PPD's Official Website

Monday, August 8, 2016

“ช่วยกันส่งต่อด้วยครับช่วยกันส่งต่อครับ ... รธน.นี้ผ่าน "ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน ?

"ช่วยกันส่งต่อด้วยครับช่วยกันส่งต่อครับ  ... รธน.นี้ผ่าน "ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน ? "

(1) นิรโทษกรรม คสช. ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต สิ่งใดทำผิดกฎหมายก็ถือว่าพ้นผิด เรื่องราวการทุจริตของรัฐบาล คสช. จะเอาผิดไม่ได้ 

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(2) ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ จะได้ตำแหน่ง ส.ว. อัตโนมัติ กินเงินเดือน 2 ตำแหน่ง และคอยกำกับ ส.ว. ทั้งหมด (250 คน) ให้อยู่ใต้อำนาจ คสช. 

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(3) ทหารต้องการรัฐธรรมนูญนี้ เพราะต่อไปในอนาคตจะไม่ต้องเสี่ยงข้อหากบฏ ม.113 เข้ามารัฐประหาร ก็สามารถยึดอำนาจได้ทันที

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(4) คนไทยบางคนจะใช้บัตรทองไม่ได้ เพราะ "สิทธิเสมอกัน" ในทางสาธารณสุขหายไป

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(5) ทหารที่ร่ำรวยผิดปกติ สนช. สปช. สปท. ที่มีทรัพย์สมบัติมากมายหลังยึดอำนาจ จะไม่ต้องถูกตรวจสอบ และถ้ามีการทุจริตของทหาร "ยึดทรัพย์ไม่ได้" เพราะมีกฎหมายล้างผิด

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(6) หลังรัฐธรรมนูญนี้ผ่าน คสช. จะยังมีมาตรา 44 ที่ทำอะไรก็ได้ อยู่ในมือ สามารถล้มการเลือกตั้งได้ สามารถโกงได้ สามารถฉีกรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขตามใจชอบได้ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ แน่นอนว่ามันไม่ยอมง่ายๆ

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

แค่นี้ก็พอจะเห็นแล้วว่า ทำไม? บรรดาแม่ทัพนายกองใน คสช. พวกคนดีใน สนช. สปท. ถึงเชียร์ให้คนรับ ทั้งอดีตแกนนำม็อบนกหวีด พุทธะอิสระ ถึงเรียงหน้าสามัคคีออกมา เรียกหาประชาชนเป็นเครื่องมือเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. แล้วประชาชนจะยอมเป็นเครื่องมือให้เขาอีกไหม ?

“ช่วยกันส่งต่อด้วยครับช่วยกันส่งต่อครับ ... รธน.นี้ผ่าน "ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน ?

"ช่วยกันส่งต่อด้วยครับช่วยกันส่งต่อครับ  ... รธน.นี้ผ่าน "ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน ? "

(1) นิรโทษกรรม คสช. ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต สิ่งใดทำผิดกฎหมายก็ถือว่าพ้นผิด เรื่องราวการทุจริตของรัฐบาล คสช. จะเอาผิดไม่ได้ 

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(2) ผู้บัญชาการทุกเหล่าทัพ จะได้ตำแหน่ง ส.ว. อัตโนมัติ กินเงินเดือน 2 ตำแหน่ง และคอยกำกับ ส.ว. ทั้งหมด (250 คน) ให้อยู่ใต้อำนาจ คสช. 

