PPD's Official Website

Tuesday, December 15, 2015

5 คำถาม - ตอบ กับสาวตรี สุขศรี: คลิกไลค์ผิดกฎหมายด้วยหรือ?

5 คำถาม - ตอบ กับสาวตรี สุขศรี: คลิกไลค์ผิดกฎหมายด้วยหรือ?

เครดิต:

http://prachatai.org/journal/2015/12/62966

เริ่มมีคนถามคำถามเดียวแบบที่นักกฎหมายหลายคนโดนซ้ำๆฮะ ว่าตกลงกด like ผิดอะไร ล่าสุดมีนายตำรวจใหญ่ออกมาเพ้อ บัญญัติศัพท์ใหม่อีกว่าเป็น "ความผิดซ้ำ" ก็ชักไปกันใหญ่ เลยลองใช้โมเดลแก้วสรร คือ"ถามเอง-ตอบเอง" ให้ชัดๆ เรื่องนี้ สัก 5 ข้อไล่เรียงเป็นลำดับไป ดังนี้


1) กด like นี้ โดยตัวการกระทำเองผิดข้อหาอะไร หรือฐานอะไรในทางกฎหมายอาญาหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ผิด ...หลักกฎหมายอาญาที่ใหญ่ที่สุดคือ "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย" ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า "ผู้ใดแสดงความชื่นชอบ หรือเห็นด้วยกับอะไรสักอย่าง เป็นความผิดต้องระวางโทษ..." สิ่งนี้ก็ผิดไม่ได้ .. ตำรวจ ทหาร ซึ่งไม่ใช่ "กฎหมาย" จะมโนไปเอง เพ้อเจ้อเอง กำหนดว่าอันนั้นอันนี้ผิดไม่ได้


2) คุณบอกว่า ก็นี่ไง ผิด 112, 116 หรือ 14 พรบ.คอมฯ ไม่ได้หรือไง?

คำตอบคือ ก็ไม่ได้ไง... และคนที่พูดแบบนี้ คือพวกอ่านกฎหมายไม่รู้เรื่อง ทั้งสามมาตรานั้นจะผิดได้มันมีเงื่อนไขและองค์ประกอบทางกฎหมายอยู่ เช่น 112 ก็ต้องมี action ของการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาต หรืออย่างน้อยก็ "เผยแพร่ข้อความต่อไป" ส่วน 116 ก็ต้องมี action "การทำให้ปรากฏแกปชช...." และมาตรา 14 ก็ต้องมี action "การนำเข้าสู่ระบบ.." ซึ่งคนที่จะผิดได้ คนๆนั้นต้องทำเอง คำถามคือ คนกด like ได้ออก action อะไรตามที่ว่าไปไหม ? คำตอบคือ ไม่มี แต่คนที่โพสต์ต่างหากที่มี action


3) คุณบอกว่าผิดสิ เพราะพอกด like แล้ว Fb จะไปโชว์ที่หน้า feed เพื่อนคนกดด้วย ดังนั้นก็ผิดเพราะเผยแพร่ต่อ หรือทำให้ปรากฏ ไม่ได้เหรอ?

คำตอบคือ ไม่ได้อยู่ดี เพราะฟังชั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง และไม่ใช่ทุกคนที่รู้ (และข้อนี้อย่ามามั่วตอบนักข่าวว่าอ้างไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพราะนี่มันคนละเรื่องกันเลย เนื่องจากมันเป็นแค่กฎหรือฟังชั่นของเฟสบุ๊ก เท่านั้น ไม่ใช่กฎหมาย)

ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า ความผิดอาญาจะเกิดขึ้นได้โดยหลักผู้กระทำต้องมี "เจตนา" ซึ่งหมายถึง 1) ผู้นั้นต้องรู้ว่าข้อความนั้นเป็นความผิด และ 2) ประสงค์จะเผยแพร่ต่อ... แน่นอนการกดแชร์อันนี้ชัดว่าอาจผิดได้ แต่การกดไลค์ ไม่ใช่ เพราะมันอาจเป็นแค่ชื่นชอบ เห็นด้วย ตอบสนองเพื่อนว่าฉันอ่านของแก กระทั่งคนจำนวนมากดชอบ "เพราะเธอ/เขาเป็นคนโพสต์" "ชอบที่เอามาโพสต์". โดยไม่ได้ชอบเนื้อหาที่โพสต์เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นต่อให้ Fb มีเทคโนโลยีแบบนั้นมันก็ไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่าผู้กดไลค์มีความผิด


4) คุณแถว่า งั้นเป็น "ตัวการร่วม" ได้ไหม?

