PPD's Official Website

Thursday, August 25, 2016

"ใครเป็นนายก ต้องมา สง่างาม"

รำคาญควายมันบอกว่า ผู้นำที่มาต้องสง่างาม
􂀁􀆧laugh� 􀰂􀇦idiot�􂀁􀆜laugh�

โขมยยึดอำนาจมาเป็นนายก
ด้านหน้าโกหก ผงกหัวพล่าม
"ใครเป็นนายก ต้องมา สง่างาม"
Shit!!ไม่ดูความ เป็นมา หนังหน้าตัว

สง่าจริ้ง!วิ่งราวเอาตำแหน่ง
ถือปืนแย่งจากผู้หญิงยิ่งสุดชั่ว
ชาติคางคกได้ขึ้นวอก็เมามัว
ยกหางหัวถ่มถุยอวดคุยโว

ต้องที่มาสง่างามตามแบบฉบับ
ขู่บังคับตวาดเถียงเสียงโมโห
ถ่อยสถุนทุกวันเมามันส์โชว์
สวะโง่!อวดรบผักตบชวา

เห่าพร่ำย้ำบทเคารพกฎหมาย
เก็บไว้สอนฝูงควายให้กินหญ้า..(เถอะวะ!!)
ตัวเอ็งทรยศ ฉีกกฏ-กติกา
ถุยส์!สง่าหมาไม่แดรกแหกปากคุย

ต้องที่มาสง่างามตามเสต็ป(step)
สยามเห็บเกาะหมาขี้เรื้อนยุ่ย
ผู้นำห่วยหลงคอกหลอกฝูงทุย
คิดชั่วชุ่ยอำนาจปืนจะยืนยง

โขมยยึดเสนอหน้าเป็นนายก
นั่งทับขี้สกปรกนรกส่ง
เหม็นทั้งตัวชั่วเน่าถึงเผ่าพงศ์
อำนาจหลงจมสำลักปลักขี้ควาย

Ngaesai 25/8/1

"ใครเป็นนายก ต้องมา สง่างาม"

รำคาญควายมันบอกว่า ผู้นำที่มาต้องสง่างาม
􂀁􀆧laugh� 􀰂􀇦idiot�􂀁􀆜laugh�

โขมยยึดอำนาจมาเป็นนายก
ด้านหน้าโกหก ผงกหัวพล่าม
"ใครเป็นนายก ต้องมา สง่างาม"
Shit!!ไม่ดูความ เป็นมา หนังหน้าตัว

สง่าจริ้ง!วิ่งราวเอาตำแหน่ง
ถือปืนแย่งจากผู้หญิงยิ่งสุดชั่ว
ชาติคางคกได้ขึ้นวอก็เมามัว
ยกหางหัวถ่มถุยอวดคุยโว

ต้องที่มาสง่างามตามแบบฉบับ
ขู่บังคับตวาดเถียงเสียงโมโห
ถ่อยสถุนทุกวันเมามันส์โชว์
สวะโง่!อวดรบผักตบชวา

เห่าพร่ำย้ำบทเคารพกฎหมาย
เก็บไว้สอนฝูงควายให้กินหญ้า..(เถอะวะ!!)
ตัวเอ็งทรยศ ฉีกกฏ-กติกา
ถุยส์!สง่าหมาไม่แดรกแหกปากคุย

ต้องที่มาสง่างามตามเสต็ป(step)
สยามเห็บเกาะหมาขี้เรื้อนยุ่ย
ผู้นำห่วยหลงคอกหลอกฝูงทุย
คิดชั่วชุ่ยอำนาจปืนจะยืนยง

โขมยยึดเสนอหน้าเป็นนายก
นั่งทับขี้สกปรกนรกส่ง
เหม็นทั้งตัวชั่วเน่าถึงเผ่าพงศ์
อำนาจหลงจมสำลักปลักขี้ควาย

Ngaesai 25/8/1

วัฒนา ไม่เห็นด้วย กับการใช้ม.44 พักงาน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.