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(3) ทหารต้องการรัฐธรรมนูญนี้ เพราะต่อไปในอนาคตจะไม่ต้องเสี่ยงข้อหากบฏ ม.113 เข้ามารัฐประหาร ก็สามารถยึดอำนาจได้ทันที

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(4) คนไทยบางคนจะใช้บัตรทองไม่ได้ เพราะ "สิทธิเสมอกัน" ในทางสาธารณสุขหายไป

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(5) ทหารที่ร่ำรวยผิดปกติ สนช. สปช. สปท. ที่มีทรัพย์สมบัติมากมายหลังยึดอำนาจ จะไม่ต้องถูกตรวจสอบ และถ้ามีการทุจริตของทหาร "ยึดทรัพย์ไม่ได้" เพราะมีกฎหมายล้างผิด

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

(6) หลังรัฐธรรมนูญนี้ผ่าน คสช. จะยังมีมาตรา 44 ที่ทำอะไรก็ได้ อยู่ในมือ สามารถล้มการเลือกตั้งได้ สามารถโกงได้ สามารถฉีกรัฐธรรมนูญหรือแก้ไขตามใจชอบได้ จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาบริหารประเทศ แน่นอนว่ามันไม่ยอมง่ายๆ

ประชาชนได้ประโยชน์ตรงไหน? คำตอบคือไม่ได้

แค่นี้ก็พอจะเห็นแล้วว่า ทำไม? บรรดาแม่ทัพนายกองใน คสช. พวกคนดีใน สนช. สปท. ถึงเชียร์ให้คนรับ ทั้งอดีตแกนนำม็อบนกหวีด พุทธะอิสระ ถึงเรียงหน้าสามัคคีออกมา เรียกหาประชาชนเป็นเครื่องมือเพื่อรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับ คสช. แล้วประชาชนจะยอมเป็นเครื่องมือให้เขาอีกไหม ?

เจาะลึกทั่วไทย 8/8/59 : ปชช.ใช้สิทธิ์ลงประชามติแค่ 54 % กกต.ว่าไง ?

"หลังรัฐธรรมนูญผ่าน ประเทศไทยจะไปต่อทางไหน?” เครดิต หยุดดัดจริตฯ


 
"หลังรัฐธรรมนูญผ่าน ประเทศไทยจะไปต่อทางไหน?"

ผลประชามติวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่ออกมา ผ่านทั้งรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่เลวร้ายอย่าง "คำถามพ่วง" ก็ผ่านด้วย คนไทยนี่สุดยอดจริงๆ

ครั้งก่อนไม่เลือกเราเขามาแน่ ได้สุขุมพันธ์ เป็นผู้ว่า กทม.
ครั้งนี้นักการเมืองค้านแสดงว่าดี ได้รัฐธรรมนูญอัปรีย์ พร้อมคำถามพ่วง

Timeline ต่อจากนี้ของประเทศไทย (ตามลำดับ)
1. คสช. จะรับผลประชามติรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นใบอนุญาตให้ "รัฐบาลประยุทธ์" บริหารประเทศต่อได้อีก 2 ปี โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เสมือนมาจากการเลือกตั้ง

2. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะถูกประกาศใช้ และ คสช. ก็ยังอยู่โดยมีมาตรา 44 ครบถ้วน ไม่ต้องกลัวความผิดใดๆแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญผ่าน เท่ากับนิรโทษกรรมให้ คสช. อย่างเรียบร้อย

3. มีชัย และพวก กรธ. จะร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) อย่างไรก็ได้ ตามใจชอบใน 4-6 เดือน

4. สนช. อนุมัติกฎหมายต่างๆเพื่อรองรับกลไกในรัฐธรรมนูญใหม่ เคลียร์ทางสำหรับการสืบทอดอำนาจ

5. เลือกตั้งใหม่ปลายปี 2560 แต่ล่าสุดมีชัย บอกแล้วว่าอาจจะได้เลือกตั้งต้นปีจนเกือบกลางปี 2561 แปลว่า คสช. อยู่ต่อแทบจะครบวาระ จนเกือบเท่ารัฐบาลปกติ 4 ปี

6. สนช. สปท. และกลุ่มสนับสนุน คสช. จะได้รับการจัดวางเป็น ส.ว.ลากตั้ง 250 คน มีวาระ 5 ปีเต็ม แถมคำถามพ่วงผ่าน แปลว่า ส.ว.ลากตั้ง สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แน่นอนว่า คสช. ตั้ง เขาต้องตอบแทนคนตั้ง แปลความง่ายๆ 5 ปี หลังจากรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ นายกรัฐมนตรี 1-2 คน ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่จะถูกเลือกโดย คสช.

7. สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย , สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) , สิทธิคนพิการ ฯลฯ ไปลุ้นเอาว่าดาบหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เห็นข่าวว่ารัฐมนตรีสาธารณสุขประกาศทันทีว่าประชาชนอย่ากลัวระบบ "ร่วมจ่าย" แปลความคือบัตรทองอาจจะปลิว

8. ขอแสดงความยินดีกับคนไทย 68 ล้านคน ที่เราจะมีทหารคอยกำกับการเมืองไทยไปอีกอย่างน้อย 20 ปี เลือกตั้งหลังจากนี้ไม่มีผล เพราะพรรคใหญ่ 2 พรรค ก็แพ้พรรค ส.ว. 250 คน ของ คสช.

9. ยินดีต้อนรับสู่ "เกาหลีเหนือ สาขา 2" และ "ย้อนเวลาไปสู่พม่าเมื่อ 20 ปีก่อน" และเราจะได้เป็นเห็บหมาของอาเซียนและของโลก โดยสมบูรณ์

ลาก่อน "ประชาธิปไตย"

@ หยุดดัดจริตประเทศไทย
7 สิงหาคม 2559

"หลังรัฐธรรมนูญผ่าน ประเทศไทยจะไปต่อทางไหน?” เครดิต หยุดดัดจริตฯ


 
"หลังรัฐธรรมนูญผ่าน ประเทศไทยจะไปต่อทางไหน?"

ผลประชามติวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ที่ออกมา ผ่านทั้งรัฐธรรมนูญ และสิ่งที่เลวร้ายอย่าง "คำถามพ่วง" ก็ผ่านด้วย คนไทยนี่สุดยอดจริงๆ

ครั้งก่อนไม่เลือกเราเขามาแน่ ได้สุขุมพันธ์ เป็นผู้ว่า กทม.
ครั้งนี้นักการเมืองค้านแสดงว่าดี ได้รัฐธรรมนูญอัปรีย์ พร้อมคำถามพ่วง

Timeline ต่อจากนี้ของประเทศไทย (ตามลำดับ)
1. คสช. จะรับผลประชามติรัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นใบอนุญาตให้ "รัฐบาลประยุทธ์" บริหารประเทศต่อได้อีก 2 ปี โดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ เสมือนมาจากการเลือกตั้ง

2. รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะถูกประกาศใช้ และ คสช. ก็ยังอยู่โดยมีมาตรา 44 ครบถ้วน ไม่ต้องกลัวความผิดใดๆแล้ว เพราะรัฐธรรมนูญผ่าน เท่ากับนิรโทษกรรมให้ คสช. อย่างเรียบร้อย

3. มีชัย และพวก กรธ. จะร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ (กฎหมายลูก) อย่างไรก็ได้ ตามใจชอบใน 4-6 เดือน

4. สนช. อนุมัติกฎหมายต่างๆเพื่อรองรับกลไกในรัฐธรรมนูญใหม่ เคลียร์ทางสำหรับการสืบทอดอำนาจ

5. เลือกตั้งใหม่ปลายปี 2560 แต่ล่าสุดมีชัย บอกแล้วว่าอาจจะได้เลือกตั้งต้นปีจนเกือบกลางปี 2561 แปลว่า คสช. อยู่ต่อแทบจะครบวาระ จนเกือบเท่ารัฐบาลปกติ 4 ปี

6. สนช. สปท. และกลุ่มสนับสนุน คสช. จะได้รับการจัดวางเป็น ส.ว.ลากตั้ง 250 คน มีวาระ 5 ปีเต็ม แถมคำถามพ่วงผ่าน แปลว่า ส.ว.ลากตั้ง สามารถเลือกนายกรัฐมนตรีได้ แน่นอนว่า คสช. ตั้ง เขาต้องตอบแทนคนตั้ง แปลความง่ายๆ 5 ปี หลังจากรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ นายกรัฐมนตรี 1-2 คน ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง แต่จะถูกเลือกโดย คสช.

