PPD's Official Website

Monday, March 14, 2016

นายกฯทักษิณ กับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย ๑)เป้าประสงค์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในบางพื้นที่อยู่ในระดับเกรด A รองรับลูกค้า high class จากต่างประเทศ ๒)เรื่องมีอยู่ว่า อาจารย์ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ได้ไปที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ขณะกำลังเดินที่บริเวณชายหาด ได้พูดออกมาลอยๆว่า “ money money “ แล้วนำเรื่องนี้กลับมาบอกนายกทักษิณ ๓)จากนั้นก็มีการตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า องค์การการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือเรียกย่อๆว่า อพท. (ณ ขณะนี้การทำงานน่าจะผิด concept จากของเดิมไปมาก) และขานยผลการดำเนินงานออกไป ๔)พื้นที่แรกที่เข้าโครงการนี้คือ เกาะช้างและเกาะบริเวณใกล้เคียง รวมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดตราด ๕)ในภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พืชสวนโลก monorailที่เชื่อมโยงกับระบบการท่องเที่ยวทั่วเชียงใหม่แบบครบวงจร และอุทยานช้างหรือเรียกกันว่า ปางช้าง (concept คือ พัฒนาพื้นที่ในบริเวณเขา หุบเขา และป่า ไปตามธรรมชาติ จะนำช้างทั้งเร่ร่อน และไม่เร่ร่อนมาไว้ที่ปางช้าง โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ให้นักท่องเที่ยวนั่งหลังช้างโดยมีควานช้างด้วย สร้างก

นายกฯทักษิณ กับการพัฒนาการท่องเที่ยวของไทย 

๑)เป้าประสงค์เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในบางพื้นที่อยู่ในระดับเกรด A รองรับลูกค้า high class จากต่างประเทศ ๒)เรื่องมีอยู่ว่า อาจารย์ พันศักดิ์ วิญญรัตน์ ได้ไปที่เกาะช้าง จังหวัดตราด ขณะกำลังเดินที่บริเวณชายหาด ได้พูดออกมาลอยๆว่า " money money " แล้วนำเรื่องนี้กลับมาบอกนายกทักษิณ ๓)จากนั้นก็มีการตั้งหน่วยงานที่มีชื่อว่า องค์การการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือเรียกย่อๆว่า อพท. (ณ ขณะนี้การทำงานน่าจะผิด concept จากของเดิมไปมาก) และขานยผลการดำเนินงานออกไป 
๔)พื้นที่แรกที่เข้าโครงการนี้คือ เกาะช้างและเกาะบริเวณใกล้เคียง รวมพื้นที่บางส่วนของจังหวัดตราด 
๕)ในภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พืชสวนโลก monorailที่เชื่อมโยงกับระบบการท่องเที่ยวทั่วเชียงใหม่แบบครบวงจร และอุทยานช้างหรือเรียกกันว่า ปางช้าง (concept คือ พัฒนาพื้นที่ในบริเวณเขา หุบเขา และป่า ไปตามธรรมชาติ จะนำช้างทั้งเร่ร่อน และไม่เร่ร่อนมาไว้ที่ปางช้าง โดยเน้นการท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ให้นักท่องเที่ยวนั่งหลังช้างโดยมีควานช้างด้วย สร้างกระท่อมสำหรับให้นักท่องเที่ยวเข้าพักแบบต้องการค้างคืน ที่กระท่อมนี้จะมีบริการแบบให้นักท่องเที่ยวทำกับข้าวเองหรือให้แม่บ้าน ทำให้ก็ได้) 
๖)ในภาคเหนือ ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประกอบด้วย อำเภอเมือง และที่ปาย(ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม) 

๗)ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออิสาน ประกอบด้วย สร้างกระเช้าขึ้นลงภูกระดึง (เพื่อลดเวลาสำหรับในการเดินทางให้แก่นักท่องเที่ยวบางคนที่ไม่อยากเดินทาง ด้วยเท้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ในเรื่องนี้มีเจ้าหน้าที่อุทยานภูกระดึงให้ความเห็นว่าการมีกระเช้านี้จะ ช่วยให้การกำจัดขยะบนภู แต่เดิมต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือน เมื่อมีกระเช้าจะลดเหลือไม่เกินสองอาทิตย์(แต่มีพวกต่อต้านจนได้ ทราบมาว่าพวกนี้ไม่ใช่คนในพื้นที่) ) การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ภูกระดึงและบริเวณใกล้เคียง โดยสร้างกระเช้าลอยฟ้าเชื่อมโยงระหว่างขุนเขา อาจต้องมีการตัดต้นไม้บ้างเล็กน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับนายทุนบางคน ในภาคอิสานตอนใต้จะพัฒนาพื้นที่ป่าบางส่วนในการนำสัตว์จากเชียงใหม่ไนท์ ซาฟารีมารักษษหรือพักฟื้น รวมทั้งเพาะพันธุ์สัตว์แทนการนำเข้า ตรงนั้นมีชื่อพื้นที่จักราช ในโคราช 

