PPD's Official Website

Monday, January 4, 2016

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ
กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง



ฟังจบเข้าใจทันทีว่า งบสนับสนุนสถาบันฯ28,ล้านบาทเป็น 15,000ล้านบาทและ งบกระทรวงกะลาโหมเป็น 207,148 ล้านบาท ในวันนี้เอื้อประโยชน์กันและกันโดยไม่สนใจว่าประชาชนต้องการอะไร?
แค่สนองความต้องการพวกตนเองก็พอ
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ
กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง



ฟังจบเข้าใจทันทีว่า งบสนับสนุนสถาบันฯ28,ล้านบาทเป็น 15,000ล้านบาทและ งบกระทรวงกะลาโหมเป็น 207,148 ล้านบาท ในวันนี้เอื้อประโยชน์กันและกันโดยไม่สนใจว่าประชาชนต้องการอะไร?
แค่สนองความต้องการพวกตนเองก็พอ
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง

ชัดเจนการใช้เงินของสถาบันฯและ
กองทัพเป็นไปเพื่อเถลิงอำนาจตนเอง



ฟังจบเข้าใจทันทีว่า งบสนับสนุนสถาบันฯ28,ล้านบาทเป็น 15,000ล้านบาทและ งบกระทรวงกะลาโหมเป็น 207,148 ล้านบาท ในวันนี้เอื้อประโยชน์กันและกันโดยไม่สนใจว่าประชาชนต้องการอะไร?
แค่สนองความต้องการพวกตนเองก็พอ
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา
16 กันยายน 2500
เกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย?
เส้นทางสู่อำนาจราชาธิปไตยจนวันนี้
ไม่บอกว่าหวนคืนอำนาจ
แต่พฤติกรรมเป็นเช่นนี้เอง
คนไทยจึงมึนกับการปกครองแบบนี้ตลอดมา

Sunday, January 3, 2016

วิเคราะห์การต่อสู้ภาคประชาชน

วิเคราะห์การต่อสู้ภาคประชาชน

จุดแข็ง
1. ประชาชนต้องการประชาธิปไตยหลายสิบล้านคน เฉพาะที่เห็นศัตรูตัวจริง เกลียดชังและต้องการโค่นล้มเผด็จการก็มีหลายล้านคน
2. นักต่อสู้แบ่งบทบาทกันทำได้ดี เช่น ที่อยู่ต่างประเทศเน้นเปิดโปงศัตรูตัวจริง ภายในประเทศให้การศึกษา จัดตั้ง ชี้นำและสรุปบทเรียนในการต่อสู้ 
3. ใช้สื่อ Social ให้เป็นประโยชน์ได้ดี ทั้งในการให้การศึกษาทางการเมือง นำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ เปิดโปงศัตรู ต่อต้านการข่าว ปลุกเร้า สร้างขวัญกำลังใจ ฯลฯ ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรวมตัวกันของนักรบไซเบอร์เข้าโจมตีเวปไซต์ที่สำคัญ ๆ ของรัฐบาลเผด็จการพระราชาจนล่มไม่เป็นท่า เป็นการรบในเขตยุทธศาสตร์ใหม่ที่ได้ผลมาก
4. เกิดการต่อสู้ด้วยรูปแบบใหม่ ๆ โดยกลุ่มเยาวชนคนหนุ่มสาว เช่น การปรากฏตัวขึ้นของกลุ่มขบวนการ นศ. ในหลาย ๆ กรณี 
5. นักต่อสู้บางส่วนมีบทเรียนในการจัดตั้งและต่อสู้กับเผด็จการทหารมายาวนาน

