PPD's Official Website
- Home
- สถานียูทูปมหาวิทยาลัยประชาชน
- เว็บมหาวิทยาลัยประชาชน
- ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
- “เป้าหมายการปฏิวัติแบบ มดแดงล้มช้าง”
- Ideology: อุดมการณ์มดแดง
- มดแดงล้มช้างคืออะไร?
- สถานียูทูปมหาวิทยาลัยประชาชน
- ติดตามทางเฟสบุ๊ค
- การก่อตั้ง คณะราษฎรเพื่อสาธารณรัฐสยาม
- ร่วมโหวตชื่อขององค์การปวงชนชาวไทย
- หัวใจสำคัญของแนวทางปฏิวัติมดแดงล้มช้าง
- หลักสำคัญสู่ชัยชนะเหนือเผด็จการไทย
- คำประกาศเพื่อการปฎิวัติระบอบการปกครอง 18 ก.พ. 2555
- การสมัครเข้าร่วมปฏิวัติประชาชน
- คำประกาศสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยประชาชน
- ถ่ายทอดสด ทางยูทูปมหาวิทยาลัยประชาชน
- จดหมายเหตุมหาวิทยาลัยประชาชน
- โครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยประชาชน
- เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยประชาชน
- บัญญัติสิบประการ "มดแดงล้มช้าง"
- Missions: พันธกิจ มดแดง
Thursday, June 14, 2018
"ภัยพิบัติ" ของชาติไทย ปล่อยนานไปจะบรรลัยย่อยยับ โดย ดร. เพียงดิน รักไทย ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
https://youtu.be/_APyAeTTyJs
https://youtu.be/wzDyuzOd3-M
อ. ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ต่อด้วย ดร. เพียงดิน รักไทย ๑๕ มิ.ย.๖๑ ตอน ภัยพิบัติชาติ คสช. และกษัตริย์ต้องรับผิดชอบ
https://youtu.be/gUEV1sAMCxE
****************************
หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่
*** ลิ้งค์ใหม่ล่าสุด (๑๙ ก.พ. ๒๕๖๑):
https://goo.gl/forms/eUAxdUxObZDKMvvi2
ลิ้งค์เก่าที่อาจจะโดนบล็อค:
http://tinyurl.com/o2rzao8
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม) 2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ 4. อีเมล์ 5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์ 6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก
_
Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.
---------------------
***Download ร่างจดหมาย เพื่อส่งผู้นำนานาชาติต่าง ๆ ที่ http://tinyurl.com/gsetacg
***โปรดช่วยกันกระจายและส่งให้มากที่สุดนะครับ ขอบคุณครับ
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
http://tinyurl.com/o2rzao8
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
****ลิ้งค์ล่าสุด http://tinyurl.com/gssuvm2
และรายงานการปฏิบัติงานและความคืบหน้าเครือข่าย ได้ที่ 4everche@gmail.com
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.
"ภัยพิบัติ" ของชาติไทย ปล่อยนานไปจะบรรลัยย่อยยับ โดย ดร. เพียงดิน รักไทย ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๑
https://youtu.be/_APyAeTTyJs
https://youtu.be/wzDyuzOd3-M
อ. ชูพงศ์ ถี่ถ้วน ต่อด้วย ดร. เพียงดิน รักไทย ๑๕ มิ.ย.๖๑ ตอน ภัยพิบัติชาติ คสช. และกษัตริย์ต้องรับผิดชอบ
https://youtu.be/gUEV1sAMCxE
****************************
หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่
*** ลิ้งค์ใหม่ล่าสุด (๑๙ ก.พ. ๒๕๖๑):
https://goo.gl/forms/eUAxdUxObZDKMvvi2
ลิ้งค์เก่าที่อาจจะโดนบล็อค:
http://tinyurl.com/o2rzao8
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม) 2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ 4. อีเมล์ 5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์ 6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก
_
Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.
---------------------
***Download ร่างจดหมาย เพื่อส่งผู้นำนานาชาติต่าง ๆ ที่ http://tinyurl.com/gsetacg
***โปรดช่วยกันกระจายและส่งให้มากที่สุดนะครับ ขอบคุณครับ
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
http://tinyurl.com/o2rzao8
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
****ลิ้งค์ล่าสุด http://tinyurl.com/gssuvm2
และรายงานการปฏิบัติงานและความคืบหน้าเครือข่าย ได้ที่ 4everche@gmail.com
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.
