PPD's Official Website

Sunday, October 16, 2016

สนธิ ผู้จงรักภักดีสูงสุด ไม่ได้แม้แต่โอกาสส่งศพภรรยา!! บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริ ช่วงที่1 05/10/2016"

ชวนคิดชวนคุย บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริ ช่วงที่1 05/10/2016
ชวนคิดชวนคุย บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นไปด้วยความโศกเศร้า ช่วงที่1 05/10/2016
Official Website : ...
©2016 YouTube, LLC 901 Cherry Ave, San Bruno, CA 94066

สนธิ ผู้จงรักภักดีสูงสุด ไม่ได้แม้แต่โอกาสส่งศพภรรยา!! บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริ ช่วงที่1 05/10/2016"

ชวนคิดชวนคุย บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริ ช่วงที่1 05/10/2016
ชวนคิดชวนคุย บรรยากาศพิธีรดน้ำศพ "ผศ.จันทน์ทิพย์ ลิ้มทองกุล" วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นไปด้วยความโศกเศร้า ช่วงที่1 05/10/2016
Official Website : ...
©2016 YouTube, LLC 901 Cherry Ave, San Bruno, CA 94066

“ธงทอง จันทรางศุ” อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ




"ธงทอง จันทรางศุ" อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ

หมายเหตุ – นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐทีวี ถึงขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์ และขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์

สำหรับแนวทางการสืบราชสันตติวงศ์ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นคำอธิบายที่ตรงตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายแล้ว โดยผมขอแยกเป็น 2 ส่วน เพื่อเป็นการกล่าวเสริม แต่มิได้แตกต่างกับแนวทางที่นายวิษณุได้กรุณาเล่าผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ

ข้อเท็จจริงส่วนแรก นั่นคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการสถาปนาให้ทรงดำรงตำแหน่งพระรัชทายาท ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2515 มาแล้ว ก่อนหน้านั้น ท่านดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ แต่เมื่อเจริญพระชนมพรรษามากขึ้น จนถึงขีดขั้นที่ทรงบรรลุราชนิติภาวะ คือมีพระชนมพรรษา 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ มีพระราชดำริในครั้งนั้นว่าถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว ประกอบกับทรงสดับคำกราบบังคมทูลจากบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่า เป็นเวลาอันสมควรที่จะสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระรัชทายาท

ทั้งหมดเป็นการสร้างความชัดเจนขึ้นในทางข้อเท็จจริงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงหมายพระราชหฤทัย และมีกฎหมายสนับสนุนถูกต้องตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ว่า ทรงกำหนดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงอยู่ในฐานะรัชทายาทตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ในหมวดพระมหากษัตริย์ เขียนไว้สั้นมาก โดยบอกให้ย้อนกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพราะดูจะเป็นความเหมาะสมแล้ว มีหลักการที่ตรงกับรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่บังคับใช้มาก่อนหน้านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวอยู่ในมาตรา 23

ในกรณีราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ซึ่งตรงตามเท็จจริง และเป็นที่รู้ทั่วไปในหมู่คนไทย ในหมู่ชาวโลกด้วยซ้ำไปว่า พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้แล้ว

จากนั้น ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ

ทั้งหมดเป็นขั้นตอนว่า เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีก็จะมีหนังสือไปยังรัฐสภาเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ ไม่ใช่ลงมติเห็นชอบ เพราะการกำหนดพระรัชทายาทเป็นพระราชประสงค์ และเป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เรียบร้อยชัดเจนแล้ว รัฐสภาก็เพียงแต่รับทราบ และออกประกาศว่าประธานรัฐสภาได้เชิญพระรัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่แล้ว

อย่างไรก็ตาม จะพบว่าขั้นตอนทั้งหมดไม่ได้กำหนดเวลาว่า หลังจากที่พระราชบัลลังก์ว่างลงแล้ว การปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องทำภายในเวลาเท่าไร

ขณะที่ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลง และตามที่นายวิษณุก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกัน นั่นคือ เป็นพระราชปรารภในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารว่า ต้องพระราชประสงค์

หรือมีพระราชดำริว่า อยากจะทรงร่วมทุกข์โศกกับประชาชนทั้งหลายต่อความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ครั้งสำคัญนี้ และจะให้น้ำหนักความสำคัญต่อการจัดงานพระบรมศพให้ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย

พระราชปรารภนี้ดั่งที่นายวิษณุได้ชี้แจง เป็นพระราชปรารภที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานให้กับท่านนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จสวรรคต คือเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีพระราชพิธีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม

ดังนั้น ในเวลาอันสมควรในอนาคตภายหน้าก็จะได้มีพระราชกระแสให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 23 แจ้งให้รัฐสภาทราบอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นในเวลานี้ยังทรงดำรงฐานะเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นพระรัชทายาทที่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของประเทศไทยที่ตราไว้ตั้งแต่ดึกดําบรรพ์รองรับ และเป็นข้อเท็จจริงที่ชาวไทยชาวโลกรับรู้เป็นการทั่วไป จังหวะเวลาที่รอกันอยู่ในเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง สุดแท้แต่พระราชปรารภจะมีพระราชดำริ

ขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ได้มีพระราชพิธีสงฆ์พระบรมศพ และได้เริ่มมีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในช่วงเย็นช่วงค่ำต่อเนื่องกันไป นับตั้งแต่เมื่อวันวานก็มีการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องเป็นเวลา 100 วัน เช้าวันนี้ (15 ต.ค.) เป็นเช้าวันแรก โดยเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า ซึ่งเราได้เห็นการปฏิบัติในส่วนนี้ไปแล้ว และจะทำไปจนเวลาเที่ยงคืน โดยจะมีการเว้นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า

นอกจากมีการสวดพระอภิธรรมแล้ว ยังมีการประโคมย่ำยาม ซึ่งเป็นประเพณีโบราณตามพระเกียรติยศ โดยจะมีการประโคมย่ำยามทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยพระสงฆ์จะทำการสวดพระอภิธรรมตลอดเวลา ตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึงเที่ยงคืน แต่คำว่าตลอดเวลา ไม่ใช่ไม่หยุดพักเลย เพราะถึงแม้จะมีพระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั่งประจำอยู่ 2 สำรับพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ท่านผลัดกันสวด มีหยุดพักที่เป็นครู่ใหญ่เฉพาะเวลารับพระราชทานฉันเช้าและฉันเพล และจะดำเนินต่อไปเช่นนี้อีก 100 วันเต็มๆ จนถึงเดือนมกราคม 2560

ส่วนพี่น้องประชาชนอยากมีโอกาสเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องเรียนว่าคงต้องรอฟังประกาศจากสำนักพระราชวังเรื่องการชี้แจงจากสำนักพระราชวัง แต่แนวปฏิบัติที่ผ่านมา ก็ต้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังต้องตระเตรียมพร้อมกับหน่วยงานทั้งหลายอีกมาก ทั้งการอำนวยความสะดวกและจัดระเบียบในการปฏิบัติ

จากตัวอย่างประสบการณ์เมื่อครั้งงาน พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี 2538 เมื่อมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนสามารถเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้แล้ว มีผู้คนทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่มีหัวใจตรงกันเข้ามาจำนวนมาก จึงต้องมีการเตรียมการอำนวยความสะดวกประชาชน ดังนั้น เมื่อมีความพร้อมคงมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนรับทราบ

เนื่องจากในเวลานี้ แม้สิ้นรัชกาลที่เราเกิดและเติบโตมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยพระราชบัณฑูรในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงเป็นพระรัชทายาท ได้มีพระราชประสงค์ที่อยากทรงปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน เพราะเช่นนั้นผมจึงมีความเข้าใจว่าพระราชอาสน์ 2 องค์ที่ทอดผ้าอยู่และมีผ้าเยียรบับปกคลุมอยู่นั้น เป็นพระราชอาสน์สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามพระเกียรติยศ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่ยังเป็นพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็จะเป็นเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีพระราชบัณฑูรเป็นประการอื่น

อยากเรียนย้อนความไปในประวัติศาสตร์ของเรา ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวังอยู่ 3 รัชกาล

ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน

ครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลานั้นได้สละราชสมบัติแล้ว และทรงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ในระหว่างสงครามด้วย ดังนั้น ในพระราชพิธีพระบรมศพก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย และมีการถวายพระเพลิงในประเทศอังกฤษ

ครั้งที่สาม เป็นวาระของพระราชแผ่นดินของเราที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเป็นสมัยแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมศพผ่านไปตามท้องถนนให้ประชาชนมีโอกาสได้ถวายบังคม และวาระเมื่อวันวานจึงเป็นครั้งที่ 2 ความต่างก็จะมีอยู่บ้าง เพราะเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต รุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2453 ได้มีการถวายน้ำสรงพระบรมศพยังพระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว หลังจากนั้นก็อัญเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระโกศ แล้วแห่แบบโบราณ มีพระยานมาศสามลำคาน ซึ่งเป็นคานหามขนาดใหญ่ซ้ายขวาตามปกติแล้ว ยังสอดคานกลางขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำหนัก โดยมีคนแบกราว 32 คน

หากใครได้อ่านบันทึกแต่เก่าก่อน เช่น หนังสือเรื่อง 3 กรุง ของ น.ม.ส. หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงบันทึกบรรยากาศและประสบการณ์ส่วนพระองค์ของท่านไว้ หรือเรื่อง 4 แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มี แม่พลอย เป็นตัวเอกของเรื่อง ไปเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพอยู่ข้างทาง ก็ได้เก็บเรื่องราวจากเรื่องที่เป็นความจริงหรือบันทึกของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ก็เล่าเรื่องไว้ไม่ต่างกับแม่พลอย

