนอง
คนไทยจะเรียกหา"น้ำใจ"
เขาเคยนึกว่า"น้ำใจ"ของคนไทยช่างแสนดี
แต่วันนี้เขารู้แล้วว่า"น้ำใจ"คือข้ออ้างของความเห็นแก่ตัว
ไม่ยอมให้แซงคิวในร้านอาหาร = ไม่มีน้ำใจ
ไม่ยอมให้จอดรถซื้อของกระพริบไฟ = ไม่มีน้ำใจ
[แม้จะทำให้รถติดยาวไปอีก 3 กิโลเมตร]
ไม่ยอมหลบให้รถมอเตอร์ไซค์ที่ขี่สวนเลนบนทางเท้า = ไม่มีน้ำใจ
ฝรั่งคนหนึ่งบอกว่า"น้ำใจ"
คือภาษาไทยคำแรกๆที่เขาเรียนรู้ ตอนมาถึงประเทศนี้
แต่ปัจจุบันมันคือคำที่น่า"ขยะแขยง[Disgusting]"สำหรับเขา
เพราะมันคือการที่คนไทยจ้องจะเอาเปรียบกันทุกวิถีทาง
เท่าที่จะทำได้โดยไม่สนใจใครทั้งนั้น
ตอนผมฟังประโยคแรกว่า"พื้นฐานของคนประเทศผมคือวินัย แต่พื้นฐานของคนไทย
คือความเห็นแก่ตัว"ก็อยากจะค้านเหมือนกัน
แต่หลังจากที่พยายามคิดหาเหตุผล
สุดท้ายผมก็นั่งทานเบอร์เกอร์ต่อไปเงียบๆ
พลางนึกถึงแฟนเก่าสาวญี่ปุ่นที่เคยตกใจ
ตอนเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางเทน้ำแกงจากหม้อลงบนถนน
กับคำถามที่ว่า"แล้วถ้ามีหนูมีแมลงสาปมาทำรัง ใครจะรับผิดชอบ?"
และ"ทำไมเราต้องมีน้ำใจให้คนเห็นแก่ตัว"