PPD's Official Website

Sunday, August 7, 2016

เคาะเหตุผลเบื้องหลังสามจังหวัดใต้ "โหวตโน"

voteno
          นราธิวาส ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 38.16% ไม่เห็นชอบ 61.84% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 37.37% ไม่เห็นชอบ 62.63%

          ปัตตานี ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 34.86% ไม่เห็นชอบ 65.14% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 34.18% ไม่เห็นชอบ 65.82%

          ยะลา ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 40.46% ไม่เห็นชอบ 59.54% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 39.72% ไม่เห็นชอบ 60.28%

          คะแนน (อย่างไม่เป็นทางการ) ที่ออกมาแทบจะกลับด้านกับผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2550 เพราะครั้งนั้นนราธิวาสรับร่างฯ 73.4% ปัตตานี รับร่างฯ 72.2% ขณะที่ยะลา รับร่างฯ 69.6%

          ผลคะแนนที่ปรากฏ ถือเป็นความพยายามของคนในพื้นที่ที่ต้องการสะท้อนให้ผู้มีอำนาจเห็นว่า พวกเขาไม่พอใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

          ที่ต้องบอกว่าเป็น "ความพยายาม" ก็เพราะตั้งแต่ก่อนเวลาเปิดหีบออกเสียงประชามติ มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นถี่ยิบ นับรวมได้กว่า 30 ลูก แต่ประชาชนก็ยังออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่ง แม้จะไม่ท่วมท้นเหมือนที่เคย แต่ก็มากกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 57 (ที่ภายหลังล้มไป)

          ถามว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของการ "โหวตโน" หากกล่าวอย่างสรุปรวบยอดก็มี 2-3 ประเด็น

          หนึ่ง คือ ความไม่พอใจมาตรา 67 เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศาสนา ที่เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กรธ.เขียนให้น้ำหนักศาสนาพุทธมากกว่าศาสนาอื่นอย่างชัดแจ้ง ทำให้มีการสร้างกระแสว่าหากรัฐธรรมนูญผ่าน ศาสนาอิสลามจะไม่ได้รับการเหลียวแล

          มาตรา 67 เขียนเอาไว้แบบนี้... "รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

          ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"

          ต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมามีกระแสต้านอิสลาม คัดค้านการสร้างมัสยิดในหลายจังหวัดของประเทศ จากความเชื่อและข่าวลือว่าอิสลามกำลังรุกคืบในประเทศไทย ผนวกกับกระแสหวาดกลัวอิสลามจากสถานการณ์การก่อการร้ายระดับโลก แทนที่ กรธ.จะเขียนรัฐธรรมนูญโดยให้น้ำหนักทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กลับเขียนออกมาเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่พี่น้องมุสลิมจะรู้สึกน้อยใจ หรือไม่พอใจมาตรา 67

          สอง คือ การเขียนให้รัฐอุดหนุนการศึกษา หรือเรียนฟรีถึงแค่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จุดนี้ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ เพราะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนหัวละกว่า 14,000 บาทต่อคนต่อปี หากถูกตัดเงินส่วนนี้ ก็ต้องสูญรายได้มหาศาล และย่อมกระทบกับคุณภาพทางการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

          แม้ภายหลังจะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดนโยบายให้เรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเช่นเดิม แต่กระแสต้านก็ฉุดไม่อยู่

          สาม คือ กลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล คสช. เคลื่อนไหวอย่างหนักเพื่อสร้างกระแส "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" โดยใช้เหตุผล 2 ข้อแรก ซึ่งก็ถือว่าฟังขึ้น ตัวเลขไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงจึงออกมาอย่างที่เห็น

          ทั้งผลคะแนนประชามติที่ออกมา และสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอ่อนไหวอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นความรู้สึก ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่า "รัฐ" เข้าไม่ถึงหัวจิตหัวใจของพวกเขา

          และ "รัฐ" ยังมิอาจควบคุมพื้นที่ได้จริง พิจารณาจากเหตุรุนแรงหลายสิบจุดที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นรูปแบบการระเบิดที่เรียกว่า "วางแบบเร่งด่วน" ไม่ได้เตรียมแผนหรือมุ่งสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ก็ตาม แต่ฝ่ายผู้ก่อการก็ยังถือว่ามีเสรีในการปฏิบัติมากระดับหนึ่ง