ดร. เพียงดิน รักไทย (ควรฟัง ๕ มิ.ย. ๒๕๖๐) หัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ประชาชน ล้มเผด็จการเพื่อเปลี่ยนระบอบได้จริง
ดร. เพียงดิน รักไทย (ควรฟัง ๕ มิ.ย. ๒๕๖๐) หัวใจสำคัญ ที่จะทำให้ประชาชน ล้มเผด็จการเพื่อเปลี่ยนระบอบได้จริง
ดร. อนุสรณ์ ชี้ งบ ๖๒ จะพาชาติฉิบหาย
เป็นการจัดทำงบประมาณที่มีขนาดรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นงบประมาณรายจ่ายสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาทสะท้อนบทบาทของภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้นทางเศรษฐกิจ มีการทำขาดดุลงบประมาณสูงถึง 4.5 แสนล้านบาท ควรลดการขาดดุลลงเนื่องจากมีความจำเป็นน้อยลงในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงของวิกฤติฐานะการคลังในอนาคต ต้องมีการบริหารการชำระหนี้สาธารณะให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของการชำระหนี้ในอนาคตจนกระทบสภาพคล่องในอนาคต รายจ่ายประจำยังคงเพิ่มขึ้น 4.7% ขณะที่รายจ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มเพียง 1% สะท้อนยังไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณแต่อย่างใดเพราะรายจ่ายเพื่อการลงทุนยังคงมีสัดส่วนเพียงแค่ 22% ซึ่งควรปรับโครงสร้างให้เพิ่มเป็น 30% ของงบประมาณรายจ่ายและต้องทำควบคู่กับการปฏิรูประบบราชการ
รัฐบาล และ สนช ต้องไปแยกแยะให้ได้ว่า โครงการต่างๆที่ปรากฎในงบประมาณโครงการไหนมีความสำคัญ มีความจำเป็นต่อประเทศชาติและประชาชน โครงการไหนเกิดขึ้นตามแรงขับเคลื่อนของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งนอกและในระบบราชการ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งหลายต้องประเมินให้ได้ว่าค่าใช้จ่ายเกินจริงเกินจำเป็นหรือไม่ เพราะมีหลายโครงการในอดีตประสบภาวะขาดทุนและเป็นภาระทางการคลังมาจนถึงทุกวันนี้
เราอาจลดการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มเติม หากการจัดทำงบประมาณคำนึงถึงผลลัพธ์ (Result-based Budgeting) คือ หน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินต้องรายงานผลลัพธ์ของการทำงานของหน่วยงาน และ การประเมินสัมฤทธิผล โดยมีตัวชี้วัด (Performance Indicator) เช่น ผลลัพธ์ของเงินงบประมาณ 100 ล้านบาทที่จ่ายออกไปที่สามารถวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
มีขนาดของงบกลางที่มากขึ้นอย่างชัดเจนสูงถึง 4.68 แสนล้านบาท และงบกลางมักไม่มีรายละเอียดรายการการใช้จ่ายทำให้เงินสาธารณะ (Public Money) อาจใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รั่วไหลได้ง่ายหรือ
ใช้ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายได้ หากมีการใช้จ่ายงบก้อนนี้ควรชี้แจงรายละเอียดต่อประชาชนและควรผ่านการพิจารณาโดยรัฐสภาหลังการเลือกตั้งด้วย
การจัดทำงบประมาณที่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้แทนประชาชนและประชาชนเนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มาจากการแต่งตั้งโดย คสช ทำให้ระบบการคานอำนาจและการตรวจสอบงบประมาณไม่เกิดขึ้น บทบาทในการกลั่นกรองและทักท้วงรัฐบาลในการจัดทำงบประมาณจึงขาดหายไป
การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและพรรคการเมืองต่างๆที่ต้องทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไปหลังการเลือกตั้ง ขาดการเปิดกว้าง การเปิดกว้างให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกัน จนเกิด "ฉันทามติ" ในการจัดทำงบประมาณ
ทำให้โดยภาพรวมแล้วการจัดทำงบประมาณปี 2562 ก่อนประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยยังไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม (Participation) ความโปร่งใส (Transparency) ที่เน้นการตรวจสอบถ่วงดุล ความรับผิดชอบ (Accountability) ความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ทั้งหมดนี้ เรียกว่า หลักธรรมาภิบาลในการจัดทำงบประมาณให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ประเทศและการปฏิรูป
