Thanaboon Chiranuvat
Thanaboon Chiranuvat
มีพี่น้องประชาชน สนใจไต่ถามในเรื่องผลบังคับของสนธิสัญญา
ผมในฐานะนักกฏหมายระหว่างประเทศขอตอบท่านโดยยกเรื่องจริงที่กำลังเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันมาตอบ เป็นข้อๆดังนี้:
การไปดำเนินคดีอาญาแก่กลุ่มนักศึกษา ธรรมศาสตร์ที่สน.ปทุมวัน
ทางแก้ก็คือ:
ทางแก้ก็คือ:
๑.นักศึกษาที่ถูกเรียกตัวไป เมื่อมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน สน. ปทุมวัน แล้ว ก็แจ้งความให้ตำรวจ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน แจ้งจับคนแจ้งกลับ ไล่ดะไปถึงคสช.และ คณะซิครับ ตาม(สนธิสัญญา) Convention against Transnational Organized Crime, 2000 ฉบับนี้ เป็นกฏหมายไทยแล้ว เพราะไทยให้สัตยาบันแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีค.ศ.๒๕๕๖ หากพนักงานสอบสวน ไม่รับแจ้ง พนักงานสอบสวนมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ และ Convention against Corruption, 2003 เพราะประเทศไทยไปให้สัตยาบันรับรอง สนธิสัญญาฉบับนี้อีกเช่นกันในวันที่ ๑ มีนาคม แค.ศ.๒๐๑๑ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๔ เป็นกฏหมายภายในของประเทศนี้ทันที เพราะไทยไม่มีระบบกฏหมาย Dual System เหมือนประเทศอังกฤษ ที่โลกยอมรับรอง ของไทย เมื่อให้สัตยาบันโดยสมบูรณ์แล้ว มีผลบังคับตลอดบูรณภาพแห่งดินแดนไทย ทันที
๒.แต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อ เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ และผิดตามกฏหมายอาญา ในแต่ละประเทศของ คู่ภาคีสนธิสัญญา (หมายถึงประเทศ ที่ให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญา สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว) มีผลบังคับใช้ในทันที ตามกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ที่เป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (Multilateral Treaty ที่ต้องขอความยินยอมทุกชาติภาคีสมาชิก หากจะไม่ยินยอมปฏิบัติตาม หรือ ไปแก้ไขข้อสนธิสัญญาให้หย่อนลงด้วยการกระทำฝ่ายเดียว หรือ Unilateral Action) อีกเช่นกัน
๓. สนธิสัญญาที่ออกโดยนานาชาติ อาศัยอำนาจขององค์การสหประชาชาติ เปรียบเสมือนรายละเอียดต่อท้าย กฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ประเทศไทย ให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาคือ กฏบัตรสหประชาชาติ ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๔๖ หรือปีพ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปี แล้ว จะไม่ยอมรับสนธิสัญญา คือ Convention against Transnational Organized Crime, 2000 ที่ตนเองให้สัตยาบันไว้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.2013 หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นเรื่องราวใหญ่โตแน่ๆ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!
No comments:
Post a Comment