7. สิทธิเรียนฟรี ม.ปลาย , สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) , สิทธิคนพิการ ฯลฯ ไปลุ้นเอาว่าดาบหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เห็นข่าวว่ารัฐมนตรีสาธารณสุขประกาศทันทีว่าประชาชนอย่ากลัวระบบ "ร่วมจ่าย" แปลความคือบัตรทองอาจจะปลิว

8. ขอแสดงความยินดีกับคนไทย 68 ล้านคน ที่เราจะมีทหารคอยกำกับการเมืองไทยไปอีกอย่างน้อย 20 ปี เลือกตั้งหลังจากนี้ไม่มีผล เพราะพรรคใหญ่ 2 พรรค ก็แพ้พรรค ส.ว. 250 คน ของ คสช.

9. ยินดีต้อนรับสู่ "เกาหลีเหนือ สาขา 2" และ "ย้อนเวลาไปสู่พม่าเมื่อ 20 ปีก่อน" และเราจะได้เป็นเห็บหมาของอาเซียนและของโลก โดยสมบูรณ์

ลาก่อน "ประชาธิปไตย"

@ หยุดดัดจริตประเทศไทย
7 สิงหาคม 2559

มองแง่ดี แง่ร้าย ต่อผลประชามติ โดย ใบตองแห้ง

อันนี้ของใบตองแห้ง:

มองโลกแง่ดี

1.ประชามติครั้งนี้ แมลงสาบตายเป็นเบือ (ใครอย่าว่ามันไม่เอาจริงนะครับ เพราะนี่เท่ากับชวน-อภิสิทธิ์ เสียเครดิต) = คนที่เลือก ปชป.ด้วยเหตุผลประชาธิปไตย เอาเข้าจริง ไม่มีเลย มีแต่เลือกเพราะเกลียดทักกี้ ซึ่งตอนนี้เทคะแนนให้ลุงตู่หมดแล้ว

2.ฝ่ายไม่รับ ยังมีเกือบ 10 ล้านเสียงเท่าปี 50 ในสถานการณ์ที่ถูกปิดกั้น ห้ามรณรงค์ บล็อกอดีต ส.ส. หัวคะแนน แกนนำเสื้อแดง นี่คือฐานมวลชนที่แข็งแกร่ง (ซึ่งแสดงว่าไม่เกี่ยวกับระบบหัวคะแนน หรือกลไก ส.ส.เลย)

+ Note ไว้ด้วย นอกจากภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน พี่น้อง 3 จังหวัดใต้ Vote No ชนะขาดยิ่งกว่าฐานเสื้อแดงบางจังหวัด ฉะนั้นมวลชนเสื้อแดงทั้งหลาย เลิกทัศนะชาตินิยม เลิกเกลียด "โจรใต้" ได้แล้วครับ เรามีจุดร่วมกันได้บนพื้นฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตย

มองโลกแง่ร้าย

1.อะไรที่เราประเมินผิด ทัศนคติหยวนยอมแบบไทยๆ กลัวไม่สงบ กลัววุ่นวาย กลัวอนาคตที่มองไม่เห็น อยากทำมาหากิน เลือกที่จะรับ เพื่อมีเลือกตั้งใน 1 ปี ดีกว่าไม่รับแล้วไม่รู้ว่าจะเกิดอะไร

