PPD's Official Website

Showing posts with label งานวิชาการ. Show all posts
Showing posts with label งานวิชาการ. Show all posts

Tuesday, August 4, 2015

กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง มีอะไรที่เราต้องยึดถือ?

ผลของการ ที่บัญญัติเอาหลักการของ กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder และ Bill of Pain and Penalties ไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ผลที่ได้คืออะไร?
นี่คือคำตอบ ที่ขอตอบ ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบ พอเป็นสังเขปในชั้นนี้
๑. เรื่อง กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder และ Bill of Pain and Penalties ที่ลงไว้แล้วในตอนที่ ๑ จะมีตอนที่สอง ตอนที่สาม จนจบโดยละเอียด

๒.เมื่อรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างอยู่นี้ ที่จริงต้องนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ.๒๕๔๐ แล้ว จนมาถึง รัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบัน

๓. มีการยกร่าง และ นำมาประกาศใช้ ประกอบด้วยหลักการใหญ่ ที่เป็นโมฆะ คือ:

๓.๑. หลักการอนุญาตให้กระทำการได้ตามอำเภอน้ำใจ ของผู้มีอำนาจ
๓.๒. หลักการว่าด้วย กฎหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder หรือ Bill of Pain and Penalties
๔. ซึ่งหลักการที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการ ที่พลเมืองมีสิทธิ (Vested Rights) และ เป็นการใช้สิทธิ (Exercising of Powers from the Vested Rights) ของพลเมือง
๕. จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ ต้องตกเป็นโมฆะทั้งหมดทันที
๖. ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็น กฏบัตรใหญ่ของประเทศ หรือ ตราสารสำคัญ ที่แสดงการ มีสิทธิ และ ใช้สิทธิแห่งพลเมือง ที่ต้องตราแสดงไว้ให้ปรากฏต่อนานาชาติ เพื่อรับทราบ

๗. เมื่อคุณไปจัดร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาในลักษณะนี้ จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม
๘. ที่มีคุณลักษณะเช่นที่ว่านี้ ต้องตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ เพราะไปขัดหลักการใหญ่ คือ the Separation of Powers

๙. ดั่งที่ทำให้สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการมีสิทธิ และใช้สิทธิของพลเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามหลักการแห่งรัฐธรรมนูญสากล หรือ ลัทธิรัฐธรรมนูญ อันเป็นสากล หรือ the Constitutionalism

๑๐. เมื่อปรากฏโดยแจ้งชัดว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทย มีหลักการ ทางกฏหมาย ที่ไปขัดกับ หลักการ ในเรื่องการมีสิทธิ และใช้สิทธิของพลเมือง ซึ่งหลักการที่ว่านี้ ถือกำเหนิดเกิดมาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีแล้ว
๑๑. จึงต้องตกเป็นโมฆะ ทั้งฉบับ ไม่ใช่เฉพาะ มาตราใด มาตรา หนึ่งที่มีคุณลักษณะ ที่ขวาง กั้นต่อการมีสิทธิ(Vested Rights) และ การใช้สิทธิ (the Exercising of Powers from Vested Rights) ของพลเมือง
๑๒.หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่มาอ่านบทความนี้ คงเข้าใจตามนี้โดยกระจ่างชัด.

Sunday, June 7, 2015

อนาคตที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลังไม่ได้ ..วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

นานๆครั้งจะได้อ่านข้อเขียนจากคุณวีรพัฒน์

"หลายคนกังวลเรื่อง 'คุณประยุทธ์' จะอยู่ต่อเกินที่สัญญาไว้หรือไม่ ? จะได้ 'เลือกตั้ง' ตามกำหนดหรือไม่ ?
หากพูดอย่างตรงไปตรงมา เรื่องเหล่านี้ดูจะเล็กไปแล้วครับ

แม้สุดท้าย 'คุณประยุทธ์' จะพ้นจากตำแหน่งไป และได้ 'เลือกตั้ง' จริง ประเทศชาติก็ยังดูน่าเป็นห่วงไม่น้อยลงไปอย่างไรเลยครับ
สิ่งที่ผมคาดว่าจะตามมาในอนาคตอันใกล้ ก็คือ การซ้ำรอยประวัติศาสตร์หลังรัฐประหาร 2549 กล่าวคือ เกิดการกลับมาปะทะกันระหว่าง โครงสร้างและเครือข่ายอำนาจที่ระบอบเผด็จการสร้างไว้ กับ ความเป็นจริงในสังคมไทยที่ไม่มีอะไรจะมาฉุดรั้งได้นาน เพียงแต่เกิดเร็วหรือช้าเท่านั้นเอง
แต่ที่แย่กว่าเดิม ก็คือครั้งนี้ จะรุนแรงขึ้น เนื่องจากแต่ละฝ่ายมีการเดิมพันสูงขึ้นและมีความอดทนน้อยลง แผลเก่ายังเจ็บไม่หาย การสื่อสารและส่งต่อข้อมูลทั้งจริงและเท็จเป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่างฝ่ายต่างคิดว่าใครชนะรอบนี้ ก็จะได้อยู่ไปอีกยาว
ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศ เช่น นักลงทุน หรือแม้แต่มหาอำนาจ ก็เริ่มเห็นทางเลือกใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน ในขณะที่ไทยเองอาจไม่ได้ระลึกว่าตนไม่ได้เป็นเป็นนางงามรายเดียวที่ต้องให้กลับมาง้อเหมือนในอดีตอีกต่อไปแล้ว
และที่น่ากังวลใจที่สุด ก็คือ 'อำนาจเชิงจิตใจ' ในการเมืองไทยวันนี้ อาจไม่อยู่ในระดับเดียวกันกับวันวาน
ดังนั้น เมื่อประกอบกับความจริงที่ว่า 'อำนาจเชิงกติกา' ได้สิ้นความศักดิ์สิทธิ์และไม่เป็นที่เชื่อถืออีกต่อไป สิ่งที่เหลืออยู่ก็คงมีแต่ 'อำนาจเชิงกำลัง'
---
วันอังคารหน้า มีงานเสวนา ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน SOAS ประเทศอังกฤษ
ผมร่วมสนทนากับ อ.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตแกนนำ กปปส. และ ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สปช. เชิญพบกันได้ครับ
(ท่านใดมาไม่ได้ อาจมีคลิปให้ชมย้อนหลังครับ)"
https://www.facebook.com/events/1620902561530050/

Thursday, June 4, 2015

เผด็จการไทย ละเมิดสนธิสัญญาสากล แล้วจะเอาผิดพวกเขาได้อย่างไร?????

