PPD's Official Website

Thursday, October 22, 2015

นปช.ปลุกแนวร่วมใส่เสื้อแดง 1 พ.ย. ปกป้อง"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดคดีจำนำข้าว

นปช.ปลุกแนวร่วมใส่เสื้อแดง 1 พ.ย. ปกป้อง"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดคดีจำนำข้าว


​กลุ่มเครือข่ายคนเสื้อแดงบนโลกโซเชียลมีเดีย ได้โพสต์เชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใส่เสื้อแดงในวันที่ 1 พ.ย. เพื่อให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวทั้งทางแพ่งและอาญา

ทั้งนี้ นายวรชัย เหมะ อดีต สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า การนัดใส่เสื้อแดงในวันที่ 1 พ.ย. ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ไม่ใช่การชุมนุม กฎหมายไม่ได้ห้าม และ นปช.ก็ไม่ได้เป็นคนต้นคิด แต่เป็นการเชิญชวนตาม โซเชียลมีเดีย

"การที่คนนัดใส่เสื้อแดง เพราะรู้สึกว่าคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ยุติธรรม สองมาตรฐานรีบเร่ง และหากรัฐบาลจะห้ามไม่ให้ใส่เสื้อสีแดง ดูจะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนมากเกินไปหรือไม่ แต่ถ้าจะห้ามขอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ระบุมาเลยว่า วันที่ 1 พ.ย.นี้ ห้ามใส่เสื้อสีแดง จะได้รู้กันว่าบ้านเราใส่เสื้อสีแดงไม่ได้" นายวรชัย ระบุ

ขณะที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ ระบุว่า นโยบายจำนำข้าวเป็นแนวคิดช่วยเหลือชาวนาให้ได้รับประโยชน์สูงสุด มิใช่นโยบายประชานิยม และถือเป็นหนึ่งในสัญญาประชาคมที่พรรคเพื่อไทยได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งไม่มีประเทศใดในโลกนำโครงการเหล่านี้มาพิจารณาในเรื่องกำไรขาดทุน และหากโครงการรับจำนำข้าวผิด โครงการประกันราคาข้าว โครงการ ปรส. ต้องถูกตีความว่าขาดทุนและทำให้ประเทศชาติเสียหายทั้งสิ้น และผู้รับผิดชอบต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน

"การประโคมข่าวเรื่องการทุจริต หรือการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต เป็นกลวิธีหรือวาทกรรมที่ต้องการสร้างกระแสความชอบธรรมทางการเมือง เพื่อทำลายและปรักปรำ น.ส. ยิ่งลักษณ์ อย่างเลวร้าย และไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง จึงขอให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าว" แถลงการณ์ระบุ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับทราบความเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงแล้ว และขอให้ประชาชนใช้ดุลพินิจว่าการแบ่งสีด้วยการเชิญชวนการแต่งเสื้อสี จะเป็นการทำให้เกิดการแบ่งแยกขึ้นในสังคมอีกหรือไม่ ถ้าเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้งจะทำให้การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองลำบาก

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ดำเนินการก็จะมีความผิด เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องมา ส่วนโครงการอื่นๆ ไม่มีการส่งเรื่องมาจึงไม่สามารถดำเนินการได้  รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาว่าโครงการใดมีความผิดหรือไม่

"ที่เล่นงานกันเรื่องจำนำข้าวทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะ ป.ป.ช.เขาบอก แต่เขาเคยบอกมาแล้วว่าวันที่เท่านั้น เวลานั้น แล้วยังเพิกเฉย จึงมีเรื่องอยู่ขณะนี้" นายวิษณุ กล่าว

นปช.ปลุกแนวร่วมใส่เสื้อแดง 1 พ.ย. ปกป้อง"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดคดีจำนำข้าว

นปช.ปลุกแนวร่วมใส่เสื้อแดง 1 พ.ย. ปกป้อง"ยิ่งลักษณ์"ไม่ผิดคดีจำนำข้าว


​กลุ่มเครือข่ายคนเสื้อแดงบนโลกโซเชียลมีเดีย ได้โพสต์เชิญชวนให้สมาชิกกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใส่เสื้อแดงในวันที่ 1 พ.ย. เพื่อให้กำลังใจ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกดำเนินคดีโครงการรับจำนำข้าวทั้งทางแพ่งและอาญา

