PPD's Official Website

Showing posts with label คสช.. Show all posts
Showing posts with label คสช.. Show all posts

Wednesday, April 22, 2015

ทหารของวัง โดยคำสั่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยิงประชาชนมือเปล่าจริง และตายจริง เมษายน-พฤษภาคม 2553

ทหารของวัง โดยคำสั่งรัฐบาลอภิสิทธิ์ ยิงประชาชนมือเปล่าจริง และตายจริง เมษายน-พฤษภาคม 2553

จากปากคำของประชาชนผู้อยู่ในเหตุการณ์จริง


ความเหี้ยมโหดของทหารไทย จากปากประชาชน (กรณีวัดปทุมฯ)
Posted by รวมคลิปเด็ด V.2 on Tuesday, April 21, 2015

Friday, April 17, 2015

คำต่อคำ : รายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" วันที่ 17 เมษายน 2558

คำต่อคำ : รายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" วันที่ 17 เมษายน 2558
       
       สวัสดีครับ พ่อแม่พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน วันสงกรานต์ วันปีใหม่ไทยเพิ่งผ่านพ้นไป หลายคนคงได้มีโอกาสไปเที่ยวพักผ่อน เดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อพบปะญาติมิตร กราบผู้หลักผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือกัน
       
       สัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีเรื่องที่น่ายินดีหลายประการด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นข่าวแรงงานประมงไทย 68 คน ที่รัฐได้ช่วยเหลือให้เดินทางกลับประเทศ ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2558 ก็ทันวันครอบครัว ช่วงสงกรานต์พอดี คงมีความสุขมาก เพราะว่าหลายปีมาแล้วที่ต้องไปตกระกำลำบากอยู่ต่างประเทศ แล้วทุกคนนั้นรัฐบาลก็จะนำเข้าสู่ระบบการเยียวยาของรัฐ มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้น จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้ การมอบความช่วยเหลือกลับภูมิลำเนา และการจัดหาสถานที่พักชั่วคราว หากจำเป็น โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะมีการร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะติดตามช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง มีหลายคนที่ยังตกระกำลำบากอยู่ ก็คงต้องทยอยช่วยเหลือต่อๆ ไป จนกว่าจะครบถ้วน และจะมุ่งเน้นการป้องกันการถูกล่อลวง ทำลายขบวนการทั้งหมด ทั้งเจ้าหน้าที่ ทั้งผู้ที่ทำผิดกฎหมาย ไม่ให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ในอนาคตต่อไปให้ได้ ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พนักงานส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อาสาสมัคร ตำรวจ ทหารที่ช่วยกันดูแลความปลอดภัยส่งพี่น้องประชาชน และลูกหลานคนไทยเดินทางไปกลับโดยสวัสดิภาพในห้วงสงกรานต์
       
       ขอขอบคุณทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ และสืบสานประเพณีสงกรานต์อันงดงามของไทยเรา มีการปฏิบัติตามข้อแนะนำของภาครัฐ ในการร่วมกันแต่งกายตามประเพณี รดน้ำคลายร้อน ไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่น รวมทั้งการโซนนิ่งพื้นที่เล่นน้ำไร้แอลกอฮอล์
       
       นานแล้วนะครับ ที่เรารณรงค์แค่การออกนโยบาย แต่ไม่เน้นการปฏิบัติ เราเริ่มเน้นการปฏิบัติให้มากขึ้น การบังคับใช้กติกาสังคมอย่างจริงจัง ในบางครั้งเยาวชนรุ่นใหม่หลงลืมวัฒนธรรมอันดีงาม แล้วกลับไปคุ้นชินกับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะไม่ใช่อารยธรรมของไทย การสนุกสนานต้องมีขอบเขต มีขีดจำกัดอย่างที่รัฐบาลได้กำหนดข้อแนะนำไป 8 ประการ เห็นมีคนต่อว่าเหมือนกันทำไมต้องไปกำหนดด้วย ผมไม่เห็นว่า 8 ข้อนั้นมันมีผลเสียต่อใครเลย เพียงแต่ว่าไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ ไม่ให้เกิดการเสื่อมเสียต่อประเพณีของเรา หรือใครคิดว่ามันถูกต้องก็มาบอกรัฐบาลแล้วกัน เช่น ห้ามแต่งกายโป๊ ล่อแหลม ไม่เห็นจะสร้างสรรค์เลย บอกว่าการท่องเที่ยวปีนี้หงอย เพราะมี 8 มาตรการของรัฐมา เลยทำให้ไม่สนุก ถ้าเราทำต่อไป เอกลักษณ์ความเป็นไทยจะไม่หลงเหลืออยู่อีกเลย ให้ภาคภูมิใจ วันนี้ก็มีทั้งชาวต่างชาติเข้ามาประเทศเรา คนไทยมาเที่ยวกันเอง ถ้าต่างชาติเขาต้องการสัมผัสธรรมชาติ ฉะนั้นการต้อนรับขับสู้ ยิ้มสยาม และความมีน้ำใจของคนไทยแล้ว ให้รับทราบถึงขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมอันดีงาม ซึ่งอาจจะเป็นหนึ่งเดียวในโลก และเป็นสิ่งที่จะทำให้ชาวต่างชาติเดินทางมาพักผ่อน มาศึกษาความเป็นไทย วัฒนธรรมแบบไทยๆ ซึ่งอาจจะหาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว แต่คนไทยอยากจะเป็นอย่างเขา ตัวชี้วัดที่เป็นคุณธรรมพิสูจน์แล้วว่า ยอดนักท่องเที่ยวต่างชาติขณะนี้เพิ่มขึ้นกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ อย่าไปเชื่อตัวเลขอื่นๆ แล้วก็เพิ่มขึ้นอีก 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็ไปดูแล้วกันว่าเขาเอาข้อมูลจากไหน
       
