PPD's Official Website

Thursday, September 3, 2015

ระบอบการปกครองสำหรับอนาคตไทย ควรเปลี่ยนอะไรบ้าง?????

มิตรสหายร่วมอุดมการณ์ท่านหนึ่ง เขียนฝากมา
ลองพิจารณาดูนะครับ ... น่าคิดและน่าสนใจครับ

แนวคิดทางด้านการเมืองการปกครอง
1. การปรับปรุงอำนาจกษัตริย์ให้ปลอดพ้นจากการเมือง
ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ จะเห็นสมควร ว่าจะยังคงมีกษัตริย์ดำรงอยู่หรือไม่
ถ้าประชาชนยังเห็นว่าควรมีกษัตริย์คู่บ้านเมืองอยู่ ต้องทำให้ไม่มีระบอบที่กษัตริย์เข้ามามีส่วนทางการเมืองโดยเด็ดขาด
ตลอดจนเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์และราชวงค์ ต้องไม่มีการทำธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
องคมนตรีและกองกำลังรักษาพระองค์ขึ้นอยู่กับรัฐสภา เป็นผู้กำหนด
2. การป้องกันการปฏิวัติยึดอำนาจ ตลอดจนการสืบทอดอำนาจโดยทหาร
ให้ตำแหน่ง ผบ สูงสุด ผบ เหล่าทัพ ทุกเหล่าทัพ มาจากคณะกรรมการสรรหา เป็นผู้ส่งรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติสมควรได้รับการคัดเลือกให้กับสภา และผู้ที่มีคุณสมบัติตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 
คณะกรรมการสรรหามาจาก ตัวแทนเหล่าทัพต่างๆ 3 คน ตัวแทนกรมการปกครอง 2 คน รัฐสภา 5 คน 
ย้ายค่ายกรมกองทหารออกจากเมืองหลวง ป้องกันการเคลื่อนย้ายกำลังพลและอาวุธเข้าเมืองหลวงโดยพลการ
แก้กฏหมายเกี่ยวกับประกาศกฎอัยการศึก ให้ไม่สามารถประกาศได้โดยกองทัพ แต่ให้ประกาศได้โดยนายกรัฐมนตรี หรือรัฐสภา
3. การควบคุม องค์กรตำรวจ ให้เป็นองค์กรที่รับใช้และดูแลประชาชน ลดการซื้อขายตำแหน่ง ขูดรีดประชาชน
แบ่งตำรวจเป็น ส่วนๆ เช่น ตำรวจเมืองหลวง ตำรวจภาคต่างๆ 4-5 ภาค
ให้ตำแหน่ง หัวหน้าตำรวจเมืองหลวง และตำรวจภาคต่างๆ มาจากคณะกรรมการสรรหา เป็นผู้ส่งรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติสมควรได้รับการคัดเลือกให้กับสภา และผู้ที่มีคุณสมบัติตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 
คณะกรรมการสรรหามาจาก ตัวแทนตำรวจภาคต่างๆ ภาคละ 1 คน ตัวแทนกรมการปกครอง 2 คน รัฐสภา 5 คน 
4. การควบคุมพรรคการเมืองและนักการเมือง 
ป้องกัน นายทุนหรือกลุ่มทุนครอบงำพรรคการเมือง โดยบริจาคเงินเข้าพรรคได้ในนามบุคคล กลุ่มบคคล นิติบุคคล หรือในนามใดๆ ได้ ไม่เกิน 2 ล้านบาท ต่อปี และบุคคลผู้บริจาคต่างๆ ต้องไม่มีชื่อซ้ำซ้อนกันกับในกลุ่มอื่น
มีวาระการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรค ไม่เกิน 2 สมัย เพื่อป้องกัน สส มาเฟีย ครอบงำพรรค และการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค ต้องเป็นการคัดเลือกจากสมาชิกพรรคโดยทั่วไปอย่างทั่วถึง ไม่ใช่เลือกกันเฉพาะในกลุ่มผู้มีอำนาจในพรรคเท่านั้น
การดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ของนักการเมือง ตลอดจนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ต้องไม่เกิน 2 สมัย
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลใช้อำนาจรัฐ ของรัฐบาล
การออกกฏหมายและการออกนโยบายสาธารณะใดๆ หรือนโยบายต่างๆที่ต้องใช้เงินที่มีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท ที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือต่อสังคม หรือต่อประเทศชาติ หลังจากผ่านการลงมติในสภาแล้วรัฐต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนออกเป็นนโยบายหรือออกเป็นกฏหมาย เช่น กฏหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายการจัดการน้ำทั้งระบบ นโยบายด้านการคมนาคมรถไฟความเร็วสูง นโยบายการรับจำนำข้าว เป็นต้น
การลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รัฐต้องให้ประชาชนลงประชามติด้วย ถ้าไม่ผ่านประชามติรัฐต้องคืนอำนาจให้ประชาชน เพราะถือว่ารัฐไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
6. การดูแลป้องกันการผูกขาดทางการค้า ผูกขาดทางด้านทุนนิยม นายทุนการเงิน นายทุนอุตสาหกรรม ผูกขาดทางด้านการครอบครองทรัพยากรของชาติ
รัฐต้องจัดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม ไม่ปล่อยให้มีกลุ่มทุนผูกขาดเอาเปรียบเพราะอำนาจเงิน เช่น ปล่อยให้ 7 eleven ขายสินค้าทุกชนิดได้ 24 ชั่วโมง เปิดตรงทำเลไหนก็ได้ เป็นการทำลาย ร้านค้ารายย่อย โดยรัฐไม่มีนโยบายใดๆ หรือออกกฏหมายใดๆ ที่จะทำให้ร้านค้ารายย่อยเหล่านั้นสามารถพัฒนาแข็งขันกับ กลุ่มทุน 7 eleven ได้ เป็นต้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ยกตัวอย่างมา 
รัฐต้องมีกฏหมายจำกัดการถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ไม่ให้ตกไปอยู่กับบุคคล คณะบุคคล นายทุน หรือกลุ่มทุน หรือกลุ่มทุนบริษัทข้ามชาติต่างๆ ต้องจัดสรรที่ดินทำกิน ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้กับประชาชน 
7. กระบวนการยุติธรรม
ที่มาของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง องค์กรอิสระ ต้องมีคณะกรรมการคัดเลือกที่มาจากประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกอยู่ด้วย เมื่อคัดเลือกแล้วต้องแสดงวิสัยน์ทัศน์ให้สภาลงมติคัดเลือกอีกครั้ง
การทำคดีเกี่ยวกับการ ทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง หรือข้าราชการระดับสูง คดีการเมือง หรือคดีที่มีผลเสียหายถึงระดับที่กำหนดเป็นเกณฑ์ไว้ ต้องมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ปล่อยหมดอายุความผู้รับผิดชอบคดีต้องมีความผิด
รัฐต้องจัดให้มีทนายหรือตัวแทนคุ้มครองสิทธิมนุยชนประจำอยู่ทุกสถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักประกันและป้องกันการละเมิดต่อบุคคลที่ถูกจับกุมกล่าวหา หรือถูกกระทำรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ


อีกเรื่องหนึ่ง คุณชูวิทย์โพสต์ไว้ที่เฟสบุ๊ค
นักการเมือง (อีแอบ)

อาทิตย์ที่จะถึงนี้ สปช. จะโหวตร่างรัฐธรรมนูญ เดินหน้าตามโร้ดแม็พไปสู่การลงประชามติ

ฝั่งหนึ่งเห็นว่าดีว่างาม เสมือนเป็นดวงดาวเจิดจรัสเปิดทางปฏิรูปประเทศไทย

อีกฝั่งหนึ่งมองเป็นโคลนตม ไร้ราคา พาประเทศชาติถอยหลังลงคลอง

ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นักการเมืองมักตกเป็นจำเลย ของอย่างนี้ว่ากันไม่ได้ เพราะบรรดานักการเมืองทำตัวเอง กล้าทำก็ต้องกล้ารับ ทุกคนล้วนเสนอตัวอาสามาทำงานผ่านการเลือกตั้งของประชาชนและกฎเกณฑ์สารพัด

แต่มีอีกจำพวกหนึ่ง เป็นนักการเมืองอีแอบ ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ ได้ดิบได้ดีทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร โดยการเข้าหาขั้วอำนาจ ณ ขณะนั้น เชียร์ตะบี้ตะบัน เลียทุกเรื่อง ยกยอน้ำลายสอ ปั้นน้ำเป็นตัว เพื่อให้ตัวเองดำรงอยู่ในวงจรอำนาจ

ตอนนี้มีพวกใหม่ผุดขึ้นมาอีก เป็นจำพวกที่สองของอีแอบ เคยเป็นนักการเมือง แต่แสร้งทำว่าไม่เล่นการเมืองแล้ว ทั้งที่ในอดีตมีคุณสมบัติเป็นนักการเมืองชั้นเลว 101% แต่ทำเป็นลาออกชุบตัวในน้ำทะเล แล้วเป็นแกนนำ "เครื่องมือการเมือง" (Political Tools) ให้แก่พรรคการเมือง หรือศูนย์อำนาจการเมือง

เสมือนหนึ่งเป็นกองโจร รบแบบไร้รูปแบบ ทำงานได้อิสระ ปล้นดะ ไร้วินัย

ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ได้ดีไปกว่านักการเมืองเลย หากนักการเมืองเลว ยังเลวในระบบ มีกฏเกณฑ์ที่ต้องระมัดระวัง แต่พวกเลวนอกระบบ สันดานอยากทำอะไรก็ทำ ได้คืบจะเอาวา เป็นสัมภเวสีเร่ร่อนเหมือนเจ้าไม่มีศาล ฉกฉวยหยิบกินของเซ่นไหว้ ไม่เคยเห็นหน้าตอนเลือกตั้ง แต่ไม่เคยห่างหายจากการเมือง

รัฐธรรมนูญยังไม่ได้จำกัดห้ามคนจำพวกนี้เอาไว้ อย่างนี้น่ากลัวกว่ากันแยะ

ประชาชนโปรดระวังเอาไว้เถิด

ระบอบการปกครองสำหรับอนาคตไทย ควรเปลี่ยนอะไรบ้าง?????

มิตรสหายร่วมอุดมการณ์ท่านหนึ่ง เขียนฝากมา
ลองพิจารณาดูนะครับ ... น่าคิดและน่าสนใจครับ

