PPD's Official Website

Thursday, December 24, 2020

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน (จาก นปช.ยูเอสเอ original)

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน PDF Print E-mail
User Rating: / 93
PoorBest 
Thursday, 25 March 2010 04:18

"สยามพารากอน" เป็นธุรกิจที่ครอบครัวภูมิพล เข้าไปลงทุนอยู่อีกบริษัทหนึ่ง ไม่แปลกอะไร ถ้าสยามพารากอน จะเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ดูจากรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ นี้ก็พอจะทราบได้ไม่ยาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรร ธน์
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2553)

จุดกำเนิดของศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มูลค่า 6 พันล้านบาท เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเม ืองไทย 2 ราย กลุ่มเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์ที่ร่วมทุนกันฝ่ายละครึ่ง

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกมา 29 ปี บริหารโดยตระกูลอัมพุช ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นที่ 2

โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือครองโดยคน ตระกูลอัมพุชเกือบทั้งหมด คือบริษัทอัมพุชโฮลดิ้ง จำกัด,สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, อัจฉรา รัตนทารส, บุษราคม ชันซื่อ, บริษัท สินไอยรา จำกัด, บริษัท สินปราการ จำกัด

สำหรับบริษัทสยามพิวรรธน์มีผู้ถือหุ้นหลาก หลายจากบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้น มีทั้งหมด 257 ราย ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นจะถือในนาม บุคคลมากกว่านิติบุคคล แต่ผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก และธุรกิจสถาบันการเงิน

 




 


ผู้ถือหุ้นหลักประมาณ 8 กลุ่ม (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน ์) และผู้ถือหุ้นมากที่สุด คือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5,336,700 หุ้น อันดับที่ 2 พระราชวงศ์ 4,542,300 หุ้น อันดับที่ 3 กลุ่มตระกูล จารุวัสตร์ 1,735,700 หุ้น

อันดับ 4 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000หุ้น อันดับ 5 ธนาคารกรุงเทพ 903,800 หุ้น อันดับ 6 ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย 683,300 หุ้น อันดับที่ 7 ตระกูลภิรมย์ภักดี 403,360หุ้น อันดับ 8 ตระกูลศรีวิกรม์ 316,800หุ้น

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธ น์ ส่วนหนึ่งเป็น ผู้ประกอบการศูนย์การค้าอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทเอ็ม บี เค ที่บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือตระกูลจารุวัสตร์ บริหารศูนย์ การค้าสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงตระกูลศรีวิกรม์ บริหารธุรกิจค้าปลีกเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์

สำหรับศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย 2 บริษัท คือบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทสยามพารากอน รีเทล จำกัด

ทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทสยามพิวรรธน์และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้นฝ่ายละ 50% บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีบทบาทบริหาร อาคารและดูแลร้านค้าเช่าภายนอกที่ไม่ได้อย ู่ในห้างสรรพสินค้า

ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น คือบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 5,099,997 หุ้น, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล (น้องสาวชาญชัย จารุวัสตร์), ภาวิณี ศีตะจิตต์, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช และบริษัทเดอะมอลล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด 4,899,996 หุ้น

ส่วนบริษัทสยามพารากอน รีเทล มีหน้าที่บริหารห้างสรรพสินค้า มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 9 ราย คือบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้น 5,099,996 หุ้น, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, สุทธิพงษ์ อัมพุช, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล, จินตนา กอวัฒนา และบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้งถือหุ้น 4,899,997 หุ้น

การถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับบริษัท สยามพิวรรธน์นั้นเป็นการแบ่งบทบาทการทำงาน ให้มีความชัดเจน โดยกลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นหลักในการบริหารบร ิษัทสยามพารากอน รีเทล รวมทั้งมีผู้บริหารจากเดอะมอลล์และศูนย์กา รค้าดิเอ็มโพเรียมเข้ามาช่วย บริหารงาน โดยเฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าและซูเปอร ์มาร์เก็ตที่ผู้บริหารมีความรู้ และประสบ การณ์เชี่ยวชาญ มีศุภลักษณ์ อัมพุช และสุรัตน์ อัมพุชเป็นผู้บริหารหลัก สำหรับบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีชาญชัย จารุวัสตร์และชฎาทิพ จูตระกูล เป็นผู้บริหารหลักมีความชำนาญในการบริหารศ ูนย์การค้าอย่างสยามเซ็นเตอร์และ สยามดิสคัฟเวอรี่มาก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสอง บริษัทยังมีกำไรจากผลการดำเนินงาน (ดูตารางผลการดำเนินงานประกอบ)

ความร่วมมือของกลุ่มเดอะ มอลล์และบริษัทสยามพิวรรธน์ในการสร้างศูนย ์การ ค้าสยามพารากอน เป็นปรากฏการณ์ที่เล่าขานมาจวบทุกวันนี้

ในอนาคตทั้งสองบริษัทอาจจะสร้างความยิ่งให ญ่อีกครั้งก็เป็นได้

รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน 

กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์มีทั้ งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 257 ราย ผู้จัดการ 360 ํ จัดลำดับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไว้ 8 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 5,038,000 หุ้น และ 298,700 หุ้น

2. พระราชวงศ์ 4,524,300 หุ้น

3. ตระกูลจารุวัสตร์
ชฎาทิพ จูตระกูล 29,400 หุ้น และ 700 หุ้น
เด็กหญิงชญาภา จูตระกูล 39,200 หุ้น
พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ 9,800 หุ้น
ชาลี จารุวัสตร์ 2,000 หุ้น
ชาญชัย จารุวัสตร์ 1,600 หุ้น

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น

5. ธนาคารกรุงเทพ 506,000 หุ้น และ 397,800 หุ้น

6. ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย
ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ 15,360 หุ้น
สุภวรรณ ล่ำซำ (ปันยารชุน) 4,320 หุ้น
บัณฑูร ล่ำซำ 4,320 หุ้น
บรรยงค์ ล่ำซำ 71,900 หุ้น
ธนาคารกสิกรไทย 298,700 หุ้น และ 288,700 หุ้น

7. ตระกูลภิรมย์ภักดี
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 353,500 หุ้น
วุฒา ภิรมย์ภักดี 13,750 หุ้น
วาปี ภิรมย์ภักดี 7,950 หุ้น
ปิยะ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
จวบจันทร์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
สันติ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
พรภิรมย์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น

8. ตระกูลศรีวิกรม์
สิริมา ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาญ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาย ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
กรกฎ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
บริษัทศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง 105,600 หุ้น

ที่มา: http://www.gotomanager.com/news/printnew s.aspx?id=84354


No comments:

Post a Comment