วันนี้ (26 ส.ค.) นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนาตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเห็นทางการเมืองระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจของพล.อ.ประยุทะ์ จันทร์ดอชา นายกรัฐมนตรี ในการใช้ม.44 พักงาน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. โดยระบุว่า "พอเถอะ มาตรา 44"ผมไม่เห็นด้วยกับการที่หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่ 50/2559 ระงับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ ถึงแม้บุคคลทั้งสองจะมีข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดแต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวขัดต่อหลักนิติธรรม กล่าวคือ (1) กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจไม่ชอบ เพราะได้มาจากการยึดอำนาจ (2) ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจ อีกทั้งผู้ใช้อำนาจไม่ต้องรับผิดชอบเพราะมีมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมล่วงหน้าไว้จึงไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกใช้อำนาจ (3) ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะการที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว อำนาจทั้งหลายที่มาจากเผด็จการสมควรจะถูกยกเลิกทั้งหมด (4) ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวอยู่แล้ว จึงควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนยุติธรรมปกติ การใช้อำนาจพิเศษที่นอกจากจะขัดต่อหลักนิติธรรมแล้ว ยังเป็นการวางรากฐานที่ผิดให้กับรัฐบาลหน้าที่ไม่มีอำนาจดังกล่าว หากเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมมีข้อบกพร่องก็ควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ใช้บังคับอย่างเสมอภาคการใช้อำนาจจะต้องอยู่บนหลักนิติธรรม จึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายที่ถูกลงโทษตามกฎหมายนั้นด้วย หาไม่แล้วการลงโทษดังกล่าวจะไม่สร้างการยอมรับเพราะขาดหัวใจสำคัญคือ ความชอบธรรม (legitimacy) และหลักนิติธรรม (rule of law) ถึงแม้บุคคลทั้งสองจะเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของผมและพรรคเพื่อไทย แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจพิเศษดังกล่าว ผมจึงขอประณามและขอเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักนิติธรรม ได้แก่ บรรดาประกาศหรือคำสั่งของ คสช. การใช้อำนาจตามมาตรา 44 และการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหาร ขอให้ปฏิบัติกับทุกฝ่ายให้เป็นไปตามกระบวนยุติธรรมปกติบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านพูด แต่สิทธิของท่านในอันที่จะพูดนั้น ข้าพเจ้าขอปกป้องไว้ด้วยชีวิต (I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it) / Evelyn Beatrice Hall/ "The Friends of Voltaire" (1906)

วัฒนา ไม่เห็นด้วย กับการใช้ม.44 พักงาน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม.

วันนี้ (26 ส.ค.) นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย และอดีตรัฐมนาตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แสดงความเห็นทางการเมืองระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจของพล.อ.ประยุทะ์ จันทร์ดอชา นายกรัฐมนตรี ในการใช้ม.44 พักงาน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯกทม. โดยระบุว่า "พอเถอะ มาตรา 44"ผมไม่เห็นด้วยกับการที่หัวหน้า คสช. ออกคำสั่งที่ 50/2559 ระงับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกเทศมนตรีเมืองบ้านไผ่ ถึงแม้บุคคลทั้งสองจะมีข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดแต่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม การใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวขัดต่อหลักนิติธรรม กล่าวคือ (1) กระบวนการได้มาซึ่งอำนาจไม่ชอบ เพราะได้มาจากการยึดอำนาจ (2) ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบการใช้อำนาจ อีกทั้งผู้ใช้อำนาจไม่ต้องรับผิดชอบเพราะมีมาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญนิรโทษกรรมล่วงหน้าไว้จึงไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกใช้อำนาจ (3) ไม่เป็นประชาธิปไตยเพราะการที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติแล้ว อำนาจทั้งหลายที่มาจากเผด็จการสมควรจะถูกยกเลิกทั้งหมด (4) ประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้บังคับกับกรณีดังกล่าวอยู่แล้ว จึงควรปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนยุติธรรมปกติ การใช้อำนาจพิเศษที่นอกจากจะขัดต่อหลักนิติธรรมแล้ว ยังเป็นการวางรากฐานที่ผิดให้กับรัฐบาลหน้าที่ไม่มีอำนาจดังกล่าว หากเห็นว่ากระบวนการยุติธรรมมีข้อบกพร่องก็ควรแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ใช้บังคับอย่างเสมอภาคการใช้อำนาจจะต้องอยู่บนหลักนิติธรรม จึงจะได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายรวมทั้งฝ่ายที่ถูกลงโทษตามกฎหมายนั้นด้วย หาไม่แล้วการลงโทษดังกล่าวจะไม่สร้างการยอมรับเพราะขาดหัวใจสำคัญคือ ความชอบธรรม (legitimacy) และหลักนิติธรรม (rule of law) ถึงแม้บุคคลทั้งสองจะเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองของผมและพรรคเพื่อไทย แต่ผมก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจพิเศษดังกล่าว ผมจึงขอประณามและขอเรียกร้องให้ยกเลิกการใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักนิติธรรม ได้แก่ บรรดาประกาศหรือคำสั่งของ คสช. การใช้อำนาจตามมาตรา 44 และการเอาพลเรือนขึ้นศาลทหาร ขอให้ปฏิบัติกับทุกฝ่ายให้เป็นไปตามกระบวนยุติธรรมปกติบนพื้นฐานของหลักนิติธรรมข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ท่านพูด แต่สิทธิของท่านในอันที่จะพูดนั้น ข้าพเจ้าขอปกป้องไว้ด้วยชีวิต (I disapprove of what you say, but I will defend to the death your right to say it) / Evelyn Beatrice Hall/ "The Friends of Voltaire" (1906)

กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลโจร ได้ชี้แจงต่อโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อย่างไร?

ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้



ข่าวสารนิเทศ : ความเห็นต่อข่าวสารนิเทศของโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย

ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้

 

1. ประเทศไทยให้ความสาคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากล โดยเชื่อว่าสิทธิดังกล่าวเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี  รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยและการป้องกันความแตกแยกในสังคมเฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ และนำสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน 

 

2. เกี่ยวกับการพิจารณาคดีโดยศาลทหาร นั้น ผู้ต้องหาที่ถูกพิจารณาคดีภายใต้ศาลทหารจะได้รับการประกันสิทธิไม่แตกต่างจากการพิจารณาคดีภายใต้ศาลพลเรือน และตามที่ระบุในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเที่ยงธรรมและเปิดเผย สิทธิในการได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายและว่าความโดยทนาย สิทธิในการประกันตัว นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมภายใต้ศาลทหารมีความโปร่งใส ดังจะเห็นได้จากการที่ ญาติผู้ต้องหา ภาคประชาสังคม กลุ่มพิทักษ์สิทธิ และผู้แทนคณะทูตสามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้

 

3. การออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นไปอย่างโปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรมตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติของอารยประเทศ และสอดคล้องกับขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมผ่านการรับฟังความคิดเห็นและการจัดสัมมนาและอภิปรายอย่างต่อเนื่อง อาทิ การอภิปรายทางโทรทัศน์ การจัดเสวนาในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  นอกจากนั้น ในช่วงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนการออกเสียงประชามติ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังเห็นได้จากการที่นักการเมืองที่มีชื่อเสียง นักวิชาการจาก 43 องค์กร และสื่อมวลชนแนวหน้าต่าง ๆ สามารถวิจารณ์และแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเปิดเผย แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจฝ่าฝืนกฎหมายและก่อความไม่สงบก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

 

4. รัฐบาลมีความมุ่งมั่นว่าการนำพาประเทศกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความยั่งยืน โดยยึดมั่นดำเนินการตาม Roadmap ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2560 ทั้งนี้   การที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 สะท้อนถึงการยอมรับ Roadmap ของรัฐบาลด้วย โดยแม้แต่ผู้ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ยอมรับผลการออกเสียงประชามติในเวลาต่อมา ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวไทย เหมือนดังเช่นที่ควรเคารพเสียงของประชาชนในประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมต่อไป


19 ส.ค. 2559 22:11:09 / อัพเดต : 19 ส.ค. 2559 22:27:26 / เรียกดู 644 ครั้ง

กระทรวงต่างประเทศ ของรัฐบาลโจร ได้ชี้แจงต่อโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ อย่างไร?

ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้



ข่าวสารนิเทศ : ความเห็นต่อข่าวสารนิเทศของโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย

ตามที่เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2559 นาง Ravina Shamdasaniโฆษกข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ออกข่าวสารนิเทศเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองในประเทศไทย นั้น กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้

 

1. ประเทศไทยให้ความสาคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเคารพสิทธิมนุษยชนตามหลักปฏิบัติสากล โดยเชื่อว่าสิทธิดังกล่าวเป็นรากฐานของสังคมประชาธิปไตย อย่างไรก็ดี  รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการเพื่อรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยและการป้องกันความแตกแยกในสังคมเฉกเช่นเดียวกับรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะขณะนี้ ประเทศไทยอยู่ในช่วงของการปฏิรูปเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีภายในชาติ และนำสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและยั่งยืน 