แนวคิดทางด้านการเมืองการปกครอง
1. การปรับปรุงอำนาจกษัตริย์ให้ปลอดพ้นจากการเมือง
ขึ้นอยู่กับประชาชนส่วนใหญ่ จะเห็นสมควร ว่าจะยังคงมีกษัตริย์ดำรงอยู่หรือไม่
ถ้าประชาชนยังเห็นว่าควรมีกษัตริย์คู่บ้านเมืองอยู่ ต้องทำให้ไม่มีระบอบที่กษัตริย์เข้ามามีส่วนทางการเมืองโดยเด็ดขาด
ตลอดจนเรื่องการจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์และราชวงค์ ต้องไม่มีการทำธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
องคมนตรีและกองกำลังรักษาพระองค์ขึ้นอยู่กับรัฐสภา เป็นผู้กำหนด
2. การป้องกันการปฏิวัติยึดอำนาจ ตลอดจนการสืบทอดอำนาจโดยทหาร
ให้ตำแหน่ง ผบ สูงสุด ผบ เหล่าทัพ ทุกเหล่าทัพ มาจากคณะกรรมการสรรหา เป็นผู้ส่งรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติสมควรได้รับการคัดเลือกให้กับสภา และผู้ที่มีคุณสมบัติตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 
คณะกรรมการสรรหามาจาก ตัวแทนเหล่าทัพต่างๆ 3 คน ตัวแทนกรมการปกครอง 2 คน รัฐสภา 5 คน 
ย้ายค่ายกรมกองทหารออกจากเมืองหลวง ป้องกันการเคลื่อนย้ายกำลังพลและอาวุธเข้าเมืองหลวงโดยพลการ
แก้กฏหมายเกี่ยวกับประกาศกฎอัยการศึก ให้ไม่สามารถประกาศได้โดยกองทัพ แต่ให้ประกาศได้โดยนายกรัฐมนตรี หรือรัฐสภา
3. การควบคุม องค์กรตำรวจ ให้เป็นองค์กรที่รับใช้และดูแลประชาชน ลดการซื้อขายตำแหน่ง ขูดรีดประชาชน
แบ่งตำรวจเป็น ส่วนๆ เช่น ตำรวจเมืองหลวง ตำรวจภาคต่างๆ 4-5 ภาค
ให้ตำแหน่ง หัวหน้าตำรวจเมืองหลวง และตำรวจภาคต่างๆ มาจากคณะกรรมการสรรหา เป็นผู้ส่งรายชื่อผู้ที่มีคุณสมบัติสมควรได้รับการคัดเลือกให้กับสภา และผู้ที่มีคุณสมบัติตามรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาต้องแสดงวิสัยทัศน์ต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภาลงมติเลือกผู้ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งเหล่านี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี 
คณะกรรมการสรรหามาจาก ตัวแทนตำรวจภาคต่างๆ ภาคละ 1 คน ตัวแทนกรมการปกครอง 2 คน รัฐสภา 5 คน 
4. การควบคุมพรรคการเมืองและนักการเมือง 
ป้องกัน นายทุนหรือกลุ่มทุนครอบงำพรรคการเมือง โดยบริจาคเงินเข้าพรรคได้ในนามบุคคล กลุ่มบคคล นิติบุคคล หรือในนามใดๆ ได้ ไม่เกิน 2 ล้านบาท ต่อปี และบุคคลผู้บริจาคต่างๆ ต้องไม่มีชื่อซ้ำซ้อนกันกับในกลุ่มอื่น
มีวาระการดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรค ไม่เกิน 2 สมัย เพื่อป้องกัน สส มาเฟีย ครอบงำพรรค และการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารพรรค ต้องเป็นการคัดเลือกจากสมาชิกพรรคโดยทั่วไปอย่างทั่วถึง ไม่ใช่เลือกกันเฉพาะในกลุ่มผู้มีอำนาจในพรรคเท่านั้น
การดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่างๆ ของนักการเมือง ตลอดจนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ต้องไม่เกิน 2 สมัย
5. การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการดูแลใช้อำนาจรัฐ ของรัฐบาล
การออกกฏหมายและการออกนโยบายสาธารณะใดๆ หรือนโยบายต่างๆที่ต้องใช้เงินที่มีมูลค่ามากกว่า 100,000 ล้านบาท ที่มีผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม หรือต่อสังคม หรือต่อประเทศชาติ หลังจากผ่านการลงมติในสภาแล้วรัฐต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อนออกเป็นนโยบายหรือออกเป็นกฏหมาย เช่น กฏหมายนิรโทษกรรมคดีการเมือง นโยบายการจัดการน้ำทั้งระบบ นโยบายด้านการคมนาคมรถไฟความเร็วสูง นโยบายการรับจำนำข้าว เป็นต้น
การลงมติในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล รัฐต้องให้ประชาชนลงประชามติด้วย ถ้าไม่ผ่านประชามติรัฐต้องคืนอำนาจให้ประชาชน เพราะถือว่ารัฐไม่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชน
6. การดูแลป้องกันการผูกขาดทางการค้า ผูกขาดทางด้านทุนนิยม นายทุนการเงิน นายทุนอุตสาหกรรม ผูกขาดทางด้านการครอบครองทรัพยากรของชาติ
รัฐต้องจัดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี และเป็นธรรม ไม่ปล่อยให้มีกลุ่มทุนผูกขาดเอาเปรียบเพราะอำนาจเงิน เช่น ปล่อยให้ 7 eleven ขายสินค้าทุกชนิดได้ 24 ชั่วโมง เปิดตรงทำเลไหนก็ได้ เป็นการทำลาย ร้านค้ารายย่อย โดยรัฐไม่มีนโยบายใดๆ หรือออกกฏหมายใดๆ ที่จะทำให้ร้านค้ารายย่อยเหล่านั้นสามารถพัฒนาแข็งขันกับ กลุ่มทุน 7 eleven ได้ เป็นต้น ยังมีอีกหลายอย่างที่ไม่ได้ยกตัวอย่างมา 
รัฐต้องมีกฏหมายจำกัดการถือครองที่ดิน การใช้ประโยชน์ในที่ดิน ไม่ให้ตกไปอยู่กับบุคคล คณะบุคคล นายทุน หรือกลุ่มทุน หรือกลุ่มทุนบริษัทข้ามชาติต่างๆ ต้องจัดสรรที่ดินทำกิน ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยให้กับประชาชน 
7. กระบวนการยุติธรรม
ที่มาของตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง องค์กรอิสระ ต้องมีคณะกรรมการคัดเลือกที่มาจากประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกอยู่ด้วย เมื่อคัดเลือกแล้วต้องแสดงวิสัยน์ทัศน์ให้สภาลงมติคัดเลือกอีกครั้ง
การทำคดีเกี่ยวกับการ ทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง หรือข้าราชการระดับสูง คดีการเมือง หรือคดีที่มีผลเสียหายถึงระดับที่กำหนดเป็นเกณฑ์ไว้ ต้องมีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจน ปล่อยหมดอายุความผู้รับผิดชอบคดีต้องมีความผิด
รัฐต้องจัดให้มีทนายหรือตัวแทนคุ้มครองสิทธิมนุยชนประจำอยู่ทุกสถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักประกันและป้องกันการละเมิดต่อบุคคลที่ถูกจับกุมกล่าวหา หรือถูกกระทำรุนแรง โดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ


อีกเรื่องหนึ่ง คุณชูวิทย์โพสต์ไว้ที่เฟสบุ๊ค
นักการเมือง (อีแอบ)

อาทิตย์ที่จะถึงนี้ สปช. จะโหวตร่างรัฐธรรมนูญ เดินหน้าตามโร้ดแม็พไปสู่การลงประชามติ

ฝั่งหนึ่งเห็นว่าดีว่างาม เสมือนเป็นดวงดาวเจิดจรัสเปิดทางปฏิรูปประเทศไทย

อีกฝั่งหนึ่งมองเป็นโคลนตม ไร้ราคา พาประเทศชาติถอยหลังลงคลอง

ทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ นักการเมืองมักตกเป็นจำเลย ของอย่างนี้ว่ากันไม่ได้ เพราะบรรดานักการเมืองทำตัวเอง กล้าทำก็ต้องกล้ารับ ทุกคนล้วนเสนอตัวอาสามาทำงานผ่านการเลือกตั้งของประชาชนและกฎเกณฑ์สารพัด

แต่มีอีกจำพวกหนึ่ง เป็นนักการเมืองอีแอบ ไม่ต้องอาศัยกฎเกณฑ์ ได้ดิบได้ดีทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร โดยการเข้าหาขั้วอำนาจ ณ ขณะนั้น เชียร์ตะบี้ตะบัน เลียทุกเรื่อง ยกยอน้ำลายสอ ปั้นน้ำเป็นตัว เพื่อให้ตัวเองดำรงอยู่ในวงจรอำนาจ

