PPD's Official Website

Wednesday, March 30, 2016

นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง “มีชัย” ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ

นักวิชาการยกตัวเลขแย้ง "มีชัย" ยันเรียนฟรีถึงม.ปลายจำเป็น หากจะลดความเหลื่อมล้ำ

เครดิตและอ่านข่าวฉบับเต็มได้ที่  http://www.matichon.co.th/news/89775

เมื่อวันที่ 30 มีนาคม นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แสดงความเห็นถึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องการ ศึกษา โดยระบุว่า

"สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย กับ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา"

ตาม ที่น้องๆ เยาวชน กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไททวงสิทธิการเรียนฟรี ในระดับ ม.ปลาย ที่ถูกตัดออกไปจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อวานนี้

ล่าสุด นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ชี้แจงว่า กรธ. ได้บัญญัติให้รัฐต้องสนับสนุนการเรียนการสอนในชั้นก่อนการศึกษาภาคบังคับ จนถึงชั้น ม.3 รวมเวลา 12 ปีเช่นเดิม เพียงแต่มีการร่นช่วงอายุลงมาเท่านั้น เพื่อความเท่าเทียมกันระหว่างคนจนและคนรวย

เรื่องนี้มีข้อเท็จจริงหลายประการที่ต้องอธิบาย

ข้อ เท็จจริงประการแรกคือ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ปรับเปลี่ยนกรอบการดําเนินการจาก 12 ปีเป็น 15 ปี ในชื่อ "โครงการเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ" ครอบคลุมทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษาในระดับชั้นอนุบาล-ปวช.3 อยู่ โดยให้การอุดหนุนค่าเล่าเรียนต่อหัวนักเรียนในรูปตัวเงินให้แก่สถานศึกษาและ ครอบครัวนักเรียน

แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หน้าที่ของรัฐจะมีเพียงการสนับสนุนให้นักเรียน เรียนฟรีจนถึง ม.3 (ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับตามร่างรัฐธรรมนูญใหม่) เท่านั้น ส่วนสิทธิของประชาชนนั้นหายไปกลายเป็นหน้าที่ของรัฐแทนแล้ว

นอกจากนี้ นายมีชัยยังอธิบายเหตุผลที่ตัดออกว่า "…อันนี้ต้องเข้าใจว่าทุกวันนี้ระบบการศึกษามันไม่ทัดเทียมกัน เพราะเด็กจะพัฒนาได้เนี่ยต้องอยู่ระหว่าง 2-5 ขวบ ซึ่งคนมีตังค์ได้รับการพัฒนา แต่คนจนไม่ได้รับการพัฒนา เพราะฉะนั้นพอถึงมัธยมปลายก็เสียเปรียบ สู้กันไมได้เพราะตอนนั้นสมองไม่พัฒนาแล้ว

สิ่งที่เราทำก็คือการร่น 12 ปีลงมาข้างล่างเพื่อรองรับคนจน แล้วพอถึงมัธยมปลาย คนจนก็จะได้รับการดูเพราะจะมีกองทุนการศึกษาให้ ส่วนคนมีสตางค์ก็ออกสตางค์ เพราะฉะนั้นความทัดเทียมมันถึงจะเกิดขึ้นได้จริง ถ้าปล่อยไว้อย่างนี้คนจนก็จะแย่ เสียเปรียบ…" นี่คือคำอธิบายของนายมีชัย

แต่ จากผลการศึกษาของ ดร. ดิลก ลัทธพิพัฒน์ ที่ทำไว้อย่างน่าสนใจว่า ก่อนที่เราจะมีรัฐธรรมนูญ 2540 เราจะเห็นว่า สัดส่วนการเข้าเรียนระดับม.ปลาย (กราฟทางซ้ายมือ) ของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% นั้นแตกต่างเหลื่อมล้ำกันมาก ในช่วงนั้น กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% มีสัดส่วนได้เข้าเรียน ม.ปลาย ไม่ถึงร้อยละ 10 เท่านั้น

โชคดีที่เรามีรัฐธรรมนูญ 2540 เพราะว่า หลังจากนั้น สัดส่วนการเข้าเรียนของกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสูงกว่าร้อยละ 40 ในปัจจุบัน (กลุ่มครัวเรือนที่รวยที่สุด 25% แรกมีอัตราการเข้าเรียนประมาณร้อยละ 80) และความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% เริ่มหดแคบเข้า เพราะฉะนั้น การระบุสิทธิการเรียนฟรี 12 ปีไว้ มีส่วนช่วยที่จะลดความเหลื่อมล้ำดังกล่าวลงได้มากทีเดียว

เพื่อเปรียบ เทียบกัน อยากให้ลองมองภาพทางขวามือ สัดส่วนการเข้าเรียนระดับอุดมศึกษา ซึ่งสิทธิการเรียนฟรียังครอบคลุมไม่ถึง เราจะเห็นว่า ความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้สูงสุด 25% แรกกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% กลับขยายห่างออกไปมากขึ้น แม้กระทั่งปัจจุบัน กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำสุด 25% ยังมีสัดส่วนได้เข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไม่ถึงร้อยละ 10 ด้วยซ้ำครับ

เพราะ ฉะนั้น สิทธิการเรียนฟรีของประชาชน ในระดับ ม.ปลาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำสำหรับคนรุ่นหน้า เป็นความหวังหนึ่งในการพาให้สังคมไทย พ้นจากความเหลื่อมล้ำที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ผมจึงอยากถามนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ใช้ข้อมูลหลักฐานหรือผลการศึกษาใดในการชี้แจงดังกล่าวครับ ถ้ามีรบกวนแจ้งด้วยครับ เพราะผมก็อยากเรียนรู้แง่มุมที่แตกต่างเช่นกันครับ ผมพร้อมที่จะศึกษาข้อมูลใหม่ๆ ที่แตกต่างจากที่ผมรู้ครับ

แต่ถ้าคำชี้แจงดังกล่าวเป็นกล่าวอ้างลอยๆ โดยไม่มีผลการศึกษายืนยัน ก็เป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง

49

No comments:

Post a Comment