 

2. เกี่ยวกับการพิจารณาคดีโดยศาลทหาร นั้น ผู้ต้องหาที่ถูกพิจารณาคดีภายใต้ศาลทหารจะได้รับการประกันสิทธิไม่แตกต่างจากการพิจารณาคดีภายใต้ศาลพลเรือน และตามที่ระบุในประมวลวิธีพิจารณาความอาญา เช่น สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอย่างเที่ยงธรรมและเปิดเผย สิทธิในการได้รับคำปรึกษาด้านกฎหมายและว่าความโดยทนาย สิทธิในการประกันตัว นอกจากนี้ กระบวนการยุติธรรมภายใต้ศาลทหารมีความโปร่งใส ดังจะเห็นได้จากการที่ ญาติผู้ต้องหา ภาคประชาสังคม กลุ่มพิทักษ์สิทธิ และผู้แทนคณะทูตสามารถเข้าฟังการพิจารณาคดีได้

 

3. การออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นไปอย่างโปร่งใสและบริสุทธิ์ยุติธรรมตามมาตรฐานและแนวปฏิบัติของอารยประเทศ และสอดคล้องกับขั้นตอนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างครอบคลุมผ่านการรับฟังความคิดเห็นและการจัดสัมมนาและอภิปรายอย่างต่อเนื่อง อาทิ การอภิปรายทางโทรทัศน์ การจัดเสวนาในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ  นอกจากนั้น ในช่วงการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญก่อนการออกเสียงประชามติ ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย ดังเห็นได้จากการที่นักการเมืองที่มีชื่อเสียง นักวิชาการจาก 43 องค์กร และสื่อมวลชนแนวหน้าต่าง ๆ สามารถวิจารณ์และแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างเปิดเผย แต่สำหรับผู้ที่ตั้งใจฝ่าฝืนกฎหมายและก่อความไม่สงบก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม

 

4. รัฐบาลมีความมุ่งมั่นว่าการนำพาประเทศกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีความยั่งยืน โดยยึดมั่นดำเนินการตาม Roadmap ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2560 ทั้งนี้   การที่เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญในการออกเสียงประชามติ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2559 สะท้อนถึงการยอมรับ Roadmap ของรัฐบาลด้วย โดยแม้แต่ผู้ที่ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญก็ได้ยอมรับผลการออกเสียงประชามติในเวลาต่อมา ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงหวังว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะเคารพการตัดสินใจของประชาชนชาวไทย เหมือนดังเช่นที่ควรเคารพเสียงของประชาชนในประเทศอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนประเทศไทยในการวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ยั่งยืนและความปรองดองสมานฉันท์ในสังคมต่อไป


19 ส.ค. 2559 22:11:09 / อัพเดต : 19 ส.ค. 2559 22:27:26 / เรียกดู 644 ครั้ง

ประวิทย์ พ่ายเปรมและสุรยุทธ์... ยอมงอ ไม่ยอมหัก!!! ส่งคนของอำมาตย์เฒ่าขึ้นแท่น ผบ.ทบ.

นายกฯทูลเกล้าโผตั้งนายทหาร 'บิ๊กเจี๊ยบ'ผบ.ทบ.-'บิ๊กแดง'ทัพ1




เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามในบัญชีรายชื่อแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพลประจำปี 2559 พร้อมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 

ทั้งนี้ผู้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) คือ พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท (ตท.16) ผู้ช่วย ผบ.ทบ. 
ส่วน พล.อ.พิสิทธิ์ สิทธิสาร (ตท.17) เสนาธิการทหารบก ดำรงตำแหน่ง รอง ผบ.ทบ. 
พล.ท.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ (ตท.18) แม่ทัพภาคที่ 1 
และ พล.ท.สมศักดิ์ นิลบรรเจิดกุล แม่ทัพภาคที่ 3 ขึ้นเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผช.ผบ.ทบ.)
ขณะที่ พล.ท.สสิน ทองภักดี รองเสนาธิการทหารบก ขึ้นเป็นเสนาธิการทหารบก พล.ท.บรรเจิด ฉางปูนทอง แม่ทัพน้อยที่ 3 ขยับขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 3 

สำหรับกองทัพภาคที่ 1 เป็นที่แน่นอนแล้วว่า "บิ๊กแดง" พล.ท.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ แม่ทัพน้อยที่ 1 (ตท.20) ขยับขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 1 พล.ต.กู้เกียรติ ศรีนาคา รองแม่ทัพภาคที่ 1 (ตท.20) เป็นแม่ทัพน้อยที่ 1 อัตราพลโทผู้สื่อข่าวรายงานว่า 

สำหรับสาเหตุที่ พล.อ.เฉลิมชัย ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ได้หารือกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จนได้ข้อสรุปว่า จำเป็นต้องคืนความชอบธรรมให้กับกองทัพโดยเฉพาะความเป็นเอกภาพ ไม่จำเป็นต้องสนับสนุนนายทหารที่เติบโตจากบูรพาพยัคฆ์เสมอไป เพราะต้องการให้นายทหารที่เติบโตจากสายงานของตนเองมีโอกาสที่ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. เพราะมิฉะนั้นจะทำให้เสียกำลังใจทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรก็ไม่ได้ขัดข้อง เนื่องจากในฐานะดูแลความมั่นคง สามารถสั่งการโดยตรงกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นจะต้องหาคนที่มาจากบูรพาพยัคฆ์หรือลูกน้องเก่า จึงเชื่อว่าการตัดสินใจในครั้งนี้ของนายกฯ เป็นไปอย่างมีคุณธรรม สร้างความศรัทธาและเชื่อมั่นให้แก่กำลังพลในการปฏิบัติงาน ให้กับทางรัฐบาลในช่วงเปลี่ยนผ่าน โดยเฉพาะเหตุการณ์ในพื้นที่ภาคใต้ ถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งทำให้นายกฯตัดสินใจเลือก พล.อ.เฉลิมชัย เชื่อว่ามีความเหมาะสมในการควบคุมดูแลสถานการณ์ได้ส่วนตำแหน่งที่น่าสนใจปรากฏว่ากระทรวงกลาโหม "บิ๊กช้าง" พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รองปลัดกระทรวงกลาโหม (ตท.16) ได้ขึ้นเป็นปลัดกระทรวงกลาโหม ส่วนกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นไปตามคาด "บิ๊กปุย" พล.อ.สุรพงษ์ สุวรรณอัต เสนาธิการทหาร (ตท.15) ขึ้นเป็น ผบ.สส. โดยมี พล.อ.หัสพงศ์ ยุวนวรรธนะ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา (ตท.16) เป็นรอง ผบ.สส., "บิ๊กต๊อก" พล.อ.ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ รองเสนาธิการทหาร (ตท.17) ขึ้นเป็นเสนาธิการทหารขณะที่กองทัพเรือจะมีเกษียณ 2 ตำแหน่งคือ รองผู้บัญชาการทหารเรือ (รอง ผบ.ทร.) และเสนาธิการทหารเรือ (เสธ.ทร.) คาดว่า พล.ร.ท.พูลศักดิ์ อุบลเทพชัย รอง เสธ.ทร. (ตท.17) เป็น เสธ.ทร. และขยับ พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ตท.17) ไปเป็นรองปลัดกระทรวงกลาโหม แทน พล.ร.อ.อนุทัย รัตตะรังสี ที่จะเกษียณ รวมถึงขยับ พล.ร.อ.ไกรวุธ วัฒนธรรม ผู้ช่วย ผบ.ทร. (ตท.16) ไปเป็นรอง ผบ.สส. และให้ พล.ร.ท.จุมพล ลุมพิกานนท์ รอง เสธ.ทร. (ตท.17) มาเป็นผู้ช่วย ผบ.ทร.แทน ส่วน พล.ร.ท.สุชีพ หวังไมตรี รอง เสธ.ทร. (ตท.17) มาเป็นผู้บัญชาการกองเรือยุทธการแทนด้านกองทัพอากาศ พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง เสนาธิการทหารอากาศ (เสธ.ทอ.)(ตท.16) เป็น ผบ.ทอ. โดยมีอายุราชการ 2 ปี เพื่อจะได้วางยุทธศาสตร์การทำงานได้ต่อเนื่อง สำหรับ พล.อ.อ.สุทธิพงษ์ อินทรียงค์ ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (ตท.17) เป็นเสนาธิการทหารอากาศ โดย พล.อ.ท.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน รองเสนาธิการทหารอากาศ (ตท.18) มาเป็นผู้ช่วย ผบ.ทอ.