จุดอ่อน
1. ฝ่ายประชาชนอ่อนแอเพราะไม่เห็นความสำคัญของการจัดตั้ง
จัดตั้งไม่เป็น หรือไม่มีเงื่อนไข
2. ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีภาระส่วนตัวที่ต้องรับผิดชอบ ไม่สามารถเข้าร่วมการต่อสู้ได้เต็มที่  
3. ประชาชนที่พร้อมทางการเมืองแล้ว ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมทางความคิด ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรจึงจะได้ผล อีกทั้งยังถูกครอบงำด้วยความเชื่อที่งมงาย และเกือบทั้งหมดยังไม่พร้อมทางการจัดตั้ง ไม่รู้ว่าการจัดตั้งเป็นอย่างไร กลัวไว้ก่อน บ้างก็กลัวว่าจะถูกบังคับ หรือไม่ก็กลัวว่าถ้าถูกจับได้จะถูกศัตรูทำร้ายอย่างรุนแรง
4. การจัดตั้งที่มีอยู่ยังหละหลวม เปิดโอกาสให้สายลับของศัตรูแฝงเข้ามาได้ง่าย (แทรกตัวเข้ามาหาข้อมูล ความลับ การเคลื่อนไหว ชี้เป้า หรือคอยสร้างความแตกแยก โดยเฉพาะการชูความคิดซ้ายจัด ขาดแนวทางมวลชนจนมวลชนรับไม่ได้ ค่อย ๆ ถอยห่างออกไป บ้างก็เสนอแนวความคิดที่ยังไม่เหมาะสมกับระดับการเคลื่อนไหวต่อสู้ในปัจจุบัน บ้างก็คอยเสนอให้เลือกข้างศัตรูฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และบ้างก็ฉวยโอกาสเชิดชูศัตรูตัวรองอย่างเปิดเผย)
5. บางส่วนยังอ่อนหัด ขาดบทเรียนและประสบการณ์ในการต่อสู้กับพวกเผด็จการทหารพระราชา จึงต่อสู้อย่างสะเปะสะปะ ไร้ทิศทาง ไม่รู้จักการใช้ "กฎงานลับ" เพื่ออำพรางตัวเองและองค์กรให้ปลอดภัยจากการจ้องทำลายล้างของพวกเผด็จการทหารพระราชา 
6. ขาดหลักเกณฑ์ในการคิดและวิเคราะห์ ไม่เชื่อมั่นในพลังประชาชน ไม่คิดว่าประชาชนมีสมอง มีความสามารถในการกำหนดอนาคตของตนเอง แต่กลับฝากความหวังไว้กับผู้นำบางคนหรือองค์กรทางการเมืองที่เคยมีบทบาทเท่านั้น บ้างก็ฝากความหวังไว้กับศัตรู เพ้อฝันอยากให้ศัตรูฝ่ายหนึ่งยกกำลังเข้าห้ำหั่นอีกฝ่าย แม้กระทั่งเสนอว่า ฝ่ายไหนชนะเราก็เอาด้วยทั้งนั้น หรืออาจจะเลือกข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยไม่แยกแยะว่าพวกนั้นเป็นฝ่ายศัตรูของประชาชนหรือไม่ อีกด้านหนึ่ง ก็ถลำไปหลงกลลวงให้ใช้ความรุนแรงนำ ทำให้ล้ำหน้ากว่าสถานการณ์และถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย
7. บางส่วนยังยึดมั่นในความคิดเดิม ๆ  ทำให้หวาดระแวง ตั้งข้อรังเกียจ กระทั่งปิดกั้น ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง  แทนที่จะแสวงหาความร่วมมือสามัคคีกับกลุ่มพลังต่าง ๆ ให้มากที่สุดเพื่อต่อสู้กับศัตรูที่เข้มแข็งกว่าในปัจจุบัน
8. ขาดองค์กรนำในการต่อสู้ครั้งใหม่ ในรูปขององค์กรแนวร่วม ที่นำโดยตัวแทนจากกลุ่มพลังฝ่ายประชาธิปไตยต่าง ๆ
9. พท.และ นปช. จำกัดกรอบการต่อสู้แค่แบบเปิดเผยและรอคอยโอกาสจนเสมือนยุติบทบาทไปโดยปริยาย
10. ขาดการสนับสนุนส่งเสริมซึ่งกันและกัน 
11. บางส่วนมีความคิดแบบ "วีรชนเอกชน" หลงตัวเองว่าสิ่งที่ตัวเองคิดนั้น ถูกต้อง ไร้ที่ติ ยึดมั่นถือมั่น ไม่ยอมฟังใคร แทนที่จะระดมสมอง ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ร่วมกันสรุปบทเรียน ทำให้แม้จะมีผลงาน แต่สิ่งที่นำเสนอออกมานั้น บางครั้งกลับสร้างความสับสนแทนที่จะสร้างเอกภาพทางความคิด
12. กองหน้าของการต่อสู้ยังต้องแก้ปัญหาภายในและปรับขบวนให้พร้อมสู้รบปรบมือในด้านต่าง ๆ
13. ขาดการเชื่อมประสานที่ดีและมีรูปการระหว่างองค์กรต่าง ๆ ยังมิได้เล่นเป็นทีม ส่วนเปิดและส่วนปิดต่างฝ่ายต่างทำ
14. ขาดเอกภาพทางความคิด การจัดตั้ง นโยบาย จังหวะก้าว และการชี้นำทางการเมือง ทำให้มีความขัดแย้ง เห็นต่างในการวิเคราะห์ จึงกำหนดท่าทีทางการเมืองและการชี้นำแตกต่างกัน สร้างความสับสนต่อมวลชน
15. ขาดเงินทุนสนับสนุนในการเคลื่อนไหว
16. นักต่อสู้จำนวนมากต้องหลบลงสู้แบบปิดลับใต้ดิน ซึ่งไม่ถนัด ไม่คุ้นเคย ต้องปรับตัวอีกระยะหนึ่ง และบางส่วนปรับตัวไม่ได้ ต้องยอมกลับมาเป็นฝุ่นใต้เท้าโดยดุษฎี 
17. นักต่อสู้จำนวนมากยังกระจัดกระจาย ลดหรือจำกัดบทบาทลง บ้างก็เปลี่ยนเวทีไปสนใจด้านสุขภาพ สังคมสงเคราะห์ ศาสนา สัตว์เลี้ยง กระทั่งหยุดไปเฉย ๆ ส่วนที่ยังคิดต่อสู้ก็ไม่มีรูปการจัดตั้งอย่างแท้จริง  ที่สำคัญยังขาด "ภาวะผู้นำ" ที่จะลุกขึ้นมาจัดตั้งกันเองให้เป็นกลุ่มก้อนเพื่อเชื่อมร้อยกันให้ทั่วถึงต่อไป
18. ขบวนการกรรมกรอ่อนแอ แตกแยก และยังมีบทบาทน้อยมากในเวทีการเมือง
19. ชาวลัทธิมาร์กซยังไม่สามารถแสดงบทบาทเป็นกองหน้าของการต่อสู้

