PPD's Official Website

Saturday, June 9, 2018

สู่ปีที่ห้ารัฐประหาร คสช. สิ่งที่เกิดขึ้นและหายไปในการเมืองไทย

สู่ปีที่ห้ารัฐประหาร คสช. สิ่งที่เกิดขึ้นและหายไปในการเมืองไทย

"มีเผด็จการทหารหรือผู้นำรัฐประหารไม่กี่คนเท่านั้นที่ดูจะมีขีดความสามารถทางการเมือง… [ดังนั้นจึง] ไม่มีเหตุผลที่ดีอะไรที่จะถามว่า เหตุใดบรรดานายพล พันเอก หรือพันตรีทั้งหลายจะเป็นนักการเมืองที่ดีได้"

ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมาเป็นวาระครบรอบสี่ปีของการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานพอสมควรในการเมืองไทย และกำลังก้าวสู่ปีที่ห้าอย่างไม่น่าเชื่อ

เพราะว่าที่จริงแล้วแทบจะไม่มีใครคาดคิดเลยว่า คณะรัฐประหาร คสช. จะมีชีวิตอยู่ได้นานเช่นนี้

เนื่องจากรัฐบาลทหารก่อนหน้านี้มีอายุอยู่ไม่นานนัก ผู้นำทหารในอดีตเข้าสู่เวทีการเมืองด้วยภารกิจในการล้มล้างทั้งรัฐบาลเก่าและกติกาการเมืองเดิม และสร้างกติกาใหม่ด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่

พร้อมกับเตรียมการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองด้วยการเลือกตั้ง

บทประเมิน

รัฐบาลทหารในอดีตหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2516 ตระหนักดีว่า ยิ่งอยู่ในอำนาจนาน ก็ยิ่งเป็นผลร้ายทั้งต่อรัฐบาลทหาร และต่อสถาบันกองทัพโดยตรงอีกด้วย เพราะความล้มเหลวของรัฐบาลทหารในการบริหารประเทศย่อมมีผลกระทบต่อกองทัพโดยตรงไม่มากก็น้อย

แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีผลกระทบต่อสถาบันกองทัพเลยนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

เพราะรัฐบาลทหารดำรงอยู่ได้ด้วยการค้ำจุนของกองทัพ และบุคลากรในรัฐบาลก็มาจากกองทัพ

จนต้องยอมรับว่ากองทัพมีสถานะเป็น "เครื่องมือหลัก" ของการยึดอำนาจและเป็น "เสาหลัก" ของรัฐบาลทหาร เพราะหากจินตนาการถึงสภาวะที่รัฐบาลทหารไม่มีกองทัพเป็นเครื่องค้ำประกันและเป็นเครื่องมือในการควบคุมทางการเมืองแล้ว ชีวิตของรัฐบาลทหารเช่นนี้คงสั้นอย่างมาก

นอกจากนี้ คงต้องยอมรับความเป็นจริงที่ว่า ด้วยความเป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ทำให้มีข้อจำกัดในตัวเองอย่างมากไม่ว่าจะมองในเวทีภายในหรือภายนอกก็ตาม

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีสถานะที่เป็นรัฐบาลทหารนั้น ไม่มีความชอบธรรมในตัวเองตั้งแต่แรกเริ่มของการยึดอำนาจแล้ว

ฉะนั้น ความสำเร็จในการยึดอำนาจจึงเป็นคนละประเด็นกับความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐบาล

และแม้นว่าจะสร้างภาพรัฐบาลทหารว่าเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" เพื่อให้เกิดความเชื่อว่าอำนาจอยู่ในมือของฝ่ายรัฐประหารเป็นอำนาจที่ชอบธรรมในตัวเอง

แต่ก็ถูกท้าทายจากฝ่ายต่างๆ อย่างมาก อีกทั้งความท้าทายอย่างสำคัญมาจากความเปลี่ยนแปลงของ "ภูมิทัศน์" ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นโลกสมัยใหม่ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่

ดังนั้น แม้จะโฆษณาชวนเชื่อง่ายๆ ในสังคมไทยว่า ต่างชาติ "เข้าใจดี" ถึงการยึดอำนาจในไทย ก็อาจจะไม่ชวนเชื่อเท่าใดนัก

