PPD's Official Website

Showing posts with label กฎหมายระหว่างประเทศ. Show all posts
Showing posts with label กฎหมายระหว่างประเทศ. Show all posts

Thursday, June 4, 2015

เผด็จการไทย ละเมิดสนธิสัญญาสากล แล้วจะเอาผิดพวกเขาได้อย่างไร?????

Thanaboon Chiranuvat
พี่น้องประชาชนคนไทย เกิดความสงสัย จึงไต่ถามผมมา

นี่คือคำตอบในข้อสงสัยของพี่น้องที่ผมตอบโดยสังเขป:
อาจารย์คะ.มีสมาชิกถามมาค่ะ อีกประการที่อยากเรียนถาม ถ้าหากว่าไทยกระทำผิดสนธิสัญญา กฎบัตร ฯ ใครจะเป็นผู้กล่าวหา ดำเนินการทางอาญา เพราะเคยเห็นว่า ไทยยังไม่ได้ ยอมรับที่จะอยู่ในอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือยอมรับแล้วก็ตาม ใครจะบังคับใช้กฎหมาย ครับ ในบ้านเรายังพอมองออกว่า ตำรวจ ทหาร ถ้าระหว่างประเทศ ใครดำเนินการครับ
Dumbai Man ปัญหาคือใครจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย แล้วศาลไทยจะนำมาใช้หรือครับ หากยังไม่มีการนำมาอนุวัฒน์เป็นกฎหมายไทย คือยอมรับแล้วแต่จะต้องมา ทำใ้ห้เป็นกฎหมายไทยก่อนหรือเปล่า จำได้เลา ๆ ว่าใน รธน.มีเขียนไว้ ยิ่ง ถ้าเป็นกฎหมายสำคัญตัองให้ผ่านสภาด้วย สอบถามเป็นวิทยาทานนะครับ
คำถามนี้ เป็นคำถามสำคัญ เพราะคนไทย ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่เคยทราบมาก่อนว่า "ประเทศไทย เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ นั้น ต้องปฏิบัติอย่างไร? เพราะเราไม่สั่งไม่สอน กันในโรงเรียนกฏหมายของประเทศ กลัวว่าจะไปถูกครอบงำโดยต่างชาติ" ที่จริงแนวคิดที่กล่าวมา เป็นแนวคิดทีผิดมหันต์ คนไทย จึงไม่เคยทราบอะไร? เลยเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ ในโรงเรียนกฏหมายที่ผมไปศึกษามาจนจบหลักสูตรในต่างประเทศ เขาพร่ำสอนกันจนรู้แจ้งแทงตลอดเกี่ยวกับ
องค์การนี้ :
1. พวกคุณ จำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่า องค์การนี้ เป็นองค์การโลกบาล ในการรักษาความสงบ และสันติสุขของโลก ให้ไปนำกฏบัตรสหประชาชาติ มาศึกษาเสียโดยเน้นไปที่จุดแรกคือ คำปรารภ (Preamble) มีวัตถุที่ประสงค์สำคัญ ๓ ข้อ (ให้ไปศึกษาดู นั่นคือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของ องค์การสหประชาชาติ
2. องค์การตั้งขึ้นมาโดยใช้หลักใหญ่ที่สำคัญ ก็คือ หลักความร่วมมือ (Co - Operation) จากนานาชาติ ไม่ใช้หลัก Sovereignty ของชาติ อีกต่อไป เพราะหลักตัวหลังนี้ เขาเลิกใช้บนยุโรปมาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว เพราะหลักนี้เองทำให้เกิดสงคราม สองครั้งสองหนบนพื้นพิภพนี้ สงครามโลกในหนหลัง มนุษย์ถูกฆ่าตายเพราะพิษภัยสงครามไม่ต่ำกว่า ๘๐ ล้านคน
3. เมื่อมีปัญหาสำคัญในระหว่างชาติ หรือในชาติที่อาจไปกระทบชาติอื่นๆข้างเคียง เขาจึงต้องให้ สมัชชาใหญ่ (General Assembly หรือ GA) และ คณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council (ผู้บริหารสูงสุดขององค์การ เป็นคนออกคำสั่งตัดสินใจ และทุกชาติสมาชิกก็ยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับ ก็ส่งปัญหาที่เป็นข้อกฏหมายไปให้ศาลโลก (International Court of Justice, ICJ) เป็นคนตัดสินชี้ขาด ทุกๆชาติตั้งแต่ก่อตั้งองค์การมา ก็ไม่มีชาติใด หรือใคร? ไม่ยอมรับคำตัดสิน ที่เขาเรียกวิธีการนี้ว่า "การตกลงด้วยสันติวิธี หรือ Pacific Settlement)

4. หากชาติคุณไม่ยอมรับในคำตัดสินเช่นนี้แล้ว เขาก็มีมาตรการบังคับ คือ มาตรการโดยรวมทางสันติ คือ การ Boycott ต่างๆ และการ Embargo ปิดกั้นไม่ให้ทำมาค้าขายด้วย ยกตัวอย่างเช่น สหภาพอาฟริกาใต้ (South Africa) โดนมาแล้ว เป็นเวลาถึง ๒๐ ปี และมาตรการโดยรวม (Collective Measures) ทางทหาร ที่หลายๆประเทศในอาฟริกากลาง และตะวันออก อิรัค และลิเบียโดนกระทำอยู่ หรือเช่นที่เกิดในบอสเนีย และราวันด้า เป็นต้น
5. สำหรับเรื่องราวที่เกิดอยู่ในประเทศไทยในเวลานี้ เป็นเพราะคณะทหาร หรือ คสช. กำลังทำตัวไปคล้ายๆ กับ Slorg ของพม่า ซึ่งสหประชาชาติ EU และ สหรัฐฯ กับชาติสมาชิกไม่ยอม คนไทยจึงต้องทุกข์ร้อนในวันนี้ มาจากมาตรการค่อยๆบีบให้คณะคสช. จนมุม
6. คุณมาถามผมว่า ใครจะเป็นคนบังคับ ก็ประกอบไปด้วยองค์กรใหญ่ในองค์การที่สำคัญ ๔ องค์กรคือ:

๒. คณะมนตรีความมั่นคง
๓. คณะมนตรีทางเศรษฐกิจ และสังคม
๔. ศาลโลก

๑. สมัชชาใหญ่
คนไทยต้องรู้จักใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เป็น ทุกๆเรื่อง ที่เป็นความวุ่นวาย ความลำบากที่เกิดอยู่ในประเทศนี้ ก็จะจบลงด้วยสันติวิธี ไม่ต้องมาเสียเลือดเนื้อ ส่วนใครทำผิด เป็นความผิดทางอาญา ตามสนธิสัญญาต่างๆเอาไว้ เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของ คณะมนตรีความมั่นคง ที่จะจัดการ โดยกล่าวหาเป็นคดีอาญาส่งไปดำเนินคดีในศาลอาญาพิเศษของสหประชาชาติได้ทันที หรือไม่ก็ส่งไปดำเนิคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ (the International Criminal Court, ICC) หรือไม่ก็ใช้ศาลนูเรมเบริกร์ เพราะสนธิสัญญา London Charter, 1938 ยังไม่ถูกยกเลิก ศาลนี้ใครไปขึ้นและผิดจริงถ้าเป็นทหาร โทษที่ลงก็คือ แขวนคอลูกเดียว
ดังที่เราเห็นกันมาแล้วภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสงบ บรรดานายพลเยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี ถูกซิว เป็นแถว เป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคง เป็นคนชี้ว่า จะใช้ศาลใดในสามศาลนี้
คนที่จะมาจับกุมตัวอาชญากรไปขึ้นศาลตามคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงอาจเป็น:
๑.ทหารรับจ้างฝรั่งเศส
๒.ทหารรับจ้างโปแลนด์
๓.หน่วย Delta Force
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความดื้อดึงดันของตัวอาชญากร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าผมคงตอบคุณที่สงสัยในเรื่องคนบังคับใช้กฏเกณฑ์ กฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ที่ตัวของกฏบัตร ก็คือ
สนธิสัญญาหลายฝ่าย หรือ Multilateral Treaty หากคำอธิบายนี้ตรงใดไม่กระจ่าง ก็ถามมาได้ครับ สวัสดี.