ผมเชื่อว่านี่เป็นกระแสหลักของการตัดสินใจรับ ไม่ใช่กระแสสลิ่ม ไม่ใช่ความเบื่อนักการเมือง ซึ่งนั่นอาจจะเป็นกับคนชั้นกลางในเมืองเยอะกว่า (ความเบื่อนักการเมือง=ความกลัววุ่นวายด้วย ไม่ใช่ความเกลียดนักการเมืองอย่างเดียว) รองลงมา ก็เป็นผลของการสร้างกระแสให้ประชาชนเข้าใจผิดว่ารับๆ เหอะ แล้วจะได้เลือกตั้ง ทหารจะไป แล้วเศรษฐกิจจะดี (ในพื้นที่อีสาน+เหนือตอนบน จึงมี % ชนะน้อยกว่าปี 50)

กระแสกลัวความไม่สงบนี้เป็นที่น่าหนักใจ มันเป็นเรื่องเศร้าของสังคมไทยที่ขาดลักษณะต่อสู้ สังคมไทยมักหยวนยอม มองปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่าหลักการ (ครั้งนี้ยอมกระทั่งเสียหลักการให้ ส.ว.แต่งตั้งเลือกนายกฯ) คนไทยเป็นปฏิบัตินิยมนะครับ คนจำนวนมากไม่คิดแบบเราว่า รธน.นี้แก้ไม่ได้ เขาเชื่อว่าเดี๋ยวก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ ขอให้ทำมาหากินได้แล้วกัน

ผมบอกคุณปลื้มตอนออกรายการ Voice ตะกี้ว่า คุณเชื่อไหม ผมเชื่อ คนที่ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 น่าจะมีจำนวนไม่น้อยที่ Vote Yes เพราะเหตุผลเดียวกันคือกลัวไม่สงบ

2.ความเข้มแข็งของกลไกรัฐ ที่พร้อมเพรียง เข้มแข็งกว่าปี 50 อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่านี่คือยุคที่รัฐราชการพึงพอใจ ภาคภูมิใจ พวกเขาใช้กลไกจูงใจประชาชนได้ผล โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อว่ารับแล้วจะได้เดินไปข้างหน้า (คือสรุปแล้วไม่ใช่เชื่อเนื้อหาร่าง รธน.หรอก ไม่ใช่เชื่อว่าดูตั้งแต่ท้องแม่จนแก่เฒ่า)

มองภาพรวม

1.มันเป็นเรื่องเศร้าที่วิถีประชาธิปไตยยิ่งคดเคี้ยว และอาจต้องผ่านการสูญเสีย เมื่อมองไปข้างหน้า มันน่าหดหู่ยิ่งกว่าเมื่อคิดว่าอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในสังคมไทย ไม่ใช่ฝ่ายขวา ไม่ใช่พวกเผด็จการสุดโต่ง แต่คือวัฒนธรรม Soft Culture วัฒนธรรมอ่อนละมุนแบบที่ อ.โกร่งเขียนลงมติชนล่าสุด ผมเรียกว่าความหยวนยอมไม่เอาหลักการแบบไทยๆ ซึ่งหยวนยอมให้เกิดการเข่นฆ่ามามากมายในประเทศนี้ ตั้งแต่ 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 พฤษภา 53 ทั้งที่รู้ว่าผิด หรือพอประวัติศาสตร์ผ่านไป สัก 10-20 ปี ก็จะยอมรับว่าผิด แต่ไม่เคยสรุปบทเรียน ไม่เคยแสวงหาความยุติธรรม แต่เลือกเอาอะไรที่หยวนยอมอยู่ไปด้วยกันได้ก็พอ ฉะนั้น คนที่ต่อสู้ก็จะตายฟรี อันนี้ไม่จำกัดเสื้อสีนะ แม้แต่ที่พวก กปปส.ร้องแรกแหกปาก เอาเข้าจริง ก็ตายฟรีหมดละ มันแทบไม่สร้างคุณค่าอะไรเลย คนไทยส่วนใหญ่ยังยินดีจะยอมรับความอยุติธรรม การได้อำนาจการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม เพียงเพื่อตัวเองได้ทำมาหากิน