อีกทั้งเมื่อรัฐบาลทหารไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นการสร้างสรรค์เศรษฐกิจ การขาดการยอมรับในประชาคมการเมือง การไม่บรรลุภารกิจตามที่ได้ประกาศไว้เป็นเหตุผลในการรัฐประหาร เช่น การสร้างความปรองดอง เป็นต้น เว้นแต่จะพยายามสร้างจุดขายด้วยการโฆษณาว่า การคงอยู่ของรัฐบาลทหารมีส่วนในการทำให้เกิดความสงบในสังคม

แต่ก็มีคำถามตามมาว่า ความสงบเช่นนี้คือการใช้อำนาจบังคับของกองทัพใช่หรือไม่

และถ้าใช่แล้ว ความสงบภายใต้ "อำนาจปืน" ของรัฐบาลทหารเช่นนี้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคมไทยในอนาคตได้อย่างไร

ประเด็นนี้ยังทิ้งปัญหาให้ต้องขบคิดต่อไปว่า แล้วเราจะทำอย่างไรกับความขัดแย้งที่กำลังหยั่งรากลึกมากขึ้นในสังคมไทย

และยิ่งนานวันก็ยิ่งเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า การยึดอำนาจไม่น่าจะใช่เครื่องของการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองอย่างที่บางคนคาดหวังไว้ อีกทั้งรัฐบาลทหารเองก็ไม่มีขีดความสามารถในการแก้ปัญหาเช่นนี้

และในอีกด้านหนึ่งแทนที่รัฐบาลทหารจะช่วยแก้ปัญหา ก็กลับกลายทำตัวเป็น "คู่ขัดแย้ง" เสียเองอีกด้วย สภาพดังกล่าวนี้ทำให้การเมืองไทยในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา อยู่ในสภาพเหมือน "ติดกับ" อยู่กับที่ และไม่มีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่อนาคต

ผลสืบเนื่องเช่นนี้ทำให้รัฐบาลทหารประสบปัญหาความน่าเชื่อถืออย่างมากในทางการเมือง อีกทั้งเมื่อถูกถาโถมด้วยเรื่องการจัดซื้อยุทโธปกรณ์และเรื่องทรัพย์สินของผู้นำทหารแล้ว

ความน่าเชื่อถือเช่นนี้ก็ยิ่งลดลงไปกับระยะเวลาที่เหลืออยู่ของรัฐบาล และยิ่งเตรียมการที่จะอยู่ในอำนาจต่อไปในอนาคตแล้ว รัฐบาลทหารในปีปัจจุบันก็ดูจะอยู่ในสภาพที่ "ทุลักทุเล" เต็มที

แม้รัฐบาลทหารยังมีกองเชียร์ที่เข้มแข็งจากผู้สนับสนุนเดิม

แต่เสียงเชียร์ก็ดูจะลดลง แตกต่างจากปีแรกๆ หลังรัฐประหารอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันก็ไม่มีหลักประกันว่า โอกาสของการเป็นรัฐบาลใหม่ในอนาคตจะเป็นจริงเพียงใด ทั้งที่พยายาม "เดินสาย" เข้าหากลุ่มการเมืองเก่า จนเกิดความชัดเจนถึงการกำเนิดของพรรคทหารในอนาคต

และขณะเดียวกันก็กำลังเป็นความรู้สึกว่า ผู้นำทหารกำลังเดินบนถนนสายเก่าที่พวกเขาเคยทำลายทิ้งไปแล้ว

และวิ่งกลับไปหาผู้คนแบบเดิมที่พวกเขาเคยประจานและประณามอย่างเสียๆ หายๆ มาแล้ว

บทสำรวจ

ในโอกาสของวาระครบรอบสี่ปีของรัฐบาลทหาร บทความนี้จะทดลองสำรวจผลกระทบและผลสืบเนื่องในเชิงมหภาค โดยจะนำเสนอเป็นประเด็นสำคัญๆ 5 ประการดังต่อไปนี้

1. สถานะด้านสิทธิที่ถดถอย (ดูได้จากดัชนีของ Freedom House) ซึ่งจะเห็นได้ชัดใน 4 เรื่อง คือ 1) สิทธิเสรีภาพ (civil rights) 2) สิทธิมนุษยชน 3) สิทธิทางการเมืองในรูปแบบต่างๆ เช่น การชุมนุม การรวมกลุ่ม เป็นต้น และ 4) เสรีภาพของสื่อมวลชน

