PPD's Official Website

Tuesday, December 13, 2016

กิจการฮัจญ์ภายใต้กระทรวงมหาดไทย : วิถิมุสลิมโลก สนับสนุนโดยเงินภาษีคนไทย โดยศราวุฒิ อารีย์

กิจการฮัจญ์ภายใต้กระทรวงมหาดไทย : วิถิมุสลิมโลก  โดยศราวุฒิ อารีย์
            การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเสาหลักอีกประการหนึ่งที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถต้องปฏิบัติ ในแต่ละปีมุสลิมจากทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์จำนวนประมาณ 2-3 ล้านคน โดยแต่ละประเทศจะได้รับการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนของประชากรมุสลิมในประเทศนั้นๆ ประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็ได้รับโควตาทุกปีในจำนวนประมาณ 10,000 คน ซึ่งก็ต้องถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่ผ่านมาหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการกิจการฮัจญ์ของไทยคือ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524 (ปรับปรุงใน พ.ศ.2532) ได้ระบุเอาไว้ แต่เมื่อเร็วๆ นี้คือวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ฉบับใหม่แทนฉบับเก่า เนื้อหาหลักในร่าง พ.ร.บ.ใหม่คือ การโอนย้ายกิจการฮัจญ์จากการดูแลโดยกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ไปยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยอาจตั้งกองหรือสำนักขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษเพื่อดูแลงานกิจการฮัจญ์ของประเทศ
คำถามคือ ทำไมต้องเปลี่ยน? เรื่องนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์วินัย ดะห์ลัน ในฐานะที่ท่านเป็นหนึ่งในในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมกิจการฮัจยญ์ฉบับใหม่ ได้คำตอบน่าสนใจครับ
อาจารย์วินัยอธิบายว่า เรื่องฮัจญ์เป็นกิจการที่ครอบคลุมหลายมิติ ไม่ใช่เป็นเรื่องศาสนาเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องเตรียมตัวร่วมกับครอบครัวและชุมชน มีการสะสมเงิน เพราะต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด การมอบหมายภาระหน้าที่ในครอบครัวในระหว่างที่ไปทำฮัจญ์เป็นเดือนๆ ต้องติดต่ออิหม่ามและกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการอิสลาม ฝ่ายปกครอง กิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินไปด้วยความมีประสิทธิภาพหากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน เข้ามาร่วมบริหารตั้งแต่ต้นมือ
ในขณะเดียวกัน การบริหารกิจการฮัจญ์ของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงฮัจญ์ ซึ่งบริหารจัดการอย่างบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ทั้งหมดของประเทศ ปัจจุบันมีงานด้านทะเบียนประชากรฮัจญ์ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบที่คล้ายคลึงกับทะเบียนราษฎรในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีความพร้อมตั้งแต่ระดับล่างในชุมชนจนถึงระดับบนคือกระทรวง ในการบริหารจัดการเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นว่านี้
และที่สำคัญอีกประการ คือ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ฯลฯ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้านการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ประสงค์เข้าร่วมพิธีฮัจญ์ต่างดำเนินงานสัมพันธ์กับกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอดทั้งทางกฎหมายและทางความสัมพันธ์ทั่วไป การมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยซึ่งมีบุคลากรในพื้นที่จำนวนมากดำเนินงานตั้งแต่ต้นมือจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการกิจการฮัจญ์นำไปสู่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ลดลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน
นอกจากนั้น มุสลิมที่เข้าร่วมพิธีฮัจญ์ในแต่ละปีส่วนใหญ่มาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจำนวนมากมาจากพื้นที่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้ ความสะดวกตลอดจนความสัมพันธ์ที่มีมากขึ้นกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะส่งผลต่อความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐในพื้นที่ ผลที่ตามมาในอนาคตคือ กระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องใช้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ีที่เป็นมุสลิมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ช่วงเทศกาลฮัจญ์กำลังใกล้เข้ามาเต็มที่แล้ว การปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์จึงไม่มีผลในทางปฏิบัติต่อการบริหารจัดการฮัจญ์ของปีนี้ แต่เทศกาลฮัจญ์ของปีหน้าเราคงเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และหวังว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติมากที่สุดครับ