ทั้งนี้ นายวรชัย เหมะ อดีต สส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ระบุว่า การนัดใส่เสื้อแดงในวันที่ 1 พ.ย. ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ไม่ใช่การชุมนุม กฎหมายไม่ได้ห้าม และ นปช.ก็ไม่ได้เป็นคนต้นคิด แต่เป็นการเชิญชวนตาม โซเชียลมีเดีย

"การที่คนนัดใส่เสื้อแดง เพราะรู้สึกว่าคดีของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ไม่ยุติธรรม สองมาตรฐานรีบเร่ง และหากรัฐบาลจะห้ามไม่ให้ใส่เสื้อสีแดง ดูจะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนมากเกินไปหรือไม่ แต่ถ้าจะห้ามขอให้นายกฯ ใช้มาตรา 44 ระบุมาเลยว่า วันที่ 1 พ.ย.นี้ ห้ามใส่เสื้อสีแดง จะได้รู้กันว่าบ้านเราใส่เสื้อสีแดงไม่ได้" นายวรชัย ระบุ

ขณะที่พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ ระบุว่า นโยบายจำนำข้าวเป็นแนวคิดช่วยเหลือชาวนาให้ได้รับประโยชน์สูงสุด มิใช่นโยบายประชานิยม และถือเป็นหนึ่งในสัญญาประชาคมที่พรรคเพื่อไทยได้รับการยอมรับจากประชาชน ซึ่งไม่มีประเทศใดในโลกนำโครงการเหล่านี้มาพิจารณาในเรื่องกำไรขาดทุน และหากโครงการรับจำนำข้าวผิด โครงการประกันราคาข้าว โครงการ ปรส. ต้องถูกตีความว่าขาดทุนและทำให้ประเทศชาติเสียหายทั้งสิ้น และผู้รับผิดชอบต้องถูกดำเนินคดีเช่นกัน

"การประโคมข่าวเรื่องการทุจริต หรือการปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต เป็นกลวิธีหรือวาทกรรมที่ต้องการสร้างกระแสความชอบธรรมทางการเมือง เพื่อทำลายและปรักปรำ น.ส. ยิ่งลักษณ์ อย่างเลวร้าย และไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง จึงขอให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการพิจารณาเหตุผลและข้อเท็จจริงดังกล่าว" แถลงการณ์ระบุ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีรับทราบความเคลื่อนไหวของกลุ่มเสื้อแดงแล้ว และขอให้ประชาชนใช้ดุลพินิจว่าการแบ่งสีด้วยการเชิญชวนการแต่งเสื้อสี จะเป็นการทำให้เกิดการแบ่งแยกขึ้นในสังคมอีกหรือไม่ ถ้าเอาความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้งจะทำให้การแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองลำบาก

นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่ดำเนินการก็จะมีความผิด เพราะคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่งเรื่องมา ส่วนโครงการอื่นๆ ไม่มีการส่งเรื่องมาจึงไม่สามารถดำเนินการได้  รัฐบาลจึงไม่มีสิทธิที่จะพิจารณาว่าโครงการใดมีความผิดหรือไม่

"ที่เล่นงานกันเรื่องจำนำข้าวทุกวันนี้ไม่ใช่เพราะ ป.ป.ช.เขาบอก แต่เขาเคยบอกมาแล้วว่าวันที่เท่านั้น เวลานั้น แล้วยังเพิกเฉย จึงมีเรื่องอยู่ขณะนี้" นายวิษณุ กล่าว

"ปฏิญญาฟินแลนด์" คืออีก 1 ในความสกปรกของการเมืองไทย โดย Johnnie Red Label


.........
"ปฏิญญาฟินแลนด์" คืออีก 1 ในความสกปรกของการเมืองไทย

มีคนโดนฟ้องไป 4 คน เพราะดันไป "มโน" หมิ่นประมาท "ทักษิณ"
ว่าริอาจจะเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยด้วย "ปฏิญญาฟินแลนด์"