อันนี้ก็เป็นบทเรียน ว่าในการต่อสู้ไปข้างหน้า ซึ่งเสี่ยงจะเกิดการสูญเสีย เราต้องหลีกเลี่ยงการสูญเสีย นักต่อสู้ในวันนี้ น้องๆ หลานๆ ต้องผ่อนตามสถานการณ์ รอให้คนเห็นปัญหา รอให้คนเดือดร้อน ค่อยว่ากันทีละประเด็นๆ

2.อย่างไรก็ดี สำหรับผม หรือคนรุ่นผม ไม่ใช่เรื่องที่ต้องอกหักผิดหวังครั้งใหญ่อะไรหรอกนะครับ เคยแพ้มาเยอะกว่านี้แล้ว มองกลับไป ในสถานการณ์เช่นนี้เรามีมวลชนเหนียวแน่นตั้งเกือบ 10 ล้าน ต่อสู้กันมาตั้ง 40 ปี ไม่เคยมีขนาดนี้มาก่อน ในเชิงคุณภาพ ผมว่าคน 10 ล้านนี้เหนียวแน่นยิ่งกว่าปี 50 ในขณะที่คน 16 ล้าน มีไม่น้อยที่โอนเอนไปมา (ยังไม่นับคนไม่ได้กลับภูมิลำเนาไป Vote ซึ่งผมคาดไว้ก่อนนี้แล้วว่ามีเป็นล้าน)

เรายังต่อสู้ต่อไปได้ โดยผ่อนตามสถานการณ์ แล้วให้สังคมเห็นว่าเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญจะสร้างปัญหาอะไรบ้าง อันดับแรก คนหวังเลือกตั้งใน 1 ปี แต่มีชัยก็แพลมแล้วว่าอาจไปถึงต้นปี 61 อันดับต่อมา การแก้รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องคำถามพ่วง การร่างกฎหมายลูก ที่สังคมจะเห็นว่ามันหมกเม็ดนี่หว่า ระเบิดเวลามันรออยู่เองด้วยเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ อย่าห่วงว่าประชาธิปไตยจะแพ้แล้วไม่มีทางกลับมาได้ รธน.50 ยังวางระเบิดเวลาไว้น้อยกว่านี้ รธน.ฉบับนี้มันสร้างความขัดแย้งไม่เฉพาะกับฝ่ายประชาธิปไตยแต่ขัดแย้งหลายฝ่าย เพียงแต่มันอยู่ในสภาพสังคมเคว้งคว้าง ผู้คนกลัวอนาคตที่มองไม่เห็น กลัวความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันก็จะเปลี่ยนแปลงอยู่ดี

มองแง่ดี แง่ร้าย ต่อผลประชามติ โดย ใบตองแห้ง

อันนี้ของใบตองแห้ง:

มองโลกแง่ดี

1.ประชามติครั้งนี้ แมลงสาบตายเป็นเบือ (ใครอย่าว่ามันไม่เอาจริงนะครับ เพราะนี่เท่ากับชวน-อภิสิทธิ์ เสียเครดิต) = คนที่เลือก ปชป.ด้วยเหตุผลประชาธิปไตย เอาเข้าจริง ไม่มีเลย มีแต่เลือกเพราะเกลียดทักกี้ ซึ่งตอนนี้เทคะแนนให้ลุงตู่หมดแล้ว

2.ฝ่ายไม่รับ ยังมีเกือบ 10 ล้านเสียงเท่าปี 50 ในสถานการณ์ที่ถูกปิดกั้น ห้ามรณรงค์ บล็อกอดีต ส.ส. หัวคะแนน แกนนำเสื้อแดง นี่คือฐานมวลชนที่แข็งแกร่ง (ซึ่งแสดงว่าไม่เกี่ยวกับระบบหัวคะแนน หรือกลไก ส.ส.เลย)