งบประมาณยังไม่ได้เน้นย้ำ บทบาทการถ่ายโอนรายได้ (Redistribution Policy) ผ่านเครื่องมือภาษีและการจัดสรรสวัสดิการให้ผู้มีรายได้น้อยอย่างบูรณาการและเชื่อมโยงกันเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
การจัดสรรงบประมาณต้องเป็นไปตามความสำคัญและความเร่งด่วนของกิจกรรม เช่น รัฐบาลต้องตอบให้ได้ว่า งบประมาณของกระทรวงกลาโหมในส่วนในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นมีความสำคัญหรือความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรเมื่อเทียบกับ งบประมาณในการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ หรือ งบประมาณเพื่อสวัสดิการรักษาพยาบาลและสวัสดิการการศึกษาของประชาชนที่ถูกปรับลดลง และรายจ่ายทางการศึกษาสามารถปรับรูปแบบให้เป็นเงินทุนสำหรับผู้เรียนไปเลือกซื้อบริการจากรัฐหรือเอกชนก็ได้ เป็นการเปลี่ยนจาก Supply-side financing เป็น Demand-side financing สำหรับการใช้จ่ายทางการศึกษา เช่นเดียวกับรายจ่ายงบประมาณทางด้านสวัสดิการสุขภาพ ภาครัฐใช้ซื้อบริการ (โดยผู้ผลิตอาจเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ได้) สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและทำให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รัฐบาล และ สนช ต้องชี้แจงต่อสาธารณชนด้วยว่า งบประมาณกลาโหมงบความมั่นคงที่เพิ่มขึ้น 20-21% นั้นมีความจำเป็นอย่างไร ทั้งที่ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงลดลงและไม่มีสัญญาณใดๆที่จะเกิดสงครามในภูมิภาคนี้ กองทัพได้รับการจัดสรรงบประมาณตลอดระยะเวลาสี่ปีของรัฐบาล คสช ประมาณ 9 แสนล้านบาท ขณะที่ สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในระดับสูงติดอันดับโลก แรงงานระดับล่างและเกษตรกรรายย่อยมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้สูงมาก จึงควรจัดทำงบประมาณมุ่งเป้าหมายไปกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยและคนยากจนเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดซื้ออาวุธจากต่างประเทศไม่ก่อให้เกิดผลผลิตใดๆในระบบเศรษฐกิจและไม่ก่อให้เกิดสวัสดิการใดๆต่อประชาชน
ขณะที่งบประมาณทางด้านการศึกษาแม้นได้รับการจัดสรรสูงสุดแต่ได้รับงบประมาณลดลง 20,000 ล้านบาท ทั้งที่ประเทศมีความจำเป็นต้องลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์สูงเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อเท็จจริงของประเทศ ก็คือ เด็กกว่า 40% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กไทย 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการต่ำกว่าวัย 2/3 ของครอบครัวไทยไม่สามารถมีเงินส่งลูกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ มีความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเมืองใหญ่กับชนบทสูงมาก ทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถแบกรับภาระที่มากขึ้นของโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุในอนาคตได้ดีนัก การปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลวในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10-11% ของจีดีพี