       ถ้าหากว่าเราเลิกขัดแย้งกันเอง เป็นเจ้าบ้านที่ดี มีเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล ผู้ที่มาเยือนก็จะรู้สึกปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินระหว่างใช้ชีวิตในเมือง ก็ช่วยกันชักชวนกันกลับมาเที่ยวใหม่อีกครั้ง ปีหน้าเราก็อาจจะมีอะไรใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เป็นไปตามวัฒนธรรมประเพณีของไทย เราจัดการท่องเที่ยวทั้งปี ปีนี้เป็นปีแห่งท่องเที่ยววิถีไทย ช่วยกันเชิญมา ช่วยกันไปเที่ยวด้วยนะ เวลาวันว่างหยุดจากราชการอะไรก็แล้วแต่
       
       ในส่วนของการสร้างจิตสำนึกนั้น คำว่าค่านิยมหลักของคนไทย 12 ประการนั้น จะเป็นสิ่งที่ทำได้เลย ทำทันที ส่วนสิ่งต้องใช้เวลา อาศัยความร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ก็คือในเรื่องของการปฏิรูปประเทศในทุกๆ ด้าน ซึ่งวันนี้เรามีความพร้อมที่จะเริ่มการปฏิรูป บ้านเมืองสงบร่มเย็นพอสมควร รัฐบาลมีเอกภาพในการบริหารงานแผ่นดิน สามารถที่จะบูรณาการงานทุกกระทรวงให้เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และทุกคนจะต้องมองผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ก็ขอให้พี่น้องทุกคน ทุกภาคส่วน ช่วยกันหยิบยื่นความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ เพื่อใช้โอกาสนี้ในการเดินหน้าปฏิรูปประเทศ ซึ่งเราเริ่มต้นมาได้แต่เพียงเล็กน้อย ถ้าพูดถึงการบริหารราชการก็ทำได้เยอะ แต่เกี่ยวกับเรื่องการปฏิรูปที่ต้องทำใหม่ อะไรเหล่านี้ มันเพียงเริ่มต้นเท่านั้นเอง ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร เราต้องเดินหน้าปฏิรูปประเทศไปสู่สิ่งที่ดีกว่า แล้วก็หลุดพ้นจากคำว่า กับดักทางการเมืองอย่างยั่งยืน
       
       วันนี้ผมมีบุคคลตัวอย่างที่หลายคนอาจจะรู้จักกันดีมานานแล้ว ในนามมนุษย์เพนกวิน เป็นตัวอย่างของการไม่ยอมแพ้ สู้ชีวิต คิดบวก และที่สำคัญคือ การไม่ทำตัวเป็นภาระสังคม แต่กลับช่วยสร้างสรรค์สังคม ประเทศชาติให้งดงาม ในขีดความสามารถและข้อจำกัดของตัวเองนะครับ ถึงแม้ว่าจะมีข้อจำกัดด้านร่างกายของเขาเอง คนดีที่ผมอยากจะพูดถึงคือ คุณเอกชัย วรรณแก้ว แม้ไร้แขนทั้งสองข้าง แต่เขาก็สามารถที่จะสร้างทางผลงานทางศิลปะได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เขาจบปริญญาตรี คณะจิตรกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตเพาะช่าง จากนั้นก็อาศัยวิชาชีพออกไปวาดรูปตามงานต่างๆ รายได้มาช่วยปลดหนี้ ธ.ก.ส.ให้กับแม่ ปลูกบ้านหลังใหม่ให้ครอบครัว ส่งเสียเงินให้แม่ทุกๆ เดือน
       