การดำเนินคดีอาญาแก่กลุ่มนักศึกษา ธรรมศาสตร์ที่สน.ปทุมวัน มีทางแก้ในเชิงกฎหมายสากล


Thanaboon Chiranuvat
มีพี่น้องประชาชน สนใจไต่ถามในเรื่องผลบังคับของสนธิสัญญา
ผมในฐานะนักกฏหมายระหว่างประเทศขอตอบท่านโดยยกเรื่องจริงที่กำลังเกิดที่สถานีตำรวจนครบาลปทุมวันมาตอบ เป็นข้อๆดังนี้:
การไปดำเนินคดีอาญาแก่กลุ่มนักศึกษา ธรรมศาสตร์ที่สน.ปทุมวัน
ทางแก้ก็คือ:
๑.นักศึกษาที่ถูกเรียกตัวไป เมื่อมาอยู่ต่อหน้าพนักงานสอบสวน สน. ปทุมวัน แล้ว ก็แจ้งความให้ตำรวจ ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวน แจ้งจับคนแจ้งกลับ ไล่ดะไปถึงคสช.และ คณะซิครับ ตาม(สนธิสัญญา) Convention against Transnational Organized Crime, 2000 ฉบับนี้ เป็นกฏหมายไทยแล้ว เพราะไทยให้สัตยาบันแล้ว ตั้งแต่วันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีค.ศ.๒๕๕๖ หากพนักงานสอบสวน ไม่รับแจ้ง พนักงานสอบสวนมีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา ๑๕๗ และ Convention against Corruption, 2003 เพราะประเทศไทยไปให้สัตยาบันรับรอง สนธิสัญญาฉบับนี้อีกเช่นกันในวันที่ ๑ มีนาคม แค.ศ.๒๐๑๑ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๔ เป็นกฏหมายภายในของประเทศนี้ทันที เพราะไทยไม่มีระบบกฏหมาย Dual System เหมือนประเทศอังกฤษ ที่โลกยอมรับรอง ของไทย เมื่อให้สัตยาบันโดยสมบูรณ์แล้ว มีผลบังคับตลอดบูรณภาพแห่งดินแดนไทย ทันที
๒.แต่ละเรื่อง แต่ละหัวข้อ เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ และผิดตามกฏหมายอาญา ในแต่ละประเทศของ คู่ภาคีสนธิสัญญา (หมายถึงประเทศ ที่ให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญา สมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว) มีผลบังคับใช้ในทันที ตามกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ที่เป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (Multilateral Treaty ที่ต้องขอความยินยอมทุกชาติภาคีสมาชิก หากจะไม่ยินยอมปฏิบัติตาม หรือ ไปแก้ไขข้อสนธิสัญญาให้หย่อนลงด้วยการกระทำฝ่ายเดียว หรือ Unilateral Action) อีกเช่นกัน
๓. สนธิสัญญาที่ออกโดยนานาชาติ อาศัยอำนาจขององค์การสหประชาชาติ เปรียบเสมือนรายละเอียดต่อท้าย กฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ประเทศไทย ให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญาคือ กฏบัตรสหประชาชาติ ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๔๖ หรือปีพ.ศ.๒๔๘๙ เป็นเวลาเกือบ ๗๐ ปี แล้ว จะไม่ยอมรับสนธิสัญญา คือ Convention against Transnational Organized Crime, 2000 ที่ตนเองให้สัตยาบันไว้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.2013 หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖ อย่างนี้ ย่อมเป็นเรื่องราวใหญ่โตแน่ๆ !!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!!

Sunday, May 31, 2015

การยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ Passport ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่? (ตอนที่ ๑)

Thanaboon Chiranuvat
ปํญหาของการไม่ให้หนังสือเดินทาง หรือ Passport = การยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ Passport ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่? (ตอนที่ ๑)
ขณะนี้ได้เกิดคำถามตัวโตๆขึ้น ท่ามกลางจิตใจของคนไทยโดยทั่วไปว่า: “การทำการเพิกถอน หนังสือเดินทาง (Passport) ของคนไทย ผู้ถือหนังสือเดินทาง [barer of passport] ที่ออกโดยรัฐบาลไทย [Thai Government]) ที่ถือกำเหนิดเกิดมาโดยพ่อแม่ที่มีสัญชาติไทย (เป็นคนไทยและได้สัญชาติไทยโดยสายเลือด) และการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (The Nationality conferred by the Territorial Rights) จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่?”

การจะตอบคำถามข้อนี้ ก่อนอื่นท่านมีความจำเป็นต้องหารือกับคำว่า “กฏหมาย” ให้ดีเสียก่อนว่า ถ้อยคำๆนี้ หาได้หมายรวมถึง กฏหมายภายในของประเทศไทย แต่อย่างใดไม่ เพราะในประวัติศาสตร์ของไทยไม่เคยมีการบันทึกเรื่องราวของ การมีและใช้หนังสือเดินทาง แม้ว่าไทยหรือสยาม จะเคยติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูตกับต่างประเทศ มาแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ที่ส่งราชฑูตจากราชสำนักไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ตาม ประเทศไทยหรือสยาม เพิ่งจะมามีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างชุก ก็ในยุคการล่าอาณานิคม (Colonialism) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แม้กระนั้นก็ไม่มีการบันทึกเรื่องราวถึง “หนังสือเดินทาง หรือ Passport” แต่อย่างใด
คนไทยที่ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับกฏบัตร กฏหมายเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนกฏหมายเน้นหนักไปที่ความสำคัญเกี่ยวกับ หนังสือเดินทาง หรือ Passport แต่อย่างใด ทั้งที่ในเวลานั้นเรามีเรื่องของกงศุล และศาลกงศุล หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ Extra-Territorial Rights” เข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ เป็นประจำวันของคนไทยในสมัยนั้นแล้วก็ตาม
ในขณะเดียวกันกับประเทศในยุโรปผู้ล่าเมืองขึ้น กลับมีความเจนจัดและช่ำชองเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายกงศุล (Consular Law or Consular Relations) กฏหมายที่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติในทางการฑูต (Diplomatic Relations) กฏหมายระหว่างประเทศ (Law of Nations or Classical International Law) กฏหมายทะเล (Law of the Sea)ไม่ว่าจะเป็นชาวดัชท์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ชาวเสปญฯ เป็นต้น แต่คนไทย หรือคนในสยามประเทศ ก็ไม่สนใจในเรื่องที่กล่าวมานี้ วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับ คำว่า “กฏหมาย” โดยคิดไปว่า จำเป็นต้องพิจารณาว่า “กฏหมายของไทย” เท่านั้นที่มีความสำคัญที่สุด