ในส่วนตัวของผม มีแต่ประสบการณ์มาจากการอ่านหนังสือ ไม่เคยพบจริง เมื่อวันวานนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เกิดมา ที่ได้ผ่านเหตุการณ์นี้ร่วมกับผู้คนอีกมากมาย แต่เดิมผมตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากพ้นจากราชการแล้ว พอมีเวลาไปไหนมาไหนบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อเหตุการณ์ใกล้ตัวเข้ามาก็ไม่มีแก่ใจจะไปเที่ยว ก็ได้งดการเดินทาง

ตั้งแต่ค่ำวันแรกที่ทุกคนได้ข่าวอันร้าวรานที่สุด คือการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ตอนกลางคืนนั้นผมตอบตัวเองว่าอยู่บ้านไม่ได้ ก็วางแผนว่าตนเองจะไปอยู่ไหน โดยเชื่อว่าจะมีคนจำนวนมากที่มีหัวใจไม่แตกต่างกัน

จึงไปพึ่งบารมีพระรูปหนึ่งที่คุ้นเคยกันอยู่ที่วัดชนะสงครามใกล้พื้นที่พระบรมมหาราชวัง โดยนัดกันกับเพื่อนหลายคนหลายวัย ทานข้าวปลาอาหารแล้วก็เดินไปยังเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่บ่ายโมง จากนั้นก็เดินลัดเลาะหมู่คนจำนวนมาก ขอทางเดินเข้าไป สอบถามเส้นทางเคลื่อนพระบรมศพ สุดท้ายก็ลงนั่งตรงพื้นที่ริมถนนเจ้าฟ้า บริเวณก่อนถึงด้านหน้าหอศิลป์เจ้าฟ้า ร้อนแดดร้อนผิวจราจร แต่ผมคิดว่า ใครๆ ก็จะทำอย่างที่ผมทำเมื่อวันวาน

ถ้าเป็นธรรมเนียมโบราณ ถ้าอ้างตามที่แม่พลอยใน 4 แผ่นดิน ผู้คนก็จะเตรียมธูปและเทียน โดยเป็นธูปไม้ระกำ โดยแม่พลอยได้เตรียมธูปเทียนไปจุด ผมก็เป็นคนอ่านหนังสือและรักษาธรรมเนียมเก่า ก็ได้อาศัยเมตตาจากพระ องค์ที่ผมไปอาศัยกุฏิได้จัดธูปเทียนให้ตามธรรมเนียมโบราณ

เมื่อได้เคลื่อนพระบรมศพออกจากโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ก็ตั้งใจจะจุดธูปจุดเทียน แต่ตำรวจที่รักษาระเบียบอยู่บริเวณก็ได้มาขอร้องว่าอย่าจุดเลย ให้ถวายบังคมและกราบแต่เพียงอย่างเดียว ผมก็เข้าใจ เพราะคนจำนวนมากอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ หลังจากจุดไปได้จำนวนหนึ่งก็ดับเสีย แต่สุดท้ายก็ได้นัดหมายกันเมื่อถึงบ้านพักแล้วก็ต่างคนต่างจุด โดยถวายบังคมไปทางพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำตามธรรมเนียมโบราณที่ปู่ย่าตายายได้ทำไว้

“ธงทอง จันทรางศุ” อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ




"ธงทอง จันทรางศุ" อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ

หมายเหตุ – นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐทีวี ถึงขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์ และขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์

สำหรับแนวทางการสืบราชสันตติวงศ์ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นคำอธิบายที่ตรงตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายแล้ว โดยผมขอแยกเป็น 2 ส่วน เพื่อเป็นการกล่าวเสริม แต่มิได้แตกต่างกับแนวทางที่นายวิษณุได้กรุณาเล่าผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ

ข้อเท็จจริงส่วนแรก นั่นคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการสถาปนาให้ทรงดำรงตำแหน่งพระรัชทายาท ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2515 มาแล้ว ก่อนหน้านั้น ท่านดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ แต่เมื่อเจริญพระชนมพรรษามากขึ้น จนถึงขีดขั้นที่ทรงบรรลุราชนิติภาวะ คือมีพระชนมพรรษา 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ มีพระราชดำริในครั้งนั้นว่าถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว ประกอบกับทรงสดับคำกราบบังคมทูลจากบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่า เป็นเวลาอันสมควรที่จะสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระรัชทายาท

ทั้งหมดเป็นการสร้างความชัดเจนขึ้นในทางข้อเท็จจริงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงหมายพระราชหฤทัย และมีกฎหมายสนับสนุนถูกต้องตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ว่า ทรงกำหนดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงอยู่ในฐานะรัชทายาทตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ในหมวดพระมหากษัตริย์ เขียนไว้สั้นมาก โดยบอกให้ย้อนกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพราะดูจะเป็นความเหมาะสมแล้ว มีหลักการที่ตรงกับรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่บังคับใช้มาก่อนหน้านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวอยู่ในมาตรา 23

ในกรณีราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ซึ่งตรงตามเท็จจริง และเป็นที่รู้ทั่วไปในหมู่คนไทย ในหมู่ชาวโลกด้วยซ้ำไปว่า พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้แล้ว