กิจการฮัจญ์ภายใต้กระทรวงมหาดไทย : วิถิมุสลิมโลก สนับสนุนโดยเงินภาษีคนไทย โดยศราวุฒิ อารีย์

กิจการฮัจญ์ภายใต้กระทรวงมหาดไทย : วิถิมุสลิมโลก  โดยศราวุฒิ อารีย์
            การประกอบพิธีฮัจญ์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นเสาหลักอีกประการหนึ่งที่ศาสนาอิสลามกำหนดให้มุสลิมที่มีความสามารถต้องปฏิบัติ ในแต่ละปีมุสลิมจากทั่วโลกจะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์จำนวนประมาณ 2-3 ล้านคน โดยแต่ละประเทศจะได้รับการจัดสรรโควตาตามสัดส่วนของประชากรมุสลิมในประเทศนั้นๆ ประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ประเทศมุสลิม แต่ก็ได้รับโควตาทุกปีในจำนวนประมาณ 10,000 คน ซึ่งก็ต้องถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่ผ่านมาหน่วยงานที่มีหน้าที่บริหารจัดการกิจการฮัจญ์ของไทยคือ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ตามที่พระราชบัญญัติการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ พ.ศ.2524 (ปรับปรุงใน พ.ศ.2532) ได้ระบุเอาไว้ แต่เมื่อเร็วๆ นี้คือวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติผ่านร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมกิจการฮัจญ์ฉบับใหม่แทนฉบับเก่า เนื้อหาหลักในร่าง พ.ร.บ.ใหม่คือ การโอนย้ายกิจการฮัจญ์จากการดูแลโดยกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ไปยังกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย โดยอาจตั้งกองหรือสำนักขึ้นมาเป็นกรณีพิเศษเพื่อดูแลงานกิจการฮัจญ์ของประเทศ
คำถามคือ ทำไมต้องเปลี่ยน? เรื่องนี้ผมได้มีโอกาสสนทนากับอาจารย์วินัย ดะห์ลัน ในฐานะที่ท่านเป็นหนึ่งในในคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การส่งเสริมกิจการฮัจยญ์ฉบับใหม่ ได้คำตอบน่าสนใจครับ
อาจารย์วินัยอธิบายว่า เรื่องฮัจญ์เป็นกิจการที่ครอบคลุมหลายมิติ ไม่ใช่เป็นเรื่องศาสนาเพียงอย่างเดียว ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ต้องเตรียมตัวร่วมกับครอบครัวและชุมชน มีการสะสมเงิน เพราะต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด การมอบหมายภาระหน้าที่ในครอบครัวในระหว่างที่ไปทำฮัจญ์เป็นเดือนๆ ต้องติดต่ออิหม่ามและกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการอิสลาม ฝ่ายปกครอง กิจกรรมเหล่านี้จะดำเนินไปด้วยความมีประสิทธิภาพหากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน เข้ามาร่วมบริหารตั้งแต่ต้นมือ
ในขณะเดียวกัน การบริหารกิจการฮัจญ์ของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกระทรวงฮัจญ์ ซึ่งบริหารจัดการอย่างบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่นๆ ทั้งหมดของประเทศ ปัจจุบันมีงานด้านทะเบียนประชากรฮัจญ์ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระบบที่คล้ายคลึงกับทะเบียนราษฎรในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยมีความพร้อมตั้งแต่ระดับล่างในชุมชนจนถึงระดับบนคือกระทรวง ในการบริหารจัดการเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศเช่นว่านี้
และที่สำคัญอีกประการ คือ สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักจุฬาราชมนตรี สำนักงานผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. ฯลฯ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้านการอำนวยความสะดวกต่างๆ แก่ผู้ประสงค์เข้าร่วมพิธีฮัจญ์ต่างดำเนินงานสัมพันธ์กับกระทรวงมหาดไทยมาโดยตลอดทั้งทางกฎหมายและทางความสัมพันธ์ทั่วไป การมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยซึ่งมีบุคลากรในพื้นที่จำนวนมากดำเนินงานตั้งแต่ต้นมือจะส่งผลดีต่อการบริหารจัดการกิจการฮัจญ์นำไปสู่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ลดลง ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อประชาชน
นอกจากนั้น มุสลิมที่เข้าร่วมพิธีฮัจญ์ในแต่ละปีส่วนใหญ่มาจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจำนวนมากมาจากพื้นที่ห่างไกล ด้วยเหตุนี้ ความสะดวกตลอดจนความสัมพันธ์ที่มีมากขึ้นกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง จะส่งผลต่อความเข้าใจระหว่างประชาชนกับรัฐในพื้นที่ ผลที่ตามมาในอนาคตคือ กระทรวงมหาดไทยจำเป็นต้องใช้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ีที่เป็นมุสลิมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
อย่างไรก็ตาม ปีนี้ช่วงเทศกาลฮัจญ์กำลังใกล้เข้ามาเต็มที่แล้ว การปรับเปลี่ยน พ.ร.บ.ส่งเสริมกิจการฮัจญ์จึงไม่มีผลในทางปฏิบัติต่อการบริหารจัดการฮัจญ์ของปีนี้ แต่เทศกาลฮัจญ์ของปีหน้าเราคงเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น และหวังว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติมากที่สุดครับ

กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕"



    กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕" รบกวน
    อยู่ที่ มโนทวาร นั้น มีเรื่องที่พึงศึกษาดังนี้

    คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
    มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
    เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
    เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
    บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
    เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
    จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
    ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
    โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

    กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
    อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
    จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

    พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
    เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
    แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
    อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

    ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
    ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
    ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
    เช่นเดียวกัน

    อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
    ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
    ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
    เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

    วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
    รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
    อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
    ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

    เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
    มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
    เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
    ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
    จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
    สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
    ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
    น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
    สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
    ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
    โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
    อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

    (๑) ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
    กามฉันทะได้

    (๒) ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
    แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

    (๓) ให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
    ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
    หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
    ตามสมควร

    (๔) ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
    ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

    (๕) ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
    เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
    ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

    ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
    จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
    ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
    ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
    อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
    ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

    ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
    เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
    ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
    ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
    เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
    ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
    ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น

คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ   
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ 
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕"



    กิเลสชั้นละเอียด ที่ถูกปรุงขึ้นมาเป็นกิเลสชั้นกลาง เรียกว่า "นิวรณ์ ๕" รบกวน
    อยู่ที่ มโนทวาร นั้น มีเรื่องที่พึงศึกษาดังนี้

    คำว่า นิวรณ์  แปลว่า เครื่องห้าม หรือ เครื่องกั้น ในที่นี้หมายถึง เครื่องกั้นจิต
    มิให้บรรลุถึงธรรม ที่สูงขึ้นไป อธิบายว่า ตามปรกติ คนเรา มักมีความรู้สึกที่
    เรียกว่า นิวรณ์ อยู่ด้วยกันทุกคน ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง ตามวิสัยของ ปุถุชน
    เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันว่า จิตของ ปุถุชน ถูกนิวรณ์ เหล่านี้ กีดกันไว้ จากการ
    บรรลุธรรมะ ที่สูงขึ้นไป อยู่ทุกครั้ง ที่ กิเลสชั้นละเอียด ถูกปรุง ฟุ้งป่วน ขึ้น
    เป็นความกลัดกลุ้ม วุ่นวาย ไม่สงบ รำงับ ในภายใน ผู้ที่สามารถทำจิตให้ว่าง
    จากนิวรณ์ ได้ตาม ความต้องการ ของตน นับว่า เป็นปุถุชนพิเศษ หรือ กัลยาณ
    ปุถุชน ได้แก่ ผู้มีปัญญา ในการที่จะเปลื้องนิวรณ์ เหล่านี้ ออกไป เสียจากจิต
    โดยการยกจิต ขึ้นมาสู่ สมาธิได้สำเร็จ ตามวิธีใด วิธีหนึ่ง เป็นต้น