ผศ. ดร. อนุสรณ์ ยังกล่าวถึง ส่วนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในงบประมาณก็เป็นยุทธศาสตร์ที่คิดแบบราชการ ไม่ได้ผนวกเอาวิสัยทัศน์ระยะยาวเข้าไปด้วยเพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ระดับปานกลาง แต่ยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์พื้นฐานเหมือนเช่นยุทธศาสตร์งบประมาณทุกปี ไม่มีอะไรใหม่ อาจไม่สามารถตอบสนองต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ที่พลิกผันระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต ระบบการเงินและระบบการเมืองได้ดีนัก รวมทั้ง ยังติดกรอบคิดแบบราชการ ตนจึงมีความเห็นว่าควรจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์โดยกำหนดไว้ 10 ยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอำนาจและส่งเสริมประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่สอง ยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเอา "คุณภาพชีวิตของพลเมือง" เป็นศูนย์กลาง
ยุทธศาสตร์ที่สาม ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและ Greater Thailand/New Siam ยุทธศาสตร์นี้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ที่สี่ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและเครือข่ายความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ลดอำนาจการผูกขาด สร้างความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพิ่มการแข่งขัน เสรีภาพในการประกอบการ
ยุทธศาสตร์ที่ห้า ยุทธศาสตร์ด้านลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่หก ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยและการปรับโครงสร้างประชากรให้เหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่เจ็ด ยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่แปด ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และ ภาคการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่เก้า ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางอาหาร การท่องเที่ยว และบริการทางการแพทย์ของโลก และ ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่สิบ ยุทธศาสตร์บูรณาการสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
การจัดทำงบประมาณก็ต้องเน้นการกระจายอำนาจทางการคลังอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนสำคัญในการจัดการการศึกษา ทรัพยากรของชุมชน การกระจายอำนาจทางการคลังและการจัดทำงบประมาณแบบนี้ จะนำไปสู่ การเพิ่มอำนาจประชาชนและลดอำนาจรัฐนั่นเอง ปรับเปลี่ยนการจัดสรร
งบประมาณเสียใหม่ให้ลงสู่พื้นที่และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพชีวิตเพื่อให้ทุกคนมีหลักประกันในชีวิต นอกจากนี้งบประมาณปี 2562 เป็นงบประมาณแผ่นดินในช่วงรอยต่อของระบอบรัฐบาล คสช กับ ระบอบรัฐบาลเลือกตั้ง จึงต้องมีการกำหนดให้ระบบตรวจสอบงบประมาณ และ การกำหนดตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดการทำงานต่อเนื่องด้วย ลดปัญหางบประมาณค้างท่อแล้วมาเร่งรัดใช้จ่ายในช่วงปลายปีงบประมาณทำให้มีการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหาการของบประมาณมากเกินจริงของหน่วยราชการและการบริหารจัดการกองทุนนอกงบประมาณต้องบริหารจัดการให้ดี
ผศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวถึง ข้อเสนอในการปฏิรูประบบงบประมาณ ว่า เมื่อประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยแล้ว ขอเสนอให้ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน สามารถมีส่วนร่วมในการนำเสนอ งบประมาณของประชาชน (People Budget) ได้ โดยใช้แนวทางการจัดสรรงบประมาณแบบเพิ่มอำนาจประชาชน (People Empowerment) เสนอให้มีจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงบประมาณที่มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งโครงสร้างปัจจุบันจะมีแต่ภาคราชการและภาคการเมือง และ ควรเพิ่มตัวแทนของภาคประชาชนในคณะกรรมการพิจารณางบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณ
ขอให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณแบบ Supply-side โดยงบประมาณฐานะกรม ส่วนราชการเป็นผู้รับงบประมาณ เป็น การจัดสรรแบบ Demand-side เน้นส่งงบประมาณไปที่ประชาชนโดยตรงผ่านกลไกกองทุนหมู่บ้าน หรือ โครงการ SML ที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารจัดการงบประมาณ
ดร. อนุสรณ์ ชี้ งบ ๖๒ จะพาชาติฉิบหาย
เป็นการจัดทำงบประมาณที่มีขนาดรายจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นงบประมาณรายจ่ายสูงถึง 3.3 ล้านล้านบาทสะท้อนบทบาทของภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้นทางเศรษฐกิจ มีการทำขาดดุลงบประมาณสูงถึง 4.5 แสนล้านบาท ควรลดการขาดดุลลงเนื่องจากมีความจำเป็นน้อยลงในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและมีความจำเป็นในการลดความเสี่ยงของวิกฤติฐานะการคลังในอนาคต ต้องมีการบริหารการชำระหนี้สาธารณะให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวของการชำระหนี้ในอนาคตจนกระทบสภาพคล่องในอนาคต รายจ่ายประจำยังคงเพิ่มขึ้น 4.7% ขณะที่รายจ่ายเพื่อการลงทุนเพิ่มเพียง 1% สะท้อนยังไม่มีการปฏิรูปโครงสร้างงบประมาณแต่อย่างใดเพราะรายจ่ายเพื่อการลงทุนยังคงมีสัดส่วนเพียงแค่ 22% ซึ่งควรปรับโครงสร้างให้เพิ่มเป็น 30% ของงบประมาณรายจ่ายและต้องทำควบคู่กับการปฏิรูประบบราชการ
รัฐบาล และ สนช ต้องไปแยกแยะให้ได้ว่า โครงการต่างๆที่ปรากฎในงบประมาณโครงการไหนมีความสำคัญ มีความจำเป็นต่อประเทศชาติและประชาชน โครงการไหนเกิดขึ้นตามแรงขับเคลื่อนของกลุ่มผลประโยชน์ทั้งนอกและในระบบราชการ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ทั้งหลายต้องประเมินให้ได้ว่าค่าใช้จ่ายเกินจริงเกินจำเป็นหรือไม่ เพราะมีหลายโครงการในอดีตประสบภาวะขาดทุนและเป็นภาระทางการคลังมาจนถึงทุกวันนี้
เราอาจลดการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มเติม หากการจัดทำงบประมาณคำนึงถึงผลลัพธ์ (Result-based Budgeting) คือ หน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินต้องรายงานผลลัพธ์ของการทำงานของหน่วยงาน และ การประเมินสัมฤทธิผล โดยมีตัวชี้วัด (Performance Indicator) เช่น ผลลัพธ์ของเงินงบประมาณ 100 ล้านบาทที่จ่ายออกไปที่สามารถวัดได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
มีขนาดของงบกลางที่มากขึ้นอย่างชัดเจนสูงถึง 4.68 แสนล้านบาท และงบกลางมักไม่มีรายละเอียดรายการการใช้จ่ายทำให้เงินสาธารณะ (Public Money) อาจใช้จ่ายอย่างไม่มีประสิทธิภาพ รั่วไหลได้ง่ายหรือ
ใช้ไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือเป้าหมายได้ หากมีการใช้จ่ายงบก้อนนี้ควรชี้แจงรายละเอียดต่อประชาชนและควรผ่านการพิจารณาโดยรัฐสภาหลังการเลือกตั้งด้วย
การจัดทำงบประมาณที่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้แทนประชาชนและประชาชนเนื่องจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มาจากการแต่งตั้งโดย คสช ทำให้ระบบการคานอำนาจและการตรวจสอบงบประมาณไม่เกิดขึ้น บทบาทในการกลั่นกรองและทักท้วงรัฐบาลในการจัดทำงบประมาณจึงขาดหายไป
การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและพรรคการเมืองต่างๆที่ต้องทำหน้าที่บริหารประเทศต่อไปหลังการเลือกตั้ง ขาดการเปิดกว้าง การเปิดกว้างให้มีการถกเถียงแลกเปลี่ยนกัน จนเกิด "ฉันทามติ" ในการจัดทำงบประมาณ
ทำให้โดยภาพรวมแล้วการจัดทำงบประมาณปี 2562 ก่อนประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยยังไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม (Participation) ความโปร่งใส (Transparency) ที่เน้นการตรวจสอบถ่วงดุล ความรับผิดชอบ (Accountability) ความชอบธรรมทางการเมือง (Political Legitimacy) เน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผล (Efficiency and Effectiveness) ทั้งหมดนี้ เรียกว่า หลักธรรมาภิบาลในการจัดทำงบประมาณให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ประเทศและการปฏิรูป
