(exclamation)หมดปัญญาหาเงิน ปล้นตระกูลชินวัตรและพวกดื้อๆ 5 แสนล้าน!!!
"ยิ่งลักษณ์-บุญทรง" หนาวหนัก !! สั่งคืนเงิน 5 แสนล. ชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าว
Cr.ภาพ//เนื้อหา Tnews เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก
@บูรพาพยัคฆ์
คณะกรรมการตรวจสอบค่าเสียหายข้าว" มีมติสั่งฟ้องให้ "ยิ่งลักษณ์-บุญทรง" ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนรวมกัน 5.1 แสนล.
วันนี้ ( 18 ก.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและกำหนดค่าความเสียหาย และคณะกรรมการว่าด้วยการรับผิดทางแพ่งคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย มูลค่า 5.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโครงการรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี 5 แสนล้านบาท และโครงการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐของนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีต รมว.พาณิชย์ นายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ และข้าราชการ มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ จะให้กระทรวงการคลังสั่งให้ผู้กระทำผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยใช้อำนาจตามมาตรา 12 พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และข้อ 18 วรรคสอง ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
สำหรับขั้นตอนการดำเนินการดังกล่าว นายวิษณุจะเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลงนามให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ จากนั้นจะส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังดำเนินการต่อไป
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การใช้วิธีการดังกล่าวเป็นการสั่งให้ผู้กระทำผิดชดใช้เงินค่าสินไหมทดแทนโดยตรงแทนการยื่นฟ้องทางแพ่งต่อศาล ซึ่งจะใช้เวลานานและมีขั้นตอนยุ่งยาก หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวก ต้องการอุทธรณ์คำสั่ง ก็ให้ร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม หากศาลเห็นว่าคำสั่งของกระทรวงการคลังชอบแล้ว น.ส.ยิ่งลักษณ์ และพวกต้องชดใช้ค่าเสียหายในทันที หากไม่นำเงินมาชำระภายในเวลาที่กำหนด ให้เจ้าพนักงานสามารถดำเนินการยึดทรัพย์ได้
ด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า ได้เร่งให้คณะกรรมการพิจารณาความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าว สรุปผลการตรวจสอบเพื่อส่งเรื่องให้คณะกรรมการรับผิดทางแพ่งของกรมบัญชีกลางพิจารณาเรียกความเสียหายจากผู้กระทำผิด ซึ่งยังมีเวลาดำเนินการอยู่ เพราะอายุความยังอยู่อีกมาก
ขณะเดียวกัน ยังไม่จำเป็นเร่งด่วนในการออก พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อบริหารจัดการหนี้ 7.2 แสนล้านบาท เนื่องจากการบริหารหนี้แบบปกติยังดำเนินการได้อยู่ และยังไม่มีสัญญาณว่าการชำระหนี้จะกระจุกตัวมากเกินไป และการก่อหนี้ไม่ได้เกินเพดานที่กรอบความยั่งยืนทางการคลังกำหนดไว้