โอกาส
1. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" สุขภาพเสื่อมทรุดรอวันตาย
2. พี่ชายกับน้องสาว และพวกสมุนรับใช้ ขัดแย้งกันจริง 
3. นายกปัญญาอ่อน นอกจากไม่สามารถแก้ปัญหาของประเทศและประชาชนแล้ว กลับยังสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น หรือไม่ก็ทับถมให้ปัญหาต่าง ๆ รุนแรงขึ้น สร้างความไม่พอใจ ชิงชัง รังเกียจ และเคียดแค้นไปทั่ว
4. ทหารแตกแยกกันเอง ทำให้ขาดเอกภาพในการกดขี่ปราบปรามประชาชน
5. การร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นเผด็จการขนานแท้ และการยืดอายุไม่ยอมกำหนดเวลาที่จะลงจากอำนาจ  ทำให้รัฐบาลเผด็จการพระราชาถูกต่อต้านไปทั่วโลก และประชาชนบางส่วนเริ่มหมดหวังกับ "ระบอบประชาธิปไตยจอมปลอมแบบไทย ๆ "  การต่อสู้ในแนวรบที่ไม่เปิดเผยจะได้รับการยอมรับสนับสนุนกว้างขวางและขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว
6. นโยบายรัฐ ขัดแย้งหรือกระทบกับประชาชนวงกว้าง เช่น จะยกเลิก 30 บาทรักษาทุกโรค 
7. เผด็จการทหารโกงกินกันให้จับได้แบบมีใบเสร็จ เช่น โครงการราชภักดิ์ที่หัวหิน
8. อำนาจรัฐใช้กฎหมายเพื่อพวกพ้องอย่างชัดเจน 
9. คำตัดสินของศาลไม่ได้รับการยอมรับ
10. ประเทศตะวันตกนำโดยยุโรปและอเมริกาคัดค้านการปกครองแบบเผด็จการทหาร ตั้งเงื่อนไขในความร่วมมือเจรจา   ลดระดับความสัมพันธ์ทางการทหาร กดดันทางการค้า
11. ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนเผด็จการทหาร บางส่วนต่อต้านอย่างลับ ๆ
12. ประชาชนในประเทศอาเซียนเองก็เริ่มแสดงความไม่พอใจอย่างเปิดเผย ดังเช่นกรณีชุมนุมใหญ่ในเมียนมาร์เรียกร้องให้รัฐบาลกลุ่มเผด็จการทหารพระราชาเปลี่ยนคำตัดสินลงโทษชาวเมียนมาร์ที่เกาะเต่า ซึ่งเป็นอีกแรงหนึ่งที่ถาโถมเข้าใส่