คำตอบคือ ยิ่งไม่ได้เลย เพราะหลักในเรื่องนี้ จะเป็นตัวการร่วมได้ต้องมีการ "ร่วมมือ ร่วมใจ" กับผู้โพสต์มาตั้งแต่ "ก่อนหรือขณะกระทำความผิด" เท่านั้น คนที่มากดไลค์หลังจากเค้าโพสต์ไปแล้ว ไปร่วมลงมือ ร่วมเจตนา หรือร่วมวางแผนอะไรกับใครตอนไหนล่ะ ?


5) คุณบอกว่างั้นเป็น "ผู้สนับสนุน" ก็แล้วกัน รับโทษเบาหน่อยแต่ก็ยังมีความผิด ได้ไหม?

แต่คำตอบคือ ก็ยังไม่ได้อยู่ดี เพราะหลักการเรื่องนี้ จะเป็นผู้สนันสนุนได้ต้องมี action "ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก" แก่ผู้กระทำผิด และต้องทำ "ก่อนหรือขณะความผิดเกิด" เท่านั้นด้วย การกดไลค์ไม่ได้ให้ผลเป็นการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกอะไรให้คนโพสต์นะ ทั้งยังเป็นการกดภายหลังความผิดสำเร็จไปแล้วอีกด้วย จึงผิดไม่ได้


คุณเชื่อไหมว่า ในทางกฎหมายอาญานั้น ขนาดคุณเห็นคนอื่นกำลังลงมือฆ่าใครสักคนต่อหน้าแล้วคุณนิ่งเฉย แถมแอบเห็นด้วยนิดๆ แต่ไม่ได้ออกแอ๊คชั่นอะไรเลย คุณยังไม่ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการฆ่านั้นเลยนะ ! เต็มที่ก็คือผิดลหุโทษฐานละเว้นเท่านั้น ...ดังนั้น นับประสาอะไรกับการมากดไลค์ความผิดที่สำเร็จไปแล้ว

ด้วยเหตุผลทั้งหมดมวลจึงฟันธงให้ว่ากด like ไม่มีทางเป็นความผิดอะไรได้ และคนที่ให้ข่าวโครมๆ ตอนนี้ล้วนแล้วแต่มั่วข้อกฎหมาย(ปกติๆ)ทั้งสิ้น

5 คำถาม - ตอบ กับสาวตรี สุขศรี: คลิกไลค์ผิดกฎหมายด้วยหรือ?

5 คำถาม - ตอบ กับสาวตรี สุขศรี: คลิกไลค์ผิดกฎหมายด้วยหรือ?

เครดิต:

http://prachatai.org/journal/2015/12/62966

เริ่มมีคนถามคำถามเดียวแบบที่นักกฎหมายหลายคนโดนซ้ำๆฮะ ว่าตกลงกด like ผิดอะไร ล่าสุดมีนายตำรวจใหญ่ออกมาเพ้อ บัญญัติศัพท์ใหม่อีกว่าเป็น "ความผิดซ้ำ" ก็ชักไปกันใหญ่ เลยลองใช้โมเดลแก้วสรร คือ"ถามเอง-ตอบเอง" ให้ชัดๆ เรื่องนี้ สัก 5 ข้อไล่เรียงเป็นลำดับไป ดังนี้


1) กด like นี้ โดยตัวการกระทำเองผิดข้อหาอะไร หรือฐานอะไรในทางกฎหมายอาญาหรือไม่?