          ทั้งหมดนี้จึงพอสรุปได้ว่า สถานการณ์ที่ชายแดนใต้ยังคงเป็นโจทย์ข้อยากหากคิดจะดับไฟความขัดแย้งให้ได้จริงตามที่โฆษณา

 

เคาะเหตุผลเบื้องหลังสามจังหวัดใต้ "โหวตโน"

voteno
          นราธิวาส ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 38.16% ไม่เห็นชอบ 61.84% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 37.37% ไม่เห็นชอบ 62.63%

          ปัตตานี ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 34.86% ไม่เห็นชอบ 65.14% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 34.18% ไม่เห็นชอบ 65.82%

          ยะลา ประเด็นร่างรัฐธรรมนูญ เห็นชอบ 40.46% ไม่เห็นชอบ 59.54% ประเด็นคำถามพ่วง เห็นชอบ 39.72% ไม่เห็นชอบ 60.28%

          คะแนน (อย่างไม่เป็นทางการ) ที่ออกมาแทบจะกลับด้านกับผลประชามติร่างรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2550 เพราะครั้งนั้นนราธิวาสรับร่างฯ 73.4% ปัตตานี รับร่างฯ 72.2% ขณะที่ยะลา รับร่างฯ 69.6%

          ผลคะแนนที่ปรากฏ ถือเป็นความพยายามของคนในพื้นที่ที่ต้องการสะท้อนให้ผู้มีอำนาจเห็นว่า พวกเขาไม่พอใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

          ที่ต้องบอกว่าเป็น "ความพยายาม" ก็เพราะตั้งแต่ก่อนเวลาเปิดหีบออกเสียงประชามติ มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นถี่ยิบ นับรวมได้กว่า 30 ลูก แต่ประชาชนก็ยังออกมาใช้สิทธิ์เกินครึ่ง แม้จะไม่ท่วมท้นเหมือนที่เคย แต่ก็มากกว่าการเลือกตั้งเมื่อปี 57 (ที่ภายหลังล้มไป)

          ถามว่าอะไรคือเหตุผลเบื้องหลังของการ "โหวตโน" หากกล่าวอย่างสรุปรวบยอดก็มี 2-3 ประเด็น

          หนึ่ง คือ ความไม่พอใจมาตรา 67 เกี่ยวกับการทำนุบำรุงศาสนา ที่เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กรธ.เขียนให้น้ำหนักศาสนาพุทธมากกว่าศาสนาอื่นอย่างชัดแจ้ง ทำให้มีการสร้างกระแสว่าหากรัฐธรรมนูญผ่าน ศาสนาอิสลามจะไม่ได้รับการเหลียวแล

          มาตรา 67 เขียนเอาไว้แบบนี้... "รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น

          ในการอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน รัฐพึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาและการเผยแผ่หลักธรรมของพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เกิดการพัฒนาจิตใจและปัญญา และต้องมีมาตรการและกลไกในการป้องกันมิให้มีการบ่อนทำลายพระพุทธศาสนา ไม่ว่าในรูปแบบใด และพึงส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในการดำเนินมาตรการหรือกลไกดังกล่าวด้วย"

          ต้องไม่ลืมว่าที่ผ่านมามีกระแสต้านอิสลาม คัดค้านการสร้างมัสยิดในหลายจังหวัดของประเทศ จากความเชื่อและข่าวลือว่าอิสลามกำลังรุกคืบในประเทศไทย ผนวกกับกระแสหวาดกลัวอิสลามจากสถานการณ์การก่อการร้ายระดับโลก แทนที่ กรธ.จะเขียนรัฐธรรมนูญโดยให้น้ำหนักทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน แต่กลับเขียนออกมาเช่นนี้ จึงไม่แปลกที่พี่น้องมุสลิมจะรู้สึกน้อยใจ หรือไม่พอใจมาตรา 67

          สอง คือ การเขียนให้รัฐอุดหนุนการศึกษา หรือเรียนฟรีถึงแค่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จุดนี้ทำให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาเกรงว่าจะได้รับผลกระทบ เพราะได้รับเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนหัวละกว่า 14,000 บาทต่อคนต่อปี หากถูกตัดเงินส่วนนี้ ก็ต้องสูญรายได้มหาศาล และย่อมกระทบกับคุณภาพทางการศึกษาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

          แม้ภายหลังจะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.กำหนดนโยบายให้เรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาตอนปลายเช่นเดิม แต่กระแสต้านก็ฉุดไม่อยู่