อุปสรรค
1. จีนมีท่าทีคบกับผู้กุมอำนาจรัฐไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใด
2. ชนชั้นปกครองมีบทเรียนในการควบคุมประชาชน และไม่เคยรามือต่อประชาชน
3. ชนชั้นกลางโลเล ขาดหลักคิดและจุดยืนทางการเมืองที่มั่นคงและชัดเจน ส่วนใหญ่ยังหลงงมงายกับความเชื่อที่ผิด ๆ และที่ถูกครอบงำโดยชนชั้นปกครอง
4. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" มีการจัดตั้งระดับต่าง ๆ อย่างเข้มแข็ง และกระจายไปตามวงการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
5. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ครอบงำทางความคิดมานานจนหยั่งรากฝังลึกในหมู่มวลชน
6. "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ควบคุมอำนาจรัฐและกลไกอำนาจรัฐต่าง ๆ ไว้อย่างแน่นหนา

หลักการนำไปใช้ประโยชน์
1. นำจุดแข็งไปรวมกับโอกาสต่าง ๆ เพื่อหาช่องทางการต่อสู้ที่เป็นประโยชน์ต่อไป 
2. นำจุดอ่อนมาพิจารณาว่าจะแก้ไขให้หมดไปหรือลดลงได้อย่างไร
3. ใช้โอกาสที่มีให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ แต่ถ้ายังไม่มีหรือยังไม่เกิดขึ้น ก็หาวิธีการไปสร้างโอกาสต่าง ๆ ขึ้นมา
4. หาทางป้องกันหรือลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุปสรรคต่าง ๆ บางครั้งอาจใช้จุดแข็งให้เป็นประโยชน์เพื่อการนี้
5.