คำตอบคือ ไม่ผิด ...หลักกฎหมายอาญาที่ใหญ่ที่สุดคือ "ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มีกฎหมาย" ดังนั้น หากไม่มีกฎหมายบัญญัติว่า "ผู้ใดแสดงความชื่นชอบ หรือเห็นด้วยกับอะไรสักอย่าง เป็นความผิดต้องระวางโทษ..." สิ่งนี้ก็ผิดไม่ได้ .. ตำรวจ ทหาร ซึ่งไม่ใช่ "กฎหมาย" จะมโนไปเอง เพ้อเจ้อเอง กำหนดว่าอันนั้นอันนี้ผิดไม่ได้


2) คุณบอกว่า ก็นี่ไง ผิด 112, 116 หรือ 14 พรบ.คอมฯ ไม่ได้หรือไง?

คำตอบคือ ก็ไม่ได้ไง... และคนที่พูดแบบนี้ คือพวกอ่านกฎหมายไม่รู้เรื่อง ทั้งสามมาตรานั้นจะผิดได้มันมีเงื่อนไขและองค์ประกอบทางกฎหมายอยู่ เช่น 112 ก็ต้องมี action ของการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาต หรืออย่างน้อยก็ "เผยแพร่ข้อความต่อไป" ส่วน 116 ก็ต้องมี action "การทำให้ปรากฏแกปชช...." และมาตรา 14 ก็ต้องมี action "การนำเข้าสู่ระบบ.." ซึ่งคนที่จะผิดได้ คนๆนั้นต้องทำเอง คำถามคือ คนกด like ได้ออก action อะไรตามที่ว่าไปไหม ? คำตอบคือ ไม่มี แต่คนที่โพสต์ต่างหากที่มี action


3) คุณบอกว่าผิดสิ เพราะพอกด like แล้ว Fb จะไปโชว์ที่หน้า feed เพื่อนคนกดด้วย ดังนั้นก็ผิดเพราะเผยแพร่ต่อ หรือทำให้ปรากฏ ไม่ได้เหรอ?

คำตอบคือ ไม่ได้อยู่ดี เพราะฟังชั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง และไม่ใช่ทุกคนที่รู้ (และข้อนี้อย่ามามั่วตอบนักข่าวว่าอ้างไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพราะนี่มันคนละเรื่องกันเลย เนื่องจากมันเป็นแค่กฎหรือฟังชั่นของเฟสบุ๊ก เท่านั้น ไม่ใช่กฎหมาย)

ที่สำคัญต้องไม่ลืมว่า ความผิดอาญาจะเกิดขึ้นได้โดยหลักผู้กระทำต้องมี "เจตนา" ซึ่งหมายถึง 1) ผู้นั้นต้องรู้ว่าข้อความนั้นเป็นความผิด และ 2) ประสงค์จะเผยแพร่ต่อ... แน่นอนการกดแชร์อันนี้ชัดว่าอาจผิดได้ แต่การกดไลค์ ไม่ใช่ เพราะมันอาจเป็นแค่ชื่นชอบ เห็นด้วย ตอบสนองเพื่อนว่าฉันอ่านของแก กระทั่งคนจำนวนมากดชอบ "เพราะเธอ/เขาเป็นคนโพสต์" "ชอบที่เอามาโพสต์". โดยไม่ได้ชอบเนื้อหาที่โพสต์เลยด้วยซ้ำ ดังนั้นต่อให้ Fb มีเทคโนโลยีแบบนั้นมันก็ไม่ได้หมายความโดยอัตโนมัติว่าผู้กดไลค์มีความผิด


4) คุณแถว่า งั้นเป็น "ตัวการร่วม" ได้ไหม?

คำตอบคือ ยิ่งไม่ได้เลย เพราะหลักในเรื่องนี้ จะเป็นตัวการร่วมได้ต้องมีการ "ร่วมมือ ร่วมใจ" กับผู้โพสต์มาตั้งแต่ "ก่อนหรือขณะกระทำความผิด" เท่านั้น คนที่มากดไลค์หลังจากเค้าโพสต์ไปแล้ว ไปร่วมลงมือ ร่วมเจตนา หรือร่วมวางแผนอะไรกับใครตอนไหนล่ะ ?


5) คุณบอกว่างั้นเป็น "ผู้สนับสนุน" ก็แล้วกัน รับโทษเบาหน่อยแต่ก็ยังมีความผิด ได้ไหม?

