PPD's Official Website

Wednesday, July 15, 2015

การส่งผู้ร้ายข้ามแดน

การส่งกลับคนร้าย (Fugitive) ที่หลบหนีคดีอาญาเข้าเมืองมา หรือ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Rendition หรือ Extradition ภายใต้บริบท ของ กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ the Rules of Specialty.
๑. การส่งตัวคนร้ายในคดีอาญากลับ ในยุค Modern State ผม ขอให้นับเวลา ตั้งแต่ ที่เกิดประเทศสหรัฐอเมริกา หลัง ปีค.ศ. 1775 – 1776 ในสนธิสัญญา ที่กำหนดเขตแดนในระหว่างสหรัฐอเมริกา กับอังกฤษ หรือ สหราชอาณาจักร ที่ตรงบริเวณ รัฐเมน กับ บริติชโคลัมเบียในแคนนาดา
๒. ปรากฏข้อความเกี่ยวกับ การส่งกลับตัวคนร้ายที่หลบหนีคดีอาญา หรือ Fugitive ในสนธิสัญญาฉบับนี้ เรา อาจเรียกได้ว่า เป็น “ สนธิสัญญาฉบับ ที่มีชื่อว่า [the Webster – Asburton Treaty, August, 1842] สนธิสัญญาฉบับนี้ เป็น สนธิสัญญาฉบับแรกๆของโลก ที่บัญญัติให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน หรือ ผู้กระทำความผิดอาญา ที่หลบหนีคดีจากรัฐ ที่ก่อเหตุ (Fugitive) ไปสู่ รัฐอื่น นอกเขตรัฐ ที่ก่อเหตุได้ ในระหว่างกัน จากรัฐ (State) สู่ รัฐ (State)” ให้ท่านผู้อ่าน ไปเปิดอ่านสนธิสัญญาฉบับนี้ได้ใน Avalon Project ของ Yale University ทาง Website หรือ ผ่านเข้าทางกูเกิ้ลดอทคอม
๓. การส่งผู้ร้ายข้ามแดนในคดีอาญา ที่หลบหนี หรือ Fugitive จึงเกิดเป็นรูปธรรม นับแต่เวลานั้น เป็นต้นมา การส่งผู้ร้ายข้ามแดน จึงต้องประกอบไปด้วย:
๓.๑ มีสนธิสัญญาต่อกัน อย่างน้อย สนธิสัญญาที่ว่า ต้องเป็นสนธิสัญญาสองฝ่าย หรือ the Bilateral Agreement ในระหว่าง รัฐ ที่เป็นรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญา ในสนธิสัญญา สองฝ่ายนั้น.
๓.๒ ต้องมีการระบุความผิด ในทางอาญา ในการ ที่จะต้องส่งผู้ร้ายในคดีอาญา ข้ามแดน ในระหว่าง รัฐคู่ภาคีของ สนธิสัญญา
๓.๓ การดำเนินกระบวนการ ในการส่งผู้ร้ายข้ามแดน จะต้องไปกระทำการกัน ในศาลของรัฐ ที่คนร้ายได้เข้ามอบตัว หรือ ได้ทำการจับตัวโดยหมายจับของรัฐ ที่คนร้ายหนีไปหลบซ่อนตัว
๓.๔ เมื่อได้ความ จากการพิจารณาคดีของศาล ที่ทำการพิจารณาคดีในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนว่า เป็นตัวคนร้ายจริง และ เป็นผู้กระทำความผิดตามที่ถูกอีกรัฐหนึ่ง ร้องขอตัวมาจริง และเป็นคนร้าย ตามความผิดในทางอาญา ที่ถูกกล่าวหาจาก รัฐผู้ร้องขอจริง
๓.๕ ศาล ที่ทำการพิจารณาคดี อยู่นั้น มีหน้าที่ ในการยืนยัน ตัวคนร้าย และ ความผิดในคดีอาญา ตามที่ปรากฏ ในตามทางการ ที่พิจารณาคดีได้ และมอบตัว คนร้ายในคดีอาญา คนนั้น ให้แก่ฝ่ายบริหาร (the Executive) เพื่อดำเนินการส่งตัวคนร้าย ผู้นั้นต่อไป หรือ ไม่ส่งตัวคนร้าย ผู้นั้นให้แก่รัฐ ฝ่ายที่ร้องขอ หรือ โดยการปฏิเสธ ไม่ส่งตัวคนร้าย ผู้นั้น ให้แก่รัฐ ฝ่ายที่ร้องขอ ทั้งนี้ โดยรัฐ ฝ่ายที่ร้องขอ มีหน้าที่ต้องออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ในขบวนการส่งผู้ร้ายในคดีอาญา หรือ Fugitive ข้ามแดน
นี่คือการส่งตัวคนร้าย ที่หลบหนีคดีอาญามา หรือ Fugitive ในยุคต้นๆ ของการส่งผู้ร้ายข้ามแดน กลับไปยังรัฐ ที่เป็นฝ่ายร้องขอ และ เป็นรัฐคู่ภาคีสนธิสัญญา กับ ฝ่ายรัฐ ที่ต้องส่งตัวคนร้ายในคดีอาญา
ความผิดอาญา ที่ให้มีการส่งตัวผู้ร้าย ที่หลบหนีคดีมา คือความผิดทางอาญาดังต่อไปนี้:
๑. ความผิดในเรื่องการฆาตกรรม หรือ การฆ่า (Murder)
๒. ความผิดเกี่ยวกับ การทำร้ายโดยมีเจตนาฆ่า (Assualt with intent to murder)
๓. ความผิด ในการเป็นโจรสลัด (Piracy)
๔. ความผิด ในการเผาทรัพย์ หรือ วางเพลิงเผาทรัพย์ (Arson)
๕. ความผิด เกี่ยวกับ การปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ (Robbery)
๖. ความผิด เกี่ยวกับ การปลอม หรือ แปลงเอกสาร(Forgery)
๗. ความผิด ในการออกเอกสารปลอม หรือ ที่แปลงเอาไปใช้ (Utterance of forged paper) ในการกระทำความผิดอาญา

ความผิดเหล่านี้ เมื่อกระทำลงแล้ว เป็นความผิดในรัฐทั้งสอง ที่เป็นคู่ภาคีในสนธิสัญญาการส่งคนร้ายในคดีอาญาข้ามแดน หรือ Extradition
หมายเหตุ: การส่งตัวชาวอุยกูร์ เชื้อสายเตอร์ก ที่หลบหนีเข้าเมือง มาจากแคว้น ซิงเจียง ของจีนแผ่นดินใหญ่ มีสถานภาพ เป็นคนร้าย ที่หลบหนีคดีอาญาเข้าเมือง หรือ Fugitive หรือ เป็นเพียงผู้หลบหนีเข้าเมือง (Immigrants who seek Asylum) หรือ ผู้อพยพเข้าเมือง หรือ Refugees
และ
ประเทศไทย ได้ทำการพิสูจน์ทราบ สถานภาพของเขาเหล่านั้น ดีแล้วหรือ?
นี่คือ ข้อคำถามที่ผม ขอมอบให้ท่านผู้อ่าน พี่น้องประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ช่วยนำไปขบคิด มิใช่ “การฟื้นฝอย หาตะเข็บ”
เรามา Share ความรู้เช่นนี้ อย่างผู้ใฝ่รู้ และใฝ่เรียน จากของจริง ในสภาพการณ์ ที่เป็นจริง เพื่อหาบทเรียน และ วิธีการแก้ไข.
(มีต่อ)







No comments:

Post a Comment