งบประมาณยังไม่ได้เน้นย้ำ บทบาทการถ่ายโอนรายได้ (Redistribution Policy) ผ่านเครื่องมือภาษีและการจัดสรรสวัสดิการให้ผู้มีรายได้น้อยอย่างบูรณาการและเชื่อมโยงกันเพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
การจัดสรรงบประมาณต้องเป็นไปตามความสำคัญและความเร่งด่วนของกิจกรรม เช่น รัฐบาลต้องตอบให้ได้ว่า งบประมาณของกระทรวงกลาโหมในส่วนในการจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นมีความสำคัญหรือความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไรเมื่อเทียบกับ งบประมาณในการลงทุนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ หรือ งบประมาณเพื่อสวัสดิการรักษาพยาบาลและสวัสดิการการศึกษาของประชาชนที่ถูกปรับลดลง และรายจ่ายทางการศึกษาสามารถปรับรูปแบบให้เป็นเงินทุนสำหรับผู้เรียนไปเลือกซื้อบริการจากรัฐหรือเอกชนก็ได้ เป็นการเปลี่ยนจาก Supply-side financing เป็น Demand-side financing สำหรับการใช้จ่ายทางการศึกษา เช่นเดียวกับรายจ่ายงบประมาณทางด้านสวัสดิการสุขภาพ ภาครัฐใช้ซื้อบริการ (โดยผู้ผลิตอาจเป็นภาครัฐหรือเอกชนก็ได้) สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและทำให้การใช้งบประมาณเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รัฐบาล และ สนช ต้องชี้แจงต่อสาธารณชนด้วยว่า งบประมาณกลาโหมงบความมั่นคงที่เพิ่มขึ้น 20-21% นั้นมีความจำเป็นอย่างไร ทั้งที่ภัยคุกคามทางด้านความมั่นคงลดลงและไม่มีสัญญาณใดๆที่จะเกิดสงครามในภูมิภาคนี้ กองทัพได้รับการจัดสรรงบประมาณตลอดระยะเวลาสี่ปีของรัฐบาล คสช ประมาณ 9 แสนล้านบาท ขณะที่ สังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจในระดับสูงติดอันดับโลก แรงงานระดับล่างและเกษตรกรรายย่อยมีความยากลำบากทางเศรษฐกิจ มีสัดส่วนของหนี้สินต่อรายได้สูงมาก จึงควรจัดทำงบประมาณมุ่งเป้าหมายไปกลุ่มคนผู้มีรายได้น้อยและคนยากจนเพิ่มขึ้น ขณะที่การจัดซื้ออาวุธจากต่างประเทศไม่ก่อให้เกิดผลผลิตใดๆในระบบเศรษฐกิจและไม่ก่อให้เกิดสวัสดิการใดๆต่อประชาชน
ขณะที่งบประมาณทางด้านการศึกษาแม้นได้รับการจัดสรรสูงสุดแต่ได้รับงบประมาณลดลง 20,000 ล้านบาท ทั้งที่ประเทศมีความจำเป็นต้องลงทุนทางด้านทรัพยากรมนุษย์สูงเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ข้อเท็จจริงของประเทศ ก็คือ เด็กกว่า 40% ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่ เด็กไทย 1 ใน 5 ของเด็กก่อนวัยเรียน มีพัฒนาการต่ำกว่าวัย 2/3 ของครอบครัวไทยไม่สามารถมีเงินส่งลูกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ มีความไม่เสมอภาคทางการศึกษาระหว่างเมืองใหญ่กับชนบทสูงมาก ทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถแบกรับภาระที่มากขึ้นของโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุในอนาคตได้ดีนัก การปฏิรูปการศึกษาที่ล้มเหลวในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคมไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10-11% ของจีดีพี
ผศ. ดร. อนุสรณ์ ยังกล่าวถึง ส่วนยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ในงบประมาณก็เป็นยุทธศาสตร์ที่คิดแบบราชการ ไม่ได้ผนวกเอาวิสัยทัศน์ระยะยาวเข้าไปด้วยเพื่อให้ประเทศไทยก้าวข้ามกับดักรายได้ระดับปานกลาง แต่ยุทธศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นยุทธศาสตร์พื้นฐานเหมือนเช่นยุทธศาสตร์งบประมาณทุกปี ไม่มีอะไรใหม่ อาจไม่สามารถตอบสนองต่อพลวัตของเทคโนโลยีใหม่ที่พลิกผันระบบเศรษฐกิจ ระบบการผลิต ระบบการเงินและระบบการเมืองได้ดีนัก รวมทั้ง ยังติดกรอบคิดแบบราชการ ตนจึงมีความเห็นว่าควรจัดทำงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์โดยกำหนดไว้ 10 ยุทธศาสตร์ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างอำนาจและส่งเสริมประชาธิปไตยให้เข้มแข็งมั่นคง