แต่คำตอบคือ ก็ยังไม่ได้อยู่ดี เพราะหลักการเรื่องนี้ จะเป็นผู้สนันสนุนได้ต้องมี action "ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก" แก่ผู้กระทำผิด และต้องทำ "ก่อนหรือขณะความผิดเกิด" เท่านั้นด้วย การกดไลค์ไม่ได้ให้ผลเป็นการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกอะไรให้คนโพสต์นะ ทั้งยังเป็นการกดภายหลังความผิดสำเร็จไปแล้วอีกด้วย จึงผิดไม่ได้


คุณเชื่อไหมว่า ในทางกฎหมายอาญานั้น ขนาดคุณเห็นคนอื่นกำลังลงมือฆ่าใครสักคนต่อหน้าแล้วคุณนิ่งเฉย แถมแอบเห็นด้วยนิดๆ แต่ไม่ได้ออกแอ๊คชั่นอะไรเลย คุณยังไม่ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการฆ่านั้นเลยนะ ! เต็มที่ก็คือผิดลหุโทษฐานละเว้นเท่านั้น ...ดังนั้น นับประสาอะไรกับการมากดไลค์ความผิดที่สำเร็จไปแล้ว

ด้วยเหตุผลทั้งหมดมวลจึงฟันธงให้ว่ากด like ไม่มีทางเป็นความผิดอะไรได้ และคนที่ให้ข่าวโครมๆ ตอนนี้ล้วนแล้วแต่มั่วข้อกฎหมาย(ปกติๆ)ทั้งสิ้น

ความวิปริตของศาลไทย!!! ศาลฎีกา คว่ำคำตัดสินของ ศาลชั้นต้นและอุทรณ์ อย่างมีเลศนัย

1.นายพิเชษฐ ทาบุตรดา จำเลยที่ 1  โทษประหารชีวิต ลดเหลือจำคุกตลอดชีวิต 
(ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์สั่งจำคุก 1 ปี แต่เนื่องจากถูกจำคุกมาก่อนพิพากษาแล้ว 15 เดือนจึงได้รับการปล่อยตัว)

2.นางอรอนงค์ บรรพชาติ จำเลยที่ 2  จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี  ถูกจำคุกมาก่อนแล้ว 15 เดือนจึงได้รับการปล่อยตัว)

3.นางสุมาลี ศรีจินดา จำเลยที่ 3 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

4.นายประดิษฐ์ บุญสุข จำเลยที่ 4 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

5.นางสาวปัทมา มูลนิล จำเลยที่ 5 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33   ปี 4  เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)    

6.นายลิขิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 7 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4  เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

7.นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ จำเลยที่ 9 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

8.นายชัชวาลย์ ศรีจันดา จำเลยที่  11 จำคุกตลอดชีวิต
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง)

9.นายสนอง เกตุสุวรรณ์  จำเลยที่ 12 จำคุกตลอดชีวิต เหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

10.นายสมจิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 16 จำคุก 1 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งยกฟ้อง)

11.นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ จำเลยที่ 17 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 4 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

12.นายไชยา ดีแสง จำเลยที่ 18 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ถูกจำคุกมาแล้ว  1 ปี 9 เดือน ได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์)

13.นายพิสิษฐ์ บุตรอำคา จำเลยที่ 19 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นฎีกา)

 

หมายเหตุ : จำเลยในคดีนี้ที่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีสิ้นสุดไปในชั้นอุทธรณ์

นายสีทน ทองมา จำเลยที่ 6  ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอการเยียวยา

นางบุญเหรียญ ลิลา จำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายอุบล แสนทวีสุข จำเลยที่ 10  ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน แต่ถูกจำคุกอยู่นาน 15 เดือน อัยการไม่ติดใจอุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายถาวร แสงทวีสุข จำเลยที่ 13 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายธนูศิลป์ ธนูทอง จำเลยที่ 14 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายคำพลอย นะมี จำเลยที่ 20 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายพงษ์ศักดิ์ ออนอินทร์ จำเลยที่ 21 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ รอเยียวยา

ความวิปริตของศาลไทย!!! ศาลฎีกา คว่ำคำตัดสินของ ศาลชั้นต้นและอุทรณ์ อย่างมีเลศนัย

1.นายพิเชษฐ ทาบุตรดา จำเลยที่ 1  โทษประหารชีวิต ลดเหลือจำคุกตลอดชีวิต 
(ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์สั่งจำคุก 1 ปี แต่เนื่องจากถูกจำคุกมาก่อนพิพากษาแล้ว 15 เดือนจึงได้รับการปล่อยตัว)