    กามฉันทะ แปลว่า ความพอใจในกาม แต่ความหมาย หมายถึง ความกลัดกลุ้ม
    อยู่ด้วยความกำหนัดในกาม จนมืดมัว ไม่แจ่มใส ไม่เห็นแจ้ง ในธรรมตามที่เป็น
    จริง ท่านเปรียบอุปมาเหมือนน้ำใส แต่มีสี ต่างๆ มาเจือปน จนหมดความใส

    พยาบาท หมายถึง ความกลัดกลุ้ม อยู่ด้วยความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง
    เป็นต้น ซึ่งทำความมืดมัว ให้อีก ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งท่าน เปรียบด้วยน้ำที่ใส
    แต่ถูกทำให้เดือด พลุ่งพล่าน อยู่ ก็ไม่อาจ ทำให้ผู้มอง มองเห็น สิ่งต่างๆ ที่มี
    อยู่ ภายใต้น้ำ นั้นได้

    ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่ เคลิบเคลิ้ม ไม่ร่าเริง แจ่มใส ทำให้ จิต ไม่มีสมรรถ
    ภาพ ในการที่จะเห็นแจ้ง ในธรรม ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส แต่มีพืช เช่น
    ตะไคร่ หรือ สาหร่าย เกิด อยู่เต็ม ก็ไม่อาจจะ มองเห็น สิ่งต่างๆ ใต้น้ำ ได้
    เช่นเดียวกัน

    อุทธัจจกุกกุจจะ หมายถึง ความฟุ้งซ่าน รำคาญ กระสับกระส่าย ในลักษณะที่
    ตรงกันข้าม จากถีนมิทธะ ท่านเปรียบอุปมา ไว้เหมือนน้ำใส แต่ถูก ทำให้เป็น
    ละลอกคลื่น หรือ กระเพื่อม อยู่เป็นนิจ ทำให้ไม่สามารถ จะมองเห็นสิ่งใต้น้ำ
    เช่น กรวด ปลา และ หอย ได้เช่นเดียวกัน

    วิจิกิจฉา ข้อสุดท้ายนั้น หมายถึง ความสงสัย เพราะไม่รู้  หรือ มีอะไร มา
    รบกวน ความอยากรู้ ไม่มีความสงบลงได้ ทำให้ เกิดความมืดมัว แก่จิต ไม่
    อาจจะเห็นแจ้ง ในสิ่งที่ควรเห็นแจ้ง ท่านเปรียบเหมือน น้ำใส อยู่ในที่มืด
    ย่อมไม่อำนวยให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ในน้ำนั้นได้

    เมื่อพิจารณา ดูจากอุปมาเหล่านี้ จะเห็นความหมายได้ว่า จิตที่เป็นเดิมๆ นั้น
    มีลักษณะเป็นประภัสสร คือใสกระจ่าง แต่ได้สูญเสีย ความในกระจ่างไป
    เพราะสิ่งภายนอก เข้าไปแทรกแซง โดยการปรุงแต่ง ต่างๆ กัน ใน ๕ ลักษณะ
    ที่กล่าวแล้ว เรามีหวัง ที่จะขจัด สิ่งซึ่งเป็น นิวรณ์ เหล่านั้น เช่นเดียวกับ อาจ
    จะขจัด สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ ตามที่กล่าวแล้วในอุปมา ฉะนั้น จึงถือว่า เป็น
    สิ่งที่ ไม่เหลือวิสัย และมีลู่ทาง สำหรับให้ปฏิบัติ จนประสบผล ได้โดยแน่นอน
    ถ้าสังเกตให้ดี จากอุปมา จะเห็นว่า กามฉันทะ เป็นสิ่งที่ ขจัดยาก เช่นเดียวกับ
    น้ำผสมสี เป็นการยาก ที่จะแยกเอาสี ออกจากน้ำ ได้ง่ายๆ ไม่เหมือนกับ การยก
    สาหร่าย หรือ จอกแหน ขึ้นจากน้ำ ในอุปมาของ ถีนมิทธะ เป็นต้น เพราะฉะนั้น
    ผู้ปฎิบัติ จะต้องเลือกหา ข้อปฏิบัติ ที่เป็น คู่ปรับ โดยตรง กับนิวรณ์ ของตนๆ
    โดย หลักทั่วๆ ไป ท่านถือเป็นหลัก เลือกวิธีขจัด นิวรณ์ ๕ ด้วย กัมมัฏฐาน
    อารมณ์ ต่างกัน เป็น ๕ อย่าง ดังนี้:

    (๑) ให้พิจารณาในทาง อสุภะ และปฏิกูล เช่น กายคตาสติ เป็นต้น ซึ่งจะกำจัด
    กามฉันทะได้

    (๒) ให้ เจริญ เมตตา โดยนัยเป็นต้นว่า ให้เห็น โดยความเป็น เพื่อนสัตว์ ที่เกิด
    แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมด ทุกคน ทุกชีวิต นี่ ย่อม กำจัด พยาบาท

    (๓) ให้ทำในใจ ถึง แสงสว่างเป็นอารมณ์ เช่น การเจริญ อโลกสัญญา เป็นต้น
    ย่อมกำจัด ถีนมิทธะ ข้อนี้ แม้การทำในใจ ถึงสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่ง ความเลื่อมใส
    หรือ อิ่มใจ เช่น การเจริญ พุทธานุสติ เป็นต้น ก็ อาจจะช่วย กำจัด ถีนมิธะ ได้
    ตามสมควร

    (๔) ให้ทำจิต จดจ่อ อยู่ที่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งง่ายแก่การ จดจ่อ เช่น การเจริญกสิณ
    ทั่วๆไป หรือ แม้แต่ การเจริญอานาปานสติ ย่อมกำจัด อุทธัจจะกุกกุจจะได้

    (๕) ให้ทำความเชื่อ ในสิ่งที่ควรเชื่อ แน่ใจในสิ่งที่ควรแน่ใจ ทำให้รู้ในสิ่งที่ควรรู้
    เช่น เชื่อในการตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า แน่ใจในเรื่องกรรม หรือทำความรู้ ในเรื่อง
    ไตรลักษณ์ อย่างนี้เป็นต้น ย่อมกำจัด วิจิกิจฉา ให้สิ้นไป

    ถ้ากล่าวกลับกัน อีกทางหนึ่ง ถ้าผู้ใด สามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น โดยวิธีใดก็ตาม
    จนกระทั่งเป็น อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิที่แน่วแน่ แล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ย่อมเป็นอัน
    ระงับไปหมดสิ้น ฉะนั้น ในอันดับแรกนี้ บุคคล ควรเริ่มต้น ด้วยการ เจริญสมาธิ
    ที่สะดวกสบาย เช่น อานาปานสติ เป็นต้น ต่อเมื่อทำไปไม่สำเร็จ เพราะนิวรณ์
    อย่างใด รบกวนพิเศษ จึงค่อยหันไป เจริญสมาธิ ที่เป็นคู่ปรับกับนิวรณ์นั้นโดย
    ตรง จะเป้นวิธีที่ สะดวกกว่า และ ได้ผลดีกว่า