          สาม คือ กลุ่มการเมืองที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล คสช. เคลื่อนไหวอย่างหนักเพื่อสร้างกระแส "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" โดยใช้เหตุผล 2 ข้อแรก ซึ่งก็ถือว่าฟังขึ้น ตัวเลขไม่รับทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงจึงออกมาอย่างที่เห็น

          ทั้งผลคะแนนประชามติที่ออกมา และสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงอ่อนไหวอย่างยิ่ง โดยเฉพาะประเด็นความรู้สึก ผู้คนจำนวนไม่น้อยยังเชื่อว่า "รัฐ" เข้าไม่ถึงหัวจิตหัวใจของพวกเขา

          และ "รัฐ" ยังมิอาจควบคุมพื้นที่ได้จริง พิจารณาจากเหตุรุนแรงหลายสิบจุดที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นรูปแบบการระเบิดที่เรียกว่า "วางแบบเร่งด่วน" ไม่ได้เตรียมแผนหรือมุ่งสร้างความเสียหายขนาดใหญ่ก็ตาม แต่ฝ่ายผู้ก่อการก็ยังถือว่ามีเสรีในการปฏิบัติมากระดับหนึ่ง

          ทั้งหมดนี้จึงพอสรุปได้ว่า สถานการณ์ที่ชายแดนใต้ยังคงเป็นโจทย์ข้อยากหากคิดจะดับไฟความขัดแย้งให้ได้จริงตามที่โฆษณา

 

สรุปผลการลงประชามติ โดย PEACE TV

สรุปผลการลงประชามติ โดย PEACE TV

สรุปผลการลงประชามติ โดย PEACE TV

สรุปผลการลงประชามติ โดย PEACE TV

คำแถลงการณ์คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง ต่อผล “การลงประชามติ” 8 สิงหาคม 2559

คำแถลงการณ์คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง ต่อผล "การลงประชามติ"

8 สิงหาคม 2559

________________________________________________________________


 

ท่ามกลางการตีปีกดีใจของเครือข่ายเผด็จการทรราชย์ในประเทศไทย ต่อผล "การลงประชามติลวงโลก" และความรู้สึกต่าง ๆ ของคนไทย ที่มีทั้งสะใจ(อย่างหลงผิด) งุนงง ตลึง เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ หรือคลั่งแค้น ฯลฯ ในนามของเครือข่ายมดแดงล้มช้าง ขอแถลงการณ์ถึงพลเมืองไทย และพลพรรคมดแดงทั่วโลก ซึ่งกระจายอยู่ใน 77 จังหวัด  ทั่วประเทศไทย  34 ประเทศทั่วโลก และ 24 รัฐทั่วสหรัฐอเมริกา ดังนี้


ละครฉากที่เรียกว่า "การลงประชามติ" นั้น ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าความพยายามในการฟอกขาวของโจรกบฏ เพราะต้องการหลบให้พ้นแรงบีบจากคนไทยด้วยกันเอง และนานาอารยประเทศ  และเพื่อสืบทอดอำนาจเผด็จการที่ฝังรากลึกบนแผ่นดินไทยต่อไป บนความได้เปรียบที่จะเอา "ผลประชามติ" ไปอ้างความชอบธรรมและตบตาชาวโลกว่า คนไทยมีฉันทามติให้พวกมันอยู่ในอำนาจตามโรดแม็ปที่พวกมันนึกกันเอาเอง และจะยัดเยียดรายละเอียดที่เลวร้ายอีกมากมายให้ระบอบเป็นเผด็จการอย่างมั่นคงยิ่งขึ้น  โดยไม่ใส่ใจต่อความเสียหายที่จะต้องเกิดขึ้นแก่ประชาชนและประเทศไทยอย่างสาหัสยิ่งกว่าที่ผ่านมา


และเพื่อความชัดเจนของเป้าหมายและทิศทางการต่อสู้ของปวงชนชาวไทย ที่ใฝ่เสรีประชาธิปไตย  คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง จึงขอประกาศจุดยืนดังนี้


หนึ่ง คสช. ที่ได้ปล้นอำนาจจากปวงชนชาวไทย ไปเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม  2557 นั้น ยังมีฐานะกบฏ ที่ทำผิดประมวลกฎหมายอาญาหลายมาตรา ต้องมีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต  และการนิรโทษกรรมตนเองของพวกเขา ย่อมเป็นโมฆะ  และกรรมของพวกเขาทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตต่อจากนี้ จะต้องถูกนำเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลประชาชนทันที เมื่อประชาชนชนะ ได้อำนาจคืนแล้ว