2.นางอรอนงค์ บรรพชาติ จำเลยที่ 2  จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นสั่งจำคุก 8 เดือน ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี  ถูกจำคุกมาก่อนแล้ว 15 เดือนจึงได้รับการปล่อยตัว)

3.นางสุมาลี ศรีจินดา จำเลยที่ 3 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

4.นายประดิษฐ์ บุญสุข จำเลยที่ 4 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

5.นางสาวปัทมา มูลนิล จำเลยที่ 5 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33   ปี 4  เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)    

6.นายลิขิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 7 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4  เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นอุทธรณ์)

7.นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ จำเลยที่ 9 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

8.นายชัชวาลย์ ศรีจันดา จำเลยที่  11 จำคุกตลอดชีวิต
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง)

9.นายสนอง เกตุสุวรรณ์  จำเลยที่ 12 จำคุกตลอดชีวิต เหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จำคุก 33 ปี 12 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

10.นายสมจิต สุทธิพันธ์ จำเลยที่ 16 จำคุก 1 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งยกฟ้อง)

11.นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ จำเลยที่ 17 จำคุกตลอดชีวิต ลดเหลือ 33 ปี 4 เดือน
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 33 ปี 4 เดือน ถูกคุมขังมาตลอด)

12.นายไชยา ดีแสง จำเลยที่ 18 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ถูกจำคุกมาแล้ว  1 ปี 9 เดือน ได้รับการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์)

13.นายพิสิษฐ์ บุตรอำคา จำเลยที่ 19 จำคุก 2 ปี
(ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งจำคุก 2 ปี ได้รับการประกันตัวชั้นฎีกา)

 

หมายเหตุ : จำเลยในคดีนี้ที่ศาลพิพากษายกฟ้องและคดีสิ้นสุดไปในชั้นอุทธรณ์

นายสีทน ทองมา จำเลยที่ 6  ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอการเยียวยา

นางบุญเหรียญ ลิลา จำเลยที่ 8 ศาลชั้นต้นยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายอุบล แสนทวีสุข จำเลยที่ 10  ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 เดือน แต่ถูกจำคุกอยู่นาน 15 เดือน อัยการไม่ติดใจอุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายถาวร แสงทวีสุข จำเลยที่ 13 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายธนูศิลป์ ธนูทอง จำเลยที่ 14 ศาลชั้นต้นยกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายคำพลอย นะมี จำเลยที่ 20 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด รอเยียวยา

นายพงษ์ศักดิ์ ออนอินทร์ จำเลยที่ 21 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง อัยการไม่อุทธรณ์ รอเยียวยา

ศาลทหารสั่งจำคุก ชญาภา หญิงโพสต์ข่าวรัฐประหารซ้อน และหมิ่นสถาบันฯ 14 ปี 60 เดือน

ศาลทหารสั่งจำคุก ชญาภา หญิงโพสต์ข่าวรัฐประหารซ้อน และหมิ่นสถาบันฯ 14 ปี 60 เดือน
Tue, 2015-12-15 13:32

จำคุกหญิงผู้ใช้นามแฝงบนเฟซบุ๊กว่า "นินจารัก สีแดง" ข้อหาปล่อยข่าวปฏิวัติซ้อน พ่วงด้วย 112 และ พ.ร.บ.คอมฯ รวม 5 กรรม ลดหย่อนเนื่องจากสารภาพเหลือ 7 ปี 30 เดือน ทนายชี้ศาลตัดสินโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า ไม่มีการแจ้งทนาย จำเลยได้รับการแจ้งล่วงหน้าในคืนก่อนขึ้นศาล

15 ธ.ค. 2558 เวลา 12.30 น. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ นักกฎหมายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า วันนี้ทางศูนย์ทนายความได้รับการติดต่อจาก ชญาภา ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Chanisa Boonyajinda" (นินจารัก สีแดง) ลูกความของศูนย์ทนายความฯ ในคดีการโพสต์ข้อความเรื่องการปฏิวัติซ้อน และการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่าวันนี้ศาลทหารได้พิพากษาให้จำคุกนางชญาภา 14 ปี 60 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงให้ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 7 ปี 30 เดือน จากการโพสต์ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิด 5 กรรม

