ใครทราบพระราชทรัพย์ในหลวงของเรา
31/12/2008 View: 24,825
ใครทราบพระราชทรัพย์ในหลวงของเรา
คนไทยทั่วประเทศมีความสุขที่ได้ร่วมแสดงความจงรักภักดีต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอย
ู่หัว และปลาบปลื้มกับพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่วัน
ที่ 8-13 มิถุนายน 2549 นี้ ในขณะเดียวกัน ก็ได้พบเห็นข้าราชบริพารใกล้ชิด ที่ถวายงานให้กับองค์พระประมุขสูงสุดของชาติ ในพระราชพิธีสำคัญหลายต่อหลายครั้ง นั่นคือ ราชพาหนะคันล่าสุด มายบัค 62 (MAYBACH 62)
มายบัค เป็นรถระดับอัครอลังการแห่งความหรูหรา ที่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของเยอรมันอย่างเดมเลอร์ไครสเลอร์ บรรจงสร้างสรรค์ขึ้นมาจากตำนานในอดีตของตัวเองมาเสกสรรปั้นแต่งใหม่อีกครั้ง ให้กลับมาสู่ความยิ่งใหญ่และเหนือชั้นกว่า โรลสรอยซ์ ค่ายรถหรูสัญชาติอังกฤษ โดยมายบัค ผลิตออกมาคำสั่งซื้อเท่านั้น ซึ่งเดมเลอร์ไครสเลอร์(ประเทศไทย)เคยนำมายบัคมาโชว์ตัวที่งานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ เมื่อกลางปี 2548 ที่ผ่านมาแล้ว โดยกำหนดราคาเบื้องต้นกว่า 100 ล้านบาท มายบัคมีให้เลือกได้สองแบบ รุ่นท็อปสุด มายบัค 62 ที่มีความยาว 6.17 เมตร โอ่อ่ากว้างขวางสุดหรูหรา ตามด้วยรุ่น มายบัค 57 ที่มีความยาว 5.73 เมตร
คุณค่าและความยิ่งใหญ่ของมายบัคอยู่ที่ความเลิศหรู อลังการและความหรูหราของห้องโดยสารที่กว้างขวาง สง่างาม เและนุ่มสบายตลอดการเดินทางของบุคคลระดับที่มีความสำคัญสูงสุด หรูหรา อลังการ ตั้งแต่ด้านหน้าสุดจนถึงเอนพนักเก้าอี้ลงจนสุดด้านหลัง ในรุ่นมายบัค 57 ให้ความยาวของห้องโดยสาร 2245 มิลลิเมตรและรุ่นมายบัค 62 ให้ความยาวระดับคฤหาสน์คลื่อนที่ 2682 มิลลิเมตร เก้าอี้ผู้โดยสาร หลังมีพื้นเหยียดเท้าถึง 1570 มิลลิเมตร ห้องสัมภาระท้ายรถ สามารถบรรจุกระเป๋าเดินทางขนาดใหญ่ 5 ใบในรุ่น มายบัค 62 สามารถปรับเอนเก้าอี้ได้สบายอย่างเหนือชั้น เช่นเดียวกับที่นั่งชั้นหนึ่งของเครื่องบินโดยสารยุคปัจจุบัน ผู้โดยสารเพียงแต่ใช้ปุ่มปรับเก้าอี้แบบสัมผัส จากนั้นเก้าอี้จะเลื่อนอย่างช้าๆ ไปยังตำแหน่งที่ได้ปรับตั้งและเก็บไว้ในหน่วยความจำ โดยเลื่อนปรับได้สูงสุดถึง 47 องศา ในขณะเดียวกัน แผงรองขาและที่วางเท้าจะยื่นออกจากใต้เก้าอี้ออกไปข้างหน้าเพื่อรองรับ จากนั้นผู้โดยสารจะสามารถนั่งเอนได้ด้วยความสะดวกสบายที่สุด
ด้วยความสุขสบายสุดยอดนี้ เก้าอี้ของ มายบัค 62 ยังได้รับการพัฒนาให้มีความปลอดภัยสูงสุดในทุกตำแหน่ง ระบบยึดรั้งของลูกรอกสายเข็มขัด ชุดจำกัดแรงรัดเข็มขัดและถุงลมด้านข้างได้รวมไว้กับพนักพิงหลัง มั่นใจได้ว่าผู้โดยสารตอนหลังจะได้รับการปกป้องจากภยันตรายเมื่อปรับเอนเก้าอี้นั่ง
มายบัค 62 ยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสำนักงานเคลื่อนที่ได้ด้วย ด้วยเหตุนี้วิศวกรรมใน Sindelfingen ได้พัฒนาโต๊ะพับทำด้วยอลูมินั่มสำหรับเก้าอี้หลังแต่ละคู่ พื้นโต๊ะแต่ละตัวแยกออกเป็นสองส่วน ขอบโต๊ะตกแต่งด้วยไม้ประดับคุณภาพสูง โต๊ะพับ ( เป็นอุปกรณ์มาตรฐานของ Maybach 62 ) มีช่องเก็บที่คอนโซลหลังแต่ละด้านเพื่อประหยัดเนื้อที่และสามารถดึงออกมาด้วยห่วงหนั
งเพียงใช้แรงเล็กน้อยเท่านั้น
นอกจากนี้ ที่ช่องเก็บตัวกลางของด้านหลังเป็นจุดรวมแหล่งบันเทิงที่วิศวกร ได้ออกแบบไว้สำหรับผู้โดยสารใช้เพื่อความบันเทิงขณะเดินทาง อันประกอบด้วยเครื่องเล่น DVD ชุด CD 6 แผ่น โทรศัพท์สองชุด ช่องแช่เย็นทำงานด้วยคอมเพรสเซอร์ของตัวเอง ชุดวางขวดแชมเปญและแก้วแชมเปญที่อยู่ในตำแหน่งอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ แผงหน้าปัดโค้งบนเพดานเพื่อให้ผู้โดยสารตอนหลังทราบข้อมูลความเร็วรถขณะนั้น
ไฮไลต์ของมายบัค 62 ที่สร้างความหรูหราอลังการ คือ หลังคาแบบพาราโนรามิคที่สามารถปรับความโปร่งแสงด้วยไฟฟ้า โดยปรับระดับความสว่างที่ส่องเข้าห้องโดยสารนี้จะอาศัยการควบคุมผลึกเหลวให้เรียงตัว
การควบคุมแสงสว่างนี้มีติดตั้งใน มายบัค เป็นรุ่นแรกของโลกยานยนต์