    ความไม่มีนิวรณ์ หมายถึง จิตมีลักษณะบริสุทธิ์ ผ่องใส เยือกเย็น ปลอดโปร่ง
    เป็นความพร้อม ที่จะรู้แจ้งเห็นจริง ในอรรถะ และธรรม อันลึก นับว่า เป็นสิ่ง
    ที่จำเป็น จะต้องมี หรือ ต้องฝึกหัด สำหรับ ผู้ที่ประสงค์ จะก้าวหน้า ไปในทาง
    ธรรม แม้จะกล่าวกันอย่างโลกๆ เวลาที่จิต ไม่ถูกนิวรณ์ รบกวน ก็กล่าวได้ว่า เป็น
    เวลา ที่มีความ ผาสุก ที่สุด จึงได้มีผู้ หลงใหล ใน รสของ สมาธิ หรือ ฌาน จน
    ถึงสิ่งนี้เคยถูก บัญญัติ เหมาเอาว่า เป็น นิพพาน มาแล้ว ในยุคหนึ่ง คือ ยุค ที่ยัง
    ไม่มีความรู้ ในทางจิตสูงไปกว่านั้น

คัดจาก หนังสือ ศึกษาธรรมะอย่างถูกวิธี หรือ ธรรมวิภาค นวกภูมิ   
คำบรรยายธรรมะ ของ พุทธทาสภิกขุ ในพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ 
พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

Monday, December 12, 2016

ถึงเวลาช่วยเหลือวัดพระธรรมกาย ต้านภัยเผด็จการและภัยมืดหรือยัง? (เครดิต เครือข่ายปชต.)

ถึงเวลาช่วยเหลือวัดพระธรรมกาย ต้านภัยเผด็จการและภัยมืดหรือยัง? (เครดิต เครือข่ายปชต.) 

https://youtu.be/fFOCO5ih3mg

https://youtu.be/6T-wYJvBy1A

https://youtu.be/oeycipHXobE


**************************** 

หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่ 

http://tinyurl.com/o2rzao8

หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt 


หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม)  2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ  4. อีเมล์  5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์  6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก 


ถึงเวลาช่วยเหลือวัดพระธรรมกาย ต้านภัยเผด็จการและภัยมืดหรือยัง? (เครดิต เครือข่ายปชต.)

ถึงเวลาช่วยเหลือวัดพระธรรมกาย ต้านภัยเผด็จการและภัยมืดหรือยัง? (เครดิต เครือข่ายปชต.) 

https://youtu.be/fFOCO5ih3mg

https://youtu.be/6T-wYJvBy1A

https://youtu.be/oeycipHXobE


**************************** 

หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่ 

http://tinyurl.com/o2rzao8

หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt 


หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม)  2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ  4. อีเมล์  5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์  6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก 


สภาประชาชน จะเริ่มต้นยังไง? มีแนวทางใดบ้าง?

เมื่อวานผมได้พูดเรื่องสภาประชาชน ในเชิงที่มาที่ไป สถานะ และประโยชน์อันพึงได้

ดร. เพียงดิน รักไทย 11 ธ.ค. 2559 ตอน สภาประชาชน กับ การปฏิวัติประชาชนแบบสันติ

https://youtu.be/g9F1Zpcr99k

https://youtu.be/sfvh5ezRLS0

https://youtu.be/XLDAQgRXl1s



วันนี้ผมพยายามร่างกรอบการเดินหน้าแบบคร่าว ๆ ให้พี่น้องร่วมพิจารณาครับ


สภาปวงชนไทย


หลักการและเหตุผล


การที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐบาลและผู้มีอำนาจรัฐทั้งมวล คือหลักการที่สำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย เช่นเดียวกับความสำคัญของการมีเสรีภาพที่จะเรียนรู้แลกเปลี่ยนข่าวสาร วิพากษ์วิจารณ์ และตั้งสมาคมต่าง ๆ เพื่อจะได้มีส่วนร่วมในกระบวนการประชาธิปไตย เพื่ออำนาจและผลประโยชน์จะเป็นของประชาชนจริง ๆ ดังนั้น การรวมตัวกันของประชาชน ในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ภูมิภาค และประเทศ จึงเป็นสิ่งที่มีแต่คุณสำหรับการสร้างระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน ใช้และถูกกำกับโดยประชาชน (ผ่านตัวแทน) และเพื่อประโยชน์ที่แท้จริงสู่ประชาชน