2. สถานะทางการเมืองของทหารและการขยายบทบาทของกองทัพอย่างมาก ส่งผลสำคัญ 3 ประการคือ 1) การขยายบทบาทของกองทัพในทุกภาคส่วนของสังคม จนประเทศมีภาพลักษณ์เป็น "รัฐทหาร" 2) กองทัพไร้ความเป็นทหารอาชีพ (military professionalism) และกองทัพถูกใช้เป็นกลไกของรัฐบาลทหาร 3) นายทหารบางส่วนถูกแปรสภาพเป็น "ทหารการเมือง" หรือกลายเป็นสิ่งที่นักรัฐศาสตร์เรียกว่า "นักการเมืองในเครื่องแบบ" (politician in uniform)

3. สถานะทางเศรษฐกิจของประเทศหลังจากการจัดตั้งรัฐบาลทหารแล้วมีสภาพที่สำคัญ 4 ประการดังนี้ 1) รัฐบาลทหารไม่มีขีดความสามารถในการบริหารเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหภาค และมีผลสืบเนื่องต่อสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 2) รัฐประหารไม่ใช่ปัจจัยเชิงบวกในการพัฒนาเศรษฐกิจ 3) รัฐบาลทหารไม่ใช่ปัจจัยส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และ 4) รัฐบาลทหารไม่ใช่ปัจจัยในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

4. สถานะของความเป็นรัฐบาลเผด็จการทหารทำให้ประเทศขาดคุณลักษณะทางการเมือง 5 ประการ ได้แก่ 1) นิติรัฐ 2) ธรรมาภิบาล 3) ความพร้อมในการถูกตรวจสอบ (accountability) 4) ความโปร่งใส และ 5) การตรวจสอบและถ่วงดุล

5. สถานะในเวทีระหว่างประเทศได้รับผลกระทบโดยตรงจากการรัฐประหารที่เกิดขึ้น ดังนี้ 1) การไม่ได้รับการยอมรับในประชาคมระหว่างประเทศจากการรัฐประหาร 2) การแสวงหาการยอมรับจากรัฐมหาอำนาจด้วยการปรับทิศทางของระบบพันธมิตรทางยุทธศาสตร์

และ 3) การใช้การจัดหายุทโธปกรณ์เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

บทประมาณการ

ในช่วงปลายทางก่อนที่การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้จริงนั้น รัฐบาลทหารจึงต้องแสวงหาหลักประกันของชัยชนะในอนาคต ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยสำคัญต่างๆ ดังนี้

1. สร้างกลไกรัฐธรรมนูญเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง และออกแบบให้การเมืองไทยในอนาคตมีรูปแบบเป็น "ระบอบพันธุ์ทาง" (hybrid regime) ที่ผสมผสานระหว่างการเลือกตั้งกับบางส่วนของระบอบอำนาจนิยมเข้าด้วยกัน หรืออาจเรียกว่าเป็น "ระบอบผสม" ในการเมืองไทย

2. กำหนดกติกาและเงื่อนไขทางกฎหมายเพื่อจำกัดบทบาทและการเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน

3. กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสมาชิกแต่งตั้ง 250 คนเพื่อเป็นฐานเสียงโดยตรงในสภาในอนาคต และยังเป็นหลักประกันต่อการเลือกผู้นำทหารให้กลับมาเป็นผู้นำรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง

4. ออกแบบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อเป็นหลักประกันว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในอนาคตจะไม่สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ของตัวเองได้ และต้องเดินไปตามกรอบที่รัฐบาลทหารได้ออกแบบไว้เป็นระยะเวลา 20 ปี (ห้าสมัยของรัฐบาลเลือกตั้ง)

5. ออกคำสั่งจัดบทบาทใหม่ของ กอ.รมน. เพื่อสร้างสภาวะ "รัฐซ้อนรัฐ" และใช้เป็นกลไกในการควบคุมทางการเมืองในชนบท