คนไทยไม่จำต้องไปพิจารณาโดยคำนึงถึงคำว่า “ กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ Law of Nations or International Law ” เลย เพราะฉะนั้นคนไทยในทุกวันนี้ เป็นส่วนใหญ่ จึงตกอยู่ในภวังค์ หรือ ความคิดที่เรียกว่า “โง่ดักดาน” ทั้งๆที่โลกวันนี้ได้ผ่านห้วงเวลาของ “Y to K” หรือผ่านห้วงเวลาของ Millennium มาแล้ว พูดกันแบบง่ายๆ ผ่านค.ศ. ๒๐๐๐ มาแล้วแบบฉลุย และประเทศของเราเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงผลของการไม่ยอมเรียนรู้ และขาดสำนึกกับการไม่ยอมรับว่า กับคำว่า “กฏหมาย” นั้นไม่รวมถึง “กฏหมายภายใน” ของประเทศไทยอย่างเดียว

แต่ตามความเป็นจริงนั้นให้หมายรวมไปถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law”หรือ Law of Nationsไปด้วย และการกระทำใด อันจะชอบ ด้วยครรลองของกฏหมาย สิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกๆ ก็คือ “ความชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ” หรือไม่? มิฉะนั้นเรา ก็จะมองหาช่องทางให้หลุดรอดออกไปจาก ความวุ่นวาย (Chaos) ที่เราประสบอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ถ้าเรา ยังมะงุมมะงาหรากับ การเที่ยวไปตีความคำว่า “กฏหมาย” เป็นแค่เพียง “กฏหมายภายในของไทย”เท่านั้น ในรูปแบบนักกฏหมายในโครงร่างของ “ศรีธนญชัย” ที่ล้าสมัย ต้องถามใจท่านให้ชัดเจนว่า “โลกในวันนี้คือโลกในยุคค.ศ. ๒๐๐๐”
เราไม่อยู่ในห้วงเวลา ที่นับว่า เป็นตอนต้นของคริตศตวรรษที่ ๑๗ คือหลังค.ศ. ๑๖๕๐ เรื่อยมาแล้ว เพราะในวันนั้น ต้องถือว่าโลกยังป่าเถื่อนอยู่ มีการใช้ “กฏโจร” แทนที่ “กฏหมาย”อยู่มาก มิฉะนั้นไม่เกิดสงครามครูเสด และสงครามโลกทั้งสองครั้งอุบัติขึ้นในโลกใบนี้ ซึ่งไม่นับรวมถึง สงครามอื่นๆอีกหลายสิบครั้งบนพื้นแผ่นดินของยุโรป

กล่าวโดยสรุปคำว่า “กฏหมาย” ย่อมหมายถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law หรือ Law of Nations” เป็นลำดับแรก ตามความในลำดับต่อๆไป ในบทความนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง คำว่า “กฏหมายภายในของไทย” หาก จะมีการนำมาใช้ปรับได้ ก็ต่อเมื่อ “กฏหมายภายในของไทยนั้น ได้อภิวัฒน์ตามกฏหมายระหว่างประเทศจนทันแก่กาลสมัย” แล้วเท่านั้น.

๑. การขอมีหนังสือเดินทาง หรือ Passport เป็น สิทธิของพลเมือง (The Application to have the passport is the right of any citizen) ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง (It is borne out of the citizenship) ผู้ใดจะปฏิเสธเสียมิได้ (Nobody is entitled to negate or abridge such right).
ก่อนที่จะเข้าสู่การอธิบายในหัวเรื่องนี้ เห็นควรเน้นย้ำว่าสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓{The Vienna Convention on Consular Relations, 1963 Article 5 in accordance with Article 36 (1), (2) and (3)} บทบัญญัติที่ ๕ (d) ประกอบด้วยบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) บัญญัติให้กงศุล หรือเจ้าหน้าที่กงศุล ต้องกระทำการทุกๆอย่างเพื่อเป็นการให้สิทธิแก่คนในชาติของตน และมิใช่กระทำการใดๆอันเป็นการทำลายสิทธิของคนในชาติของตน

การเพิกถอนสิทธิต่างๆในหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ การยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ล้วนเป็นไป เพื่อ เป็นการทำลายสิทธิ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง (Bearer of the Passport) ทั้งสิ้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำได้ หรือไม่? คำตอบก็คือทำไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างคดีมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ได้อ่านกันทั้งสองคดี:
คดีหนึ่งพิพากษาโดยศาล Supreme Court ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ อีกคดีหนึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลโลก หรือ The International Court of Justice, ICJ (แกนหลักที่ ๖ ขององค์การสหประชาชาติ) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกงศุล
ศาลโลกตีความบทบัญญัติที่ ๕ (d) ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกงศุล ประกอบบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) ของสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ. ๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963)
ทั้งนี้โดยศาลโลกได้ตีความโดยได้เน้นย้ำไป ที่อำนาจหน้าที่ของกงศุลกับคนในชาติของตนว่า กงศุลมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในชาติของตนในทุกสถานการณ์ และในบางสถานการณ์ เช่น คนในชาติของตน ถูกจับกุมคุมขัง อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในประเทศ ที่สถานกงศุลของตนตั้งอยู่ หรือแม้แต่คนในชาติของตน ถูกศาลยุติธรรมพิพากษาหรือ ตัดสินในคดีจนถึงที่สุด และมีการบังคับคดีในศาลแล้ว โดยศาล ที่ว่านั้นของประเทศที่สถานกงศุลตั้งอยู่ฯลฯ เป็นต้น กงศุลมีอำนาจหน้าที่ๆ ต้องปฏิบัติต่อคนในชาติของตนจนถึงที่สุด โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ (ให้ไปดูสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963) ตามที่กล่าวมา
อนึ่งการที่บุคคลที่เป็นคนในชาติไปขอมีหนังสือเดินทาง (Passport) ไม่ว่าคนในชาติบุคคลคนนั้น จะเกิดการได้สัญชาติมา โดยหลักสายเลือด (พ่อแม่เป็นคนในชาติสมรสกันแล้ว ก่อเกิดบุคคลผู้นั้นออกมา) หรือบุคคลผู้นั้นเกิดหรือคลอดออกมาเป็นทารกและมีลมหายใจอยู่รอดในแผ่นดินที่ ตนคลอด อันเรียกว่าได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (Acquiring the Nationality by Territorial Principles) หรือแม้แต่การได้สัญชาติของดินแดน ที่ตนอยู่อาศัยตามกฏหมาย ที่เรียกว่า “การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ” (Acquiring the Nationality by Naturalization) ก็ตาม และปรากฏว่าในเวลาต่อมารัฐ หรือ ชาติ (State or Nation) ปฏิเสธสิทธิที่จะได้มี หรือได้ครอบครองหนังสือเดินทาง (Passport) ของบุคคลในรัฐหรือชาตินั้น (State or Nation)

การที่รัฐผู้มีหน้าที่ต้องออกหนังสือเดินทาง (Passport) เพราะบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ถือสัญชาติของตน ปฏิเสธไม่ออกหนังสือเดินทาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดในทางสังคมหรือในทางการเมืองตามความเชื่อของผู้มีสิทธิ ที่จะได้หนังสือเดินทาง หรือบุคคลผู้นั้น ถูกยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ที่อยู่ในความครอบครองของตน โดยรัฐ เจ้าของหนังสือเดินทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่เสมอเหมือนกัน หรือเป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ การปฏิเสธไม่ให้บุคคลผู้นั้น มีหนังสือเดินทาง (Passport) ของรัฐหรือชาติ ที่บุคคลผู้นั้น ถือสัญชาติ และ สังกัดอยู่ และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
การที่รัฐปฏิเสธ ไม่ให้หนังสือเดินทาง= ยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทางของคนในรัฐ แก่คนที่ถือสัญชาติของรัฐ, การกระทำของรัฐ=ทำให้บุคคลนั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person) ที่มีสนธิสัญญาว่าด้วย บุคคลไร้รัฐ ของสหประชาชาติ ที่ได้ประกาศ และ บังคับใช้เพื่อคุ้มครองบุคคลใดๆ ที่ตกอยู่ในสภาพการอย่างที่ว่านั้นอยู่ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนท้ายของบทความนี้ รวมทั้งสหประชาชาติ มีอำนาจออกหนังสือเดินทางเองโดยอำนาจขององค์การตัวเองเสียด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะปกป้องสิทธิ ที่เกิดมาตามธรรมชาติ (Natural Rights) ให้แก่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ที่ยังมีลมหายใจอยู่บนพื้นพิภพนี้.............(มีต่อ)

Monday, April 27, 2015

การยึดอำนาจประชาชน แล้วไปทำโครงการขายชาติ ถูกกฎหมายสากลหรือไม่? คนไทยทวงคืนได้ไหม?

