PPD's Official Website

Monday, November 6, 2017

ไม่ปฏิวัติ สถาบันกษัตริย์ เมืองไทยจะไม่พ้นวงจรอุบาทว์...ดร.เพียงดิน รักไทย (สองเดือนก่อนล้มคุณยิ่งลักษณ์)

“ถ่วงความเจริญ” วัฒนา เมืองสุข

“ถ่วงความเจริญ”
คำพูดของพลเอกประยุทธ์ที่อ้างเหตุยังไม่ปลดล็อกพรรคการเมืองว่า ขอเอาเรื่องประชาชนก่อนการเมืองเอาไว้ทีหลัง ทำให้ผมสิ้นสงสัยถึงระดับสติปัญญาและพฤติกรรมที่กลับกลอกของท่านผู้นำ ท่านคงไม่ทราบว่าการเมืองเป็นเรื่องของประชาชน การจำกัดสิทธิทางการเมืองคือการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งที่ท่านผู้นำเพิ่งไปทำแถลงการณ์ร่วมกับสหรัฐตกลงจะปกป้องและสนับสนุนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน (ตามข้อ 8)ไม่ทันไรท่านผู้นำก็ทำตรงข้ามกับที่พูดไว้อันเป็นนิสัยถาวรของท่าน
พลเอกประยุทธ์ไปพูดที่โรงเรียนเก่าของตัว อวดอ้างความกล้าหาญที่ยอมเสี่ยงชีวิตเข้ายึดอำนาจ ความจริงคือการขนกำลังทหารพร้อมอาวุธมายึดอำนาจจากรัฐบาลมือเปล่าที่มีผู้นำเป็นหญิง เกือบสี่ปีที่บริหารประเทศมีแต่เรื่องฉาวโฉ่ของตัวและพวกพ้อง เริ่มจากการอนุมัติให้องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกรับงานโดยไม่ต้องประกวดราคาแล้วเอางานไปขายชักหัวคิวแบ่งกัน อุทยานราชภักดิ์ แอบซื้อเรือดำน้ำช่วงสงกรานต์ อนุมัติงบกลางจัดซื้อเครื่องตรวจจับความเร็ว ที่เสียหายมากคือการใช้อำนาจเผด็จการสั่งปิดเหมืองทองจนอาจถูกเรียกค่าไร้สติปัญญาถึง 30,000 ล้าน แต่ท่านผู้นำกลับอ้างว่าตนไม่ต้องรับผิดชอบเพราะมีมาตรา 44 จะทำอะไรก็ได้โดยไม่มีใครทำอะไรท่านได้
พลเอกประยุทธ์มักยกย่องตัวเอง แต่ชอบกล่าวหานักการเมืองที่มาจากประชาชนว่าทำบ้านเมืองเสียหาย ถ้าพลเอกประยุทธ์กล้าไปเดินตลาดคนเดียวจะทราบว่าประชาชนยากลำบากเพราะการยึดอำนาจและการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพเพียงใด หรือหากอยากรู้ความจริงลองกำหนดการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นและประกาศว่าท่านจะวางมือจากการเมือง ถ้าหุ้นตกแปลว่าท่านเป็นที่ต้องการของประชาชน แต่ถ้าหุ้นขึ้นและสัญญาณทางเศรษฐกิจดีขึ้นนั่นคือคำตอบว่าใครเป็นตัวถ่วงความเจริญของบ้านเมือง อยากรู้มั้ยท่านผู้นำ
วัฒนา เมืองสุข
สมาชิกพรรคเพื่อไทย
5 พฤศจิกายน 2560