6. การดำรงบทบาทและอำนาจของรัฐบาลทหารในช่วงก่อนที่ระยะเปลี่ยนผ่านจะเกิดขึ้น ทำให้การเปลี่ยนผ่านในอนาคตมีความยุ่งยากในตัวเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะจำเป็นต้องจะต้องมีฐานทางการเมืองในรูปแบบของ "พรรคทหาร" รองรับการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้งในรูปแบบของระบอบพันธุ์ทาง หรือการเมืองแบบผสมที่ยังคงมีผู้นำรัฐบาลเป็นทหาร

7. การเตรียมตัวทางการเมืองของรัฐบาลทหารทำให้พวกเขาจำยอมที่จะต้องเดินไปบนถนนสายการเลือกตั้ง อันเป็นถนนสายเดิมพวกเขาทำลายไปเมื่อสี่ปีที่แล้ว และในการนี้จำเป็นต้องสร้างพรรคการเมืองด้วยการดึงกลุ่มคนบางส่วนที่พวกเขาเคยทั้งประณามและประจานแล้วเข้ามาเป็นพวก อันเป็นสัญญาณโดยตรงถึงการก่อตัวของพรรคทหาร

อย่างไรก็ตาม การเตรียมเครื่องมือในข้างต้น ทำให้เกิดผลสืบเนื่องที่สามารถคาดได้ดังนี้

1. แม้ในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา ผู้นำรัฐบาลทหารจะประกาศเสมอว่า "ไม่สืบทอดอำนาจ" แต่การดำเนินการทางการเมืองกลับเป็นคำตอบในตัวเองอีกแบบหนึ่ง ประกอบกับคำสัญญาเรื่องการเลือกตั้งก็มักจะถูกเลื่อนออกไปโดยไม่มีความชัดเจนในตัวเอง สภาพเช่นนี้ได้ลดทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลทหารลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และรัฐบาลทหารได้กลายเป็นปัจจัยของความไม่แน่นอนในตัวเองอีกด้วย

2. ผลจากปัญหา 7 ประการในข้างต้นจะทำให้การเมืองไทยในอนาคตเป็น "การเมืองของความอ่อนแอ" ด้วยการออกแบบให้ทั้งพรรคการเมืองและประชาสังคมมีความอ่อนแอ จนไม่มีพลังมากพอที่จะทานกับการกลับมาของรัฐบาลทหารในรูปแบบใหม่ด้วยกระบวนการเลือกตั้ง

3. การออกแบบเช่นนี้ยังเป็นความหวังให้ผู้นำรัฐประหารเดิมมีอำนาจและขีดความสามารถในการควบคุมทางการเมืองในสังคมไทยต่อไป หรือเป็นความต้องการที่จะทำให้ระบอบการเมืองใหม่ยังต้องพึ่งอำนาจของฝ่ายทหาร คือเป็น "ประชาธิปไตยที่ต้องได้รับการปกป้อง (จากทหาร)" หรือที่การเมืองในละตินอเมริกาเรียกว่า "Protected Democracy" อันเป็นประชาธิปไตยแบบที่ทหารยังคงมีบทบาทอยู่

4. สิ่งเป็นความคาดหวังสำคัญสำหรับผู้นำรัฐบาลทหารก็คือ ระบอบใหม่หลังจากการเลือกตั้งจะอยู่ในลักษณะที่เป็น "กึ่งเผด็จการ" (semi-authoritarianism) ด้วยการคงสิ่งที่เป็นองค์ประกอบของระบอบอำนาจนิยมไว้ต่อไป และแม้นว่าฝ่ายนิยมประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้ง แต่องค์ประกอบเหล่านี้จะยังคงอยู่ต่อไป

จนส่งผลให้กระบวนการฟื้นคืนระบอบประชาธิปไตยมีอุปสรรคมากขึ้นในอนาคต

บทปิดท้าย

จากปัจจัยต่างๆ ในข้างต้นทำให้เห็นชัดว่า สี่ปีที่ผ่านมาประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะ "จมปลัก" และพาตัวเองออกจากปัญหาการเมืองและความขัดแย้งที่รุมเร้าไม่ได้ และยังถูกโถมด้วยปัญหาเศรษฐกิจ

อีกทั้งความหวังเรื่องการปฏิรูปก็กลายเป็นเพียงอาการ "ฝันกลางวัน" ไปเสียแล้ว

ว่าที่จริงแล้วสภาพของการจมปลักทางการเมืองก็คือ การเป็น "คนป่วยทางการเมือง" นั่นเอง