+ Note ไว้ด้วย นอกจากภาคอีสาน ภาคเหนือตอนบน พี่น้อง 3 จังหวัดใต้ Vote No ชนะขาดยิ่งกว่าฐานเสื้อแดงบางจังหวัด ฉะนั้นมวลชนเสื้อแดงทั้งหลาย เลิกทัศนะชาตินิยม เลิกเกลียด "โจรใต้" ได้แล้วครับ เรามีจุดร่วมกันได้บนพื้นฐานอุดมการณ์ประชาธิปไตย

มองโลกแง่ร้าย

1.อะไรที่เราประเมินผิด ทัศนคติหยวนยอมแบบไทยๆ กลัวไม่สงบ กลัววุ่นวาย กลัวอนาคตที่มองไม่เห็น อยากทำมาหากิน เลือกที่จะรับ เพื่อมีเลือกตั้งใน 1 ปี ดีกว่าไม่รับแล้วไม่รู้ว่าจะเกิดอะไร

ผมเชื่อว่านี่เป็นกระแสหลักของการตัดสินใจรับ ไม่ใช่กระแสสลิ่ม ไม่ใช่ความเบื่อนักการเมือง ซึ่งนั่นอาจจะเป็นกับคนชั้นกลางในเมืองเยอะกว่า (ความเบื่อนักการเมือง=ความกลัววุ่นวายด้วย ไม่ใช่ความเกลียดนักการเมืองอย่างเดียว) รองลงมา ก็เป็นผลของการสร้างกระแสให้ประชาชนเข้าใจผิดว่ารับๆ เหอะ แล้วจะได้เลือกตั้ง ทหารจะไป แล้วเศรษฐกิจจะดี (ในพื้นที่อีสาน+เหนือตอนบน จึงมี % ชนะน้อยกว่าปี 50)

กระแสกลัวความไม่สงบนี้เป็นที่น่าหนักใจ มันเป็นเรื่องเศร้าของสังคมไทยที่ขาดลักษณะต่อสู้ สังคมไทยมักหยวนยอม มองปัญหาเฉพาะหน้า มากกว่าหลักการ (ครั้งนี้ยอมกระทั่งเสียหลักการให้ ส.ว.แต่งตั้งเลือกนายกฯ) คนไทยเป็นปฏิบัตินิยมนะครับ คนจำนวนมากไม่คิดแบบเราว่า รธน.นี้แก้ไม่ได้ เขาเชื่อว่าเดี๋ยวก็ว่ากันไปตามสถานการณ์ ขอให้ทำมาหากินได้แล้วกัน

ผมบอกคุณปลื้มตอนออกรายการ Voice ตะกี้ว่า คุณเชื่อไหม ผมเชื่อ คนที่ไปใช้สิทธิ 20 ล้านเสียง เมื่อวันที่ 2 ก.พ.57 น่าจะมีจำนวนไม่น้อยที่ Vote Yes เพราะเหตุผลเดียวกันคือกลัวไม่สงบ

2.ความเข้มแข็งของกลไกรัฐ ที่พร้อมเพรียง เข้มแข็งกว่าปี 50 อย่างที่ผมบอกไปแล้วว่านี่คือยุคที่รัฐราชการพึงพอใจ ภาคภูมิใจ พวกเขาใช้กลไกจูงใจประชาชนได้ผล โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อว่ารับแล้วจะได้เดินไปข้างหน้า (คือสรุปแล้วไม่ใช่เชื่อเนื้อหาร่าง รธน.หรอก ไม่ใช่เชื่อว่าดูตั้งแต่ท้องแม่จนแก่เฒ่า)