คือ

1.นายปราโมทย์ นาครทรรพ
ผู้ซึ่งเคยได้รับเชิญไปงานของ US Embassy
แต่โดน "เหลี่ยมทางการทูต" ของไอ้กันประจานแบบเนียนๆ
ด้วยการระบุที่หน้าจดหมายเชิญว่าเป็น Anti-Thaksin Activist

2.นางสาวเสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์

3.นายขุนทอง ลอเสรีวานิช

และ 4.นายปัญจภัทร อังคสุวรรณ

3 ตัวหลังนี้ทำมาหารับประทานอยู่กับสื่อในเครือไอ้แป๊ะลิ้ม

หลังจากต่อสู้คดีกันมานาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกนายปราโมทย์ และ นายขุนทอง คนละ 1 ปีและปรับเงินคนละ 1 แสนบาท แต่โทษจำคุกนั้นศาลให้รอลงอาญา 2 ปี

จำเลยทั้ง 2 ขออุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องนายขุนทอง (รอดไปนะเมิง)

ส่วนนายปราโมทย์สู้ถึงฎีกา
ซึ่งศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
นั่นก็คือจำคุกนายปราโมทย์ 1 ปี และ ปรับ 1 แสนบาท

แต่โทษจำคุกนั้นให้รอรอลงอาญา 2 ปี

คำถามก็คือไอ้ที่ไปกล่าวหาเขาไปปลุกปั่นเหล่าสาวก ว่า ทักษิณ จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยด้วย "ปฏิญญาฟินแลนด์" นั้น

ปลุกปั่นกันจนสาวกเชื่อ
ปลุกปั่นกันจนคนอื่นเสียหาย
ไอ้พวกนี้มันคิดที่จะสารภาพบาป และ เอ่ยคำขอโทษเขาหรือไม่ ?????

ปฏิญญาฟินแลนด์ไม่ใช่เรื่องเล็กๆนะครับ
เพราะในรายละเอียดที่ไอ้พวก "ปากมอม" มันพูดกันเมามันส์นั้น 5 ข้อของปฏิญญาฟินแลนด์ มันสร้างความเสียหางในทางภาพพจน์ให้อีกฝ่ายอย่างมหาศาล

มีการ"มโน"กันว่า
เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 2542
โดยเครือข่ายทักษิณ นั่งเครื่องบินไปคุยกันที่ฟินแลนด์

แหมๆๆโคตรจะขรรมเลยว่ะ

พรรคไทยรักไทย ก่อตั้งกลางปี 2541
นี่แสดงว่าพอก่อตั้งขึ้นมาก็ไม่ต้องคิดหาทำอะไรเลยหรือ ??
ไม่ต้องทำ Action Plan ทำ Research เพื่อจะต่อสู้ในสนามเลือกตั้งเลยหรือ ??

ก่อตั้งมาได้แค่แป๊บเดียวกลางปี 41พอปี 42 ก็เฮโลกันไปทำเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์เลยหรือ ??

แถมยังต้องเสียค่าเรือบิน
เพื่อที่จะลากสังขารไปคุยกันในอากาศหนาวๆ
กับไอ้ 5 ข้อ ที่ไอ้พวกแก๊งนี้เอามากล่าวหาเขาด้วยหรือ ???

แหมมมม....เช่าโรงแรมคุยกันที่เมืองไทยก็ได้ครับ..ยิ่งคิดยิ่งขำว่ะ..!!!!!!