Thanaboon Chiranuvat
พี่น้องประชาชนคนไทย เกิดความสงสัย จึงไต่ถามผมมา

นี่คือคำตอบในข้อสงสัยของพี่น้องที่ผมตอบโดยสังเขป:
อาจารย์คะ.มีสมาชิกถามมาค่ะ อีกประการที่อยากเรียนถาม ถ้าหากว่าไทยกระทำผิดสนธิสัญญา กฎบัตร ฯ ใครจะเป็นผู้กล่าวหา ดำเนินการทางอาญา เพราะเคยเห็นว่า ไทยยังไม่ได้ ยอมรับที่จะอยู่ในอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือยอมรับแล้วก็ตาม ใครจะบังคับใช้กฎหมาย ครับ ในบ้านเรายังพอมองออกว่า ตำรวจ ทหาร ถ้าระหว่างประเทศ ใครดำเนินการครับ
Dumbai Man ปัญหาคือใครจะเป็นผู้บังคับใช้กฎหมาย แล้วศาลไทยจะนำมาใช้หรือครับ หากยังไม่มีการนำมาอนุวัฒน์เป็นกฎหมายไทย คือยอมรับแล้วแต่จะต้องมา ทำใ้ห้เป็นกฎหมายไทยก่อนหรือเปล่า จำได้เลา ๆ ว่าใน รธน.มีเขียนไว้ ยิ่ง ถ้าเป็นกฎหมายสำคัญตัองให้ผ่านสภาด้วย สอบถามเป็นวิทยาทานนะครับ
คำถามนี้ เป็นคำถามสำคัญ เพราะคนไทย ที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ไม่เคยทราบมาก่อนว่า "ประเทศไทย เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ นั้น ต้องปฏิบัติอย่างไร? เพราะเราไม่สั่งไม่สอน กันในโรงเรียนกฏหมายของประเทศ กลัวว่าจะไปถูกครอบงำโดยต่างชาติ" ที่จริงแนวคิดที่กล่าวมา เป็นแนวคิดทีผิดมหันต์ คนไทย จึงไม่เคยทราบอะไร? เลยเกี่ยวกับองค์การสหประชาชาติ ในโรงเรียนกฏหมายที่ผมไปศึกษามาจนจบหลักสูตรในต่างประเทศ เขาพร่ำสอนกันจนรู้แจ้งแทงตลอดเกี่ยวกับ
องค์การนี้ :
1. พวกคุณ จำเป็นต้องรู้เสียก่อนว่า องค์การนี้ เป็นองค์การโลกบาล ในการรักษาความสงบ และสันติสุขของโลก ให้ไปนำกฏบัตรสหประชาชาติ มาศึกษาเสียโดยเน้นไปที่จุดแรกคือ คำปรารภ (Preamble) มีวัตถุที่ประสงค์สำคัญ ๓ ข้อ (ให้ไปศึกษาดู นั่นคือเจตนารมณ์ที่แท้จริงของ องค์การสหประชาชาติ
2. องค์การตั้งขึ้นมาโดยใช้หลักใหญ่ที่สำคัญ ก็คือ หลักความร่วมมือ (Co - Operation) จากนานาชาติ ไม่ใช้หลัก Sovereignty ของชาติ อีกต่อไป เพราะหลักตัวหลังนี้ เขาเลิกใช้บนยุโรปมาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว เพราะหลักนี้เองทำให้เกิดสงคราม สองครั้งสองหนบนพื้นพิภพนี้ สงครามโลกในหนหลัง มนุษย์ถูกฆ่าตายเพราะพิษภัยสงครามไม่ต่ำกว่า ๘๐ ล้านคน
3. เมื่อมีปัญหาสำคัญในระหว่างชาติ หรือในชาติที่อาจไปกระทบชาติอื่นๆข้างเคียง เขาจึงต้องให้ สมัชชาใหญ่ (General Assembly หรือ GA) และ คณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council (ผู้บริหารสูงสุดขององค์การ เป็นคนออกคำสั่งตัดสินใจ และทุกชาติสมาชิกก็ยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับ ก็ส่งปัญหาที่เป็นข้อกฏหมายไปให้ศาลโลก (International Court of Justice, ICJ) เป็นคนตัดสินชี้ขาด ทุกๆชาติตั้งแต่ก่อตั้งองค์การมา ก็ไม่มีชาติใด หรือใคร? ไม่ยอมรับคำตัดสิน ที่เขาเรียกวิธีการนี้ว่า "การตกลงด้วยสันติวิธี หรือ Pacific Settlement)

4. หากชาติคุณไม่ยอมรับในคำตัดสินเช่นนี้แล้ว เขาก็มีมาตรการบังคับ คือ มาตรการโดยรวมทางสันติ คือ การ Boycott ต่างๆ และการ Embargo ปิดกั้นไม่ให้ทำมาค้าขายด้วย ยกตัวอย่างเช่น สหภาพอาฟริกาใต้ (South Africa) โดนมาแล้ว เป็นเวลาถึง ๒๐ ปี และมาตรการโดยรวม (Collective Measures) ทางทหาร ที่หลายๆประเทศในอาฟริกากลาง และตะวันออก อิรัค และลิเบียโดนกระทำอยู่ หรือเช่นที่เกิดในบอสเนีย และราวันด้า เป็นต้น
5. สำหรับเรื่องราวที่เกิดอยู่ในประเทศไทยในเวลานี้ เป็นเพราะคณะทหาร หรือ คสช. กำลังทำตัวไปคล้ายๆ กับ Slorg ของพม่า ซึ่งสหประชาชาติ EU และ สหรัฐฯ กับชาติสมาชิกไม่ยอม คนไทยจึงต้องทุกข์ร้อนในวันนี้ มาจากมาตรการค่อยๆบีบให้คณะคสช. จนมุม
6. คุณมาถามผมว่า ใครจะเป็นคนบังคับ ก็ประกอบไปด้วยองค์กรใหญ่ในองค์การที่สำคัญ ๔ องค์กรคือ:

๒. คณะมนตรีความมั่นคง
๓. คณะมนตรีทางเศรษฐกิจ และสังคม
๔. ศาลโลก

๑. สมัชชาใหญ่
คนไทยต้องรู้จักใช้เครื่องมือเหล่านี้ให้เป็น ทุกๆเรื่อง ที่เป็นความวุ่นวาย ความลำบากที่เกิดอยู่ในประเทศนี้ ก็จะจบลงด้วยสันติวิธี ไม่ต้องมาเสียเลือดเนื้อ ส่วนใครทำผิด เป็นความผิดทางอาญา ตามสนธิสัญญาต่างๆเอาไว้ เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของ คณะมนตรีความมั่นคง ที่จะจัดการ โดยกล่าวหาเป็นคดีอาญาส่งไปดำเนินคดีในศาลอาญาพิเศษของสหประชาชาติได้ทันที หรือไม่ก็ส่งไปดำเนิคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ (the International Criminal Court, ICC) หรือไม่ก็ใช้ศาลนูเรมเบริกร์ เพราะสนธิสัญญา London Charter, 1938 ยังไม่ถูกยกเลิก ศาลนี้ใครไปขึ้นและผิดจริงถ้าเป็นทหาร โทษที่ลงก็คือ แขวนคอลูกเดียว
ดังที่เราเห็นกันมาแล้วภายหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองสงบ บรรดานายพลเยอรมัน ญี่ปุ่น อิตาลี ถูกซิว เป็นแถว เป็นอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคง เป็นคนชี้ว่า จะใช้ศาลใดในสามศาลนี้
คนที่จะมาจับกุมตัวอาชญากรไปขึ้นศาลตามคำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคงอาจเป็น:
๑.ทหารรับจ้างฝรั่งเศส
๒.ทหารรับจ้างโปแลนด์
๓.หน่วย Delta Force
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความดื้อดึงดันของตัวอาชญากร ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หวังว่าผมคงตอบคุณที่สงสัยในเรื่องคนบังคับใช้กฏเกณฑ์ กฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ที่ตัวของกฏบัตร ก็คือ
สนธิสัญญาหลายฝ่าย หรือ Multilateral Treaty หากคำอธิบายนี้ตรงใดไม่กระจ่าง ก็ถามมาได้ครับ สวัสดี.