คุณ ประยุทธ กับ คสช. และคณะ จะจัดสร้างทางรถไฟ โดยเอื้อประโยชน์ให้กับนายทุนไทย และดึงเอา จีน ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ชาติในยุโรป หรือสหรัฐฯ เข้ามาร่วมทุนจัดสร้าง ทำได้แน่หรือ? โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ
นี่คือคำตอบ:
อย่าเอ็ดไปครับ คุณใช้ Convention Against Transnational Crime, Sept. 2003 ที่นานาชาติ เริ่มลงนามและให้สัตยาบันกันในปีค.ศ.๒๐๐๐ และประเทศนี้ไปให้สัตยาบันในปีค.ศ.๒๐๑๓ มาเป็นเครื่องมือ ในการป้องกันชาติ มิให้ถูกปล้นได้ครับ
สิทธิเหนือรางรถไฟ เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับ อธิปัตย์ เป็นของราษฏรทุกๆคนในประเทศนี้ เมื่อจะยกสิทธิเหนือรางรถไฟ ให้ใครๆไป ต้องทำตาม กติกาสากล (ระหว่างประเทศ) ว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ ที่ประเทศนี้ไปประกาศเข้าร่วมเป็นรัฐคู่ภาคีสมาชิก มาตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๓๙ มีผลบังคับทั่วไปต่อประเทศไทย ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ. ๒๕๔๐ และ ยังต้องบังคับตามกติกาสากล (ระหว่างประเทศ) ว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ ที่ประเทศไทย ไปประกาศขอเข้า เป็นรัฐคู่ภาคีในปีพ.ศ.๒๕๔๐ มีผลบังคับทั่วไปต่อประเทศไทยในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๑ บทบัญญัติที่ ๑ ของสนธิสัญญาทั้งสอง คือ สิทธิที่ราษฎร ต้องใช้อัตวินิจฉัยของตนเอง หรือ Right to Self - Determination คุณประยุทธฯกับพวกคือ คสช. กับ คณะไม่ใช่เจ้าของคนเดียวผูกขาด ในสิทธินี้!!!!!!!!!!!!!!!!!!
เมื่อกระทำการยึดอำนาจ ขัด หรือ แย้งกับ Convention Against Corruption, 2003 การยึดอำนาจ หรือ รัฐประหารตกเป็นโมฆะ บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)
ทำอะไรต่อไป ก็เข้าตามองค์ประกอบของบทบัญญัติที่ ๑ และ ๒ ของ Convention Against Transnational Organized Crime, Sept. 2003 มีผลบังคับไทยมาแต่ปีค.ศ.๒๐๐๐ เพราะไทย ให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญานี้ ในเดือนตุลาคม ปีค.ศ.๒๐๑๓ ต้องส่งย้อนหลังตามหลักการของกฏหมายระหว่างประเทศ
การให้สิทธิเหนือรางรถไฟ จึงทำไม่ได้ เพราะไม่ใช่สิทธิของ คสช. กับคณะ แต่เป็นของประชาชนคนไทยทุกๆคน คสช.กับคณะทั้งหมด ไปก่อภาระผูกพันใดๆต่อประเทศชาติ และประชาชน โดยไม่ถามประชาชนทุกๆคนในประเทศไม่ได้  เพราะกระทำการขัดหลักการของ กฏหมายระหว่างประเทศ อันมีที่มาจากสนธิสัญญา (Obligation derives from the Law of Treaties) คน ที่เข้ามาจัดสร้าง ไม่ว่า จีน หรือ ญี่ปุ่น หรือชาติใดๆ อยากลองเสี่ยงกับโมฆะกรรม ก็ลองดู ไม่มีใครว่า? เพราะเป็นเรื่องของ พี่น้องประชาชนคนไทยทุกๆคนจริง ไม่ว่าเขา จะอยู่ในมุมใดของโลก เขาคือเจ้าของสิทธิในการอัตวินิจฉัย หรือ Right to Self - Determination ตัวจริง

ผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนความของ สนธิสัญญาทั้งสองข้างต้น ล้วนมีความรับผิดในทางอาญาระหว่างประเทศ เป็นรายบุคคล


ใครอยากทำอะไรแบบแถๆ หรือ ฝ่าฝืน? ก็ลองของได้ Convention Against Corruption, 2003 ก็ดี Convention Against Transnational Organized Crime, Sept. 2004 ล้วนเป็นสนธิสัญญา ที่ก่อตั้งสิทธิในการดำเนินคดีในทางอาญา ให้แก่ราษฎร ที่ต้องตกเป็นผู้เสียหาย
การจะเที่ยวไปอ้างว่า "เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณ หรือ ความมั่นคงของชาติ ล้วนเป็นไปเพื่อจะใช้สิทธิของราษฎร หรือ แทนราษฎร ที่เขามีอยู่ตามกติการะหว่างประเทศทั้งสองข้างต้น ไม่อาจกระทำได้
ราษฎร เขาต้องทำด้วยตัวเขาเอง ผ่านกรรมวิธีประชามติ ที่ถูกต้องสมบูรณ์ ภายใต้กฏหมายระหว่างประเทศ ที่พัฒนาแล้ว" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.






Monday, April 20, 2015

รัฐธรรมนูญโจร กับความหายนะของประเทศไทย ตอน 2



การ ที่จัดให้มีการ Debate เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสนช. และ สปช. โดยตัวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีสถานภาพ ที่ขัดต่อธรรมนูญโลก (International Bill of Rights) หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย (ตอนที่ ๒)
๕. เมื่อประเทศไทย จะโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล คณะใดก็ตาม ได้กระทำการฝ่าฝืน Convention Against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย ได้ไปให้สัตยาบันไว้กับ นานาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ในวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ. ๒๐๑๑ หรือ ปีค.ศ.๒๕๕๔ ด้วยการผลักดันให้กลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่ง ขึ้นมาจับกุมเอาอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบ การเข้ายึดอำนาจเช่นว่านั้น เป็นการคอร์รัปชั่นอยู่ในตัวเอง (the corruption per se) ทั้งนี้ก็เพราะ การคอร์รัปชั่นตามสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวข้างต้น มีความหมายเป็นสองนัย:

๕.๑ นัยที่หนึ่ง เป็นความหมายตามที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญา ซึ่งหมายถึงการ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ยักยอก ฉ้อโกง และรับของโจรในความหมายของประมวลกฏหมาอาญาไทย ที่ทำกับทรัพย์สินของรัฐ และเอกชน, การฟอกเงิน และ การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ จะเป็นรัฐ และ/หรือ เอกชนก็ตาม (ให้ดูคำนิยามตาม Convention Against Corruption, 2003)

