PPD's Official Website

Tuesday, April 26, 2016

"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับทรราช คสช.นี้เป็นความพยายามที่จะล้มล้างระบอบประชาธิปไตยไทย"

สมาชิกรัฐสภาทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงสัยความโปร่งใสในการรับร่างประชามัติในไทย ที่ทรราช คสช. จัดทำขึ้น "เหมือนมัดมือชก" ประชาชน อีกทั้งปิดกั้นการแสดงออก ด้วยกฏหมายของทรราช คสช.ที่ร้ายแรง เปรียบดั่งเป็น ยุค เผด็จการทรราชเต็มขั้น 

"ร่างรัฐธรรมนูญฉบับทรราช คสช.นี้เป็นความพยายามที่จะล้มล้างระบอบประชาธิปไตย"

------------------------------------------------------------------------------------

สมาชิกรัฐสภาทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แสดงความเป็นห่วงอย่างยิ่งต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของไทย รวมถึงกระบวนการทำประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพยายามของรัฐบาลทหารที่จะสืบทอดอำนาจและจำกัดสิทธิการแสดงออก 
สมาชิกรัฐสภาทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้วิพากษ์วิจารณ์การตัดสินใจของ คสช. ที่ห้ามการรณรงค์รับ/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในการทำประชามติ ที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดให้มีการอภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว 

-
"คนไทยถูกขอให้ออกเสียงโหวตกฎหมายที่จะกำหนดระบอบการปกครอง แต่พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้อภิปรายโดยเปิดเผย ถูกข่มขู่ที่จะจำคุก เราจะคาดหวังให้คนไทยตัดสินใจด้วยข้อมูลรอบด้านได้อย่างไร" ประธานกลุ่มเอพีเอชอาร์ Charles Santiago ส.ส.มาเลเซีย ตั้งคำถาม 

-
"หากคณะรัฐประหารเชื่อโดยสัตย์ว่า ประชามติคือเรื่องที่ประชาชนจะตัดสินใจ ก็ควรเปิดให้ประชาชนพูดถึงข้อดี ข้อเสีย ของร่างรัฐธรรมนูญได้ ในสภาพที่ห้ามอภิปรายในทางสาธารณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารกำลังพยายามยัดเยียดรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน" 

-
พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งถูกแต่งตั้งโดยรัฐบาลทหาร ในวันที่ 7 เมษายน 2559 กำหนดบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี แก่ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือขัดขวางการทำประชามติ นอกเหนือจากนั้นรัฐบาลทหารยังไม่ได้ระบุว่ามีแผนการอย่างไร 
-

หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านประชามติ เพียงแต่พูดเป็นนัยว่าการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้จะทำให้รัฐบาลทหารครองอำนาจต่อไป 

-
นาย Son Chhay ส.ส.กัมพูชา รองประธานเอพีเอชอาร์ กล่าวว่า "ประชาชนไม่ควรถูกโยนเข้าคุกเพียงเพราะแสดงความคิดเห็น ที่ผ่านมาเราได้เห็นคนที่วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญถูกกักขังตามอำเภอใจ และ 'ปรับทัศนคติ' กฎหมายประชามติดูจะออกมาเพื่อสร้างความหวาดกลัว และปิดกั้นการโต้เถียง" 
-
"ชะตากรรมของประชาธิปไตยของไทยมีผลสะเทือนต่อทั้งภูมิภาค นับเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้นำประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องออกมายืนเคียงข้างประชาชนไทย พูดสนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกและการอภิปรายอย่างรอบด้าน ความพยายามที่จะปิดกั้นการอภิปรายถึงข้อดีข้อเสียของรัฐธรรมนูญไม่มีทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ประเทศไทยประสบอยู่ได้เลย" สน ชัย กล่าว 

-
ทั้งนี้ร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนในวันที่ 29 มีนาคม 2559 นั้น มีมาตราที่ระบุถึงที่มาของ ส.ว. ที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมดและยังสามารถแต่งตั้งนายกฯ ที่ไม่มีได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนอีกด้วย ร่างรัฐธรรมนูญนี้ยังให้อำนาจกองทัพก้าวก่ายอำนาจฝ่ายบริหาร ถึงแม้ว่าจะมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแล้วก็ตาม 

-
ภาคประชาชนและพรรคการเมืองในประเทศไทยต่างวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญว่าไม่เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงการกำหนดให้ผู้นำกองทัพดำรงตำแหน่งต่างๆโดยตำแหน่ง เสียงวิจารณ์นี้ถูกสะท้อนมากขี้นโดย ส.ส. ภูมิภาค 

-
Eva Kusuma Sundari ส.ส.อินโดนีเซีย รองประธานอีกคนหนึ่งของเอพีเอชอาร์ กล่าวถึงกรณีร่างรัฐธรรมนูญของไทยจับจองที่นั่งในวุฒิสภาให้แก่ทหารเป็นการเฉพาะว่าถือเป็นเรื่องน่าวิตกอย่างยิ่ง 

-
"เราเคยเห็นรูปแบบเช่นนี้มาแล้วในกรณีของเมียนมาร์ ผลลัพธ์คือ ทหารสามารถขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ นี่เป็นประเด็นที่ประชาชนพม่าและรัฐบาลชุดใหม่ซึ่งมาจากการเลือกตั้งกำลังผลักดันให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงนับเป็นเรื่องพิลึกที่ประเทศไทยต้องการนำโมเดลที่ถูกวิจารณ์อย่างกว้างขวางแบบนี้มาประยุกต์ใช้" 

-
สมาชิกรัฐสภาทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อมซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ระบุว่าเป็นหน้าที่ของรัฐในการปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งอาจนำไปสู่การใช้อำนาจในทางที่ผิด

เนื้อหาที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ทซึ่งอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาถูกทำลายลง รวมถึงมีการจำกัดด้านสิทธิมนุษยชน สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคสำคัญในการก้าวสู่ระบอบประชาธิปไตยของไทย 

-
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นความพยายามที่จะล้มล้างระบอบประชาธิปไตย และเป็นการเพิ่มอำนาจของตน (คสช.) สิ่งที่น่าวิตกอีกประการหนึ่ง " คือความถดถอยด้านด้านสิทธิมนุษยชนของไทย ภายใต้การปกครองของทหารในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา."

----------------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณ แหล่งข่าว Admin เสรีไทย

-
เสรีชน


No comments:

Post a Comment