ขุมพลังของมายบัค 62 เป็นสุดยอดแห่งเครื่องยนต์ คือ เครื่องยนต์ 12 สูบ เทอร์โบคู่ ขนาด 5.5 ลิตร ขับพลังงาน 405 กิโลวัตต์ / 550 แรงม้าด้วยแรงบิดสูงสุด 900 นิวตันเมตร ทำให้เครื่องยนต์ \" Type 12 \" เป็นขุมพลังงานทรงพลังด้วยแรงม้าและแรงบิดไร้เทียมทาน
ข้อมูลทางเทคนิค Maybach 62
เครื่องยนต์ 12 สูบ วางเป็นรูปตัว V 3 วาล์วต่อสูบ
ปริมาตรกระบอกสูบ 5513 ซีซี.
ความกว้าง x ช่วงชัก 82.0 x 87.0 มม.
กำลังสูงสุด 550 แรงม้าที่ 5250 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 900 นิวตันเมตร ที่ 2300-3000 รอบ/นาที
อัตราส่วนกำลังอัด 9.0 : 1
ระบบถ่ายทอดกำลัง เกียร์ อัตโนมัติ 5-สปีด
ราคา ไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท
มายบัคได้กลับมาสร้างรถยนต์หรูหราอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การดูแลของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยได้เริ่มออกมา 2 รุ่นได้แก่ มายบัค 57 และ มายบัค 62 มีลักษณะเหมือนกันแตกต่างกันตรงความยาวของตัวถังรถ รถมายบัคถือว่าเป็นรถในระดับหรูหรา ซึ่งราคาใกล้เคียงกับรถบริษัทอื่นเช่น เบนลีย์ หรือ โรลส์-รอยศ์ ในปี พ.ศ. 2548 มายบัคได้ออกรถยนต์รุ่น 57S มีลักษณะเป็นรถสปอร์ต โดยมีเครื่องยนต์ 6 ลิตร V12 เทอร์โบคู่ ผลิตแรงม้าได้สูงถึง 604 แรงม้า และ ทอร์กได้สูงถึง 737 ปอนด์/ฟุต
รถยนต์พระที่นั่ง
1. มายบัค 62 เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 รถยนต์พระที่นั่งทรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
2. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1992 รถยนต์พระที่นั่งสำรองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
3. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1991 รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
รายการราชพาหนะ ไม่รวมรถตามเสด็จ
รถยนต์พระที่นั่งในพิธีการในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
1. มายบัค 62 เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งทรงในปัจจุบัน
2. มายบัค 62 เลขทะเบียน 1ด-1992 ทรงใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งสำรองในปัจจุบัน
3. เมอร์ซิเดส เบนซ์ เอส 600 แอล เลขทะเบียน ร.ย.ล.901 ทรงใช้ในราชการประจำพระองค์ในปัจจุบัน
4. คาดิลแลค ดีทีเอส เลขทะเบียน ร.ย.ล.960 ทรงใช้ในพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ โดยรถพระที่นั่งองค์นี้ เป็นรถที่ได้รับการดัดแปลง โดยนำมาตัดหลังคา ให้เป็นรถเปิดประทุน
รถยนต์พระที่นั่งในพิธีการ - แปรพระราชฐานต่างจังหวัด และรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต
5. มายบัค 62 สีน้ำเงิน-ทอง เลขทะเบียน 1ด-1991
6. บีเอ็มดับเบิลยู 760Li สีครีม เลขทะเบียน 1ด-1993
7. โตโยต้า คัมรี่ 2.4V Navigator สีครีม
8. ฮอนด้า แอคคอร์ด 2.4 i-Vtec EL สีดำ
9. นิสสัน เทียน่า 200JK สีครีม
10. มิตซูบิชิ แลนเซอร์ ซีเดีย 1.8 SEi สีบรอนซ์ฟ้า เลขทะเบียน 1ด-4477
ทรงเก็บไว้ที่ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน
11. โตโยต้า วีออส 1.5G Limited สีดำ
12. โตโยต้า ยาริส 1.5G Limited สีแดง
13. เล็กซัส LS460L สีครีม
14. โตโยต้า อินโนว่า 2.0 สีทอง
15. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก
ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ เชียงใหม่
16. เล็กซัส LS460L สีครีม
17. โตโยต้า อินโนว่า 2.0 สีทอง
18. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก
ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ นราธิวาส
19. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S600 LWB W220 เลขทะเบียน ร.ย.ล.100
20. เมอร์ซิเดส-เบนซ์ S600 LWB W220 เลขทะเบียน ร.ย.ล.100
21. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก
ทรงเก็บไว้ที่ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ สกลนคร
22. เล็กซัส LS460L สีครีม
23. โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ เอ็กเซ็กคลูทีฟ สีขาวมุก
รถยนต์ซึงจัดซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งได้พระราชทานให้หน่วยงานหรือข้าราชบริพารใช้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีรถยนต์มากมายเกินกว่าที่จะนับได้ รถส่วนหนึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ข้าราชบริพารใช้ จะมีทะเบียนเป็น ดส-xxxx โดยรถจำพวกนี้ที่ประชาชนเห็นบ่อยๆ มีดังนี้
24. ฟอร์ด โฟกัส GHIA 1.8L 4Dr. พระราชทานให้เป็นรถทดลองเติมน้ำมันแก๊สโซฮอล์ ใน พระราชดำริ โดยร่วมมือกับ บริษัท ฟอร์ด เซลล์ แอนด์ เซอร์วิส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน
25. ฟอร์ด เรนเจอร์ โอเพ้นแค็บไฮไรเดอร์ พระราชทานเป็นรถในโครงการทดลองข้าว โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ในพระราชดำริ
26. โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ Extra-Cab 2.5G D4D พระราชทานให้มูลนิธิชัยพัฒนาใช้
27. โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส 1.6G พระราชทานให้เป็นรถตัวอย่างก๊าซธรรมชาติเอ็นจีวี
28. เมอร์ซิเดส เบนซ์ S600L W220 พระราชทานให้ พลเอก เปรม ติณณสูลานนท์ องคมนตรี ใช้เป็นรถประจำตำแหน่ง
29. เมอร์ซิเดส เบนซ์ E280 W211 พระราชทานให้เป็นรถตามเสด็จ/ขบวนแดง/พระประเทียบ
ในหลวงของไทยครองตำแหน่งนักลงทุนอันดับ1ของประเทศ
โดยวิลเลียม เมลเลอร์ สำนักข่าวบลูมเบิร์ก
(*บลูมเบิร์กเป็นสำนักข่าวด้านการเงินการลงทุนที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆของโลก-ผู้แปล)
- การถือครองสิริราชย์สมบัติผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์กว่า5,000ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ
-ในปัจจุบันพระเจ้าอยู่หัวทรงมีที่ดิน13,000เอเคอร์ ในนั้นกว่า3,000เอเคอร์อยู่ในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของไทย โดยพื้นที่บางแห่งมีมูลค่ากว่า30ล้านเหรียญต่อเอเคอร์
ทางด้านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย รายงานหุ้นที่ในหลวงของพสกนิกรชาวไทยถืออยู่ในนามของพระองค์ท่านมีดังนี้
1.SAMCO : บริษัท สัมมากร จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจหมู่บ้านสัมมากร
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %
1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 197,414,850 43.87
2 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 45,847,050 10.19
3 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 25,000,000 5.56
2.TIC : บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าของบริษัทประกันภัย
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %
1 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 3,526,567 18.56
5 สำนักงานพระคลังข้างที่ บ/ช วัดพระศรีรัตนศาสดาราม 456,168 2.40
7 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 391,276 2.06
9 สำนักงานพระคลังข้างที่ บ/ช สมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ 299,520 1.58
15 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 214,755 1.13
3. MINT : บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจพิซซ่า และไอศครีมSWENSEN
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %
1 บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 503,478,032 17.19
17 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 42,583,274 1.45
27 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 17,300,800 0.59
28 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสรา 16,988,094 0.58
4.SINGER : บริษัท ซิงเกอร์ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจจักรเย็บผ้าและตู้เย็นเงินผ่อนSINGER
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %
1 SINGER ( THAILAND) B.V. 129,600,000 48.00
12 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช 1,383,770 0.51
ส่วนหุ้นที่ไม่ได้ถือหุ้นในนามของพระองค์ท่าน แต่ผ่านทางสำนักงานทรัพย์สินฯ ตลาดหลักทรัพย์ก็รายงานไว้ดังนี้
1.DVS : บริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) เจ้าของธุรกิจประกันภัย
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) %
1 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 10,475,992 87.30
2 บริษัท กรุงไทยพานิชประกันภัย จำกัด 1,042,200 8.69
3 คณะบุคคลนายวศิน นางกิ่งกาญจน์ โดยนายสมเกียรติ วงศ์รัตน์ 70,460 0.59
2. SCC : บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด(มหาชน) เจ้าของธุรกิจปูนซิเมนต์ กระดาษ ปิโตรเคมี และฯลฯ
ลำดับ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ จำนวนหุ้น (หุ้น) % หุ้น
1 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 360,000,000 30.00
6 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 23,202,000 1.93
7 สำนักงานพระคลังข้างที่
3. SCB : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
1 CHASE NOMINEES LIMITED 42 127,748,066 6.74
5 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 100,265,685 5.29
6 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด 82,010,000 4.33
9 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 50,000,000 2.64
ส่วนตรงนี้เป็นการรายงานของสำนักงานทร้พย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ครับ
เดิมสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ อยู่ในความดูแลรักษาของสำนักงานพระคลังข้างที่ ในสังกัดสำนักพระราชวัง ต่อมา มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรเกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหาก
ษัตริย์ พุทธศักราช 2477 เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2478 โดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ได้แบ่งแยกทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ออกเป็น 2 ประเภท
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีผู้เช่าในความดูแลประมาณ 37,000 สัญญา โดยกระจายอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 25,000 สัญญา ส่วนภูมิภาคซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร ลำปาง ราชบุรี เพชรบุรี สงขลา นครปฐม ฉะเชิงเทรา และชลบุรี รวมประมาณ 12,000 สัญญา
ขอเชิญพสกนิกรชาวไทยน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจองธนบัตรเฉลิมพระเกียรติ80ปี น้อมถวายในหลวง1,000ล้านบาท
ธปท.ออกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติฯ80ปีในหลวง ตั้งเป้าได้ไม่น้อยกว่า1,000ล้านบาททูลเกล้าถวาย
แบงก์ชาติคลอดธนบัตรที่ระลึกฯ80ปี 1 บาท 5 บาท 10 บาท 15 ล้านชุด แบบไม่ตัดแบ่งเปิดจองหมวด 9 หน้า ราคา 300 บาท ที่แบงก์พาณิชย์ แบงก์รัฐทั่วประเทศ 2 ส.ค.นี้ ส่วนหมวดปกติ 100 บาท แลกได้ 28 พ.ย.นี้
นายสมชาย ศฤงคารินกุล ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและสนับสนุนการบริหาร ธปท.กล่าวว่า ถ้าจำหน่ายได้หมด จะมีรายได้ส่วนต่างจากมูลค่าหน้าธนบัตรที่ระลึกฯ หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท
เครื่องบินพระราชพาหนะ ปัจจุบันมีดังนี้
1.โบอิ้ง 737-400 ซึ่งปัจจุบันเป็นเครื่องพระที่นั่งที่ประจำการ
2.Airbus 319-300 เป็นเครื่องพระที่นั่งสำรอง
3.Airbus-ACJ 319 หรือไทยคู่ฟ้าเดิม เป็นเครื่องพระที่นั่งสำรอง
และ ที่มาใหม่ลำนี้
4. โบอิ้ง 737-800 ไม่ทราบราคาจริงๆ เท่าไหร่ แต่งบประมาณที่ตั้งไว้
คือ 3100 ล้านบาท ตั้งตอนปี 2548 สมัยรัฐบาลทักษิณ น่าจะอยู่ในงบ
ปี 49 นะ ยังไม่มีเวลาค้น
เมื่อลำใหม่ 737-800 มาจะมาเป็นเครื่องพระที่นั่งลำหลัก
แล้ว 737-400 อาจจะถูกประจำการกับฝูงบินเดโชชัยของ
สมเด็จพระบรมฯ ครับ