ตอนนี้มีพวกใหม่ผุดขึ้นมาอีก เป็นจำพวกที่สองของอีแอบ เคยเป็นนักการเมือง แต่แสร้งทำว่าไม่เล่นการเมืองแล้ว ทั้งที่ในอดีตมีคุณสมบัติเป็นนักการเมืองชั้นเลว 101% แต่ทำเป็นลาออกชุบตัวในน้ำทะเล แล้วเป็นแกนนำ "เครื่องมือการเมือง" (Political Tools) ให้แก่พรรคการเมือง หรือศูนย์อำนาจการเมือง

เสมือนหนึ่งเป็นกองโจร รบแบบไร้รูปแบบ ทำงานได้อิสระ ปล้นดะ ไร้วินัย

ทั้งสองจำพวกนี้ไม่ได้ดีไปกว่านักการเมืองเลย หากนักการเมืองเลว ยังเลวในระบบ มีกฏเกณฑ์ที่ต้องระมัดระวัง แต่พวกเลวนอกระบบ สันดานอยากทำอะไรก็ทำ ได้คืบจะเอาวา เป็นสัมภเวสีเร่ร่อนเหมือนเจ้าไม่มีศาล ฉกฉวยหยิบกินของเซ่นไหว้ ไม่เคยเห็นหน้าตอนเลือกตั้ง แต่ไม่เคยห่างหายจากการเมือง

รัฐธรรมนูญยังไม่ได้จำกัดห้ามคนจำพวกนี้เอาไว้ อย่างนี้น่ากลัวกว่ากันแยะ

ประชาชนโปรดระวังเอาไว้เถิด

ระวัง!!! ทฤษฎีต้มกบ.. คนไทยถูกต้มจนเกือบเปื่อย...ดร.เพียงดิน รักไทย มหาวิทยาลัย

หนึ่งวันก่อนการรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557  ผมเพิ่งไปถึงยุโรปได้ไม่กี่วัน
ดูสถานการณ์แล้ว ไม่สบายใจและไม่ไว้วางใจสถานการณ์ในเมืองไทย
เพราะมองเห็นพฤติกรรมของขบวนเครือข่ายราชาธิปไตย ที่บีบ รุกคืบ
แล้วให้คนไทยต้องยอมรับสิ่งชั่วร้าย เป็นมาตรฐานใหม่ ที่ฉุดสังคม
ตกต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ  .... และวันนี้ พอยึดอำนาจได้แล้ว
เจ้าและทหารของเจ้า ก็ยังกล้าใช้อำนาจ เหมือนงูเหลือมที่กลืนเหยื่อ
หรือตามทฤษฎีต้มกบ

ลองฟังให้ดีนะครับ... วันนี้ เราจะยอมให้พวกกบฏและศักดินาหลงยุค
ครอบงำประเทศชาติเราต่อไปอีกไม่สิ้นสุดหรือ?

ระวัง!!! ทฤษฎีต้มกบ.. คนไทยถูกต้มจนเกือบเปื่อย...ดร.เพียงดิน รักไทย มหาวิทยาลัย





ระวัง!!! ทฤษฎีต้มกบ.. คนไทยถูกต้มจนเกือบเปื่อย...ดร.เพียงดิน รักไทย มหาวิทยาลัย

Is China sending a military message to the U.S.?