จากนั้น ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ

ทั้งหมดเป็นขั้นตอนว่า เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีก็จะมีหนังสือไปยังรัฐสภาเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ ไม่ใช่ลงมติเห็นชอบ เพราะการกำหนดพระรัชทายาทเป็นพระราชประสงค์ และเป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เรียบร้อยชัดเจนแล้ว รัฐสภาก็เพียงแต่รับทราบ และออกประกาศว่าประธานรัฐสภาได้เชิญพระรัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่แล้ว

อย่างไรก็ตาม จะพบว่าขั้นตอนทั้งหมดไม่ได้กำหนดเวลาว่า หลังจากที่พระราชบัลลังก์ว่างลงแล้ว การปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องทำภายในเวลาเท่าไร

ขณะที่ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลง และตามที่นายวิษณุก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกัน นั่นคือ เป็นพระราชปรารภในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารว่า ต้องพระราชประสงค์

หรือมีพระราชดำริว่า อยากจะทรงร่วมทุกข์โศกกับประชาชนทั้งหลายต่อความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ครั้งสำคัญนี้ และจะให้น้ำหนักความสำคัญต่อการจัดงานพระบรมศพให้ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย

พระราชปรารภนี้ดั่งที่นายวิษณุได้ชี้แจง เป็นพระราชปรารภที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานให้กับท่านนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จสวรรคต คือเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีพระราชพิธีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม

ดังนั้น ในเวลาอันสมควรในอนาคตภายหน้าก็จะได้มีพระราชกระแสให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 23 แจ้งให้รัฐสภาทราบอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นในเวลานี้ยังทรงดำรงฐานะเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นพระรัชทายาทที่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของประเทศไทยที่ตราไว้ตั้งแต่ดึกดําบรรพ์รองรับ และเป็นข้อเท็จจริงที่ชาวไทยชาวโลกรับรู้เป็นการทั่วไป จังหวะเวลาที่รอกันอยู่ในเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง สุดแท้แต่พระราชปรารภจะมีพระราชดำริ

ขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ได้มีพระราชพิธีสงฆ์พระบรมศพ และได้เริ่มมีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในช่วงเย็นช่วงค่ำต่อเนื่องกันไป นับตั้งแต่เมื่อวันวานก็มีการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องเป็นเวลา 100 วัน เช้าวันนี้ (15 ต.ค.) เป็นเช้าวันแรก โดยเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า ซึ่งเราได้เห็นการปฏิบัติในส่วนนี้ไปแล้ว และจะทำไปจนเวลาเที่ยงคืน โดยจะมีการเว้นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า

นอกจากมีการสวดพระอภิธรรมแล้ว ยังมีการประโคมย่ำยาม ซึ่งเป็นประเพณีโบราณตามพระเกียรติยศ โดยจะมีการประโคมย่ำยามทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยพระสงฆ์จะทำการสวดพระอภิธรรมตลอดเวลา ตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึงเที่ยงคืน แต่คำว่าตลอดเวลา ไม่ใช่ไม่หยุดพักเลย เพราะถึงแม้จะมีพระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั่งประจำอยู่ 2 สำรับพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ท่านผลัดกันสวด มีหยุดพักที่เป็นครู่ใหญ่เฉพาะเวลารับพระราชทานฉันเช้าและฉันเพล และจะดำเนินต่อไปเช่นนี้อีก 100 วันเต็มๆ จนถึงเดือนมกราคม 2560

ส่วนพี่น้องประชาชนอยากมีโอกาสเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องเรียนว่าคงต้องรอฟังประกาศจากสำนักพระราชวังเรื่องการชี้แจงจากสำนักพระราชวัง แต่แนวปฏิบัติที่ผ่านมา ก็ต้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังต้องตระเตรียมพร้อมกับหน่วยงานทั้งหลายอีกมาก ทั้งการอำนวยความสะดวกและจัดระเบียบในการปฏิบัติ

จากตัวอย่างประสบการณ์เมื่อครั้งงาน พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี 2538 เมื่อมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนสามารถเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้แล้ว มีผู้คนทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่มีหัวใจตรงกันเข้ามาจำนวนมาก จึงต้องมีการเตรียมการอำนวยความสะดวกประชาชน ดังนั้น เมื่อมีความพร้อมคงมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนรับทราบ

เนื่องจากในเวลานี้ แม้สิ้นรัชกาลที่เราเกิดและเติบโตมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยพระราชบัณฑูรในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงเป็นพระรัชทายาท ได้มีพระราชประสงค์ที่อยากทรงปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน เพราะเช่นนั้นผมจึงมีความเข้าใจว่าพระราชอาสน์ 2 องค์ที่ทอดผ้าอยู่และมีผ้าเยียรบับปกคลุมอยู่นั้น เป็นพระราชอาสน์สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามพระเกียรติยศ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่ยังเป็นพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็จะเป็นเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีพระราชบัณฑูรเป็นประการอื่น