Saturday, May 30, 2015

กรรมที่ก่อต่อ ดร.ทักษิณ มีผลทางกฎหมายนานาชาติ อย่างไรบ้าง?

สิ่งที่ คณะคสช และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้คือ:
(๑) เพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ passport
(๒) สั่งให้นายทหารพระธรรมนูญ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานความผิดดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เพื่อฟ้องในศาลทหาร
(๓) ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานที่เป็นผู้หลบหนี หรือ หลบหนีหมายจับในคดีที่ดินรัชดาภิเษก
ทั้งสามกรณี เป็นความผิดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.๑๙๔๘; กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖(เป็นสนธิสัญญา) รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ (เป็นสนธิสัญญา)
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานานชาติ และองค์การสหประชาชาติ ทั้งสามสิ่งที่ระบุมาข้างต้น คือ "ธรรมนูญของโลกว่าด้วย กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน หรือ International Bill of Rights"
การจะใช้ธรรมนูญของโลกในเรื่อง กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน ได้อย่างถูกต้องแท้จริง จำต้องอาศัยคำอธิบายจากบรรทัดฐานในคดี และบรรทัดฐานนี้ มีที่มาจากคดีที่พิพากษาไว้โดยศาล Supreme Court ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญศาลแรกของโลกในยุคของรัฐใหม่ (Modern State) คดีที่กล่าวอ้างถึงนี้คือ:
(๑) Kent v. Dulles, 357 U.S. 116 (1958)
(๒) Trop v. Dulles, 356 U.S. 86 (1958)
คดีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสองคดี องค์การสหประชาชาติ ยอมรับนำมาใช้อ้างอิง และ ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย อาจค้นคว้าหาอ่านได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยพิมพ์ชื่อคดี และหมายเลขต่อท้ายใส่ลงไปบนช่องสี่เหลี่ยม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่สองนั้น เหตุผลของคดี หรือในคดี ใช้เป็นข้อที่นำมาโต้เถียงได้ หากเหตุผลที่ผู้พิพากษาผู้ทรงคุณวุฒิ (Learned Judge) เหล่านั้นในคดี เป็นด้านบนของเหรียญบนด้านเดียวกัน เหตุผลที่นำมาเป็นข้อคิดคำนึง และใช้โต้แย้งเป็นด้านล่างของเหรียญหน้าเดียวกัน เมื่อนำมาโต้เถียงแล้ว ฝ่ายตรงข้ามจนมุม
อนึ่งสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดของ คณะ คสช. และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ในขณะนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อความตามที่บัญญัติไว้ใน (สนธิสัญญา) Convention against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย ได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ รวมทั้งฝ่าฝืนต่อ (สนธิสัญญ่า) Convention against Transnational Organized Crime, 2000 มีผลบังคับทั่วไปในเดือน กันยายน ปีค.ศ.๒๐๐๓ ประเทศไทยไปลงนามให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฉบับหลังนี้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖
ที่จริงแล้ว คณะ คสช. และฝ่ายบริหาร ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายนี้ ต้องถูกจัดการโดยสนธิสัญญา ทั้งสองฉบับ ดังกล่าวข้างต้น เพราะความผิดตามสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ หรือ International Crimes
นายตำรวจคน ที่ออกมาแถลงข่าว ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีๆ เพราะตัวท่านเอง ได้กระทำความผิดตามกฏหมายในฐานะ ที่เป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง (ละเว้น เท่ากับ กระทำการ) ให้ไปอ่านคำพิพากษาของ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในคดีที่ชื่อว่า " Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic ให้ขึ้นใจ
คำพิพากษาฉบับนี้ ยังได้อธิบายถึงว่า "ทำอย่างไร จึงเป็น ผู้ร่วมขบวนการ ในการกระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ" เอาไว้โดยละเอียด นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "อย่าเห็นความผิดผู้อื่น สูงเป็นภูเขาเลากา แต่ความผิดของตนเอง เสมอเพียง "เส้นขน" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

Tuesday, April 28, 2015

ดร.เพียงดิน รักไทย: ปรัชญาลัทธิมาร์กซิสม์ ตอน 7 ภาพฝัน ของระบอบสังคมนิยม & คอมมิวนิสต์


ดร.เพียงดิน รักไทย: ปรัชญาลัทธิมาร์กซิสม์ ตอน 7 ภาพฝัน ของระบอบสังคมนิยม & คอมมิวนิสต์


Monday, April 20, 2015

ปรัชญาทฤษฎีมาร์กซิสม์ ตอน 3 ขวนคิดขวนคุย โดย ดร.เพียงดิน รักไทย 21 เมษายน 2558

ปรัชญาทฤษฎีมาร์กซิสม์ ตอน 3 ขวนคิดขวนคุย โดย ดร.เพียงดิน รักไทย 20 เมษายน 2558





ปรัชญาทฤษฎีมาร์กซิสม์ ตอน 3 ขวนคิดขวนคุย โดย ดร.เพียงดิน รักไทย 21 เมษายน 2558

รัฐธรรมนูญลวงโลก กับทางหายนะของประเทศไทย ตอน 2

รัฐธรรมนูญลวงโลก กับทางหายนะของประเทศไทย ตอน 2


การ ที่จัดให้มีการ Debate เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสนช. และ สปช. โดยตัวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีสถานภาพ ที่ขัดต่อธรรมนูญโลก (International Bill of Rights) หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย (ตอนที่ ๒)
๕. เมื่อประเทศไทย จะโดยบุคคล หรือกลุ่มบุคคล คณะใดก็ตาม ได้กระทำการฝ่าฝืน Convention Against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย ได้ไปให้สัตยาบันไว้กับ นานาชาติ และองค์การสหประชาชาติ ในวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ. ๒๐๑๑ หรือ ปีค.ศ.๒๕๕๔ ด้วยการผลักดันให้กลุ่มนายทหารกลุ่มหนึ่ง ขึ้นมาจับกุมเอาอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบ การเข้ายึดอำนาจเช่นว่านั้น เป็นการคอร์รัปชั่นอยู่ในตัวเอง (the corruption per se) ทั้งนี้ก็เพราะ การคอร์รัปชั่นตามสนธิสัญญาฉบับดังกล่าวข้างต้น มีความหมายเป็นสองนัย:

๕.๑ นัยที่หนึ่ง เป็นความหมายตามที่ปรากฏอยู่ในสนธิสัญญา ซึ่งหมายถึงการ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ยักยอก ฉ้อโกง และรับของโจรในความหมายของประมวลกฏหมาอาญาไทย ที่ทำกับทรัพย์สินของรัฐ และเอกชน, การฟอกเงิน และ การขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าผู้กระทำ และผู้ถูกกระทำ จะเป็นรัฐ และ/หรือ เอกชนก็ตาม (ให้ดูคำนิยามตาม Convention Against Corruption, 2003)