มองภาพรวม

1.มันเป็นเรื่องเศร้าที่วิถีประชาธิปไตยยิ่งคดเคี้ยว และอาจต้องผ่านการสูญเสีย เมื่อมองไปข้างหน้า มันน่าหดหู่ยิ่งกว่าเมื่อคิดว่าอุปสรรคสำคัญของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในสังคมไทย ไม่ใช่ฝ่ายขวา ไม่ใช่พวกเผด็จการสุดโต่ง แต่คือวัฒนธรรม Soft Culture วัฒนธรรมอ่อนละมุนแบบที่ อ.โกร่งเขียนลงมติชนล่าสุด ผมเรียกว่าความหยวนยอมไม่เอาหลักการแบบไทยๆ ซึ่งหยวนยอมให้เกิดการเข่นฆ่ามามากมายในประเทศนี้ ตั้งแต่ 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 35 พฤษภา 53 ทั้งที่รู้ว่าผิด หรือพอประวัติศาสตร์ผ่านไป สัก 10-20 ปี ก็จะยอมรับว่าผิด แต่ไม่เคยสรุปบทเรียน ไม่เคยแสวงหาความยุติธรรม แต่เลือกเอาอะไรที่หยวนยอมอยู่ไปด้วยกันได้ก็พอ ฉะนั้น คนที่ต่อสู้ก็จะตายฟรี อันนี้ไม่จำกัดเสื้อสีนะ แม้แต่ที่พวก กปปส.ร้องแรกแหกปาก เอาเข้าจริง ก็ตายฟรีหมดละ มันแทบไม่สร้างคุณค่าอะไรเลย คนไทยส่วนใหญ่ยังยินดีจะยอมรับความอยุติธรรม การได้อำนาจการใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม เพียงเพื่อตัวเองได้ทำมาหากิน

อันนี้ก็เป็นบทเรียน ว่าในการต่อสู้ไปข้างหน้า ซึ่งเสี่ยงจะเกิดการสูญเสีย เราต้องหลีกเลี่ยงการสูญเสีย นักต่อสู้ในวันนี้ น้องๆ หลานๆ ต้องผ่อนตามสถานการณ์ รอให้คนเห็นปัญหา รอให้คนเดือดร้อน ค่อยว่ากันทีละประเด็นๆ

2.อย่างไรก็ดี สำหรับผม หรือคนรุ่นผม ไม่ใช่เรื่องที่ต้องอกหักผิดหวังครั้งใหญ่อะไรหรอกนะครับ เคยแพ้มาเยอะกว่านี้แล้ว มองกลับไป ในสถานการณ์เช่นนี้เรามีมวลชนเหนียวแน่นตั้งเกือบ 10 ล้าน ต่อสู้กันมาตั้ง 40 ปี ไม่เคยมีขนาดนี้มาก่อน ในเชิงคุณภาพ ผมว่าคน 10 ล้านนี้เหนียวแน่นยิ่งกว่าปี 50 ในขณะที่คน 16 ล้าน มีไม่น้อยที่โอนเอนไปมา (ยังไม่นับคนไม่ได้กลับภูมิลำเนาไป Vote ซึ่งผมคาดไว้ก่อนนี้แล้วว่ามีเป็นล้าน)

เรายังต่อสู้ต่อไปได้ โดยผ่อนตามสถานการณ์ แล้วให้สังคมเห็นว่าเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญจะสร้างปัญหาอะไรบ้าง อันดับแรก คนหวังเลือกตั้งใน 1 ปี แต่มีชัยก็แพลมแล้วว่าอาจไปถึงต้นปี 61 อันดับต่อมา การแก้รัฐธรรมนูญให้สอดคล้องคำถามพ่วง การร่างกฎหมายลูก ที่สังคมจะเห็นว่ามันหมกเม็ดนี่หว่า ระเบิดเวลามันรออยู่เองด้วยเงื่อนไขในรัฐธรรมนูญ อย่าห่วงว่าประชาธิปไตยจะแพ้แล้วไม่มีทางกลับมาได้ รธน.50 ยังวางระเบิดเวลาไว้น้อยกว่านี้ รธน.ฉบับนี้มันสร้างความขัดแย้งไม่เฉพาะกับฝ่ายประชาธิปไตยแต่ขัดแย้งหลายฝ่าย เพียงแต่มันอยู่ในสภาพสังคมเคว้งคว้าง ผู้คนกลัวอนาคตที่มองไม่เห็น กลัวความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมันก็จะเปลี่ยนแปลงอยู่ดี