อยากเรียนย้อนความไปในประวัติศาสตร์ของเรา ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวังอยู่ 3 รัชกาล

ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน

ครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลานั้นได้สละราชสมบัติแล้ว และทรงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ในระหว่างสงครามด้วย ดังนั้น ในพระราชพิธีพระบรมศพก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย และมีการถวายพระเพลิงในประเทศอังกฤษ

ครั้งที่สาม เป็นวาระของพระราชแผ่นดินของเราที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเป็นสมัยแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมศพผ่านไปตามท้องถนนให้ประชาชนมีโอกาสได้ถวายบังคม และวาระเมื่อวันวานจึงเป็นครั้งที่ 2 ความต่างก็จะมีอยู่บ้าง เพราะเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต รุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2453 ได้มีการถวายน้ำสรงพระบรมศพยังพระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว หลังจากนั้นก็อัญเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระโกศ แล้วแห่แบบโบราณ มีพระยานมาศสามลำคาน ซึ่งเป็นคานหามขนาดใหญ่ซ้ายขวาตามปกติแล้ว ยังสอดคานกลางขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำหนัก โดยมีคนแบกราว 32 คน

หากใครได้อ่านบันทึกแต่เก่าก่อน เช่น หนังสือเรื่อง 3 กรุง ของ น.ม.ส. หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงบันทึกบรรยากาศและประสบการณ์ส่วนพระองค์ของท่านไว้ หรือเรื่อง 4 แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มี แม่พลอย เป็นตัวเอกของเรื่อง ไปเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพอยู่ข้างทาง ก็ได้เก็บเรื่องราวจากเรื่องที่เป็นความจริงหรือบันทึกของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ก็เล่าเรื่องไว้ไม่ต่างกับแม่พลอย

ในส่วนตัวของผม มีแต่ประสบการณ์มาจากการอ่านหนังสือ ไม่เคยพบจริง เมื่อวันวานนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เกิดมา ที่ได้ผ่านเหตุการณ์นี้ร่วมกับผู้คนอีกมากมาย แต่เดิมผมตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากพ้นจากราชการแล้ว พอมีเวลาไปไหนมาไหนบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อเหตุการณ์ใกล้ตัวเข้ามาก็ไม่มีแก่ใจจะไปเที่ยว ก็ได้งดการเดินทาง

ตั้งแต่ค่ำวันแรกที่ทุกคนได้ข่าวอันร้าวรานที่สุด คือการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ตอนกลางคืนนั้นผมตอบตัวเองว่าอยู่บ้านไม่ได้ ก็วางแผนว่าตนเองจะไปอยู่ไหน โดยเชื่อว่าจะมีคนจำนวนมากที่มีหัวใจไม่แตกต่างกัน

จึงไปพึ่งบารมีพระรูปหนึ่งที่คุ้นเคยกันอยู่ที่วัดชนะสงครามใกล้พื้นที่พระบรมมหาราชวัง โดยนัดกันกับเพื่อนหลายคนหลายวัย ทานข้าวปลาอาหารแล้วก็เดินไปยังเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่บ่ายโมง จากนั้นก็เดินลัดเลาะหมู่คนจำนวนมาก ขอทางเดินเข้าไป สอบถามเส้นทางเคลื่อนพระบรมศพ สุดท้ายก็ลงนั่งตรงพื้นที่ริมถนนเจ้าฟ้า บริเวณก่อนถึงด้านหน้าหอศิลป์เจ้าฟ้า ร้อนแดดร้อนผิวจราจร แต่ผมคิดว่า ใครๆ ก็จะทำอย่างที่ผมทำเมื่อวันวาน

ถ้าเป็นธรรมเนียมโบราณ ถ้าอ้างตามที่แม่พลอยใน 4 แผ่นดิน ผู้คนก็จะเตรียมธูปและเทียน โดยเป็นธูปไม้ระกำ โดยแม่พลอยได้เตรียมธูปเทียนไปจุด ผมก็เป็นคนอ่านหนังสือและรักษาธรรมเนียมเก่า ก็ได้อาศัยเมตตาจากพระ องค์ที่ผมไปอาศัยกุฏิได้จัดธูปเทียนให้ตามธรรมเนียมโบราณ

เมื่อได้เคลื่อนพระบรมศพออกจากโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ก็ตั้งใจจะจุดธูปจุดเทียน แต่ตำรวจที่รักษาระเบียบอยู่บริเวณก็ได้มาขอร้องว่าอย่าจุดเลย ให้ถวายบังคมและกราบแต่เพียงอย่างเดียว ผมก็เข้าใจ เพราะคนจำนวนมากอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ หลังจากจุดไปได้จำนวนหนึ่งก็ดับเสีย แต่สุดท้ายก็ได้นัดหมายกันเมื่อถึงบ้านพักแล้วก็ต่างคนต่างจุด โดยถวายบังคมไปทางพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำตามธรรมเนียมโบราณที่ปู่ย่าตายายได้ทำไว้