นักศึกษาไทยมีไม่พอ มหาวิทยาลัยอาจต้องปิดตัว




ประเทศ ไทยก็กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ซึ่งก็จะก่อให้เกิดปัญหามีแรงงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และอีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีจำนวนคนหนุ่มสาวน้อยกว่าผู้สูงอายุก็ คือจำนวนนักศึกษาลดน้อยลง ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยหลายๆแห่งขณะนี้มีจำนวนนักศึกษาไม่เพียงพอจนอาจถึงขั้น ต้องปิดมหาวิทยาลัย
ICEF (ไอเซฟ) Monitor ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจการศึกษานานาชาติ  รายงานว่าช่องว่างระหว่างจำนวนนักศึกษาและมหาวิทยาลัยในไทยเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง นัานก็คือมีมหาวิทยาลัยมากเกินความต้องการของนักศึกษา โดย ICEF Monitor ระบุว่า ปีที่แล้ว (2016) มหาวิทยาลัยของไทยมีที่นั่งว่างสำหรับรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ 110,000 ที่นั่ง แต่มีนักเรียนเข้ามาสมัครเพียง 80,000 คน ลดลงจากปีก่อนหน้าที่มีคนสมัคร 100,000 คน ซึ่งจำนวนนักศึกษาที่ลดน้อยลงเรื่อยๆในแต่ละปี ทำให้มหาวิมยาลัยหลายแห่งประสบปัญหาภาระงานขั้นต่ำไม่เพียงพอ เนื่องจากมีนักศึกษาไม่ครบจำนวนที่จะเปิดการเรียนการสอนและนับเป็นภาระงาน ขั้นต่ำได้ จนต้องปิดหลักสูตร และโอนย้ายนักศึกษาไปเรียนหลักสูตรอื่นแทน  ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆก็มีราย ได้ลดลงไปมาก ส่งผลให้แทบทุกแห่งต้องลดมาตรฐานในการคัดเลือกนักศึกษาลงมา เมื่อลดมาตรฐานการคัดเลือกนักศึกษาลงมาก็ส่งผลให้คุณภาพการศึกษาตกต่ำลงไป ด้วย
สาเหตุที่มหาวิทยาลัยของไทยเจอกับปัญหามีนักศึกษาไม่พอกับ จำนวนที่นั่ง นอกจากจะมีมหาวิทยาลัยเปิดมากเกินไปและปัญหาสังคมผู้สูงอายุแล้ว แผนการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยยังคงไร้ทิศทาง ซึ่งจริงๆแล้ว ประเทศไทยไม่ได้ต้องการคนที่เรียนจบปริญญาตรีหรือปริญญาโทมาก มายอะไรขนาดนั้น แต่สิ่งที่ประเทศไทยขาดแคลนจริงๆ คือกลุ่มคนที่เรียนจบด้านอาชีวะศึกษาหรือสายอาชีพต่างๆ ซึ่งคนไทยไม่นิยมเรียน เพียงเพราะมีค่านิยมว่าต้องเรียนจบปริญญาถึงจะเรียกว่าประสบความสำเร็จ ทำให้ไทยมีคนเรียนจบสายบริหารหรือธุรกิจออกมาล้นมากมาย แต่สายวิชาชีพ เช่น วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, หรือช่าง ล้วนขาดแคลนอย่างหนัก โดยเฉพาะพยาบาลซึ่งผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของประเทศและกำลังเป็น ปัญหาใหญ่ขณะนี้
ขณะที่จำนวนนักศึกษาไทยที่ออกไปเรียนในต่างประเทศก็ ค่อยๆเพิ่มขึ้นในแต่ละปี จากที่เคยอยู่ที่ประมาณปีละ 23,000 คนเมื่อปี 2006 เพิ่มเป็น 28,000 คน เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งก็สะท้อนภาพรวมของเศรษฐกิจไทยที่เข้มแข็งขึ้นทำให้คนมีเงินส่งลูกไป เรียนต่างประเทศได้มากขึ้น แต่อีกแง่มุมหนึ่งก็สะท้อนว่ามีคนไม่เชื่อมั่นในระบบการศึกษาของไทยเพิ่มมาก ขึ้น จึงเลือกที่จะไปเรียนในต่างประเทศมากกว่า

สิ่งที่ประเทศไทยต้อง รีบทำก็คือการวางแผนการศึกษาแห่งชาติ ซึ่งจะต้องกำหนดทั้งจำนวนบัณฑิตที่จะผลิตในแต่ละปี ให้ตรงกับความต้องการ สาขาใดที่มีคนเรียนจบล้นเกินความต้องการหรือไม่ได้คุณภาพก็จำเป็นต้องค่อยๆ ลดจำนวนลงและปิดหลักสูตรไป ไม่ใช่ปล่อยให้แต่ละมหาวิทยาลัยแข่งกันเปิดหลักสูตรได้โดยเสรีเพื่อแย่งราย ได้ ซึ่งหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เราจะได้เห็นมหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องปิดตัวลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า