สรุปบทเรียนท่ามกลางการต่อสู้

1 ศัตรู สมุนรับใช้ และกลุ่มนายทหารใหญ่ 
1.1 ในหมู่พวกเขาล้วนมีความขัดแย้งภายในกันอย่างมาก มีความแตกแยกซึ่งกันและกัน และมีจุดอ่อนอยู่มากมาย
1.2  ศัตรูคือเสือกระดาษ พวกเขาหวาดกลัวประชาชน เพียงแค่ประชาชนขยับตัวเล็กน้อยพวกเขาก็หวาดผวาและรีบลนลานออกมาขัดขวาง แต่ก็ทำได้แค่หยุดการเคลื่อนไหวเฉพาะหน้า ซึ่งก็ต้องแลกกับการประณามต่อต้านไปทั่วโลก
1.3 นับวัน "ทุนผูกขาดศักดินาเหนือรัฐ" ถูกเปิดโปงและบั่นทอนภาพลักษณ์ เกิดความคลางแคลงใจ
1.4 รัฐบาลโดดเดี่ยวในเวทีสากล
1.5 การปรองดองเป็นเพียงวาทกรรมหลอกลวงที่แม้แต่มวลชนของพวกเขาเองก็ไม่ได้สนใจ ความคิดที่แตกต่างกัน 2 ขั้วอย่างชัดเจนของมวลชนมิอาจสามัคคีปรองดองกันได้ ตราบใดที่ความขัดแย้งหลักยังแก้ไม่ได้
1.6 การหันมาใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ เป็นการสะท้อนว่าไปไม่เป็น ไปไม่ถูกแล้ว

2 ประชาชนทุกชนชั้น
2.1 การต่อสู้ของประชาชนยังมีจุดอ่อนอยู่มาก  จุดแข็งยังน้อย  แม้ว่าจะมีโอกาสมากมาย และมีอุปสรรคไม่มากนักก็ตาม
แต่เราก็ยังไม่สามารถใช้โอกาสที่มีอยู่อย่างเต็มที่ เป็นเหตุให้การต่อสู้ในภาพรวมยังไม่เข้มแข็งพอที่จะโค่นล้มระบอบเผด็จการราชาธิปไตยลงได้ในเร็ววัน
2.2 การจัดตั้งประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มคนที่ตาสว่างแล้ว เป็นภารกิจเร่งด่วน และเป็นปัจจัยชี้ขาดชัยชนะ  ต้องให้ความสนใจมุ่งมั่นทุ่มเทอย่างเต็มที่ สร้างเครื่องมือ โอกาส และแลกเปลี่ยนบทเรียนกันอย่างสม่ำเสมอ หากทำได้เร็ว มีคุณภาพ และจำนวนมากพอ จะแปรจุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งทันที

3 แนวทางมาร์กซิสต์
3.1 ได้รับการยอมรับอย่างสูงในการให้การศึกษามวลชนวงกว้าง 
3.2 ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม แม้ว่าวิทยากรบางท่านจะไม่ได้บอกตรง ๆ แต่ที่ผ่านมาก็ได้นำหลักลัทธิมาร์กซไปอธิบายความขัดแย้งและเรื่องราวต่าง ๆ อยู่แล้ว อีกทั้งมวลชนก็ยอมรับ เพราะเป็นแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ 
3.3 วิทยากรควรรับฟังความคิดเห็นจากมิตรสหาย น้อมใจศึกษา เสริมทฤษฎีเพิ่มเติม เพื่อจะได้นำหลักการลัทธิมาร์กที่แท้จริงไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ยิ่งขึ้น  จะลดความสับสนในหมู่มวลชน สร้างเอกภาพทางความคิดและผลักดันให้การปฏิวัติยกระดับก้าวรุดหน้าต่อไป
3.4 ควรติดอาวุธทางความคิดด้วยแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ให้มวลชนโดยเฉพาะวิทยากรต่าง ๆ เพื่อใช้ในการให้การศึกษามวลชนอย่างเป็นเอกภาพและมีพลัง

ท่าทีของเรา
1 สามัคคี ส่งเสริม สนับสนุน และร่วมมือกับกลุ่มพลังประชาธิปไตยทั้งภายในและต่างประเทศ
2 ผลักดันให้เร่งสร้างองค์กรแนวร่วมเพื่อนำพาการต่อสู้ครั้งใหม่ให้เป็นเอกภาพ
3 ช่วงชิงความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจในภูมิภาคนี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์
4 จัดตั้ง ให้การศึกษา ยกระดับ มวลชนทั่วทุกภาคให้เข้มแข็งมีพลัง
5 นำพามวลชนเข้าต่อสู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพการณ์รูปธรรมต่าง ๆ