“ธงทอง จันทรางศุ” อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ




"ธงทอง จันทรางศุ" อธิบายขั้นตอน การสืบราชสันตติวงศ์-พระราชพิธีพระบรมศพ

หมายเหตุ – นายธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ไทยรัฐทีวี ถึงขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์ และขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ขั้นตอนการสืบสันตติวงศ์

สำหรับแนวทางการสืบราชสันตติวงศ์ที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เมื่อช่วงค่ำของวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นคำอธิบายที่ตรงตามข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายแล้ว โดยผมขอแยกเป็น 2 ส่วน เพื่อเป็นการกล่าวเสริม แต่มิได้แตกต่างกับแนวทางที่นายวิษณุได้กรุณาเล่าผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ

ข้อเท็จจริงส่วนแรก นั่นคือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงได้รับการสถาปนาให้ทรงดำรงตำแหน่งพระรัชทายาท ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2515 มาแล้ว ก่อนหน้านั้น ท่านดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ แต่เมื่อเจริญพระชนมพรรษามากขึ้น จนถึงขีดขั้นที่ทรงบรรลุราชนิติภาวะ คือมีพระชนมพรรษา 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ มีพระราชดำริในครั้งนั้นว่าถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว ประกอบกับทรงสดับคำกราบบังคมทูลจากบรรดาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่า เป็นเวลาอันสมควรที่จะสถาปนาพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ให้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นพระรัชทายาท

ทั้งหมดเป็นการสร้างความชัดเจนขึ้นในทางข้อเท็จจริงว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศทรงหมายพระราชหฤทัย และมีกฎหมายสนับสนุนถูกต้องตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ว่า ทรงกำหนดให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงดำรงอยู่ในฐานะรัชทายาทตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ปี 2557 ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ในหมวดพระมหากษัตริย์ เขียนไว้สั้นมาก โดยบอกให้ย้อนกลับไปใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 เพราะดูจะเป็นความเหมาะสมแล้ว มีหลักการที่ตรงกับรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่บังคับใช้มาก่อนหน้านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวอยู่ในมาตรา 23

ในกรณีราชบัลลังก์หากว่างลง และเป็นกรณีที่พระมหากษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งพระรัชทายาทไว้ตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 แล้ว ซึ่งตรงตามเท็จจริง และเป็นที่รู้ทั่วไปในหมู่คนไทย ในหมู่ชาวโลกด้วยซ้ำไปว่า พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระรัชทายาทไว้แล้ว

จากนั้น ให้คณะรัฐมนตรีแจ้งให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบและให้ประธานรัฐสภาอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์สืบไป แล้วให้ประธานรัฐสภาประกาศให้ประชาชนทราบ

ทั้งหมดเป็นขั้นตอนว่า เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสม นายกรัฐมนตรีในฐานะเป็นคณะรัฐมนตรีก็จะมีหนังสือไปยังรัฐสภาเพื่อเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อรับทราบ ไม่ใช่ลงมติเห็นชอบ เพราะการกำหนดพระรัชทายาทเป็นพระราชประสงค์ และเป็นพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ เรียบร้อยชัดเจนแล้ว รัฐสภาก็เพียงแต่รับทราบ และออกประกาศว่าประธานรัฐสภาได้เชิญพระรัชทายาทขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่แล้ว

อย่างไรก็ตาม จะพบว่าขั้นตอนทั้งหมดไม่ได้กำหนดเวลาว่า หลังจากที่พระราชบัลลังก์ว่างลงแล้ว การปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องทำภายในเวลาเท่าไร

ขณะที่ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่ง คือ ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้แถลง และตามที่นายวิษณุก็ได้ยืนยันเช่นเดียวกัน นั่นคือ เป็นพระราชปรารภในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารว่า ต้องพระราชประสงค์

หรือมีพระราชดำริว่า อยากจะทรงร่วมทุกข์โศกกับประชาชนทั้งหลายต่อความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ครั้งสำคัญนี้ และจะให้น้ำหนักความสำคัญต่อการจัดงานพระบรมศพให้ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย

พระราชปรารภนี้ดั่งที่นายวิษณุได้ชี้แจง เป็นพระราชปรารภที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชทานให้กับท่านนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเสด็จสวรรคต คือเมื่อวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีพระราชพิธีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในวันที่ 14 ตุลาคม

ดังนั้น ในเวลาอันสมควรในอนาคตภายหน้าก็จะได้มีพระราชกระแสให้นายกรัฐมนตรีปฏิบัติภารกิจตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มาตรา 23 แจ้งให้รัฐสภาทราบอีกครั้งหนึ่ง เพราะฉะนั้นในเวลานี้ยังทรงดำรงฐานะเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นพระรัชทายาทที่มีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญรองรับตามกฎมนเทียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ของประเทศไทยที่ตราไว้ตั้งแต่ดึกดําบรรพ์รองรับ และเป็นข้อเท็จจริงที่ชาวไทยชาวโลกรับรู้เป็นการทั่วไป จังหวะเวลาที่รอกันอยู่ในเวลานี้ก็เป็นช่วงเวลาที่จะต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง สุดแท้แต่พระราชปรารภจะมีพระราชดำริ