๕.๒ นัยที่สองทุกชาติคู่ภาคีสมาชิกของสนธิสัญญาฉบับนี้ มีความเห็นสอดคล้องต้องกัน เป็นเอกฉันท์ โดยการไปจัดการประชุมร่วมกันในเรื่องการบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับนี้ที่กรุง โซล ประเทศเกาหลีใต้ ในเวลา ๗ เดือน ก่อนการประกาศบังคับใช้สนธิสัญญาฉบับนี้(จัดประชุมในเดือน พฤษภาคม ปีค.ศ.๒๐๐๓ ที่ท่านผู้อ่านอาจศึกษาเอาได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล) โดยการให้คำนิยามแก่คำว่า “Corruption” ให้หมายถึง “ Abused of Powers for Private Gains” วลีนี้จึงเป็นการให้ความหมายอย่างกว้างของคำว่า “ Corruption” ตามที่ปรากฏในสนธิสัญญา ซึ่งมีความหมายว่า “ การใช้อำนาจโดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ตน” และในความหมายอย่างกว้างนี้ ไม่จำเป็นต้องมีเงินทอง หรือ ผลประโยชน์ที่เป็นเงิน หรือ ที่เป็นทองเข้ามาเกี่ยวข้อง เพียงแต่ต้องการกระทำ ที่ปรากฏเป็น “การใช้อำนาจโดยมิชอบเท่านั้น” การยึดอำนาจ และการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบเพื่อประโยชน์ตน หรือไม่? ผู้อ่านทั้งหลาย คงมีสมองตรองคิด ที่จะวิเคราะห์ได้ด้วยมันสมองของ ท่านผู้อ่านเอง ผมคงไม่จำเป็นต้องชี้แนะไปให้มากกว่านี้

ส่วนการกระทำต่างๆ ตามที่ปรากฏให้เห็นไม่ว่า ด้วยลายลักษณ์อักษร หรือ เป็นภาพต่างๆ ไม่ว่าเป็นวิดิทัศน์ หรือโดยประการอื่นๆ ที่ปรากฏต่อสายตาท่าน หลังจากเวลา ที่มีการยึดเอาอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบแล้ว นอกจาก จะส่งผลให้การยึดอำนาจรัฐเช่นว่านี้ ตกเป็นโมฆะ (ตามความหมายของกฏหมายระหว่างประเทศ ตาม Diagram ท้ายบทความนี้)  ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับสนธิสัญญานี้ และถ้อยคำตามที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปีพ.ศ.๒๕๕๗ ที่ว่า “เราจะยอมรับในพันธกรณีที่มีอยู่กับนานาชาติ” จะส่งผลต่อไปภายใต้บังคับแห่งกฏหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “บรรดาผลบังคับทางกฏหมาย อันมีที่มาจาก [สนธิสัญญา] ที่ประเทศนี้มีอยู่กับนานาชาติ ฉะนั้นการ Sanction (การบังคับตามกฏหมายระหว่างประเทศ)  ไม่ว่าจะมาจาก EU ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และแม้แต่ประเทศนิวซีแลนด์ รวมทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ หรือ แม้แต่รัสเซีย” ที่จงใจจะสร้างสัมพันธ์ในทางการค้ากับประเทศไทยเท่านั้น (พูดง่ายๆ กู จะโกยเอาประโยชน์ของ กูลูกเดียว ) มิได้ต้องการสานสัมพันธ์ในระหว่างประเทศ เพื่อให้สถานภาพของประเทศไทย กลับไปสู่สถานะเดิมแต่ประการใดทั้งสิ้น

สำหรับกลุ่มประเทศในอาซี่ยน (ASEAN) คงไม่ต้องไปกล่าวถึง ให้มากเรื่องมากความ เป็นประชาคม ที่มุ่งเดินหน้าทางการค้าโดยเสรีประการเดียว แบบตัวใครตัวมัน ตราบเท่าที่ไม่มีสงครามกลางเมืองในไทย ไปตกกระทบเพราะพรมแดนติดกัน (As long as there is no effect of Civil War spilled over, it is o.k. for us.) เขาก็คงไม่มายุ่งกับเราแบบจริงจัง

 การที่ประเทศไทย จงใจใช้อำนาจจากอธิปไตยในลักษณะโดยมิชอบเช่นนี้ (the exercising of Sovereign Powers in an ill – legitimacy manner) ย่อมส่งผลร้ายให้กับประเทศไทยเองในที่สุด แบบสิ้นหนทางออก และผู้จับกุมอำนาจรัฐไปใช้โดยมิชอบนี้ หมดสิ้นหนทาง ที่จะก้าวลงจากอำนาจ แบบสวยๆไปได้
เราต้องไม่ลืมไปว่า “วันนี้คือ คริสศตวรรษที่ ๒๑ แล้ว มิใช่คริสศตวรรษที่ ๑๙ และ ที่ ๒๐ อีกต่อไป โลกก้าวล้ำหน้าไปมากกว่า ที่เราจะคิดตามทัน ถ้าเราไม่คิดที่จะตามโลกให้ทัน” ประเทศของเราก็จะเสียโอกาส ไปเรื่อยๆ เมื่อเราถูกโลกที่เจริญแล้ว (Civilized Nations) เช่น EU และประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งบางชาติที่เจริญแล้วในเอเชีย และออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บีบนวดไปเรื่อยๆไม่ว่าทางการค้า หรือสายสัมพันธ์ทางการฑูต

เราก็จะมีสถานภาพไม่ต่างไปจากประเทศสหภาพอาฟริกาใต้ ที่เคยโดนสหประชาชาติ และกลุ่มประเทศที่เจริญแล้ว Sanction เป็นเวลาถึง ๒๐ กว่าปี จนกระทั้งรัฐบาลคนผิวขาว ที่นำโดยประธานาธิบดี เคริกซ์ โบทาร์ ต้องยอมคุกเข่าทรุดตัวลง และยอมให้นายเนลสัน แมนเดล่า ขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของ ประเทศ South Africa และยกเลิก Apartheid ออกไปเสียจาก South Africa
(พรุ่งนี้จะมาว่าต่อไปในเรื่อง Convention Against Transnational Organized Crimes, Sept. 2003 ว่ามีบทบาทเกี่ยวข้องกับประเทศไทยอย่างไร? และ Never ending War for Thailandคืออะไร?)
Thanaboon Chiranuvat's photo.
รัฐธรรมนูญโจร กับความหายนะของประเทศไทย ตอน 2

Write a comment...

Sunday, April 19, 2015

รัฐธรรมนูญไทยลวงโลก คุณจอม สัมภาษณ์ Professor Kevin Hewison, Director of Asia Research Center of Murdoch University

รัฐธรรมนูญไทยลวงโลก คุณจอม สัมภาษณ์  Professor Kevin Hewison, Director of Asia Research Center of Murdoch University 

Published on Apr 19, 2015
Professor Kevin Hewison Director of Asia research Center of Murdoch University in Australia gave interview to Thaivoicemedia that the drafted constitution of the Thai Junta Prayuth is going to be in use just for a short period of time, until it's certain that the military regime can stay in power. and not to stop corruption in Thailand may be going to create a new problem and he belief a new constitution bring back Thailand in to 30 years.