องค์การเพื่อประชาธิปไตยไทย (อปท.)
1 มกราคม 2559

แนวคิดสำหรับการต่อสู้แบบเสรีไทย ปลดปล่อยไทยจากระบอบภูมิพล โดย ดร. เพียงดิน 7 วันหลังรัฐประหาร 57

เรียนพี่น้องทุกท่าน ....
ผมย้อนดูคลิปเก่า ๆ ที่ทำไว้ที่ยุโรป เมื่อหลังการรัฐประหารเจ็ดวัน ... ก่อนหน้าที่ท่านจารุพงศ์จะเดินทางเข้าอเมริกาในเดือนต่อมา แล้วประกาศก่อตั้งองค์การเสรีไทยฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 ครับ (ให้พี่น้องฟังย้อนหลังนะครับ)

แนวทางเสรีไทย ปลดปล่อยไทยจากระบอบเผด็จการทหาร-ภูมิพล โดย ดร. เพียงดิน รักไทย 30 พ.ค. 2557

http://youtu.be/j6Wb025WXDY
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
----------------------

แนวคิดสำหรับการต่อสู้แบบเสรีไทย ปลดปล่อยไทยจากระบอบภูมิพล โดย ดร. เพียงดิน 7 วันหลังรัฐประหาร 57

เรียนพี่น้องทุกท่าน ....
ผมย้อนดูคลิปเก่า ๆ ที่ทำไว้ที่ยุโรป เมื่อหลังการรัฐประหารเจ็ดวัน ... ก่อนหน้าที่ท่านจารุพงศ์จะเดินทางเข้าอเมริกาในเดือนต่อมา แล้วประกาศก่อตั้งองค์การเสรีไทยฯ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2557 ครับ (ให้พี่น้องฟังย้อนหลังนะครับ)

แนวทางเสรีไทย ปลดปล่อยไทยจากระบอบเผด็จการทหาร-ภูมิพล โดย ดร. เพียงดิน รักไทย 30 พ.ค. 2557

http://youtu.be/j6Wb025WXDY
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
----------------------

เดชตือโป๊ยก่าย

เดชตือโป๊ยก่าย

Tue, 2015-12-29 19:18

สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี

ความเชื่อเรื่องการยุยงปลุกปั่นชาวพม่าให้ก่อการประท้วงคำพิพากษาศาลไทยในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูงและฝ่ายความมั่นคงของไทย ก่อให้เกิดความสงสัยและข้อสังเกตุหลายประการเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ไทย-พม่าในยุคปัจจุบันดังนี้

1 งานข่าวกรองของไทยน่าจะมีปัญหาและไร้ประสิทธิภาพอย่างมาก ที่สามารถสรุปได้ว่าการประท้วงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศในพม่าและรวมถึงการประท้วงของพระสงฆ์พม่าในศรีลังกานั้นมีคนไทยบางกลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาลและต้องการดิสเครดิส คชส.อยู่เบื้องหลัง ถ้าคนยุยงมีความสามารถขนาดนั้น เชิญเขามาเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยเถอะ ด้วยความสามารถขนาดนั้นประเทศไทยคงพัฒนามากกว่านี้แน่

2 ความเห็นเช่นว่านั้นเป็นการดูแคลนประชาชนชาวพม่าและผู้นำพม่าที่ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับแรงงานพม่าทั้งสองที่ถูกตัดสินประหารชีวิตอย่างยิ่ง เพราะประชาชนชาวพม่าโดยทั่วไปรวมถึงผู้นำของพม่าอย่างพลเอกอาวุโสมินอ่องลาย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า ไม่น่าจะยอมเชื่อฟังความเห็นของคนไทยคนใดที่มายุยงปลุกปั่นเขาได้ง่ายๆถ้าหากว่า พวกเขารู้สึกได้ถึงความเป็นธรรมที่เขาได้รับ