Download

ทหารไทย ไม่ใช่พระเอก

"อำนาจนิยม"ในโรงเรียน.ทำลายอนาคตชาติ


Download

"อำนาจนิยม"ในโรงเรียน.ทำลายอนาคตชาติ


19,237
39 views
Published on Sep 3, 2015

น.ส.ณัฐ นันท์ นรินทรเวช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณี อดีตรองผู้อำนวยโรงเรียนเสิงสาง นครราชสีมา ใช้อารมณ์แสดงอาการดูถูก เหยียดหยาม และทำร้ายนักเรียนด้วยการตบหัว โดยอ้างว่าทำไปเพราะความรัก ความหวังดีที่ครูมีต่อนักเรียนว่า ผู้บริหารโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ จะต้องแยกให้ออกว่าระหว่าง จิตวิญญาณความเป็นครู กับ การทำร้ายร่างกาย หรือการดูถูก เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นคน การทำร้ายร่างกายเท่ากับผิดกฎหมายดังนั้นก­ารจะอ้างว่า ทำไปเพราะวิญญาณของความเป็นครู จึงไม่อาจจะอ้างได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะในโรงเรียน และระบบการศึกษาของไทย ยังคงใช้ ความเป็นอำนาจนิยม สั่งสอนนักเรียน แต่ควรจะต้องมีระบบที่จะถ่วงดุลย์อำนาจระห­ว่างนักเรียน และครู หรือผู้บริหารโรงเรียน การลงโทษนักเรียน ทำได้แต่ต้องผ่านกระบวนการสอบสวนโดยคณะบุค­คล ไม่ใช่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบของครูเพียงคนเ­ดียว ดังนั้นอย่าสั่งสอนเด็กด้วยความกลัว หรือ สร้างระบบอำนาจนิยมขึ้นมาในโรงเรียน เพราะจะทำให้เด็กไทยไม่มีวุุฒิภาวะ ไม่มีจิตนาการ ขาดความคิดสร้างสรรค์ กรณีที่เกิดขึ้นที่ ร.ร.เสิงสาง ควรจะเป็นบทเรียนสำคัญในระบบการศึกษาไทยที­่จะต้องนำมาถกเถียงพูดคุยและหาทางแก้ปัญหา­ระยะยาว แทนที่จะแก้ปัญหาเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของคร­ู และโรงเรียน

"อำนาจนิยม"ในโรงเรียน.ทำลายอนาคตชาติ

"อำนาจนิยม"ในโรงเรียน.ทำลายอนาคตชาติ


19,237
39 views
Published on Sep 3, 2015

น.ส.ณัฐ นันท์ นรินทรเวช นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia กรณี อดีตรองผู้อำนวยโรงเรียนเสิงสาง นครราชสีมา ใช้อารมณ์แสดงอาการดูถูก เหยียดหยาม และทำร้ายนักเรียนด้วยการตบหัว โดยอ้างว่าทำไปเพราะความรัก ความหวังดีที่ครูมีต่อนักเรียนว่า ผู้บริหารโรงเรียน หรือ ครู อาจารย์ จะต้องแยกให้ออกว่าระหว่าง จิตวิญญาณความเป็นครู กับ การทำร้ายร่างกาย หรือการดูถูก เหยียดหยามศักดิ์ศรีความเป็นคน การทำร้ายร่างกายเท่ากับผิดกฎหมายดังนั้นก­ารจะอ้างว่า ทำไปเพราะวิญญาณของความเป็นครู จึงไม่อาจจะอ้างได้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะในโรงเรียน และระบบการศึกษาของไทย ยังคงใช้ ความเป็นอำนาจนิยม สั่งสอนนักเรียน แต่ควรจะต้องมีระบบที่จะถ่วงดุลย์อำนาจระห­ว่างนักเรียน และครู หรือผู้บริหารโรงเรียน การลงโทษนักเรียน ทำได้แต่ต้องผ่านกระบวนการสอบสวนโดยคณะบุค­คล ไม่ใช่เกิดจากอารมณ์ชั่ววูบของครูเพียงคนเ­ดียว ดังนั้นอย่าสั่งสอนเด็กด้วยความกลัว หรือ สร้างระบบอำนาจนิยมขึ้นมาในโรงเรียน เพราะจะทำให้เด็กไทยไม่มีวุุฒิภาวะ ไม่มีจิตนาการ ขาดความคิดสร้างสรรค์ กรณีที่เกิดขึ้นที่ ร.ร.เสิงสาง ควรจะเป็นบทเรียนสำคัญในระบบการศึกษาไทยที­่จะต้องนำมาถกเถียงพูดคุยและหาทางแก้ปัญหา­ระยะยาว แทนที่จะแก้ปัญหาเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของคร­ู และโรงเรียน