Saturday, April 18, 2015

รัฐธรรมนูญวิบัติ "หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย"

การที่จัดให้มีการ Debate เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในสนช. และ สปช. โดยตัวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีสถานภาพ ที่ขัดต่อธรรมนูญโลก (International Bill of Rights) หายนะกำลังคืบคลานเข้าหาประเทศไทย
๑. ในวันที่ ๒๐ – ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘ ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และในสภาปฏิรูปแห่งชาติ จะได้จัดให้มีการปาฐก หรือ ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับ (ปีพ.ศ........) ในสภาปฏิรูปฯ และจะนำเข้าไปถกกันต่อในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อจะผ่านร่างรัฐธรรมนูญนี้ ออกมาบังคับใช้ ผู้เขียนเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างมาโดยคนหยิบมือเดียว และเป็นผู้ที่รู้บ้าง และไม่รู้บ้างทางกฏหมายในประเภทนี้ ซ้ำยังถูกหลอกโดยนักวิชาการในประเภท “เสือกสู่ร้” โดยคิดว่าตัวมันมีความรู้ดีทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อนำมาชำแหละด้วยความรู้ที่รู้แท้แล้ว ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ไม่ต่างจากรัฐธรรมนูญตัดแปะ ที่เคยทำมาแล้ว กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปีพ.ศ. ๒๕๔๐ เท่าใดนัก
๒. ด้วยความเป็นห่วงในสถานการณ์ของบ้านเมือง ที่เสื่อมทรุดลงเรื่อยๆ ไม่มีหนทางที่จะทำให้ดีไปกว่านี้ได้ หากพวก “เสือกสู่รู้” ทั้งหลายเหล่านี้ ยังคงเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และเลียมือเลียเท้า ผู้ที่คิดว่า มีอำนาจจัดการบริหารในบ้านเมืองอยู่ แบบคนตาบอดมืดมิดทั้งสองข้าง แล้วหลงว่า “ตัวเองมีอำนาจโดยแท้จริง” ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว ตัวเองไม่มีอำนาจโดยชอบอย่างใดๆเลยตามกฏหมาย (There is no de jure per se as the Executive, Legislative or even Judiciary in itself to perform as “Government by Law”)
๓. ท่านผู้อ่านคงจะจดจำกันได้ว่า เมื่อประมาณสอง ถึงสามสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีการจัดประชุมเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ ที่ประเทศญี่ปุ่น “ท่านผู้นำ” อุตส่าห์ดั้นด้นไปขอเข้าร่วมประชุมกับเขา (ทั้งๆที่เขามิได้เชิญ) แล้วเลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ด้วยความเป็นห่วงในสถานการณ์ของประเทศไทย ได้กล่าวเตือน “ท่านผู้นำ” ว่า “ท่านกำลังทำการร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวทางแม่น้ำทั้งห้าสายของท่าน ผมก็กำลังร่างรัฐธรรมนูญสำหรับประเทศไทย ตามแนวทางของผม แล้วเรานำมาเปรียบเทียบกัน ถ้าของสหประชาชาติดีกว่า ก็จะใช้ฉบับของสหประชาชาติ” ที่เขาเตือนมาอย่างนี้ “ท่านผู้นำ” น่าจะทำใจได้ และเฉลียวใจแล้วว่า “อะไร? จะเกิดกับประเทศไทยต่อไป” ท่านต้องแปลสัญญาณที่ส่งออกมาจากเลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติให้ได้ ต้องไม่ดื้อรั้น และหักหาญจะทำอะไร?ต่อไปตามอำภอน้ำใจท่าน ทั้งนี้ก็เพราะถ้าท่านไม่ทราบ ผมก็จะแจ้งให้ท่านได้ทราบว่า สถานภาพของตัวท่านเอง และคณะทั้งหมดที่ท่านตั้งมากับมือท่านนั้น โลกเขาเรียกท่านว่า “Junta” แปลว่า “ผู้จับกุมเอาอำนาจรัฐไปใช้ โดยมิชอบ” ที่เขากล้าหาญชาญชัยที่จะเรียกท่านว่ามีสถานภาพอย่างนั้น เพราะการยึดอำนาจในประเทศไทยในวันนี้ เป็นการ คอร์รัปชั่นอยู่ในตัวเอง [Corruption per se] ปรากฏตาม (สนธิสัญญา) Convention Against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทยไปประกาศขอเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้สนธิสัญญาฉบับนี้ กับ นานาชาติ และสหประชาชาติในวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ.๒๕๕๔
๔. เมื่อประเทศไทย ได้ไปประกาศเข้าร่วมใน Convention Against Corruption, 2003 แล้ว ประเทศไทย มีหน้าที่ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาหลายฝ่าย (the Multilateral Treaty) ที่ต้องงดเว้น (งดเว้น = กระทำการ) ไม่กระทำการใดๆต่อไปอันเป็น:
๔.๑ กระทำการ หรือ งดเว้นกระทำการ อันเป็นการทำให้เกิดความเสื่อมเสีย และเสียหาย แก่เจตนารมณ์โดยแท้จริงของสนธิสัญญา {ให้ไปนำคำวินิจฉัยของศาลสถิตย์ยุติธรรมสังคมประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ the European Court of Justice ในคดี Costa v. E.N.E.L. มาศึกษาโดยเปรียบเทียบกับ คดีที่พิพากษาในข้อกฏหมายของศาลสถิตย์ยุติธรรมระหว่างประเทศ (the Permanent Court of International Justice, PCIJ) หรือ ศาลโลกเดิม ในคดีที่ชื่อว่า “the Greco – Bulgarian Communities Case” ที่พิพากษาอาไว้ในปีค.ศ. 1930}
๔.๒ ใช้การกระทำฝ่ายเดียวของตน (การร่างรัฐธรรมนูญในแบบที่เป็นอยู่นี้ต่อไป และนำไปประกาศบังคับใช้) หรือที่เรียกว่า Unilateral Action เพื่ออาศัยเป็นช่องทางในการขยายถ้อยคำ หรือเปลี่ยนแปลงถ้อยคำในสนธิสัญญาให้หย่อนลง
๔.๓ ไม่กระทำการใดๆ ที่เป็นการขวางกั้นไม่ให้สนธิสัญญา (Convention Against Corruption, 2003) มีผลบังคับในลักษณะที่เป็นกฏหมายภายในของรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญา โดยปราศจากความยินยอมของรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญาฉบับนั้นๆทุกฝ่าย
(มีต่อ)


Tuesday, April 14, 2015

ปฏิวัติล้มกษัตริย์ฝรั่งเศส คล้ายไทยวันนี้ แค่ไหน? (สารคดีภาษาไทย)

ปฏิวัติล้มกษัตริย์ฝรั่งเศส คล้ายไทยวันนี้ แค่ไหน? (สารคดีภาษาไทย)





 ปฏิวัติล้มกษัตริย์ฝรั่งเศส คล้ายไทยวันนี้ แค่ไหน? (สารคดีภาษาไทย)


  1. เศรษฐกิจย่ำแย่ ประชาชนอดอยาก เดือดร้อน ไม่พอใจชนชั้นสูง
  2. คนส่วนใหญ่ตั้งคำถามต่อความศักดิ์สิทธิ์ของศักดินา มีการหมิ่นเจ้าทั่วไป
  3. พวกศักดินาเหลิงอำนาจ บำเรอตัวเองและพรรคพวกอย่างน่าเกลียด 
  4. เจ้าคิดจะคุมอำนาจอธิปไตยของปวงชน หวาดระแวงตัวแทนประชาชนที่หัวก้าวหน้า ในขณะที่ปวงชนจำนวนเพิ่มขึ้นมหาศาล เริ่มวางเป้ารวมพลังเป็นสมัชชา หมายท้าทายอำนาจของเจ้า
  5. มีการจราจล เข่นฆ่า ข่มเหงประชาชนที่ตาสว่าง เพื่อปกป้องสถาบันเจ้า แล้วประชาชนก็เริ่มลุกขึ้นสู้กับกองทัพพิทักษ์เจ้า
  6. มีการทำลายสัญลักษณ์ทางอำนาจของฝั่งศักดินา ขบวนปฏิวัติรุกกลับ พลังอันมหาศาลของปวงชนสำแดงเดช 


Monday, April 13, 2015

กฎหมายหมิ่น ทำลายประชาธิปไตย อย่างไร? (ภาษาอังกฤษ) Giles Ungpakorn - Lese Majeste and why it destroys democracy


กฎหมายหมิ่น ทำลายประชาธิปไตย อย่างไร? (ภาษาอังกฤษ) Giles Ungpakorn - Lese Majeste and why it destroys democracy



 Giles Ungpakorn - Lese Majeste and why it destroys democracy


Thursday, April 9, 2015

เสียงจาก Harvard: จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อจีนก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่ง ของโลก??