สอง เครือข่ายอำนาจเผด็จการทั้งทหาร ตำรวจ และพลเรือน ที่ได้ให้ความร่วมมือกับ คสช. ย่อมมีโทษในฐานะก่อการร่วม และมีโทษที่ต้องถูกสะสางโดยทั่วหน้า ตามลำดับชั้นความผิดของพวกเขาทั้งมวล


สาม ผลการลงประชามติลวงโลกครั้ง นี้ รวมทั้งกฎหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง และพันธสัญญาใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจที่ คสช. ปล้นจากปวงชนชาวไทยไปนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวด้วยกิจการภายใน และเกี่ยวข้องกับนานาประเทศ ให้ถือเป็นโมฆะ และปวงชนชาวไทย ไม่จำเป็นต้องยอมรับพันธะใด ๆ  และเราจะประกาศให้นานาชาติรับรู้จุดยืนตรงนี้อย่างเข้มข้นต่อไป


สี่ เราจะเริ่มต้นการบอยคอตต์ต่าง ๆ ในทุกทางที่ทำได้ ในฐานะพลเมืองเจ้าของประเทศ ที่ปฏิเสธการคงอยู่และการปล้นใช้อำนาจของพวกเรา  เริ่มตั้งแต่ระดับเบาไปถึงหนัก และจะต้องไม่ให้เผด็จการสามารถฟอกตัวผ่านการเลือกตั้งใต้รัฐธรรมนูญโจรกบฏนี้ได้  นั่นแปลว่า คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง จะวางเป้าหมายขับไล่เผด็จการอย่างจริงจัง นับจากบัดนี้เป็นต้นไป


ห้า การต่อสู้ของคณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง ไม่ใช่การวางเป้าล้มตัวบุคคล หรือมุ่งแค่การล้มเจ้า  แต่เราจะล้มล้างสิ่งเลวร้ายทั้งปวงในระบอบการปกครองแบบเผด็จการนี้ แล้วสถาปนาระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง  กล่าวคือ ให้อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย ให้เสรีภาพอันบริบูรณ์แก่ปวงชน ให้ปวงชนอยู่บนความเสมอภาคใต้กฎหมายและการมีโอกาสต่าง ๆ  ที่เท่าเทียมกัน  การมีส่วนร่วมอย่างถ้วนหน้าและการใช้เสียงส่วนใหญ่ของปวงชนอย่างบริสุทธิ์ โปร่งใสและเป็นธรรมในการกำหนดอำนาจและผู้ใช้อำนาจรัฐทุกระดับ การสร้างภาวะนิติรัฐและธรรมาภิบาลอย่างจริงจัง และการยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลโลกอย่างเคร่งครัด  สิ่งใด ๆ ที่ขัดกับหลักการเหล่านี้ จะต้องถูกชะล้างออกไป เพื่อสร้างบ้านเมืองตามหลักการดังกล่าวนี้ให้จงได้ในอนาคตอันไม่ไกลนี้


หก คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง จะยังคงยึดหลักการต่อสู้ด้วยสันติวิธีและตามอุดมการณ์มดแดงล้มช้าง บนความชอบธรรมและได้เปรียบของปวงชนเจ้าของประเทศ ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ และการอาศัยความร่วมมือจากเครือข่ายคนไทยทั่วโลกและมิตรประเทศ เพื่อล้มล้างอำนาจเผด็จการ และสถาปนาระบอบการปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยที่แท้จริง โดยเร็วที่สุด และจะร่วมมือกับทุกกลุ่มเพื่อบรรลุเป้าหมายข้างต้น


จึงขอแจ้งให้พลเมืองไทยทุกท่าน และพลพรรคมดแดงล้มช้าง ให้ทราบเพื่อถือเป้าหมายและแนวทางดังกล่าว เป็นหลักในการปฏิบัติการกู้ชาติ ยึดอำนาจคืนจากโจรกบฏ แล้วสร้างรัฐไทยใหม่ เพื่อประโยชน์สุขของคนไทยทุกคน สืบถึงลูกหลานไทยโดยทั่วหน้า


ประกาศ ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2559


คณะราษฎรเสรีไทยมดแดงล้มช้าง