ศศินันท์ นักกฎหมายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเล่าว่า ชณาภามีอาการตื่นกลัวระหว่างการพูดคุย ชญาภาเล่าว่า เธอได้รับการแจ้งว่าเธอต้องเดินทางมาที่ศาลทหารเมื่อคืนวันที่ 14 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้าที่จะต้องมาศาลไม่ถึง 24 ชั่วโมง หรือแม้แต่หมายนัดของศาลชญาภาก็ยังไม่ได้เห็น

ศศินันท์กล่าวต่อว่า กระบวนการพิจารณาในคดีของชญาภาอยู่ในขั้นตอนการนัดสอบคำให้การ เธอเข้าใจว่าด้วยความเครียด ความหวาดกลัวในกระบวนการพิจารณาคดี ประกอบกับการไม่มีญาติมิตร หรือทนายความให้คำปรึกษาในกระบวนการ ทำให้ชญาภา ตัดสินใจรับสารภาพตามข้อกล่าวหา

จากประชาไท....

http://prachatai.org/journal/2015/12/62972

ศาลทหารสั่งจำคุก ชญาภา หญิงโพสต์ข่าวรัฐประหารซ้อน และหมิ่นสถาบันฯ 14 ปี 60 เดือน

ศาลทหารสั่งจำคุก ชญาภา หญิงโพสต์ข่าวรัฐประหารซ้อน และหมิ่นสถาบันฯ 14 ปี 60 เดือน
Tue, 2015-12-15 13:32

จำคุกหญิงผู้ใช้นามแฝงบนเฟซบุ๊กว่า "นินจารัก สีแดง" ข้อหาปล่อยข่าวปฏิวัติซ้อน พ่วงด้วย 112 และ พ.ร.บ.คอมฯ รวม 5 กรรม ลดหย่อนเนื่องจากสารภาพเหลือ 7 ปี 30 เดือน ทนายชี้ศาลตัดสินโดยไม่ได้นัดหมายล่วงหน้า ไม่มีการแจ้งทนาย จำเลยได้รับการแจ้งล่วงหน้าในคืนก่อนขึ้นศาล

15 ธ.ค. 2558 เวลา 12.30 น. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ นักกฎหมายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ประชาไทว่า วันนี้ทางศูนย์ทนายความได้รับการติดต่อจาก ชญาภา ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Chanisa Boonyajinda" (นินจารัก สีแดง) ลูกความของศูนย์ทนายความฯ ในคดีการโพสต์ข้อความเรื่องการปฏิวัติซ้อน และการหมิ่นสถาบันกษัตริย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112, 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ว่าวันนี้ศาลทหารได้พิพากษาให้จำคุกนางชญาภา 14 ปี 60 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยรับสารภาพจึงให้ลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 7 ปี 30 เดือน จากการโพสต์ข้อความที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นการกระทำความผิด 5 กรรม

ศศินันท์ นักกฎหมายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเล่าว่า ชณาภามีอาการตื่นกลัวระหว่างการพูดคุย ชญาภาเล่าว่า เธอได้รับการแจ้งว่าเธอต้องเดินทางมาที่ศาลทหารเมื่อคืนวันที่ 14 ธันวาคม 2558 ซึ่งเป็นเวลาก่อนหน้าที่จะต้องมาศาลไม่ถึง 24 ชั่วโมง หรือแม้แต่หมายนัดของศาลชญาภาก็ยังไม่ได้เห็น

ศศินันท์กล่าวต่อว่า กระบวนการพิจารณาในคดีของชญาภาอยู่ในขั้นตอนการนัดสอบคำให้การ เธอเข้าใจว่าด้วยความเครียด ความหวาดกลัวในกระบวนการพิจารณาคดี ประกอบกับการไม่มีญาติมิตร หรือทนายความให้คำปรึกษาในกระบวนการ ทำให้ชญาภา ตัดสินใจรับสารภาพตามข้อกล่าวหา

จากประชาไท....

http://prachatai.org/journal/2015/12/62972

2559 ดีเดย์ของการเปลี่ยนระบอบ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๙ แล้ว!!!