๘)ในภาคกลาง เริ่มต้นที่กรุงเทพมหานคร คือ การพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน เพราะถนนมีมีประวัติศาสตร์หลายเรื่อง และยังเชื่อมโยงไปถนนข้าวสาร ภูเขาทอง มหานาค สวนสัตว์ดุสิต 

๙)ในภาคตะวันออก นอกจากเกาะช้างจุดเริ่มต้นแล้วยังมีเกาะเสม็ดและพื้นที่บางส่วนบนจังหวัด ระยอง เกาะล้าน 

๑๐)ในภาคตะวันตก จุดเริ่มต้นคือแหลมถั่วงอก กาญจนบุรี และพื้นที่บริเวณรอบๆ (ในความจริงจังหวัดกาญจนบุรีเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพในเรื่องของการท่อง เที่ยวมากที่สุดของประเทศไทย) 
๑๑)ลงไปทางใต้ เริ่มที่เพชรบุรี เป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเมืองขนมไทย ประจวบคีรีขันธ์ เป็นการท่องเที่ยวทัศนียภาพและชายหาด ชุมพร เป็นการท่องเที่ยวทัศนียภาพและชายหาด ไม่ผ่านไม่แวะและไม่เข้าสุราษฎร์ เลี้ยวไปยังระนอง เป็นการท่องเที่ยวเชิงสปาจากน้ำพุร้อน สี่จังหวัดที่กล่าวมานี้รองนายกครั้งนั้นคือ สุวัฒน์ ลิปปตะพัลลพ จะใช้เป็นสนาสแข่งรถแบบกรังปรีย์ด้วย 

๑๒)ภาคใต้ ผลกระทบจากภัยพิบัติจากซึนามิ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ จังหวัดพังงา แทบยกจังหวัดแถบตลอดชายฝั่งเลยก็ว่าได้ ผลดังกล่าวนี้ทำให้ที่บ้านม่วง(ที่นี่แหละคือเรือของตำรวจน้ำไปจอดทอดสมอบน เขาของอีกฟากของถนน)คิดจะสร้างสนามบินเลยทีเดียว อีกที่ที่น่าสนใจคือที่เขาหลัก โดนหนักที่สุดก็ว่าได้เพราะดูตามรูปภาพแผนที่ทางภูมิศาสตร์แล้วมันขวางรับ ทางการมาของน้ำในทะเล แต่ที่นี่มีหาดที่สวยเหมือนมัลดีฟ และมีการนำเสนอขอสร้างสนามบินบนเกาะคอเขา โดยให้เหตุผลว่าสนามบินระนองเล็ก ใช้ประโยชน์ได้น้อยมากไม่สามารถรองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ หากจะมาที่พังงาต้องขึ้นเครื่องบินไปลงภูเก็ตก่อนแล้วต่อรถมาที่พังงาอีกต่อ หนึ่งซึ่งความจริงก็เป็นเช่นนี้ เชื่อหรือไม่ว่ายังมีสนามบินอีกแห่งที่มีขนาดใหญ่ระดับมาตรฐานแต่ไม่มีการ ใช้ประโยชน์เลยคือสนามบินในจังหวัดสุราษฎร์ 

๑๓)ภาคใต้ที่อื่นๆ ประกอบด้วย ทะเลน้อยในจังหวัดพัทลุง พัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดสตูลเพื่อเชื่อมการท่องเที่ยวชายแดนไทยมาเลเซีย พัฒนาการท่องเที่ยวตามเกาะต่างๆนอกจากของเดิมที่มีอยู่แล้วจะขายผลไปยังเกาะ อื่นๆ (((ระบบการท่องเที่ยวเชื่อมกับระบบ multi-tranportation โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการประเทศไทย 2020 และโครงการ Thailand corridor ต้องมีผู้วิสัยทัศน์เท่านั้น)))

No comments:

Post a Comment