ทำไมเพื่อนบ้าน เกลียดชัง คนไทย โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์

ทำไมเพื่อนบ้าน เกลียดชัง คนไทย โดย คุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์

Uploaded on Feb 12, 2012 การบรรยายพิเศษ เรื่อง ทำไมประเทศเพื่อนบ้านจึงชังเรา โดยคุณวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ในงานศิลปากรวิจัยครั้งที่ 5 รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.surdi.su.ac.th, www.surf.su.ac.th















Saturday, April 4, 2015

ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน?





By Thanaboon Chiranuvat
ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน? มีคนไทย ที่ยังมีความสงสัย ในเรื่องอำนาจการพิจารณา และ พิพากษา ในระหว่างศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ และศาลอาญาระหว่างประเทศ เกี่ยวพันกับ Convention Against Corruption, 2003.

ก) ไทยไม่ได้ลงสัตยาบันยอมรับศาลอาญาระหว่างประเทศใข่ไหมคะ ข) เคยมีใครโดนศาลอาญาพิเศษของสหประชาขาติโดนพิพากษาว่าละเมิด Convention Against Corruption ไหมคะ
๑. ไทยไม่ต้องลงสัตยาบันใดๆ เพราะไทยให้สัตยาบันมาแล้ว ต่อ Charter of United Nations, 1945 ในวันที่ ๑๖ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๔๖ หรือปีพ.ศ.๒๔๘๙ ศาลอาญาพิเศษ ขององค์การสหประชาชาติ เกิดขึ้นตาม Resolutions ของคณะมนตรีความมั่นคง หรือ Security Council ที่ ๑๖๗๔ และ ๘๒๗ คำสั่งของคณะมนตรีความมั่นคง เมื่อสั่งแล้วมีผลบังคับ เป็นกฏหมายทันที ในกฏหมายภายในของรัฐคู่ภาคีสมาชิก ขององค์การสหประชาชาติ ตามกฏบัตรสหประชาชาติ หรือ Charter of United Nations ......................................................ฯ
๒. ยังไม่มีใครโดนดำเนินคดีตาม (สนธิสัญญา) หรือ Convention Against Corruption, 2003 แต่ไทยจะโดนเป็นคนแรก ให้ไปเปิดเว็บไซด์ของศาลนี้ดู คือ ศาล อาญาพิเศษของสหประชาชาติ ที่ตั้งไว้ในบอสเนีย เฮอร์เซ โกวีน่า, ราวันด้า ได้ครับ นั่นเป็นการพิจารณาและพิพากษาตาม the Geneva Conventions, 1949 และ Hague Conventions หรือ Regulations, 1899 - 1907 สำหรับสองสนธิสัญญานี้ มีความเกี่ยวพัน หรือเกี่ยวโยงใกล้ชิดกับ Human Rights Law ที่เป็นบ่อเกิดของ Convention Against Corruption, 2003 ฉะนั้นเมื่อเรื่องไปถึงองค์การสหประชาชาติ และ ดำเนินการในการสอบสวนจนเสร็จสิ้นแล้ว คดีจะถูกส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อมีมติว่า จะให้ขึ้นศาลใดในระหว่าง ศาลอาญาระหว่างประเทศ กับ ศาลอาญาพิเศษขององค์การสหประชาชาติ เพราะอำนาจให้ไปขึ้นศาลใด เป็นอำนาจโดยเฉพาะของ คณะมนตรีความมั่นคง ตาม Rome Statue, 1998 และ Charter of United Nations, 1945........................................................ฯ

๓. ประเทศไทย ยังมิได้ให้สัตยาบันต่อ Rome Statues, 1998 แต่ถึงอย่างไร? ก็ตามเมื่อเรื่องไปรอการลงมติของคณะมนตรีความมั่นคง เพื่อสั่ง เมื่อคณะมนตรีความมั่นคงสั่งอย่างไร? ตามกฏบัตรสหประชาชาติ, ๑๙๔๕ แล้ว ย่อมส่งผลไปถึง Rome Statues, 1998 อยู่ดี ทั้งนี้เป็นไป ตามมติของที่ประชุมใหญ่ของรัฐคู่ภาคี Rome Statues, 1998 ที่ไปประชุมกันที่กรุงกัมปาล่า ประเทศเอธิโอเปีย เมื่อปีค.ศ.๒๐๑๐ ศาลอาญาระหว่างประเทศ มิใช่ศาลอาญาของ องค์การสหประชาชาติ แต่เป็นศาล ที่องค์การสหประชาชาติ เป็น Sponsor จัดตั้งให้เกิดขึ้นตามคำร้องของ ชาติคู่ภาคีสมาชิก ขององค์การสหประชาชาติ มีประมาณ ๑๒๐ ชาติคู่ภาคี.
ศาลนานาชาติ มีอำนาจพิจารณาและพิพากษา กรณีในไทย แค่ไหน?

Thursday, April 2, 2015

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)ซับแดง หมู่บ้านเล็กๆที่ประเสริฐ จันดำ นักเขียนร้อ...

Posted by ห้องสมุดประชาชนและการปฏิวัติ on Thursday, April 2, 2015
หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)


หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)ซับแดง หมู่บ้านเล็กๆที่ประเสริฐ จันดำ นักเขียนร้อ...
Posted by ห้องสมุดประชาชนและการปฏิวัติ on Thursday, April 2, 2015

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


The Royal Barge Procession in 2005.
The Royal Barge Procession in 2005.


The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.
The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.


อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


เพื่อความสะดวกของท่าน ขอยกมาให้อ่านกันเลยนะครับ

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
อนาคตของสถาบันกษัตริย์นั้นอย่างน้อยจะถูกกำหนดโดยจุดแข็งและจุดอ่อนของรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเส้นทางในการสืบสันตติวงศ์ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบันที่ๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก   เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี 1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 14ปี หลังจากที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกยกเลิกไป สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เกือบที่จะถูกครอบงำ ด้วยพลังและอำนาจทางการเมืองใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1960 กลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ ด้วยความร่วมมือกับกองทัพไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาสถานภาพฐานการเงินของราชวงศ์ ตลอดจนการสร้างความเคารพนับถือให้กับสถาบันพระมหากษัตรย์  ในปี 1973 และ 1992 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้ามาเพื่อยุติความรุนแรงทางทหารที่มีต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ชี้ขาดคนสุดท้ายในเวลาที่เกิดวิกฤติ
ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นานับประการทั่วประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของพสกนิกรในท้องที่ทุรกันดาร ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่อุทิศพระองค์เพื่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน  สิ่งที่แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการที่พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มากที่สุดในโลก  สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่พระองค์ทรงคิดค้น ตลอดจนพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ ดนตรี และพระราชนิพนธ์   พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ดูเหมือนพระราชพิธีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการครองราชย์ ประชาชนเรือนล้านหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง  พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญจากทั่วโลกต่างก็เดินทางมาร่วมพระราชพิธีนี้เช่นกัน ดูเหมือนในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จของรัชสมัยไว้อย่างชัดเจน
แต่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2006 ฝ่ายทหารได้ปฏิวัติ ทำรัฐประหาร เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน   ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นของการเลือกโดยสำนักพระราชวังในช่วงเวลาสี่ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัยกับการสนับสนุนในวงกว้าง ก็มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งกำลังอยู่ในจุดที่ตกต่ำลงทั้งในแง่ของความนิยมและความชอบธรรม
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงสั่งสมมาตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี? คำตอบจะเป็นสิ่งที่บอกเราได้มากถึงอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย  แม้ว่าจะไม่พิจารณาในประเด็นการสืบราชสมบัติ  กลุ่มพลังที่เป็นตัวแทนในการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นกลุ่มที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต   เมื่อประเด็นเรื่องการสืบราชสมบัติเกิดขึ้นในสภาวะที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความวิบัติได้ แต่ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯที่มีการครองราชย์มาอย่างยาวนานก็ถึงจุดที่จะต้องกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย โดยมีปัจจัยภายในหลายๆด้านทั้งที่ช่วยส่งเสริมและบั่นทอนการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นสถาบัน
King's Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
King’s Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
การเปิดเผยของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการตรวจสอบของสาธารณชน(มักเกี่ยวข้องกับการพูด) มีส่วนทำให้สถาบันมีความเข้มแข็งขึ้น  สภาองคมนตรีและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าถึงนักวิชาการในระดับหนึ่ง และสำนักพระราชวังเองก็ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชประวัติใหม่ที่ค่อนข้างสมดุลมากขึ้น ซึ่ง รวมไปถึงเรื่องต้องห้ามเดิมที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน  ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งปิด (เซ็นเซอร์ censor)บล๊อกและเวปเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ความลับทางการทูตจำนวนมากของ  Wikileaks ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่กลับไม่ได้ปิด สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์แนววิพากษ์วิจารณ์บางแห่ง เช่น บทความของ MacGregor Marshall เรื่อง  “Thailand’s Moment of Truth”  ข้อมูลงบประมาณของรัฐบาลเองเมื่อเร็วๆ นี้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับพระราชวงศ์ และค่าใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ถูกกระตุ้นโดยรายงานจากภายนอก อย่างเช่น นิตยสาร Forbes  ที่ได้รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมี  พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ถ้าจะมองเกี่ยวกับความสมดุลของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีหลายเหตุผลที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง  ประการแรก คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบุคคลบุคคลหนึ่งได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมของราชวงศ์ไทย  ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่พระองค์ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานหรือความพยายามในการประชาสัมพันธ์จากสำนักพระราชวังเองก็ตาม พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของบุคคลที่น่าเคารพบูชา แต่หากมองในด้านลบ  ยิ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะตัวบุคคลหรือพระราชกรณียกิจถูกนำเสนอมากเท่าไหร่ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น  ไม่น่าสงสัยแต่อย่างใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความนิยมในตัวของพระองค์ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องแปลไปสู่ความชอบธรรมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความจริงแล้วทางตรงกันข้ามอาจจะเป็นความจริงก็เป็นได้  อาจจะเป็นเรื่องดีที่คนไทยจำนวนมากมีความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ไม่มากไปกว่าการจงรักภักดีต่อรัชสมัยปัจจุบัน  สำนักพระราชวังประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน สร้างสถานะให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือมากขึ้น  และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของชาติ ซึ่งความสำเร็จประเภทนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้สืบทอดพระราชสมบัติองค์อื่นๆ
ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนมักจะอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยราวกับว่า       ป็นสถาบันที่มีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และใช้ “สำนักพระราชวัง” เป็นเครื่องมือในลักษณะเดียวกันกับ ทำเนียบขาว หรือ White House  ของสหรัฐอเมริกา หรือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง )10 Downing Street)ของสหราชอา ณาจักร อุปมาเปรียบได้กับศูนย์กลางของอำนาจที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน      แต่คำอธิบายนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในความเป็นจริง มีกลุ่มอิทธิพลหลายกลุ่มที่มีผลต่อราชวงศ์ไทย   บ่อยครั้งที่มีการทับซ้อนกันและมีการจัดวาระการแข่งขัน ตลอดจนการแบ่งแยกที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน             รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่หวั่นไหวในเรื่องมุมมองความคิดเห็น การแบ่งศูนย์กลางของอิทธิพลจะมุ่งเน้นไปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะองคมนตรี
หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ตามที่แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวไว้ พระองค์ก็จะทรงไม่สามารถหรือ ทรงไม่เต็มพระทัยที่จะควบคุมคนอื่นๆในสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการรัฐประหารได้  ตามที่ ข้อมูลลับทางการทูต wikileaks หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการการรัฐประหารที่เกิดขึ้น  นี่เป็นบางส่วนของสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) การเคลื่อนไหวพยายามจะขัดขวางและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยผู้สนับสนุนของพันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตรในปี 2008
ในขณะที่บางคนแย้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงถูกกดดันจากกลุ่มรัฐประหารเพื่อลงพระนามรับรองในการทำรัฐประหารดังกล่าว แต่ไม่ใช่กรณีเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เมื่อพระองค์ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานศพของผู้ประท้วงพันธมิตรที่เสียชิวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ประการที่ 3 การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  กฎหมายดังกล่าวค่อนข้างที่จะลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างน้อยในช่วงทศวรรษที่ 1990และช่วงต้นของทศวรรษที่2000  มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่เกิดขึ้น  ราชวงศ์ของยุโรปได้รับประโยชน์จากผลโพล (poll)ที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ของพวกเขา แต่สำหรับประเทศไทยด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การทำโพลเป็นไปไม่ได้ ทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังเป็นการกีดกันสถาบันพระมหากษัตริย์จากการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างถูกทำนองคลองธรรมในสภาพแวดล้อมที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน ตามเนื้อความของกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายจะปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะปกป้องสมาชิกอื่นๆ ของราชวงศ์สกุลนี้เช่นเดียวกัน