ขั้นตอนพระราชพิธีพระบรมศพ

ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ได้มีพระราชพิธีสงฆ์พระบรมศพ และได้เริ่มมีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในช่วงเย็นช่วงค่ำต่อเนื่องกันไป นับตั้งแต่เมื่อวันวานก็มีการสวดพระอภิธรรมเป็นเวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องเป็นเวลา 100 วัน เช้าวันนี้ (15 ต.ค.) เป็นเช้าวันแรก โดยเริ่มตั้งแต่ 6 โมงเช้า ซึ่งเราได้เห็นการปฏิบัติในส่วนนี้ไปแล้ว และจะทำไปจนเวลาเที่ยงคืน โดยจะมีการเว้นช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 6 โมงเช้า

นอกจากมีการสวดพระอภิธรรมแล้ว ยังมีการประโคมย่ำยาม ซึ่งเป็นประเพณีโบราณตามพระเกียรติยศ โดยจะมีการประโคมย่ำยามทุกๆ 3 ชั่วโมง โดยพระสงฆ์จะทำการสวดพระอภิธรรมตลอดเวลา ตั้งแต่ 6 โมงเช้าไปจนถึงเที่ยงคืน แต่คำว่าตลอดเวลา ไม่ใช่ไม่หยุดพักเลย เพราะถึงแม้จะมีพระสงฆ์ที่สวดพระอภิธรรมในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทนั่งประจำอยู่ 2 สำรับพร้อมกันอยู่แล้ว แต่ท่านผลัดกันสวด มีหยุดพักที่เป็นครู่ใหญ่เฉพาะเวลารับพระราชทานฉันเช้าและฉันเพล และจะดำเนินต่อไปเช่นนี้อีก 100 วันเต็มๆ จนถึงเดือนมกราคม 2560

ส่วนพี่น้องประชาชนอยากมีโอกาสเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้หรือไม่ อย่างไร ก็ต้องเรียนว่าคงต้องรอฟังประกาศจากสำนักพระราชวังเรื่องการชี้แจงจากสำนักพระราชวัง แต่แนวปฏิบัติที่ผ่านมา ก็ต้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังต้องตระเตรียมพร้อมกับหน่วยงานทั้งหลายอีกมาก ทั้งการอำนวยความสะดวกและจัดระเบียบในการปฏิบัติ

จากตัวอย่างประสบการณ์เมื่อครั้งงาน พระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี 2538 เมื่อมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนสามารถเข้าเฝ้ากราบถวายบังคมพระบรมศพได้แล้ว มีผู้คนทั้งใน กทม.และต่างจังหวัดที่มีหัวใจตรงกันเข้ามาจำนวนมาก จึงต้องมีการเตรียมการอำนวยความสะดวกประชาชน ดังนั้น เมื่อมีความพร้อมคงมีการแจ้งข่าวให้ประชาชนรับทราบ

เนื่องจากในเวลานี้ แม้สิ้นรัชกาลที่เราเกิดและเติบโตมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ โดยพระราชบัณฑูรในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งทรงเป็นพระรัชทายาท ได้มีพระราชประสงค์ที่อยากทรงปฏิบัติสนองพระเดชพระคุณในฐานะสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ไปอีกสักระยะหนึ่งก่อน เพราะเช่นนั้นผมจึงมีความเข้าใจว่าพระราชอาสน์ 2 องค์ที่ทอดผ้าอยู่และมีผ้าเยียรบับปกคลุมอยู่นั้น เป็นพระราชอาสน์สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามพระเกียรติยศ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จสวรรคตไปแล้ว แต่ยังเป็นพระราชประสงค์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ก็จะเป็นเช่นนี้ไปจนกว่าจะมีพระราชบัณฑูรเป็นประการอื่น

อยากเรียนย้อนความไปในประวัติศาสตร์ของเรา ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ มีพระมหากษัตริย์ที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวังอยู่ 3 รัชกาล

ครั้งแรก เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่พระที่นั่งอัมพรสถาน

ครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลานั้นได้สละราชสมบัติแล้ว และทรงประทับอยู่ในประเทศอังกฤษ ในระหว่างสงครามด้วย ดังนั้น ในพระราชพิธีพระบรมศพก็ไม่ได้อยู่ในประเทศไทยเลย และมีการถวายพระเพลิงในประเทศอังกฤษ