ยุทธศาสตร์ที่สอง ยุทธศาสตร์การเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืนโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเอา "คุณภาพชีวิตของพลเมือง" เป็นศูนย์กลาง
ยุทธศาสตร์ที่สาม ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงและ Greater Thailand/New Siam ยุทธศาสตร์นี้จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาล
ยุทธศาสตร์ที่สี่ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันและเครือข่ายความร่วมมือ ยุทธศาสตร์ลดอำนาจการผูกขาด สร้างความเป็นประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ เพิ่มการแข่งขัน เสรีภาพในการประกอบการ
ยุทธศาสตร์ที่ห้า ยุทธศาสตร์ด้านลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเสมอภาค ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่หก ยุทธศาสตร์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกช่วงวัยและการปรับโครงสร้างประชากรให้เหมาะสม
ยุทธศาสตร์ที่เจ็ด ยุทธศาสตร์การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรมและการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่แปด ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และ ภาคการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่เก้า ยุทธศาสตร์ศูนย์กลางอาหาร การท่องเที่ยว และบริการทางการแพทย์ของโลก และ ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมเป้าหมาย
ยุทธศาสตร์ที่สิบ ยุทธศาสตร์บูรณาการสู่การเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค
การจัดทำงบประมาณก็ต้องเน้นการกระจายอำนาจทางการคลังอย่างแท้จริง เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนสำคัญในการจัดการการศึกษา ทรัพยากรของชุมชน การกระจายอำนาจทางการคลังและการจัดทำงบประมาณแบบนี้ จะนำไปสู่ การเพิ่มอำนาจประชาชนและลดอำนาจรัฐนั่นเอง ปรับเปลี่ยนการจัดสรร
งบประมาณเสียใหม่ให้ลงสู่พื้นที่และเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนในการกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพชีวิตเพื่อให้ทุกคนมีหลักประกันในชีวิต นอกจากนี้งบประมาณปี 2562 เป็นงบประมาณแผ่นดินในช่วงรอยต่อของระบอบรัฐบาล คสช กับ ระบอบรัฐบาลเลือกตั้ง จึงต้องมีการกำหนดให้ระบบตรวจสอบงบประมาณ และ การกำหนดตัวชี้วัดที่ทำให้เกิดการทำงานต่อเนื่องด้วย ลดปัญหางบประมาณค้างท่อแล้วมาเร่งรัดใช้จ่ายในช่วงปลายปีงบประมาณทำให้มีการใช้งบประมาณอย่างไม่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ปัญหาการของบประมาณมากเกินจริงของหน่วยราชการและการบริหารจัดการกองทุนนอกงบประมาณต้องบริหารจัดการให้ดี
ผศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวถึง ข้อเสนอในการปฏิรูประบบงบประมาณ ว่า เมื่อประเทศไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยแล้ว ขอเสนอให้ ภาคประชาชน ภาควิชาการ ภาคเอกชน สามารถมีส่วนร่วมในการนำเสนอ งบประมาณของประชาชน (People Budget) ได้ โดยใช้แนวทางการจัดสรรงบประมาณแบบเพิ่มอำนาจประชาชน (People Empowerment) เสนอให้มีจัดตั้งคณะกรรมการบริหารงบประมาณที่มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ซึ่งโครงสร้างปัจจุบันจะมีแต่ภาคราชการและภาคการเมือง และ ควรเพิ่มตัวแทนของภาคประชาชนในคณะกรรมการพิจารณางบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระบบตรวจสอบการใช้งบประมาณ
ขอให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณแบบ Supply-side โดยงบประมาณฐานะกรม ส่วนราชการเป็นผู้รับงบประมาณ เป็น การจัดสรรแบบ Demand-side เน้นส่งงบประมาณไปที่ประชาชนโดยตรงผ่านกลไกกองทุนหมู่บ้าน หรือ โครงการ SML ที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารจัดการงบประมาณ