PPD's Official Website

Thursday, May 28, 2015

"ภูมิพล เป็นคนยิง ร. 8"

ภูมิพล เป็นคนยิง ร. 8




ภูมิพล เป็นคนยิง ร. 8



Andrew MacGregor Marshall
เรียบเรียงจากเรื่อง ความลับอันสุดเศร้าของประเทศไทย  http://www.zenjournalist.org  

ของ Andrew MacGregor Marshall ผู้เขียน Thailand : A Kingdom in Crisis
ช่วงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน  2489

ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 
8 ของประเทศสยามที่มีพระชนมายุ 21 พรรษา ได้ถูกยิงที่ศีรษะและเสด็จสวรรคตอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ตอนเย็นของวันนั้น เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์พระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ได้ครองราชสมบัติตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขณะนี้พระองค์ทรงชราภาพและเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ทรงเก็บพระองค์เองอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช แต่พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
โดยทางการแล้ว คดีฆาตกรรมเรื่องนี้ได้ถูกพรรณาไว้ว่าเป็นเรื่องลึกลับ เป็นปริศนาทางอาชญากรรมที่ผิดวิสัยที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ซึ่งไม่สามารถเฉลยข้อเท็จจริงออกมาได้ในศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในความจริงแล้ว มันชัดเจนมาเป็นเวลานานแล้วว่าใครเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8  ความจริงได้ถูกปกปิดโดยระบอบเครือข่ายนิยมกษัตริย์ของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งจากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันแสนเข้มงวด นั่นคือ กฎหมายอาญามาตรา 112  ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการบุคคลต่างๆให้กลายเป็นอาชญากร เมื่อมีการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองของประเทศไทยอย่างเปิดเผยและโดยสุจริตใจ


หลังจากที่ในหลวงอานันท์ได้เสด็จสวรรคตไปเพียงไม่กี่นาที สถานที่เกิดเหตุได้ถูกจัดเปลี่ยนอย่างจงใจเพื่อปกปิดหลักฐานต่างๆว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริงแล้วคืออะไร บุคคลที่อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในตอนเช้าของวันนัั้น ไม่เคยเปิดเผยความจริงต่อหน้าสาธารณะว่าได้เกิดอะไรขึ้น และบุคคลคนเดียวในขณะนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ ตัวกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่เคยเปิดเผยเลยว่าอะไรได้เกิดขึ้น และคงจะนำความลับนี้ลงสู่หลุมฝังศพไปพร้อมๆ กับตัวพระองค์เอง ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายหลักฐานต่างๆ และข้อเท็จจริงตามที่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้โกหกว่าอะไรเกิดขึ้นในกรณีสวรรคต  แต่จุดสำคัญประการแรกคือ ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลอบสังหารที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถหลบหลีกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าของวันนั้นได้ การนำเอาปืนสั้น โคลท์ .45 อัตโนมัติออกมาจากตู้ที่อยู่ข้างเตียงนอนของพระองค์ ยิงพระองค์ตรงกลางศีรษะด้วยปืนกระบอกนั้น แล้วหลบหนีไปได้โดยที่ไม่มีใครเห็นเลย คนที่เป็นฆาตกรจะต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่พักอาศัยในพระที่นั่งบรมพิมานเท่านััน

วิถีกระสุนเฉียงลงล่างซ้าย
แต่ทันทีหลังจากที่ในหลวงอานันท์สวรรคตไปแล้ว กลับมีการกระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวางว่า พระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายเอง พระชนนีศรีสังวาลย์ ได้ขอร้องกับนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ ให้ประกาศว่า การสวรรคตเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวในหลวงอานันท์เอง นายปรีดีและรัฐบาลก็ยินยอมทำตามคำขอร้องนั้น แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในหลวงอานันท์จะยิงพระองค์เองด้วยความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุทำปืนลั่น ในขณะที่ปืนกระบอกนี้จี้อยู่ตรงหน้าผากของพระองค์ขณะที่นอนหงาย และจากวิถีกระสุนที่วิ่งจากหน้าผากผ่านกระโหลกศีรษะทะลุท้ายทอยของในหลวงอานันท์ ขณะฝ่ายนิยมระบอบเจ้าหลายคนที่เป็นนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้เริ่มการปล่อยข่าวว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ นำการสวรรคตมาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อต้องการฟื้นระบอบเจ้าแบบเก่า เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้คืนกลับสู่อดีต