ครั้งที่สาม เป็นวาระของพระราชแผ่นดินของเราที่เสด็จสวรรคตนอกพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเป็นสมัยแรกที่มีการอัญเชิญพระบรมศพผ่านไปตามท้องถนนให้ประชาชนมีโอกาสได้ถวายบังคม และวาระเมื่อวันวานจึงเป็นครั้งที่ 2 ความต่างก็จะมีอยู่บ้าง เพราะเมื่อครั้งที่รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต รุ่งขึ้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2453 ได้มีการถวายน้ำสรงพระบรมศพยังพระที่นั่งอัมพรสถานแล้ว หลังจากนั้นก็อัญเชิญพระบรมศพประดิษฐานในพระโกศ แล้วแห่แบบโบราณ มีพระยานมาศสามลำคาน ซึ่งเป็นคานหามขนาดใหญ่ซ้ายขวาตามปกติแล้ว ยังสอดคานกลางขนาดใหญ่เพื่อรับน้ำหนัก โดยมีคนแบกราว 32 คน

หากใครได้อ่านบันทึกแต่เก่าก่อน เช่น หนังสือเรื่อง 3 กรุง ของ น.ม.ส. หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงบันทึกบรรยากาศและประสบการณ์ส่วนพระองค์ของท่านไว้ หรือเรื่อง 4 แผ่นดิน ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ที่มี แม่พลอย เป็นตัวเอกของเรื่อง ไปเฝ้าถวายบังคมพระบรมศพอยู่ข้างทาง ก็ได้เก็บเรื่องราวจากเรื่องที่เป็นความจริงหรือบันทึกของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ก็เล่าเรื่องไว้ไม่ต่างกับแม่พลอย

ในส่วนตัวของผม มีแต่ประสบการณ์มาจากการอ่านหนังสือ ไม่เคยพบจริง เมื่อวันวานนี้เป็นครั้งแรกในชีวิตที่เกิดมา ที่ได้ผ่านเหตุการณ์นี้ร่วมกับผู้คนอีกมากมาย แต่เดิมผมตั้งใจเดินทางไปต่างประเทศ เนื่องจากพ้นจากราชการแล้ว พอมีเวลาไปไหนมาไหนบ้าง แต่สุดท้ายเมื่อเหตุการณ์ใกล้ตัวเข้ามาก็ไม่มีแก่ใจจะไปเที่ยว ก็ได้งดการเดินทาง

ตั้งแต่ค่ำวันแรกที่ทุกคนได้ข่าวอันร้าวรานที่สุด คือการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา ตอนกลางคืนนั้นผมตอบตัวเองว่าอยู่บ้านไม่ได้ ก็วางแผนว่าตนเองจะไปอยู่ไหน โดยเชื่อว่าจะมีคนจำนวนมากที่มีหัวใจไม่แตกต่างกัน

จึงไปพึ่งบารมีพระรูปหนึ่งที่คุ้นเคยกันอยู่ที่วัดชนะสงครามใกล้พื้นที่พระบรมมหาราชวัง โดยนัดกันกับเพื่อนหลายคนหลายวัย ทานข้าวปลาอาหารแล้วก็เดินไปยังเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ตั้งแต่บ่ายโมง จากนั้นก็เดินลัดเลาะหมู่คนจำนวนมาก ขอทางเดินเข้าไป สอบถามเส้นทางเคลื่อนพระบรมศพ สุดท้ายก็ลงนั่งตรงพื้นที่ริมถนนเจ้าฟ้า บริเวณก่อนถึงด้านหน้าหอศิลป์เจ้าฟ้า ร้อนแดดร้อนผิวจราจร แต่ผมคิดว่า ใครๆ ก็จะทำอย่างที่ผมทำเมื่อวันวาน

ถ้าเป็นธรรมเนียมโบราณ ถ้าอ้างตามที่แม่พลอยใน 4 แผ่นดิน ผู้คนก็จะเตรียมธูปและเทียน โดยเป็นธูปไม้ระกำ โดยแม่พลอยได้เตรียมธูปเทียนไปจุด ผมก็เป็นคนอ่านหนังสือและรักษาธรรมเนียมเก่า ก็ได้อาศัยเมตตาจากพระ องค์ที่ผมไปอาศัยกุฏิได้จัดธูปเทียนให้ตามธรรมเนียมโบราณ

เมื่อได้เคลื่อนพระบรมศพออกจากโรงพยาบาลศิริราชแล้ว ก็ตั้งใจจะจุดธูปจุดเทียน แต่ตำรวจที่รักษาระเบียบอยู่บริเวณก็ได้มาขอร้องว่าอย่าจุดเลย ให้ถวายบังคมและกราบแต่เพียงอย่างเดียว ผมก็เข้าใจ เพราะคนจำนวนมากอาจเกิดอุบัติเหตุ เกิดความวุ่นวายขึ้นได้ หลังจากจุดไปได้จำนวนหนึ่งก็ดับเสีย แต่สุดท้ายก็ได้นัดหมายกันเมื่อถึงบ้านพักแล้วก็ต่างคนต่างจุด โดยถวายบังคมไปทางพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำตามธรรมเนียมโบราณที่ปู่ย่าตายายได้ทำไว้

สุดยอดของการกดขี่ คือการบังคับให้ผู้ถูกกดขี่ รักผู้ถูกกดขี่



สุดยอดของการกดขี่ คือการบังคับให้ผู้ถูกกดขี่ รักผู้ถูกกดขี่