จริงๆแล้วคนที่เริ่มพล่ามเรื่องปฏิญญาฟินแลนด์ น่าจะเป็น "คนดี" ที่ชื่อ

"นายโสภณ สุภาพงษ์" ครับ

เพราะไอ้หมอนี่ไปเจื้อยแจ้วไว้ในงานเสวนา
ก่อนที่จะไปพล่ามต่อในรายการทีวีของไอ้แป๊ะลิ้ม

5 ข้อที่ว่าของ "ปฏิญญาโจ๊ก" ก็คือ

1.ต้องยึดรากหญ้าให้ได้

2.ใช้ทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจหลักของประเทศ

3. จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว

4.รื้อระบบราชการทั้งหมด

5.เป็นเรื่องที่มิบังควรเขียน เพราะอาจกลายเป็น "หมอหยอง" ไปอีกคน

แถมยังมีการโยงด้วยว่า
ไอ้พวกที่นั่งเครื่องบินไปคุยกันนั้น เป็น "นักเคลื่อนไหวที่อยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย"

อั้ยย่ะ!!....เมารึเปล่าว๊ะ ???

ในปี 2542 นั้น พรรคคอมฯมันยังมีอยู่อีกหรือ ???
พรรคนี้มันยังทำกิจกรรมทางการเมืองอีกหรือ ???

จะป้ายสีพรรคไทยรักไทย
แต่ดันเสือกโยงไปถึงพรรคคอมฯ

โคตรจะมีจินตนาการเลยว่ะ...5555555..........

และ ที่ขำชนิดสุดกระดิ่งติ่งแมวก็คือ
การที่ไอ้แก๊งนี้"มโน" เพื่อที่จะสะกดจิตสาวกว่า
ไอ้นักเคลื่อนไหวที่อยู่ในพรรคคอมมินิสม์ดันเสนอให้ใช้ เศรษฐกิจแบบทุนนิยม...!!!!

โอ๊ยยยย...มีอะไรฮาไปกว่านี้มั๊ยเนี่ย...!!!!!

เป็นคอมมิวนิสท์ แต่ทะลึ่งเสือกชอบทุนนิยม (สาวกมันก็ดันเชื่ออีกต่างหาก)

ยังไม่นับว่าเรื่องนี้เกิดขี้นในปี 2542 (หากมันเกิดขึ้นจริง)
แต่กว่าเรื่องจะแดงเป็นที่โจษจันดันใช้เวลาถึง 7 ปี เพราะมาแดงเอาในปี 2549

แหมมมมมมมม...

สงสัยแก๊งไอ้แป๊ะลิ้มนี่มันใช้ "โทรเลข" สื่อสารกันแน่ๆ

กล่าวหาเขามันส์ปากจนเขาเสียหาย
และ ถูกตราหน้าว่าอยากเป็นประธานาธิบดี

กล่าวหาเขาอย่างสนุกสนาน โดยไม่มีพยานหลักฐานยืนยัน

กล่าวหาเขาอย่างต่อเนื่อง
โยงไปนั่นไปนี่แบบขาด Logic

ถึงวันนี้มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า
ไอ้สิ่งที่ใส่ร้ายป้ายสีเขามาตั้งแต่ปี 2549 นั้น
มันล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่ไอ้แก๊งนี้โกหกมดเท็จทั้งสิ้น

และที่น่ากลัวก็คือ ไอ้พวกแก๊งนี้บางตัว
ยังอยู่ดีมีสุขและได้ดิบได้ดี

หลังรัฐประหาร 22 พค.57 อีกต่างหากครับ....!!!!!!!

************************

ศาลฎีกา พิพากษา คุก1ปี ปรับ1แสน "ปราโมทย์ นาครทรรพ" หมิ่นทักษิณ ปฏิญญาฟินแลนด์

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445399872

เรื่องวุ่น ๆ พี่ชายน้องสาวในราชสำนัก เกิดอะไรขึ้นแน่??? มุมมอง จรรยา ยิ้มประเสริฐ

เรื่องวุ่น ๆ พี่ชายน้องสาวในราชสำนัก เกิดอะไรขึ้นแน่??? มุมมอง จรรยา ยิ้มประเสริฐ

----------------
สิ่งหนึ่งที่ผมใช้เป็นจุดในการตั้งคำถามกับการศึกษาประเด็นเรื่องการเมืองอันคลุมเครือที่หาข้อสรุปชัดเจนไม่ได้ คือ ใครได้ประโยชน์ ?