2559 ดีเดย์ของการเปลี่ยนระบอบ เมื่อสิ้นรัชกาลที่ ๙ แล้ว!!!

ความเสียหายเกินปล่อยให้ยืดยาว
เมื่อถึงคราวภูมิพลต้องละสังขาร
บัลลังก์ถึงวันประชาพิจารณ์
อนาคตถึงกาลเปลี่ยนระบอบยั่งยืน

+++++++++++++++++++++++++
ความเสียหาย
  • การลงทุนไหลออก
  • การส่งออกยับเยิน
  • การท่องเที่ยวมีแต่ยอดคน แต่ยอดเงินถดถอย
  • ราคาสินค้าเกษตรกรรมตกต่ำทั่วหน้า ชาวประชาขาดแรงซื้อ
  • การคดโกงแบบแดกด่วน เกิดขึ้นต่อเนื่องและยิ่งหนักหน่วงในยุคแก็งค์แดกด่วน
  • ระบบตรวจสอบถูกทำลายสิ้น การโกงกินจึงมหันต์
  • งบเทิดทูนและงบกองทัพ เพิ่มเกินสองเท่าในช่วงไม่ถึงสิบปี
  • เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาร่วมปล้นชาติ ด้วยนโยบายอันเกิดจากความเห็นแก่ตัวของชนชั้นปกครอง

การละสังขารของภูมิพล ทิ้งมรดกบาปไว้มากมาย
  • ความแตกแยกของปวงชนเป็นไปอย่างลึกซึ้งและร้าวฉานที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติ
  • การสังหารหมู่ประชาชน เกิดขึ้นซ้ำซาก โดยคนก่อกรรมไม่ได้รับโทษ เหยื่อไม่ได้รับความยุติธรรม
  • คนไม่จงรักภักดี ถูกเล่นงานด้วยกฎหมายเถื่อน
  • ทหารของพระราชา เอากฎหมายยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาใช้ก่อนยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
  • ความตกต่ำและภาพความอัปลักษณ์ของราชวงศ์ แม้ว่าจะใช้งบประมาณเทิดทูนเป็นประวัติการณ์
  • ราชวงศ์ที่สิ้นเปลืองเงินภาษีอากรประชาชนมากที่สุด
  • ความร่ำรวยผิดปกติบนทฤษฎีพอเพียง
  • สถิติการปล้นอำนาจประชาชน ด้วยการรัฐประหารในสภา บนบัลลังก์ศาล และด้วยรถถัง
  • โครงการหลวงที่แก้ปัญหาอะไรไม่ได้จริง (อ่างเก็บน้ำ กังหัน ...สุดท้ายก็แค่ ชั่งหัวมัน)
  • ระบบยุติธรรมที่ตกต่ำ เหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน สองมาตราหรือไม่มีมาตรฐาน สอบตกในทุกเรื่องตามระดับมาตรฐานโลก
  • การศึกษาตกต่ำล้าหลังเพื่อนบ้านอาเซี่ยน
  • การคดโกงคอรัปชั่นโดยคนดี น่ารังเกียจตั้งแต่เดย์วัน
  • นักการเมืองตัวแทนประชาชนถูกทำลายป้ายสี (และลดอำนาจ)
  • รัฐสภาถูกป้ายสีให้เป็น เผด็จการเสียงข้างมาก
  • การเลือกตั้ง ถูกลดค่าเป็นการขายจิตวิญญาณและความเป็นมนุษย์ของประชาชน
  • สิทธิมนุษยชนถูกเหยียบย่ำอย่างเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี
  • การเปลี่ยนรัชกาล สร้างปัญหาให้ชาติและปวงชนอย่างน่าทุเรศ

ทางเลือกของประเทศไทย
มีกษัตริย์ หรือไม่มีกษัตริย์
ราชาธิปไตย หรือ ประชาธิปไตย
อนาคต หลัง ภูมิพล ควรอยู่ในมือใคร?

ประชาชนต้องแสดงตัว อาศัยโอกาสสำคัญนี้ เปลี่ยนระบอบ