๕.๒ นัยที่สองทุกชาติคู่ภาคีสมาชิกของสนธิสัญญาฉบับนี้ มีความเห็นสอดคล้องต้องกัน เป็นเอกฉันท์ โดยการไปจัดการประชุมร่วมกันในเรื่องการบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุง โซล ประเทศเกาหลีใต้ ในเวลา ๗ เดือน ก่อนการประกาศบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับนี้(จัดประชุมในเดือน พฤษภาคม ปีค.ศ.๒๐๐๓ ที่ท่านผู้อ่านอาจศึกษาเอาได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล) โดยการให้คำนิยามแก่คำว่า “Corruption” ให้หมายถึง “ Abused of Powers for Private Gains” วลีนี้จึงเป็นการให้ความหมายอย่างกว้างของคำว่า “ Corruption” ตามที่ปรากฏในสนธิสัญญา ซึ่งมีความหมายว่า “ การใช้อำนาจโดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ตน” และในความหมายอย่างกว้างนี้ ไม่จำเป็นต้องมีเงินทอง หรือ ผลประโยชน์ที่เป็นเงิน หรือ ที่เป็นทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงแต่ต้องการกระทำ ที่ปรากฏเป็น “การใช้อำนาจโดยมิชอบเท่านั้น” การยึดอำนาจ และการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อประโยชน์ตน หรือไม่? ผู้อ่านทั้งหลาย คงมีสมองตรองคิด ที่จะวิเคราะห์ได้ด้วยมันสมองของ ท่านผู้อ่านเอง ผมคงไม่จำเป็นต้องชี้แนะไปให้มากกว่านี้

ส่วนการกระทำต่างๆ ตามที่ปรากฏให้เห็นไม่ว่า ด้วยลายลักษณ์อักษร หรือ เป็นภาพต่างๆ ไม่ว่าเป็นวิดิทัศน์ หรือโดยประการอื่นๆ ที่ปรากฏต่อสายตาท่าน หลังจากเวลา ที่มีการยึดเอาอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบแล้ว นอกจาก จะส่งผลให้การยึดอำนาจรัฐเช่นว่านี้ ตกเป็นโมฆะ (ตามความหมายของกฏหมายระหว่างประเทศ ตาม Diagram ท้ายบทความนี้)  ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับสนธิสัญญานี้ และถ้อยคำตามที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปีพ.ศ.๒๕๕๗ ที่ว่า “เราจะยอมรับในพันธกรณีที่มีอยู่กับนานาชาติ” จะส่งผลต่อไปภายใต้บังคับแห่งกฏหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “บรรดาผลบังคับทางกฏหมาย อันมีที่มาจาก [สนธิสัญญา] ที่ประเทศนี้มีอยู่กับนานาชาติ ฉะนั้นการ Sanction (การบังคับตามกฏหมายระหว่างประเทศ)  ไม่ว่าจะมาจาก EU ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแม้แต่ประเทศนิวซีแลนด์ รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ แม้แต่รัสเซีย” ที่จงใจจะสร้างสัมพันธ์ในทางการค้ากับประเทศไทยเท่านั้น (พูดง่ายๆ กู จะโกยเอาประโยชน์ของ กูลูกเดียว ) มิได้ต้องการสานสัมพันธ์ในระหว่างประเทศ เพื่อให้สถานภาพของประเทศไทย กลับไปสู่สถานะเดิมแต่ประการใดทั้งสิ้น

สำหรับกลุ่มประเทศในอาซี่ยน (ASEAN) คงไม่ต้องไปกล่าวถึง ให้มากเรื่องมากความ เป็นประชาคม ที่มุ่งเดินหน้าทางการค้าโดยเสรีประการเดียว แบบตัวใครตัวมัน ตราบเท่าที่ไม่มีสงครามกลางเมืองในไทย ไปตกกระทบเพราะพรมแดนติดกัน (As long as there is no effect of Civil War spilled over, it is o.k. for us.) เขาก็คงไม่มายุ่งกับเราแบบจริงจัง

 การที่ประเทศไทย จงใจใช้อำนาจจากอธิปไตยในลักษณะโดยมิชอบเช่นนี้ (the exercising of Sovereign Powers in an ill – legitimacy manner) ย่อมส่งผลร้ายให้กับประเทศไทยเองในที่สุด แบบสิ้นหนทางออก และผู้จับกุมอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบนี้ หมดสิ้นหนทาง ที่จะก้าวลงจากอำนาจ แบบสวยๆไปได้
เราต้องไม่ลืมไปว่า “วันนี้คือ คริสศตวรรษที่ ๒๑ แล้ว มิใช่คริสศตวรรษที่ ๑๙ และ ที่ ๒๐ อีกต่อไป โลกก้าวล้ำหน้าไปมากกว่า ที่เราจะคิดตามทัน ถ้าเราไม่คิดที่จะตามโลกให้ทัน” ประเทศของเราก็จะเสียโอกาส ไปเรื่อยๆ เมื่อเราถูกโลกที่เจริญแล้ว (Civilized Nations) เช่น EU และประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งบางชาติที่เจริญแล้วในเอเชีย และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บีบนวดไปเรื่อยๆไม่ว่าทางการค้า หรือสายสัมพันธ์ทางการฑูต

เราก็จะมีสถานภาพไม่ต่างไปจากประเทศสหภาพอาฟริกาใต้ ที่เคยโดนสหประชาชาติ และกลุ่มประเทศที่เจริญแล้ว Sanction เป็นเวลาถึง ๒๐ กว่าปี จนกระทั้งรัฐบาลคนผิวขาว ที่นำโดยประธานาธิบดี เคริกซ์ โบทาร์ ต้องยอมคุกเข่าทรุดตัวลง และยอมให้นายเนลสัน แมนเดล่า ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของ ประเทศ South Africa และยกเลิก Apartheid ออกไปเสียจาก South Africa
(พรุ่งนี้จะมาว่าต่อไปในเรื่อง Convention Against Transnational Organized Crimes, Sept. 2003 ว่ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร? และ Never ending War for Thailandคืออะไร?)
Thanaboon Chiranuvat's photo.
รัฐธรรมนูญโจร กับความหายนะของประเทศไทย ตอน 2

Write a comment...

Saturday, April 18, 2015

รัฐธรรมนูญวิบัติ "หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย"