อาทิ 

กรณี การสังหาร ร. 8 ใครได้ประโยชน์ที่สุดจากการตายของ ร. 8? 
ซึ่งแน่นอนคือ ร. 9 และราชสำนัก ที่สามารถฟื้นฟูราชประเพณีและวิถีสมบูรณาญาสิทธิราชได้อย่างมาก อย่างย้อนกับกระแสโลกจนน่าตกตลึง

ซึ่งเมื่อดูกรณีฟ้าชาย

1. วิธีการจัดการกำจัดเมียและเครือข่ายของเมียของฟ้าชาย นี่ไม่ได้ทำให้ภาพฟ้าชายดีขึ้นเลย เพราะมันสะท้อนการไม่เป็นสุภาพบุรุษและไม่มีวุฒิภาวะมากๆ ของคนที่จะขึ้นมาเป็นกษัตริย์ 

2. พอมาถึงการจัดการกับหมอหยองและเครือข่ายฟ้าชายอีกระลอกนี้ ฟ้าชายมีแต่เสียกับเสียนะครับ

ประเด็นที่ชวนถกกันคือ 

1. ถ้าทั้งหมดนี่เป็นการกระทำตามคำสั่งของฟ้าชาย เพื่อล้างภาพเสียหาย ก็ต้องบอกว่า เป็นการกระทำที่ยิ่งทำให้เสียหายยิ่งขึ้นนะครับ 

2. ถ้าเป็นการกระทำเพื่อ discredit ฟ้าชาย ถ้ามันเป็นเช่นนั้นจริง ก็สะท้อนว่า ฟ้าชายแทบไม่เหลืออำนาจอะไรในราชสำนัก เพราะแม้คนใกล้ตัวขนาดนี้ ก็ยังถูกกำจัดอย่างเย้ยกฎหมายและป่าเถื่อนเช่นนี้

3. ดังนั้น คำถามคือ การกระทำการอย่างเย้ยกฎหมาย ที่มาพร้อมกับข่าวอื้อฉาว และโศกนาฎกรรมต่อเครือข่ายฟ้าชายครั้งนี้ 

ใครคือผู้ได้ประโยชน์ที่สุด?

การมีจุดอ่อนของ ร. 9 ในกรณีพัวพันกับคดีฆาตกรรม (ที่ยังไม่มีข้อสรุป) ของพี่ชาย ทำให้ ร. 9 ต้องเป็นคนดีของระบบสมบูรณญาสิทธิราชย์และอีลีตรอยัลลิสต์และสร้างความสัมพันธ์กับระบบเผด็จการทหารอย่างแนบแน่น

การจัดการกับเครือข่ายฟ้าชาย ณ ตอนนี้ ในช่วงการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย และการขึ้นครองราชย์ของฟ้าชาย ... 

ถ้ามองในเชิงประวัติศาสตร์แบบนี้ ก็อาจจะมองได้ว่า เพื่อสร้างจุดอ่อนฟ้าชาย เพื่อให้ยอมเป็นตัวเล่นทางการเมืองของเครือข่ายราชสำนัก คนที่ราชสำนัก (และทหาร) คุมได้เช่นเดียวกับรุ่นพ่อ  

ซึ่งนี่เป็นภาพรวมการเมืองศักดินาสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่กษัตริย์ ไม่ได้มีเอกสิทธิ์อย่างแท้จริง แต่อยู่ในการเมืองต่อรองอำนาจกับกลุ่มผลประโยชน์อภิสิทธิชนมาโดยตลอด

ผมจึงสนใจปรากฎการณ์การเมืองราชสำนักปัจจุบันมาก เพราะเห็นการพยายามต่อรองอำนาจกันอย่างรุนแรงของขั้วอำนาจเก่าในทางการเมืองไทย ในสภาพความเสื่อมเสียตกต่ำของชื่อเสียงของราชสำนักอย่างมากจนยากจะยื้อยุดไว้ได้เช่นนี้ 

ซึ่งการเมืองราชสำนักตอนนี้ ไม่ว่าจะมองจากมุมมองไหน ก็เห็นชัดว่า ราชสำนักไม่อาจกุมศรัทธามหาชนได้ด้วยบารมีเช่นในยุครุ่งเรืองสุดได้อีกต่อไป ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดของ ราชสำนัก พวกเขาจะตัดสินใจการเมืองแบบไหน... 