ผู้เสนอกฎหมายได้พยายามที่จะขยายการคุ้มครองตามกฎหมายให้ถึงแม้กระทั่งสมาชิกของคณะองคมนตรี  ทุกคนสามารถทำให้ข้อกล่าวหากลายเป็นอาวุธที่แสนสะดวกเพื่อใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ส่วนตัวของกฎหมายเองก็มีความคลุมเครือในแง่ไม่ค่อยดีและศาลก็ได้ตีความไว้อย่างกว้างๆ
ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา  ระหว่างปี 1992 และ 2004  จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี  2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
สุดท้ายนึ้ยังคงมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนรูปภูมิทัศน์ทางการเมืองในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่  การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดท่ามกลางบรรยากาศสลัวของรัชสมัยปัจจุบัน คือ การพัฒนาจิตสำนึกทางด้านการเมืองการปกครองให้ลึกซึ้งและแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เครือข่ายกษัตริย์เข้าถึงการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2006  เช่นเดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านๆ มาในอดีด คือ การรัฐประหารได้รับการรับรองจากสถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้ก่อรัฐประหารให้เหตุผลแสดงความบริสุทธิ์ว่า การทำรัฐประหารนั้นทำเพื่อสาธารณชนโดยอ้างเรื่องการทุจริตของนักการเมืองและภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  หลังจากนั้นก็จะมีการนิรโทษกรรม และในที่สุดการทำรัฐประหารก็จะถูกลืมเลือนไป
แต่ประชาชนกลุ่มใหม่ผู้ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองกลับไม่เคยลืมการทำรัฐประหาร  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) ยังคงมีการจัดระเบียบเพื่อที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากการทำรัฐประหารออกไป โดยสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นำประโยคที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมออกไปและดำเนินคดีผู้ทำรัฐประหาร และพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายหรือการพิจารณาคดีที่มาจากการทำรัฐประหาร การเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการตื่นตัว หรือ ตาที่เปิดขึ้น (ตาสว่าง)  ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการพูดปากต่อปากของผู้ประท้วง ปรากกฎการณ์ตาสว่างทำให้สายตาของพวกเขาเพ่งมองไปที่บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของสถาบันอย่างเต็มที่
มีการแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบรหัสเฉพาะเพื่อที่จะหลบเลี่ยงการจับกุม การขับเคลื่อนในครั้งนี้ไม่มีภาพลวงอีกต่อไป จึงเห็นความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีกของสำนักพระราชวังเพื่อป้องกันอำนาจของกษัตริย์ที่เป็นที่นิยมผ่านศาลยุติธรรม คณะองคมนตรีและสมาชิกบางองค์ของราชวงศ์ แทนที่จะลืมการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในงานศพของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรในเดือนตุลาคม 2008 เหตุการณ์นี้กลับเป็นสิ่งที่ขุ่นเคืองสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และตั้งวันนั้นให้เป็นอนุสรณ์ว่าเป็น “วันตาสว่างแห่งชาติ” การออกมาเลือกข้างอย่างเปิดเผยของราชวงศ์ได้ถอดถอนความพยายามที่จะสื่อให้เห็นว่าสำนักพระราชวังเป็นกลางซึ่งความรู้สึกด้านลบของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงยิ่งสูงขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลือกที่จะไม่แทรกแซงเมื่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 เหนือกว่าสิ่งอื่นใด การตัดสินใจในการร่วมงานศพของกลุ่มพันธมิตรในปี 2008และไม่ไปร่วมงานศพของกลุ่ม นปช.ในปี 2010 ถือว่าเป็นจุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดี  การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสำนักพระราชวังในการทำรัฐประหาร การปรากฎตัวแบบเลือกข้างของสมาชิกราชวงศ์ในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง  การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการตระหนักถึงเรื่องความมั่งคั่งของราชบัลลังก์ ได้ทำให้ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นลดลงและเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต
แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 อาจจะเป็นการที่สำนักพระราชวังไม่สามารถที่จะนำเสนอแผนของการสืบราชสันตติวงศ์ในแง่บวก แทนที่จะทรงสละราชสมบัติ ตามที่พระองค์ได้เคยพิจารณาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จากการที่ทรงเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะยังคงอยู่ในพระราชบัลลังก์ต่อไป ในปี 1972 ทรงสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เนื่องจากพระพลานามัยของรัชกาลที่ 9 ที่แย่ลงในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเจ้าฟ้าชายนั้นกลับล้มเหลว อีกทั้งความขัดแย้งในสำนักพระราชวังก็เพิ่มขึ้น แผนการสืบต่อราชสันตติวงศ์อีกแผนหนึ่งจึงปรากฎขึ้น  ด้วยที่ผ่านมาในความทรงจำของประเทศไทยยังไม่เคยมีการขัดแย้งในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์  จึงทำให้มีช่องว่างที่ปรับเปลี่ยนได้ทางกฎหมายมากพอสำหรับการจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับคณะองคมนตรีที่อาจจะเข้ามาจัดการในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่่รัชกาลถัดไป 1
กรณีตัวอย่าง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรีและประธานองคมนตรีก็จะมีความคลุมเครือ และอาจจะถูกตีความได้ว่าพลเอกเปรมจะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากเสด็จสวรรคต และการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเขาอาจจะสามารถปรับปรุงกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์ปี 1924 ได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่ช่วยให้คณะองคมนตรีสามารถที่จะกำหนดพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ต่างออกไปได้ ซี่งมีข้อสันนิษฐานว่า จะเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรืออาจจะส่งชื่อผู้สืบราชสันตติวงศ์ไปยังรัฐสภาเพื่อการพิจารณาล่าช้า ในช่วงที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้อย่างแน่นอน  หรือถ้าทั้งหมดล้มเหลว การทำรัฐประหารอาจจะอยู่ในลำดับต่อไป โดยอ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารอาจจะยกเลิกรัฐสภาและอนุญาตให้กองทัพมีสิทธิ์ที่จะเสนอพระนามผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ หรืออย่างน้อยก็ให้สามารถชะลอกระบวนการดังกล่าวได้  หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงจัดวางพระองค์เองให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระประชวร และยังทรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ไม่มีแผนการใดเลยที่ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมมากขึ้น  มีเพียงแผนการเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วย นั่นก็คือ การที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในลำดับถัดไป และทรงปรับปรุงพฤติกรรมของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อเครือข่ายกษัตริย์ (monarchy network) และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนครองราชย์ตามระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่อื่นๆในโลกปัจจุบัน ส่วนแผนการอื่นๆจะนำไปสู่ความหายนะไม่ว่าจะเป็นความพยายามของคณะองคมนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งอาจจะป็นการล้างความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้พลเอกเปรม หรือ สมเด็จพระราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่จุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
สุดท้ายนี้ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องความชอบธรรมตามกฎหมาย รัชกาลในปัจจุบันได้มีการปลูกฝังชุดค่านิยมและความสนใจซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และก้าวต่างไปจากระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก  สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางการแถลงการณ์และการกระทำต่างๆ  สิ่งนี้สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้อนุญาตให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกกีดกันให้ยังคงใช้ได้อยู่ และสิ่งนี้อยู่อย่างใกล้ชิดมากเกินไปกับการจัดวาระอย่างสุดขั้วของกลุ่มผู้จงรักภักดีในราชวงศ์แบบสุดโต่ง สิ่งนี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันโดยมีการเปรียบเทียบกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จตามอย่างได้  ในที่สุด ด้วยการเตรียมตัวที่ไม่พร้อม ทำให้เกิดแม้กระทั่งคำถามเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ที่กำลังมีภัยเพราะเต็มไปด้วยทางเลือกอื่นที่ล้วนล่อใจแต่อันตราย   สรุปได้ว่า สิ่งนี้ล้มเหลวที่จะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่เส้นทางที่ดำเนินควบคู่ไปกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย ในประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัชสมัยนี้ กำลังจะส่งมอบสถาบันหนึ่งซึ่งกำลังอ่อนแรงและแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เป็นมรดกแก่ผู้สืบทอด พร้อมๆ กับหนทางที่ไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างไร
 David StreckfussUniversity of Wisconsin-Madison
Notes:
  1. Michael J. Montesano, “Contextualizing the Pattaya Summit Debacle: Four April Days, Four Thai Pathologies,” Contemporary Southeast Asia, vol. 31, no. 2 (2009), p. 233.