การที่จัดให้มีการ Debate เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสนช. และ สปช. โดยตัวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีสถานภาพ ที่ขัดต่อธรรมนูญโลก (International Bill of Rights) หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย
๑. ในวันที่ ๒๐ – ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะได้จัดให้มีการปาฐก หรือ ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ (ปีพ.ศ........) ในสภาปฏิรูปฯ และจะนำเข้าไปถกกันต่อในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อจะผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ ออกมาบังคับใช้ ผู้เขียนเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างมาโดยคนหยิบมือเดียว และเป็นผู้ที่รู้บ้าง และไม่รู้บ้างทางกฏหมายในประเภทนี้ ซ้ำยังถูกหลอกโดยนักวิชาการในประเภท “เสือกสู่ร้” โดยคิดว่าตัวมันมีความรู้ดีทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อนำมาชำแหละด้วยความรู้ที่รู้แท้แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญตัดแปะ ที่เคยทำมาแล้ว กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพ.ศ. ๒๕๔๐ เท่าใดนัก
๒. ด้วยความเป็นห่วงในสถานการณ์ของบ้านเมือง ที่เสื่อมทรุดลงเรื่อยๆ ไม่มีหนทางที่จะทำให้ดีไปกว่านี้ได้ หากพวก “เสือกสู่รู้” ทั้งหลายเหล่านี้ ยังคงเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และเลียมือเลียเท้า ผู้ที่คิดว่า มีอำนาจจัดการบริหารในบ้านเมืองอยู่ แบบคนตาบอดมืดมิดทั้งสองข้าง แล้วหลงว่า “ตัวเองมีอำนาจโดยแท้จริง” ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ตัวเองไม่มีอำนาจโดยชอบอย่างใดๆเลยตามกฏหมาย (There is no de jure per se as the Executive, Legislative or even Judiciary in itself to perform as “Government by Law”)
๓. ท่านผู้อ่านคงจะจดจำกันได้ว่า เมื่อประมาณสอง ถึงสามสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น “ท่านผู้นำ” อุตส่าห์ดั้นด้นไปขอเข้าร่วมประชุมกับเขา (ทั้งๆที่เขามิได้เชิญ) แล้วเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ด้วยความเป็นห่วงในสถานการณ์ของประเทศไทย ได้กล่าวเตือน “ท่านผู้นำ” ว่า “ท่านกำลังทำการร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางแม่น้ำทั้งห้าสายของท่าน ผมก็กำลังร่างรัฐธรรมนูญสำหรับประเทศไทย ตามแนวทางของผม แล้วเรานำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าของสหประชาชาติดีกว่า ก็จะใช้ฉบับของสหประชาชาติ” ที่เขาเตือนมาอย่างนี้ “ท่านผู้นำ” น่าจะทำใจได้ และเฉลียวใจแล้วว่า “อะไร? จะเกิดกับประเทศไทยต่อไป” ท่านต้องแปลสัญญาณที่ส่งออกมาจากเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติให้ได้ ต้องไม่ดื้อรั้น และหักหาญจะทำอะไร?ต่อไปตามอำภอน้ำใจท่าน ทั้งนี้ก็เพราะถ้าท่านไม่ทราบ ผมก็จะแจ้งให้ท่านได้ทราบว่า สถานภาพของตัวท่านเอง และคณะทั้งหมดที่ท่านตั้งมากับมือท่านนั้น โลกเขาเรียกท่านว่า “Junta” แปลว่า “ผู้จับกุมเอาอำนาจรัฐไปใช้ โดยมิชอบ” ที่เขากล้าหาญชาญชัยที่จะเรียกท่านว่ามีสถานภาพอย่างนั้น เพราะการยึดอำนาจในประเทศไทยในวันนี้ เป็นการ คอร์รัปชั่นอยู่ในตัวเอง [Corruption per se] ปรากฏตาม (สนธิสัญญา) Convention Against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทยไปประกาศขอเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ กับ นานาชาติ และสหประชาชาติในวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ.๒๕๕๔
๔. เมื่อประเทศไทย ได้ไปประกาศเข้าร่วมใน Convention Against Corruption, 2003 แล้ว ประเทศไทย มีหน้าที่ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (the Multilateral Treaty) ที่ต้องงดเว้น (งดเว้น = กระทำการ) ไม่กระทำการใดๆต่อไปอันเป็น:
๔.๑ กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการ อันเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมเสีย และเสียหาย แก่เจตนารมณ์โดยแท้จริงของสนธิสัญญา {ให้ไปนำคำวินิจฉัยของศาลสถิตย์ยุติธรรมสังคมประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ the European Court of Justice ในคดี Costa v. E.N.E.L. มาศึกษาโดยเปรียบเทียบกับ คดีที่พิพากษาในข้อกฏหมายของศาลสถิตย์ยุติธรรมระหว่างประเทศ (the Permanent Court of International Justice, PCIJ) หรือ ศาลโลกเดิม ในคดีที่ชื่อว่า “the Greco – Bulgarian Communities Case” ที่พิพากษาอาไว้ในปีค.ศ. 1930}
๔.๒ ใช้การกระทำฝ่ายเดียวของตน (การร่างรัฐธรรมนูญในแบบที่เป็นอยู่นี้ต่อไป และนำไปประกาศบังคับใช้) หรือที่เรียกว่า Unilateral Action เพื่ออาศัยเป็นช่องทางในการขยายถ้อยคำ หรือเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในสนธิสัญญาให้หย่อนลง
๔.๓ ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการขวางกั้นไม่ให้สนธิสัญญา (Convention Against Corruption, 2003) มีผลบังคับในลักษณะที่เป็นกฏหมายภายในของรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญา โดยปราศจากความยินยอมของรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาฉบับนั้นๆทุกฝ่าย
(มีต่อ)


Thursday, April 16, 2015

คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?

คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?
Thanaboon Chiranuvat
คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?
นี่คือคำตอบ ในฐานะ ที่เป็นนักกฏหมายระหว่างประเทศ:
นี่คือ พยานหลักฐาน อีกชิ้นหนึ่ง ที่จะใช้เป็นเชือกรัดคอ เหล่อัลไต ทั้งนี้เพราะสถานภาพแห่งตัวตน ไม่มีตามกฏหมายโดยชอบ คำว่า " กฏหมาย" ก็คือ "กฏหมายอันมีที่มา จากสนธิสัญญา ซึ่งได้แก่
๑. Convention Against Corruption, 2003,
๒. the Geneva Conventions, 1949
๓. the Hague Conventions, 1899 - 1907
๔. the Convention Against Trans - National Organized Crimes and Protocol thereto, 2004
๕ คำพิพากษาของ Appeal Court ในกรุงเฮก ( at the Hague) 29 October 2009ในคดีที่ชื่อว่า Sesay et. al
ทั้งห้าขั้นตอนนี้ เป็นยิ่งกว่า และอยู่เหนือกว่า "แม่น้ำทั้งห้าสายของคณะ คสช."
การออกคำสั่งอย่างนี้มาในเวลานี้ ไม่ต่างจาก
๑. แสดงอาการจนมุม
๒. ดื้อ ทำผิดกฏเกณฑ์ ทั้งห้าทางสากล ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ซ้ำแล้วซ้ำอีก (Repeated Actions)
๓.นานาชาติ เขารู้เช่นเห็นชาติคุณหมดแล้ว จะไปทำอะไร? ที่ไหนอย่างไร? เขาจะเอาด้วย เป็นเรื่องยาก
๔. คุณแน่ใจนะว่านานาชาติ เขาไม่รู้ว่า "เวลานี้สิ่งที่คนไทยทั้งประเทศ มีความต้องการอย่างมากที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และ สันติสุข คือคำว่า [ประชาธิปไตย อย่างที่ได้รับการปฏิบัติกันอยู่ และ จับต้องได้เป็นรูปธรรม ในระดับนานาชาติ]"
๕. เลิกกะล่อนกับ นานาชาติ ได้แล้ว เผื่อว่า จะได้มีทางเดิน ให้กับตัวเอง และครอบครัว เดินออกไปได้อย่างปลอดภัย และ มั่นคง
คุณเหล่ อัลไต นี่คือคำเตือน จากคนที่หวังดี ต่อบ้านเมืองนี้ อย่างบริสุทธิ์ใจ.

คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?

คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?
Thanaboon Chiranuvat
คำสั่งของคณะคสช ฉบับที่ ๔/ ๒๕๕๘ คืออะไร?
นี่คือคำตอบ ในฐานะ ที่เป็นนักกฏหมายระหว่างประเทศ:
นี่คือ พยานหลักฐาน อีกชิ้นหนึ่ง ที่จะใช้เป็นเชือกรัดคอ เหล่อัลไต ทั้งนี้เพราะสถานภาพแห่งตัวตน ไม่มีตามกฏหมายโดยชอบ คำว่า " กฏหมาย" ก็คือ "กฏหมายอันมีที่มา จากสนธิสัญญา ซึ่งได้แก่
๑. Convention Against Corruption, 2003,
๒. the Geneva Conventions, 1949
๓. the Hague Conventions, 1899 - 1907
๔. the Convention Against Trans - National Organized Crimes and Protocol thereto, 2004
๕ คำพิพากษาของ Appeal Court ในกรุงเฮก ( at the Hague) 29 October 2009ในคดีที่ชื่อว่า Sesay et. al
ทั้งห้าขั้นตอนนี้ เป็นยิ่งกว่า และอยู่เหนือกว่า "แม่น้ำทั้งห้าสายของคณะ คสช."
การออกคำสั่งอย่างนี้มาในเวลานี้ ไม่ต่างจาก
๑. แสดงอาการจนมุม
๒. ดื้อ ทำผิดกฏเกณฑ์ ทั้งห้าทางสากล ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ซ้ำแล้วซ้ำอีก (Repeated Actions)
๓.นานาชาติ เขารู้เช่นเห็นชาติคุณหมดแล้ว จะไปทำอะไร? ที่ไหนอย่างไร? เขาจะเอาด้วย เป็นเรื่องยาก
๔. คุณแน่ใจนะว่านานาชาติ เขาไม่รู้ว่า "เวลานี้สิ่งที่คนไทยทั้งประเทศ มีความต้องการอย่างมากที่สุด เพื่อให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และ สันติสุข คือคำว่า [ประชาธิปไตย อย่างที่ได้รับการปฏิบัติกันอยู่ และ จับต้องได้เป็นรูปธรรม ในระดับนานาชาติ]"
๕. เลิกกะล่อนกับ นานาชาติ ได้แล้ว เผื่อว่า จะได้มีทางเดิน ให้กับตัวเอง และครอบครัว เดินออกไปได้อย่างปลอดภัย และ มั่นคง
คุณเหล่ อัลไต นี่คือคำเตือน จากคนที่หวังดี ต่อบ้านเมืองนี้ อย่างบริสุทธิ์ใจ.

Saturday, April 11, 2015

เมื่อประเทศไทย ยังไม่อาจปรับตัวบทกฏหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์อันเป็นสากล (ตอนที่ ๑)


โดยอาจารย์ธนบูรณ์ จิรานุวัฒน์

เมื่อประเทศไทย ยังไม่อาจปรับตัวบทกฏหมายภายในของตนให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์อันเป็นสากล (ตอนที่ ๑)
การแยกแยะหรือการหาความแตกต่างในระหว่างการละเมิดสิทธิมนุษยชน (Violations of Human Rights) กับ การละเมิดในกฏหมายมนุษยธรรม (Violations of the Humanitarian Laws)
๑. นักกฏหมายไทย หรือนักกฏหมายไทย ยังไม่สามารถแยกแยะ หรือที่จะชี้ความแตกต่างในระหว่าง กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน (Human Rights’ Law) กับ กฏหมายอันมีที่มาจากกฏหมายมนุษยธรรม (Humanitarian’s Law) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นต้องชี้แนะให้เห็นความแตกต่าง
๑.๑. เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองใกล้สิ้นสุดลงนั้น อเมริกัน อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และ สหภาพโซเวียตรุสซีย (The Big Five) ที่ในเวลาต่อมา คือ สมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ที่มีอำนาจวีโต้ [VETO] หรือ อำนาจยับยั้งเสียงโหวตของชาติสมาชิกอื่นๆในคณะมนตรีความมั่นคง) เห็นพ้องต้องกันให้นำนักวิชาการในสาขาต่างๆไม่ว่า นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และในสาขา Pure Science ต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น บุคคลที่ถูกรับเชิญ คือ บุคคลที่มีคุณสมบัติในชั้นผู้นำของนักวิชาการในแขนงนั้นๆที่มีตัวตนอยู่ในยุโรป (Distinguished Guest) ให้มาลงเรือ Queen Mary (ซึ่งเป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะเวลานั้น) เดินทางมาร่วมประชุมที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับนักวิชาการชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เพื่อจะดำเนินนโยบาย ที่จะใช้ปกครองโลกให้มีความสันติสุข และสงบเรียบร้อยต่อไป และไม่ต้องการให้มีสงคราม อันหฤโหดต่อไปในเผ่าพันธุ์มนุษยชาติที่อาศัยอยู่บนโลกมนุษย์นี้ หลังจากที่มี United Nations (องค์การโลกบาล) ที่จะเป็นตัวแทนชาวโลกทั้งหมด
๑.๒. หลังจากที่นักวิชาการชั้นนำเหล่านั้น ได้เดินทางลงเรือ Queen Mary และเดินทางออกจากท่าเรือปอร์ตสมัท ที่อังกฤษ เพื่อดินทางข้ามมหาสมุทร แอตแลนติด (Atlantic Ocean) มายังสหรัฐอเมริกา (NEW WORLD หรือ โลกใหม่) ได้มีการจัดการสัมนาทางวิชาการบนเรือโดยสารมนุษย์ดังกล่าว จึงพบว่าในโลกขณะนั้น มีระบบกฏหมายที่ใช้ปกครองภายในแต่ละประเทศเพียง ๓ ระบบ คือระบบ COMMON LAW ระบบ ROMAN LAW ที่ใช้ปกครองเป็นกฏหมายภายในของประเทศบนภาคพื้นยุโรป และระบบกฎหมายของสหภาพโซเวียตรุสเซีย และยุโรปซีกเหนือ (RUSSIAN LAW) ประเทศทั้ง ๕ หรือ The Big Five ที่จะคิดรวบรวมระบบกฏหมายที่ใช้ปกครองโลก เป็นหนึ่งเดียว โดยมอบหมายให้องค์การสหประชาชาติ เป็นผู้ไปจัดทำและดำเนินการในเรื่องนี้ จนก่อเกิดเป็น Human Rights Law ซึ่งก็คือ “ยุทธศาสตร์ หรือ ยุทธวิธี ที่จะรวบรวมระบบกฏหมาย ที่ใช้ปกครองในโลกใบนี้ให้เป็นระบบหนึ่งเดียว” ดังปรากฏตาม Diagram ข้างล่างนี้



Monday, April 6, 2015

รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

Thanaboon Chiranuvat
บทที่ว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างกันอยู่นี้ มีสถานะที่ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่? เพราะเหตุใด?





การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ทำกันอยู่นี้ สำเร็จยาก เพราะไปร่างให้มันขัด หรือแย้งกับ ธรรมนูญโลก คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖..........ฯ

กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ และในวันเดือนเดียวกัน ปีพ.ศ.๒๕๔๑ ตามลำดับ............ฯ
๑. แม้แต่สถานะของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็มีสถานภาพทางกฏหมายที่ขัด หรือแย้ง กับกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ ไม่ได้มีสถานภาพทางกฏหมายใดๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศดังกล่าวทั้งสองฉบับ.....ฯ

นั่นคือ มิได้มีที่มา ตามการแสดงเจตจำนงค์ของคนทั้งประเทศ ที่ให้อัตวินิจฉัยในการก่อเกิดแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งคณะ...............ฯ
[เกิดเป็นคณะกรรมการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ "เถื่อน" บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)]........................ฯ

เมื่อต้องด้วยข้อกฏหมายดั่งที่ว่ามาจึงทำให้ตัว ผู้มีอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำการยกร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่กลายเป็นเถื่อน ไม่ชอบด้วยกฏหมายในสถานภาพของตัวผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเอง.....................ฯ

๒. การกำหนดกฏเกณฑ์ ที่ตราลงบนตราสำคัญของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ที่ไปขัด หรือ แย้งกับ พันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานาชาติดังกล่าวข้างต้น กลายเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือ ก่อให้เกิดการจัดทำกฏหมายเถื่อนๆ ยกกำลังสอง อย่างนี้แล้ว  รัฐธรรมนูญ เป็นเอกสารตราสาร ที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่เหล็กไหล ที่ต้องไปตัดเอาด้วยคาถาอาคมในถ้ำด้วยวิทยาคม จึงต้องตกเป็นโมฆะ (Null & Void ) บนที่ราบแห่งนานาชาติ อย่างช่วยไม่ได้








รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

Thanaboon Chiranuvat
บทที่ว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างกันอยู่นี้ มีสถานะที่ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่? เพราะเหตุใด?





การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ทำกันอยู่นี้ สำเร็จยาก เพราะไปร่างให้มันขัด หรือแย้งกับ ธรรมนูญโลก คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖..........ฯ

กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ และในวันเดือนเดียวกัน ปีพ.ศ.๒๕๔๑ ตามลำดับ............ฯ
๑. แม้แต่สถานะของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็มีสถานภาพทางกฏหมายที่ขัด หรือแย้ง กับกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ ไม่ได้มีสถานภาพทางกฏหมายใดๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศดังกล่าวทั้งสองฉบับ.....ฯ

นั่นคือ มิได้มีที่มา ตามการแสดงเจตจำนงค์ของคนทั้งประเทศ ที่ให้อัตวินิจฉัยในการก่อเกิดแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งคณะ...............ฯ
[เกิดเป็นคณะกรรมการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ "เถื่อน" บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)]........................ฯ

เมื่อต้องด้วยข้อกฏหมายดั่งที่ว่ามาจึงทำให้ตัว ผู้มีอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำการยกร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่กลายเป็นเถื่อน ไม่ชอบด้วยกฏหมายในสถานภาพของตัวผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเอง.....................ฯ

๒. การกำหนดกฏเกณฑ์ ที่ตราลงบนตราสำคัญของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ที่ไปขัด หรือ แย้งกับ พันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานาชาติดังกล่าวข้างต้น กลายเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือ ก่อให้เกิดการจัดทำกฏหมายเถื่อนๆ ยกกำลังสอง อย่างนี้แล้ว  รัฐธรรมนูญ เป็นเอกสารตราสาร ที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่เหล็กไหล ที่ต้องไปตัดเอาด้วยคาถาอาคมในถ้ำด้วยวิทยาคม จึงต้องตกเป็นโมฆะ (Null & Void ) บนที่ราบแห่งนานาชาติ อย่างช่วยไม่ได้








รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

Sunday, April 5, 2015

"คสช.​กำลังละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างรุนแรง" สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ

รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 "คสช.​กำลังละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างรุนแรง" สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ

"คสช.​กำลังละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างรุนแรง" สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ

รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 "คสช.​กำลังละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศอย่างรุนแรง" สุนัย จุลพงศธร 5 04 2015 รู้เขารู้เรา ภาคต่างประเทศ

นักกฎหมายระหว่างประเทศ เตือน คสช.​ว่า "รัฐบาลสหรัฐ" ล็อคเป้าเล่นงานคณะเผด็จการไทย (มาระยะหนึ่งแล้ว)

นักกฎหมายระหว่างประเทศ เตือน คสช.​ว่า "รัฐบาลสหรัฐ" ล็อคเป้าเล่นงานคณะเผด็จการไทย (มาระยะหนึ่งแล้ว)
การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ (Secretary of State) ทำคำประกาศให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกประกาศในวันที่ ๔ สิงหาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ เมื่อนำมาวิพากษ์ท่านผู้อ่านเกิดความงุนงง จึงขอชี้แจงให้เห็นโดยแจ้งชัดด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้เรื่อง ที่ท่านผู้อ่านงง จะหายงง เมื่ออ่านข้อความต่อไปนี้: ............................ฯ ๑.ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของ สหรัฐอเมริกา เป็นอำนาจ โดยเฉพาะของฝ่ายบริหาร (the Executive) ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ (Legislatures) หรือ ฝ่ายตุลาการ (the Judiciary) ไม่อาจเข้าไปสอดแทรกใดๆได้ ในการที่ฝ่ายบริหาร ดำเนินนโยบายต่างประเทศในต่างประเทศ หรือต่อต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาใช้หลักการปกครองประเทศในรูป แบบการแบ่งแยกอำนาจ (the Separation of Powers) โดยเคร่งครัด จะเห็นได้จากคำพิพากษาของศาล Supreme Court (ศาลรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา) ที่อธิบายถึงอำนาจของฝ่ายบริหาร ในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ ที่ไม่ว่าฝ่ายใดในการบริหารประเทศ ที่เหลืออยู่จะเข้าไปสอดแทรกได้ ยกตัวอย่างเช่นคดี United States v. Pink..............................................................................................................ฯ ๒.ในการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศ ในต่างประเทศ ฝ่ายบริหาร จะไปจัดตั้งหน่วยข่าวกรอง หรือหน่วยสืบราชการลับ ก็เพื่อประโยชน์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดย รวม.....................................................................................................................ฯ
๓. เมื่อเกิดหน่วยข่าวกรอง และ หน่วยสืบราชการลับ ฝ่ายบริหาร ย่อมมีอำนาจโดยอิสระ ที่จะก่อตั้งหน่วยงานของตน มาตรวจสอบการทำงานของหน่วยสืบราชการลับ หรือ หน่วยข่าวกรอง และยิ่งมีหน่วยตรวจสอบมากเท่าใด? ความแม่นยำในการคาดการณ์ (Projection) ในสถานการณ์ ที่จะเกิดขึ้นในประเทศหนึ่งประเทศใด ย่อมมีความแม่นยำตามลำดับ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นายพลตรี Stevenson ก่อตั้งหน่วย SOS เป็นหน่วยงานต่อต้าน ระบบของฮิตเลอร์ และ จักรวรรดิ์นิยมญี่ปุ่น จนประสพผลสำเร็จ ท่านอาจไปหาความรู้นี้ได้จาก ยูทูป โดยการพิมพ์ชื่อหน่วยงาน SOS ลงไป...............................................................................................ฯ ๔. การที่รัฐมนตรีต่างประเทศ หรือ (รัฐมนตรีแม่บ้าน, Secretary of State) ขอออกคำประกาศนี้ในปีค.ศ.๒๐๑๑ นั่นคือ พุ่งเป้าเข้าหาประเทศไทย ที่มีที่ตั้งอยู่ใน Pacific Rims ที่อยู่กึ่งกลางโลก และ เป็นประเทศ ที่มียุทธศาสตร์ที่ตั้งในเชิงการเมือง (the Geographical & Political Strategic Location) ของโลก และ เป็นปีเดียวกัน กับที่ประเทศไทย ได้ให้สัตยาบันแก่ Convention Against Corruption, 2003 เมื่อเป็นดังนี้ แสดงว่าสหรัฐอเมริกา ได้ประเมินสถานการณ์ในประเทศไทย ไปเรียบร้อยแล้ว จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่ออ่านความเห็นนี้แล้ว ท่านผู้อ่านคงจะเข้าใจ และ หายงง.