- ปรับตัวแบบราชสำนักตะวันตก 
หรือ?
- ย้อนกลับสู่การใช้อำนาจควบคุมประชาชน ด้วยกำลังทหาร 

และผมก็คิดว่า นี่ก็คืออนาคตของประเทศไทย ที่คนไทยควรจะได้มีโอกาสได้ศึกษาวิเคราะห์ ร่วมเจรจาต่อรอง กดดันด้วยเช่นกัน!!!

; จรรยา ยิ้มประเสริฐ

ไทยวืดเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น เผยคะแนนต่ำสุดในกลุ่มชาติเอเชีย (ข่าวสด)

ไทยวืดเก้าอี้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนยูเอ็น เผยคะแนนต่ำสุดในกลุ่มชาติเอเชีย
Font Size  

วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557 เวลา 02:48 น.
จำนวนคนอ่านล่าสุด 18286664 คน


 เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ยูเอ็นนิวส์ เซ็นเตอร์รายงานว่า สมาชิกสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ จัดการเลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ หรือ UN HRC วาระปี ค.ศ. 2015-2017 จำนวน 15 ประเทศ ผลออกมา มีสมาชิกใหม่ ได้แก่ แอลเบเนีย บังกลาเทศ เอลซัลวาดอร์ กานา ลัตเวีย เนเธอร์แลนด์ ไนจีเรีย ปารากวัย โปรตุเกส และกาตาร์

 ส่วนสมาชิกเดิมที่จะหมดวาระแต่ได้รับเลือกให้ทำหน้าที่ต่อ มีโบลิเวีย บอตสวานา คองโก อินเดีย และอินโดนีเซีย

 ด้านเว็บไซต์ข่าวแร็ปเปลอร์ของฟิลิปปินส์รายงานว่า สำหรับประเทศไทยที่พยายามสมัครเป็นสมาชิกในคณะมนตรีนี้ได้คะแนนน้อยที่สุดในกลุ่มประเทศเอเชีย 5 ประเทศ คือ 136 คะแนน เป็นรองกาตาร์ที่ได้ 142 คะแนน บังกลาเทศ 149 คะแนน อินโดนีเซีย 152 คะแนน และอินเดีย 162 คะแนน

 ก่อนหน้าการลงคะแนน กลุ่มสิทธิมนุษยชนกลุ่มต่างๆ เตือนรัฐบาลไทยหลายครั้งให้เร่งปรับปรุงด้านสิทธิมนุษยชน เช่น กลุ่มฮิวแมนไรต์วอตช์ในนิวยอร์ก กลุ่มสหพันธ์นานาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในปารีส และกลุ่มยูเนียน ฟอร์ ซีวิล ลิเบอร์ตี้ ในกรุงเทพฯ เรียกร้องให้ไทยยกเลิกกฎอัยการศึก ที่ใช้มาตั้งแต่การยึดอำนาจในวันที่ 22 พ.ค. 

 นอกจากนี้กลุ่มฮิวแมนไรต์ วอตช์ยังทำหนังสือถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 18 ต.ค. เตือนว่า คำสัญญาของไทยที่จะสนับสนุนสิทธิมนุษยชนยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง หากประเทศยังอยู่ภายใต้กฎทางทหาร จึงขอเรียกร้องให้ยุติการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการประท้วงอย่างสันติ 

 ทั้งนี้ เมื่อปี 2010 ก่อนเหตุสลายการชุมนุมกลุ่มเสื้อแดง ไทยเคยได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนครั้งแรก วาระ 3 ปี ด้วยคะแนนเสียง 182 เสียง


Credit: http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReE16a3lNVEV4TUE9PQ%3D%3D

9 ปีที่ก้าวไม่พ้น สุณัย ผาสุข



Download

สิ่งที่พูดไม่ได้อภิสิทธิ์ ทรัพย์นภาพันธ์



Download