ถ้าเช่นนั้นแล้วคำถามสำคัญก็คือ ประเทศไทยจะ "หายป่วย" ได้อย่างไร หรือยังจะก้าวสู่อนาคตด้วยความ "ทุลักทุเล" ต่อไปอีกเพียงใด

ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงเวลาเช่นนี้เป็นการก้าวสู่ปีที่ห้าด้วยความผันผวนและไม่แน่นอนอย่างยิ่ง

จนอาจกล่าวสรุปด้วยสำนวนเก่าง่ายๆ ว่า สี่ปีที่ผ่านมาเป็นดัง "เวลาที่หายไป" ของสังคมไทย…

"เสียของ" หรือเปล่าไม่ชัดเจน แต่ "เสียเวลา" แน่นอน เพราะไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

สุดท้ายแล้ว สังคมการเมืองไทยจะต้องกลับสู่การเลือกตั้ง ไม่มีทางเป็นอื่น แม้ว่ากำหนดการเลือกตั้งจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของความไม่แน่นอนก็ตามที!

เอนก ซานฟราน 10 มิย 2561 "ความเน่าเฟะ แบบ 'ไทย ๆ"

เอนก ซานฟราน 10 มิย 2561 "ความเน่าเฟะ แบบ 'ไทย ๆ"
https://youtu.be/pMeKMO6wppI
https://youtu.be/iQy2y3diDNI

****************************
หากท่านคิดดี หวังดี และมั่นใจในความดีของท่าน ขอให้ปาวารณาตัว ร่วมเป็นมดแดงล้มช้าง ได้ที่
*** ลิ้งค์ใหม่ล่าสุด (๑๙ ก.พ. ๒๕๖๑):
https://goo.gl/forms/eUAxdUxObZDKMvvi2
ลิ้งค์เก่าที่อาจจะโดนบล็อค:
http://tinyurl.com/o2rzao8
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt

หากลิ้งค์ข้างบนถูกบล็อก ให้ส่งรายละเอียดไปที่ 4everche@gmail.com โดยระบุ 1. ชื่อ (จัดตั้งหรือชื่อกลุ่ม) 2. จำนวนสมาชิกในเครือข่าย 3. จังหวัดและอำเภอ 4. อีเมล์ 5. ไลน์หรือเบอร์โทรศัพท์ 6. อาชีพของท่านหรือสมาชิก
_
Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.

"เผยคำสั่ง ร. 10 - ประยุทธ์ เงาหัว 'ขาด'!!!" โดย ดร. เพียงดิน รักไทย ๘ มิ.ย. ๒๕๖๑

"เผยคำสั่ง . 10 - ประยุทธ์ เงาหัว 'ขาด'!!!" โดย ดร. เพียงดิน รักไทย มิ.. ๒๕๖๑


---------------------
***Download ร่างจดหมาย เพื่อส่งผู้นำนานาชาติต่าง ที่ http://tinyurl.com/gsetacg
***โปรดช่วยกันกระจายและส่งให้มากที่สุดนะครับ ขอบคุณครับ
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน 
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
****ลิ้งค์ล่าสุด  http://tinyurl.com/gssuvm2
และรายงานการปฏิบัติงานและความคืบหน้าเครือข่าย ได้ที่ 4everche@gmail.com
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน

Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.

Friday, June 8, 2018

ติดตามคลิป ดร. เพียงดิน รักไทย ทางสถานีนี้




จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ๙ มิ.ย. ๒๕๖๑ "สิทธิในการจับปืนลุกขึ้นสู้รัฐบาลทรราชย์ของคนอเมริกัน"

จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ ๙ มิ.ย. ๒๕๖๑ "สิทธิในการจับปืนลุกขึ้นสู้รัฐบาลทรราชย์ของคนอเมริกัน"




ทหารเสือกทุกเรื่อง👺👺ทะเหี้ยจับ/ไม่ใช่หน้าที่ตำรวจ///ชาวเน็ตสะเทือนใจ! ป้าวัย 52 โดนจับ

เสือกทุกเรื่อง👺👺ทะเหี้ยจับ/ไม่ใช่หน้าที่ตำรวจ///ชาวเน็ตสะเทือนใจ! ป้าวัย 52 โดนจับ "พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า" พร้อม กะละมัง 1 ใบ เฟซบุ๊ก : Aku Bin Duad ชาวเน็ตสะเทือนใจ! ป้าวัย 52 โดนจับข้อหา "พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า" พร้อมซากนกอีลุ้ม ถาดพลาสติก และ กะละมัง โดย Aku Bin Duad ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุ "กั เรียน ผู้บังคับบัญชา วันพฤหัสที่ 7 มิ.ย 61 เวลา 16.30 น จนท. สายตรวจปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้และสัตว์ป่า สังกัดสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ภายใต้สั่งการนายณรงค์พล หมึกทอง ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 สาขาปัตตานี ร่วมกับ จนท.ตร.กองกำกับการ 6 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง เฟซบุ๊ก : Aku Bin Duad ตรวจยึดซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ประเภทนก ชนิดนกอีลุ้ม รวมจำนวน 37 ซาก อุปกรณ์การกระทำความผิด ถาดพลาสติก 2 ใบ กะละมัง 1 ใบ ตาชั่ง 1 เครื่อง รวมค่าเสียหายของรัฐตามราคาแห่งท้องตลาดเป็นเงิน 1,850 บาท จับกุมผู้กระทำผิด 1 ราย ชื่อ (ขอสงวน) อายุ 52 ปี ชาว ต.โฆษิต อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เฟซบุ๊ก : Aku Bin Duad การกระทำดังกล่าว เป็นการกระผิด พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 มาตรา 19,20 เหตุเกิดที่ตลาดบ้านเจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส พิกัด 48 N 173487 E 692399 N นายเสวก เงินสยาม พนักงานพิทักษ์ป่า ระดับ ส 2 แจ้งความกล่าวโทษต่อ พงส.สภ.ตากใบ จ.นราธิวาส ปจว.ข้อ 4 เวลา 18.30 น. คดีอาญาที่ 231/61 ของกลางที่ 161/61 ลงวันที่ 7 มิ.ย.61 พงส. เจ้าของคดี นายอภิชาต ผุดคง. รายงาน 7 มิ.ย 61 ดูเพิ่มเติม ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยัง พนักงานสอบสวนเจ้าของคดี เพื่อสอบสอบเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น โดยพบว่า หญิงวัย 52 ปี คนดังกล่าว ได้ไปซื้อ "นกอีลุ้ม" หรือ "ไก่นา" จากชาวบ้านในหมู่บ้าน ก่อนนำมาขายที่ตลาดดังกล่าว

"เผยคำสั่ง ร. 10 - ประยุทธ์ เงาหัว 'ขาด'!!!" โดย ดร. เพียงดิน รักไทย ๘ มิ.ย. ๒๕๖๑

"เผยคำสั่ง . 10 - ประยุทธ์ เงาหัว 'ขาด'!!!" โดย ดร. เพียงดิน รักไทย มิ.. ๒๕๖๑

---------------------
***Download ร่างจดหมาย เพื่อส่งผู้นำนานาชาติต่าง ที่ http://tinyurl.com/gsetacg
***โปรดช่วยกันกระจายและส่งให้มากที่สุดนะครับ ขอบคุณครับ
สนับสนุนแนวทางมดแดงล้มช้าง ของ คณะราษฎรเสรีไทย กับ ดร. เพียงดิน 
ส่งข้อมูลลับผ่านช่องทางที่ปลอดภัยทางลิ้งค์ต่อไปนี้
หรือที่นี่ http://tinyurl.com/pcqjppt
****ลิ้งค์ล่าสุด  http://tinyurl.com/gssuvm2
และรายงานการปฏิบัติงานและความคืบหน้าเครือข่าย ได้ที่ 4everche@gmail.com
----------------------
สนับสนุนการเผยแพร่โดย ภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน และมหาวิทยาลัยประชาชน เพื่อสาธารณะประโยชน์ ในการสร้างจิตสำนึกทางประชาธิปไตย สันติวิธี และการเคารพหลักสิทธิมนุษยชน

Copyright notice:
This video is protected under the "Fair Use Copyright Act of 1976" for the purposes of education, news reporting, research, criticism and public discussion.