อุปทูตสหรัฐ Charle Woodruff Yost
2450-2524
วันที่ 
13 มิถุนายน2489 อุปทูตชาร์ล ดับเบิ้ลยู โยสท์ (Charge d’affaires Charles W. Yost )ส่งโทรเลขลับไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน เล่าถึงการสนทนากับนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ภูมิพลที่ได้กล่าวยืนยันกับนายดิเรกว่า ข่าวลือต่างๆ ที่ว่านายปรีดีวางแผนปลงsพระชนม์หรือนายหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง เป็นเรื่องที่ไร้สาระ และพระองค์มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การสวรรคตของในหลวงอานันท์เป็นเรื่องอุบัติเหตุ…… ขณะที่มรว.เสนีย์ ปราโมชส่งหลานและภรรยาของตนไปที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีปรีดีเป็นผู้วางแผนทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

ดิเรก ชัยนาม 2447-2510
นายปรีดีและรัฐบาลของเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ในวันที่
18 มิถุนายน 2489ประกอบด้วย ประธานศาลทั้งสามศาล พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และอนุกรรมการทางการแพทย์จากหลายฝ่าย
ขณะที่ฝ่ายนิยมระบอบเจ้าได้ปล่อยข่าวว่า กษัตริย์ภูมิพลก็กำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย และขอการสนับสนุนจากทูตสหรัฐและอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหารรัฐบาลของนายปรีดี โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระราชวงศ์ ขณะที่รายงานจากคณะแพทย์เมื่อวันที่
27 มิถุนายน 2489 ลงความเห็นว่ามีคนยิงรัชกาลที่ 8 




Sir Geoffrey Stuart Thompson
2448-2526
โทรเลขลับจากเอกอัครราชทูตอังกฤษเซอร์เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สัน บันทึกการเปิดเผยของนายดิเรก ชัยนาม ว่าทางวังสั่งให้ปกปิดรายงานของคณะแพทย์เป็นความลับห้ามเผยแพร่เด็ดขาด
ความพยายามของรัฐบาลนายปรีดี ที่พยายามชี้ว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุนับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลเอง แม้ว่านายกปรีดีมีเจตนาจะรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นรัฐบาลนายปรีดีจำเป็นต้องดำเนินการสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน โดยไม่ต้องไปหวั่นเกรงเรื่องใดๆอีกต่อไปโดยอาจมีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวกษัตริย์ เพราะได้เห็นพิรุธชัดเจนว่าฝ่ายราชวังได้รีบทำความสะอาดเพื่อลบร่องรอยพยานหลักฐานก่อนที่จะยอมให้ใครเข้าไปในห้องพระบรรทมที่เกิดเหตุ ส่วนปืนก็ได้ถูกนำมาวางไว้ข้างๆ และมีการจัดฉากสร้างกระแสให้เกิดความสะเทือนใจ และโกรธแค้น เพื่อโหมโจมตีนายกรัฐมนตรีปรีดีอย่างขนานใหญ่หลายระลอก  
  
ส่วนกษัตริย์ภูมิพลแสดงอาการรู้สึกหดหู่อย่างเห็นได้ชัดต่อการสวรรคตของพระเชษฐา กษัตริย์ภูมิพลดูเหมือนป่วยและซึมเศร้าตลอดเวลาไม่อยากพูดจา และเสด็จไปประทับยังเมืองโลว์ซานน์พร้อมพระชนนี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์ ถึงแม้ว่าการไว้ทุกข์ยังไม่ครบ100 วัน แต่พระองค์ยังคงมีอาการซึมเศร้าเสมอ นานๆครั้งจึงจะเข้าไปเรียนในห้องเรียน และไม่เคยเรียนจบปริญญาใดๆเลย ในปลายปี  2489 พระองค์ส่งข้อความว่า จะไม่เสด็จกลับกรุงเทพเพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพของในหลวงอานันท์ ดูเหมือนว่าพระองค์มีพระประสงค์จะประทับอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลาสองถึงสามปี เพื่อที่จะได้สำเร็จการศึกษาของพระองค์ โดยไม่มีแนวโน้มเลยว่า จะสามารถไขปริศนาเบื้องหน้าเบื้องหลังให้กระจ่างแจ้งออกมาได้


มีแต่ภูมิพล ที่เป็นคนยิงรัชกาลที่ 8

ในขณะที่การสืบสวนกรณีสวรรคตได้เริ่มเข้มข้นขึ้นถึงจุดที่พุ่งเป้าไปยังกษัตริย์ภูมิพลว่าเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ และต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รัฐบาลกลัวว่าจะมีผลกระทบที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพในการเปิดเผยเรื่องราวนี้ออกมา และไม่ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติ 

จุมภฏพงษ์และมรว.พันธุ์ทิพย์
ขณะที่พวกเจ้าบางฝ่ายได้จัดเตรียมให้พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นมาดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แทน รัฐบาลนายปรีดีได้ตัดสินใจเก็บข้อมูลในส่วนที่เกี่ยวโยงถึงกษัตริย์ภูมิพลไว้เป็นความลับและทำการควบคุมการเสนอข่าวสารมิให้โยงใยไปถึงตัวกษัตริย์ภูมิพล ดังนั้น พวกนิยมระบอบเจ้าจึงต้องรีบทำการโค่นล้มรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 โดยร่วมมือกับกลุ่มคณะทหารของจอมพล ป  พิบูลสงคราม ใช้การโหมโฆษณาชวนเชื่อที่ว่า นายปรีดี พยายามปกปิดซุกซ่อนหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับกรณีสวรรคต เพื่อสร้างความชอบธรรมให้การยึดอำนาจของพวกเขา นายปรีดี พนมยงค์ได้หลบหนีออกนอกประเทศเพื่อความปลอดภัยในชีวิตของตนเอง แล้วทำการกล่าวหาจับกุมมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนีพร้อมกันกับนายเฉลียว ปทุมรส อดีตราชเลขาธิการ  รัฐบาลนายควงที่มาจากการรัฐประหารได้กล่าวหาว่า พวกเขาร่วมกันวางแผนเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีนายปรีดีเป็นต้นคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ แต่พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร ซึ่งเป็นรัชทายาทของการสืบราชสมบัติ ได้แจ้งกับเอกอัครราชทูตอังกฤษ เจฟฟรี่ย์ ทอมพ์สันว่ารัฐบุรุษอาวุโสไม่เคยมีส่วนรู้เห็นแต่ประการใดในเรื่องการเสด็จสวรรคตของรัชกาลที่ 8และที่สำคัญคือกรณีสวรรคตน่าจะเกิดจากที่พระอนุชาภูมิพลทำปืนลั่นโดยอุบัติเหตุ จึงต้องปกปิดเป็นความลับต่อไปอีกนานรวมทั้งการที่รัฐบาลต้องหาทางแก้ตัวให้กษัตริย์ภูมิพล รัฐบาลนายปรีดีต้องพยายามปกปิดข้อเท็จจริงแต่มันกลายเป็นว่าทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์กลับได้บาป

หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ( 2444-2531)
ในเดือนกุมภาพันธ์  2491 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถูกรัฐประหารในเดือนพฤศจิกายน2490 จากเดือนสิงหาคม2489 จนถึงวันที่เขาถูกปลดออกจากตำแหน่งจาก หลวงธำรงค์ได้กล่าวต่อเอกอัครราชทูตทอมพ์สันของอังกฤษอย่างหนักแน่นว่า กษัตริย์อานันทมหิดลได้ถูกยิงสวรรคตโดยกษัตริย์ภูมิพล โดยที่รัฐบาลของเขาไม่สามารถเปิดเผยข่าวนี้ได้ การสอบสวนที่ดำเนินการในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น ได้ตัดเรื่องอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตายออกไป แต่สาธารณชนไม่ควรรับทราบสิ่งต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่สอบสวนได้ค้นพบ เนื่องจากเหตุผลของความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี นายกรัฐมนตรีหลวงธำรงได้มีคำสั่งห้ามทุกคนเปิดเผยข้อเท็จจริงตามสำนวนการสอบสวนโดยเด็ดขาด

Edwin F. Stanton
ในเดือนถัดมา หลวงธำรงค์ฯ ได้กล่าวอย่างชัดเจนยิ่งกว่าทุกๆ ครั้ง กับนายเอ๊ดวิน สแตนตั้น (Ambassador Edwin Stanton ) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ในการดื่มน้ำชาร่วมกันเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2491 ที่สถานทูตสหรัฐ ว่ากรณีสวรรคตอันเศร้าสลดคงจะต้องเป็นความลับสุดยอดของประเทศไปแล้ว แม้ว่าหลักฐานต่างๆที่มีการรวบรวมกันในขณะที่เขาเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีแนวโน้มที่จะพัวพันเชื่อมโยงมุ่งไปที่กษัตริย์ภูมิพลองค์ หลวงธำรงค์และนายปรีดีเองต่างก็อยู่ในสถานการณ์น้ำท่วมปากแบบเดียวกัน เพราะถ้ามีการเปิดเผยว่ากษัตริย์ภูมิพลเป็นผู้เกี่ยวข้องกรณีสวรรคตอย่างแท้จริง เชื่อว่ากษัตริย์ภูมิพลคงจะต้องสละราชสมบัติ และคงเกิดเรื่องสับสนอลหม่านติดตามมา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิตจะเป็นรัชทายาทผู้สืบราชสมบัติองค์ต่อไป แต่พระองค์เจ้าจุมภฏฯ และพระชายาไม่ได้รับความนิยม รัชทายาทองค์ต่อมาจากพระองค์เจ้าจุมภฏคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ก็ไม่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ขณะที่อำนาจของสถาบันกษัตริย์ยังคงฝังรากลึกอยู่ในสังคมไทย


ควง อภัยวงศ์ ( 2445 - 2511 )
ในเวลานั้น ได้เกิดความตื่นตระหนกเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลปฏิเสธที่จะเสด็จกลับจากเมืองโลว์ซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และความกังวลใจเรื่องที่กษัตริย์ภูมิพลมีส่วนรู้เห็นในกรณีสวรรคต ซึ่งจะสั่นสะเทือนสถานภาพของพระองค์  ผู้นำของกลุ่มนิยมระบอบกษัตริย์รวมทั้งนายควง อภัยวงศ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
มรว.เสนีย์ ปราโมช ( 2448 -2540 )

และพี่น้องตระกูลปราโมชคือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ และ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ได้ร่วมกันวางแผนเตรียมการประกาศว่า กษัตริย์ภูมิพลได้ทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ โดยพวกเขาหวังว่าจะเป็นการบังคับให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติเพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์แทน 
Kenneth Landon ( 2446- 2536)
นายเคนเนท แลนดอน ( Kenneth Landon ) ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานฝ่ายเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งโทรเลขถึงกรุงวอชิงตัน เมื่อวันที่20 กุมภาพันธ์ 2491มีข้อความว่า...รายงานล่าสุดจากแหล่งข่าวหลายแห่ง ซึ่งมีส่วนเชื่อมโยงกับการลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ ส่งผลให้ นายควง เตรียมที่จะแถลงการณ์ว่า กษัตริย์ภูมิพลปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์โดยอุบัติเหตุ ซึ่งกษัตริย์ภูมิพลจะสละราชสมบัติ  ต่อจากนั้นพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร จะได้รับการสถาปนาให้เป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป เนื่องจากพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรเป็นคนที่มีวุฒิภาวะสูง รวมทั้งมีความมั่งคั่งอย่างมากด้วย พร้อมทั้งมีประสบการณ์อย่างยาวนานด้านการเมืองภายในวัง  แต่จอมพล ป พิบูลสงคราม ยืนกรานคัดค้านข้อเสนอของนายควงที่จะให้พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์องค์ต่อไป แม้ว่ากษัตริย์ภูมิพลจะปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ด้วยความตั้งใจหรือเป็นอุบัติเหตุก็ตาม จอมพลป.และนายปรีดีเป็นคู่ปรปักษ์หรือศัตรูทางการเมืองซึ่งสังกัดอยู่ในพรรคการเมืองเดียวกัน แม้ว่าเขาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันในการต่อต้านไม่ให้สถาบันกษัตริย์กลับคืนสู่อำนาจอีก แต่พวกเขาไม่ได้ต่อต้านกษัตริย์ภูมิพลเพราะว่าพระองค์ยังไม่ได้เป็นผู้ใหญ่เต็มตัวและไม่มีบริวารห้อมล้อม จอมพล ป ซึ่งเป็นนายทหารผู้มีอิทธิพลมากของกองทัพ ได้รีบทำรัฐประหารล้มรัฐบาลของนายควง ในเดือนเมษายน  2491  เพราะจอมพล ป. ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลครองราชบัลลังก์ต่อไป โดยจะใช้พยานหลักฐานในคดีสวรรคตมาต่อรองผลประโยชน์กับกษัตริย์ภูมิพลได้ในภายหลัง

เฉลียว บุศย์ และชิต ในศาล
การพิจารณาคดีการเสด็จสวรรคตของในหลวงอานันท์ได้เริ่มขึ้น ในตอนบ่ายของวันพุธที่ 
28กันยายน 2491 โดยมีมหาดเล็กสองคนคือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี รวมทั้งนายเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเป็นอดีตราชเลขาธิการ  ถูกกล่าวหาว่า สมคบกันทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ การพิจารณาคดีและการอุทธรณ์ได้ถูกดึงให้ยืดเยื้อเป็นเวลามากกว่า 6 ปี
ในท้ายที่สุด กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างเมื่อเดือนมีนาคม  
2493 เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพฯพระเชษฐาของพระองค์ และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ รวมทั้งพิธีราชาภิเษกสมรสกับ มรว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากร  แล้วพระองค์ก็เสด็จออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 6มิถุนายน 2493 ซึ่งเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ก่อนที่จะครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐา  ต่อมาพระองค์จึงได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เมื่อปลายปี  2494  กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบดีว่า นายบุศย์ ปัทมศรินนายชิต สิงหเสนี และนายเฉลียว ปทุมรส ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ของพระเชษฐาของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่กระทำการใดๆ เพื่อช่วยชีวิตของพวกเขา  บุคคลทั้งสามได้ถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ด้วยข้อหาอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำแต่อย่างใด


กษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนคำให้การของพระองค์เองหลายครั้ง ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลเคยยืนยันอย่างแข็งขันไม่กี่วันหลังจากที่พระเชษฐาสวรรคตว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่พระองค์กลับยกเลิกคำให้การเหล่านั้นในการพิจารณาคดีครั้งต่อมา โดยพระองค์หันไปเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่อง ที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือคือให้ร้ายนายเฉลียว ปทุมรส  กษัตริย์ภูมิพลได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ บีบีซี ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2523 โดยแก้ตัวว่า การคดีสวรรคตเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน จากการอำพรางคดีโดยบุคคลหลายคนที่มีอำนาจมากทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง 


William Stevenson กับภูมิพล
ระหว่างปีทศวรรษ 2530 กษัตริย์ภูมิพลยังได้ให้นายวิลเลียม สตีเวนสัน ( William Stevenson นักเขียนชาวแคนาดา เขียนชีวประวัติกึ่งทางการโดยกษัตริย์ภูมิพลแต่งเรื่องว่านายมาซาโนบุ ซูจิ (Masanobu Tsuji )นายทหารที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่นได้ลักลอบเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง โดยปลอมตัวเป็นพระภิกษุ 
Masanobu Tsuji ( 2444-2504 )
ทั้งๆที่นายมาซาโนบุ ซุจิ ผู้นี้ไม่ได้อยู่ใกล้กรุงเทพเลย ในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกปลงพระชนม์ การเปลี่ยนเรื่องราวครั้งแล้วครั้งเล่าไปเรื่อยๆของกษัตริย์ภูมิพลเอง แสดงให้เห็นพิรุธว่า กษัตริย์ภูมิพลพยายามปกปิดสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน  2489  โดยที่กษัตริย์ภูมิพลไม่เคยให้คำอธิบายที่น่าเชื่้อถือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเลยแม้แต่ครั้งเดียว แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกเกี่ยวที่ภายในวงการระดับสูงของประเทศไทย กลับรับรู้กันมาตลอดว่า กษัตริย์ภูมิพลเองที่เป็นผู้ปลงพระชนม์พระเชษฐาของพระองค์ ซึ่งอาจจะเป็นอุบัติเหตุ 

บันทึกของนางมากาเร็ต แลนดอน
(
Margaret Landon) 



Margaret และ Kenneth Landon
นางมากาเร็ต แลนดอนเป็นภรรยาของนายเคนเนท แลนดอน (Kenneth Landon )นักการทูตสหรัฐอเมริกาเมื่อปี  2514 ได้เขียนบันทึกด้วยลายมือเกี่ยวกับกรณีสวรรคตเก็บไว้ที่หอสมุดวิทยาลัยวีตั้น (Wheaton College ) สหรัฐอเมริกา  อ้างการสนทนากับนางลิเดีย ณ ระนอง ( Lydia Na Ranong ) ซึ่งเป็นผู้หญิงที่เกิดในตระกูลผู้ดีของจีนและเป็นคนสนิทของกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ระดับสูงในกรุงเทพฯที่ได้เล่าเรื่องราวที่ได้ยินมาจากแวดวงของพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ว่า มหาดเล็กทั้งสองคน คือ นายบุศย์ ปัทมศริน และ นายชิต สิงหเสนี ได้รู้เห็นต่อการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์

โดยที่อดีตราชเลขาธิการ คือ นายเฉลียว ปทุมรส มีความสัมพันธ์เป็นชู้สาวกับนางสังวาลย์ และอยู่ในห้องบรรทมของพระนางในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกยิงสวรรคต โดยพระนางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระชนนีมาจากตระกูลสามัญชนและไม่เคยได้รับความชื่นชอบ จากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่เลย  


วไลยอลงกรณ์ สว่างวัฒนาและมหิดล
พระนางเจ้าสว่างวัฒนาส่งเจ้าฟ้ามหิดลไปเรียนที่อเมริกา ได้ส่งเด็กสาวให้เป็นผู้ติดตามไปด้วยสองคนไปเรียนให้ดูเหมือนว่าไปเรียนด้วยกัน แต่ที่จริงแล้วก็ส่งไปเป็นเมียน้อยเพื่อประกบเจ้าฟ้ามหิดล เพราะพระนางสว่างวัฒนากลัวว่าเจ้าฟ้ามหิดลจะไปได้ผู้หญิงต่างชาติเป็นเมีย  
เจ้าฟ้ามหิดลกับนส.สังวาลย์
แต่เจ้าฟ้ามหิดลได้ตกหลุมรักกับนางสาวสังวาลย์และตัดสินพระทัยที่จะอภิเษกสมรสกับเธอ ซึ่งได้สร้างความตกตะลึงในหมู่พระบรมวงศานุวงศ์เป็นอย่างมาก โดยมีแนวโน้มว่าพระนางเจ้าสว่างวัฒนาและรัชกาลที่ คงยังคงปฎิเสธที่จะจัดพระราชพิธีอภิเษกสมรส แต่เจ้าฟ้ามหิดลเองได้วางแผนให้เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นผู้ประกอบพิธีอภิเษกสมรสให้จนสำเร็จ แต่พระบรมวงศานุวงศ์ก็ยังแสดงความเกลียดชังต่อนางสังวาลย์ตลอดมา

ในตอนเช้าของวันที่ 
9 มิถุนายน 2489 ในหลวงอนันท์อานันท์ยังประชวรอยู่ โดยบรรทมอยู่บนเตียงพร้อมกับหยิบปืนขึ้นมาเล่น เจ้าฟ้าชายภูมิพลเสด็จเข้ามาข้างในห้องบรรทม ในหลวงอานันท์จับปืนขึ้นจ่อมาที่พระเศียรของเจ้าฟ้าภูมิพลและกล่าวว่า  ฉันสามารถฆ่าเธอได้  แต่เจ้าฟ้าภูมิพลก็แย่งปืนมาและยกปืนจ่อที่พระเศียรของในหลวงอานันท์ แล้วกล่าวว่า“ ฉันก็ฆ่าเธอได้เช่นกัน   ในหลวงอานันท์ ร้องว่า เหนี่ยวไกเลย  เหนี่ยวไกเลย 

พระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ภูมิพลหลังยิงพระเชษฐา
เจ้าฟ้าภูมิพลก็ทำตามนั้นและก็ได้สังหารหรือปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์จริงๆ นางลิเดียเชื่อว่า การปลงพระชนม์เป็นอุบัติเหตุ และมันเป็นเรื่องที่ไม่เคยมีการจัดการสะสางข้อเท็จจริงกันเลย เจ้าฟ้าภูมิพลตกใจจนลนลานและหวาดกลัวสุดขีด  หลังจากนั้น มหาดเล็กสองคนก็ต้องถูกประหารชีวิตเนื่องจาก ได้เห็นการฆาตกรรมที่เกิดขึ้นตรงหน้า   พระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า พระชนนีสังวาลย์ควรจะต้องยืนกรานที่จะเปิดเผยความจริงให้เป็นที่รับรู้กัน เพราะพวกเขาเชื่อว่าการสวรรคตเป็นเรื่องของอุบัติเหตุโดยแท้ มิใช่การฆาตกรรมหรือเจตนาปลงพระชนม์  และประชาชนควรได้รับทราบว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้น เจ้าฟ้าภูมิพลควรสละราชสมบัติไปเป็นพระภิกษุตลอดชีวิตและยินยอมให้ราชสมบัตินั้นเปลี่ยนผ่านไปยังสมาชิกของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นแทน วิธีการนี้จะเป็นวิถีทางที่น่ายกย่องซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุจริตใจ 

พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

ฝ่ายพระบรมวงศานุวงศ์เชื่อว่า การสืบราชสมบัตินั้นจะถูกผ่านมายังพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทั้งๆที่พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ได้ถูกกันออกไปแล้วตามพระประสงค์ของรัชกาลที่เนื่องจากว่า พระมารดาของพระองค์เป็นชาวรัสเซีย บุคคลที่น่าจะได้รับการเลือกให้สืบราชบัลลังก์ตามหลักแล้วน่าจะเป็นพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร แต่พระองค์ไม่มีพระโอรส และมีแต่เพียงพระธิดา ซึ่งสมรสกับผู้ชายชาวฝรั่งเศส นายปรีดี พนมยงค์ มีจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเขียนโดยจอม ป พิบูลสงคราม  1 ปีก่อนหน้าที่จอมพลแปลกจะถึงแก่อสัญกรรม โดยยอมรับสารภาพว่า ข้อกล่าวหาให้ร้ายนายปรีดีในกรณีสวรรคตล้วนเป็นเรื่องเท็จทั้งสิ้น และตัวจอมพล ป.เอง ก็รู้ดีในเรื่องนี้
...................

No comments:

Post a Comment