เป้าหมายของสภาประชาชน


สำหรับในเบื้องต้นนี้ การรวมตัวกันของปวงชนไทยทุกระดับ ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะบ้านเมืองกำลังอยู่ใต้ระบอบเผด็จการที่คิดจะอยู่ต่อยาวนาน และได้วางรากฐานทางกำลังคน กฏหมาย และสรรพกำลังต่าง เพื่อจะประกันการสร้างระบอบเผด็จการให้ยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยการเขี่ยประชาชนให้พ้นจากวงจรอำนาจและผลประโยชน์ที่จับต้องได้


การตั้งสภาระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด ณ เวลานี้ จึงเป็นเพียงกุศโลบาย ไม่ใช่การหวังผลให้เกิดสภาฯ ที่เป็นทางการหรือถูกต้องตามกฎหมายที่เผด็จการครอบงำอยู่ แต่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้

๑. เพื่อเป็นการเริ่มต้นการสร้างพลังของประชาชน ที่จับต้องได้จริง ๆ

๒. เพื่อเป็นเวทีการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข่าวสาร สัมนา วิพากษ์วิจารณ์ทางวัฒนธรรม สังคมและการเมือง และสร้างเสริมประสบการณ์การเป็นพลเมืองผู้ยิ่งใหญ่ในระบอบประชาธิปไตย

๓. เพื่อร่วมกันสอดส่องและหาทางแก้ปัญหาในท้องถิ่นของตน พิทักษ์ผลประโยชน์ท้องถิ่น และควบคุมกลไกรัฐในทุกระดับรอบตัว

๔. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับผู้ถืออำนาจรัฐและกลุ่มผลประโยชน์ใด ๆ ในทุกระดับ ที่มีผลต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของตน

๕. เพื่อความร่วมมือ ช่วยเหลือ เจือจุนกัน ของประชาชน ด้วยการจัดทำกิจกรรมสร้างสรรค์ และการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ในชุมชนของตน และร่วมมือกับสภาฯ ของท้องที่อื่น ๆ ในระดับที่ขยายกว้างยิ่งขึ้นในอนาคต


วิธีการปฏิบัติงาน


ในขั้นตอนนี้ ขอให้ริเริ่มในทุกระดับที่ทำได้ เช่น

๑. มองระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดก็ได้ โดยไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะเป็นตัวแทนคนทุกคนหรือส่วนใหญ่ในระดับนั้นหรือไม่ ให้หาคนริเริ่มแล้วลงมือทำเลย

๒. เมื่อได้ตัวบุคคลแล้ว ให้หาเลือกตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

๓. เริ่มเขียนเป้าหมาย และระเบียบการของกลุ่ม (สภา) และค่อย ๆ พัฒนาเป็นรูปเป็นร่างขึ้นเรื่อย ๆ

๔. เริ่มประสานกับสภาระดับเดียวกัน หรือระดับที่ต่ำกว่า หรือสูงกว่า จนสานกันเป็นสภาจังหวัด ซึ่งมีสมาชิกเป็นสภาอำเภอรวมกัน สภาอำเภอ ซึ่งมีสมาชิกทุกตำบล และสภาตำบล ที่มีสมาชิกทุกหมู่บ้าน เป็นต้น

๕. เมื่อได้สภาระดับต่าง ๆ แล้ว ให้ลองจัดการประชุมรายสัปดาห์ เพื่อพูดคุยกันในประเด็นต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่แนะนำข้างต้น หรืออื่น ๆ

๖. เป้าหมายในระยะหนึ่งปีคือ ให้สามารถสร้างสภาประชาชน ระดับจังหวัดให้ได้

๗. การกำหนดเป้าหมาย กิจกรรมต่าง ๆ และการจัดการบริหารองค์กร ให้ใช้หลัก learning by doing โดยจะอาจจะมีที่ปรึกษาที่รู้เรื่องทางวิชาการด้านการจัดองค์กรและประชาธิปไตยไปช่วยเหลือครับ