3 ปฏิกิริยาของผู้นำไทยในทำนองว่ามีผู้ยุยงปลุกปั่นกระประท้วงเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่าในระยะยาว เพราะเท่ากับเป็นการลดทอนความสำคัญของปัญหาลงเหลือแค่เรื่องทำนองว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อรัฐบาลไทยเท่านั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญคือระบบยุติธรรมจะถูกมองข้ามไป

4 จดหมายจากพลเอกมินอ่องลาย จดหมายจากราชนัดดาของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและกระแสเรียกร้องให้อองซานซูจีออกมาแสดงท่าทีเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของสังคมการเมืองพม่า เฉพาะอย่างยิ่งหลังการเลือกตั้งที่ประชาชนในพม่าตื่นตัวอย่างมากและคาดหวังว่าผู้นำทางการเมืองของพวกเขาจะสนใจความเป็นอยู่ของประชาชนธรรมดาสามัญมากขึ้น

5 ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติในอนาคตไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ ทหารต่อทหาร ที่จะอาศัยความเกรงอกเกรงใจ และสายสัมพันธ์ส่วนตัวมาเกี๊ยเซียะกันได้ง่ายๆอีกต่อไป ประชาชนชาวพม่าจะไม่ยอมให้มันเกิดเช่นนั้นอีก

6 ผู้นำไทยที่มีพื้นฐานมาจากทหาร มองปัญหาอย่างคับแคบและมองเห็นประชาชนเป็นศัตรูตลอดเวลาจะบดบังความพยายามในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแบบใหม่ระหว่างไทยและพม่าไปจนหมดสิ้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคใหม่นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบการเมืองที่เปิดกว้างและระบบการเมืองรวมตลอดถึงโครงสร้างการเมืองที่ดีซึ่งรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย

7 ขั้นตอนทางกฎหมายของไทยนั้นมีทางเลือกอีกมากมายที่จะอำนวยความยุติธรรมและดำเนินกระบวนการได้อย่างโปร่งใส เจ้าหน้าที่ชอบที่จะยืนยันความถูกต้องในพยานหลักฐานของตน แต่ก็ไม่ควรปิดกั้นที่จะรับฟังข้อโต้งแย้งและยอมรับในช่องว่างหรือเหตุแห่งความสงสัยบางประการในคดีอันเป็นประโยชน์ต่อจำเลยด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการอุทธรณ์ในชั้นศาลสูงและสามารถนำมาเป็นประเด็นในการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตได้

ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็หวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศและนักการทูตของไทยอันเป็นที่รักของข้าพเจ้าทุกคน จะเข้าใจประเด็นนี้และมีสติปัญญาพอจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินนโยบายบ้าง

ท่าทีประเภท เจ้านายว่าขี้ข้าพลอยนี่เลิกเถอะครับ ประเทศชาติเสียหาย


+++++++++

คลิปนี้ ผมฟัง หลายรอบ  และไม่น่าเชื่อเลยว่า ยังมีนักข่าวที่กล้าที่จะพูดความจริงให้สังคมได้รับรู้  แม้จะไม่เต็มร้อย ในการแสดงออก แต่ก็เป็นคลิปที่ดี ครับ

 2 ม.ค. 2016 นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการอาวุโสด้านต่างประเทศ หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia เกี่ยวกับผลงานรัฐบาล คสช.ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมาว่า ไม่สามารถประเมินได้เพราะเหมือนการไม่ส่งข้อสอบ และเห็นว่าตลอดปีกว่าที่ผ่านมารัฐบาล คสช.ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายใด ๆ ได้เลยจากเหตุผลของการทำรัฐประหาร แต่กลับไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง แทนที่จะเร่งปรับปรุงฟื้นฟู เรื่องพื้นฐานเช่นกระบวนการยุติธรรมที่จะให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย


 https://www.youtube.com/watch?v=B7k8-v94S_A

-
*****
#เสรีชน



47FD4D99-97B0-4D4D-AD6F-B4207B51CF13