       ทั้งนี้ สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณเอกชัยยึดถือ ในการดำรงชีวิตก็คือ โอกาสคนเราไม่เท่ากัน ต้องใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ส่วนการทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ อันได้แก่ ช่วยกันทำคนละนิด พอรวมกันมันก็เยอะไปเอง และทวงถามสำนึกของความเป็นคนไทยว่า มือของพวกคุณทำอะไรให้ประเทศดีขึ้นบ้าง เปรียบเทียบกับตัวเขานะครับ ผมหวังว่า มันจะเป็นคติ สร้างความตระหนักรู้ และเรียกร้องให้พี่น้องทุกท่านกลับมาสำรวจตัวเอง สำรวจความพร้อมของตัวเองว่า วันนี้เราได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์เพื่อประเทศชาติ หรือส่วนรวมหรือยัง โดยเฉพาะกับผู้ที่ยังหลงผิด ไม่หวังดีเหมือนเดิม คอยบ่อนทำลายสร้างสถานการณ์ ประสงค์ร้าย ป้ายสีทุกเรื่อง เหมือนจะต้องการให้กลับไปสู่ความขัดแย้งไปสู่วังวนเก่าๆ เหมือนที่ผ่านมา ผมไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ขอให้กลับมาใช้ชีวิตด้วยศักยภาพของท่านในทางสร้างสรรค์ดีกว่า พัฒนาปฏิรูปประเทศ ร่วมมือกัน ไม่ใช่ศัตรูกันอยู่แล้ว กฎหมายก็คือกฎหมาย แต่เราเป็นคนไทยด้วยกัน ให้ความร่วมมือกับทางการ ยุติความขัดแย้ง ร่วมมือกันปฏิรูป เดินหน้าประเทศไทย มันต้องมีกติกาถ้าจะปฏิรูปให้ได้ ถ้าท่านไม่ยอมรับกติกาก็ไปไม่ได้อยู่ดี รัฐธรรมนูญจะเขียนมาอย่างไรถ้าไม่ให้ความร่วมมือก็ไปไม่ได้อยู่ดี เพราะประเทศเพื่อนบ้านเขาไม่รอคอยเรา ประชาคมโลกก็มีการพัฒนา ก้าวหน้าไปทุกประเทศ ยกระดับตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ แล้วเรา จะรอเขาอยู่อย่างไร แล้ววันหน้าถ้าเขาแซงเขาก็ไม่รอเราแล้ว เราก็จะเสียทั้งโอกาส เสียตำแหน่งในบทบาทที่สำคัญของเวทีการเมือง เศรษฐกิจโลกอย่างน่าเสียดาย
       
       อีกประการขอขอบคุณกลุ่มมะโน ละเมอ ที่สร้างสรรค์คลิปและนำมาเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ในการสร้างขึ้นมาโดยไม่หวังผลกำไร เพื่อเตือนคนไทยทุกคนว่า เราสามารถทำให้ประเทศนี้ดีขึ้นได้ ขอเพียงกันทำคนละนิดในแบบที่ตนเองถนัด
       
       สำหรับในเรื่องความคืบหน้าการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลเมื่อเช้านี้ 17 เมษายนนี้ มีการสรุปผลงานของรัฐบาลในช่วง 6 เดือน ต่อจาก 3 เดือนแรก ตามแนวทางนโยบายในการขับเคลื่อน การพัฒนาประเทศ ซึ่งทางรัฐบาลประกาศไว้ 11 ด้าน ได้แถลงไปแล้ว กับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557 โจทย์ที่สำคัญของประเทศ และรัฐบาลคือ การสร้างความรักความสามัคคี ปรองดองกับคนในชาติให้ได้ และแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจของประเทศ ที่ไม่ได้มีการสร้างความเข้มแข็งไว้เพียงพอ ยังไม่มีความพร้อม ไม่มีมาตรการลดความเสี่ยงต่างๆ มาเป็นเวลาเกือบสิบกว่าปีแล้ว ทำให้ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกนั้นมีผลกระทบกับเศรษฐกิจภายในประเทศเป็นอย่างมาก หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย เราไม่เตรียมการไว้ ก็คงยังทำแบบเดิมมาตลอด วันนี้ต้องแก้ไขทั้งหมด
       
       คสช.และรัฐบาลเข้ามาบริหารราชการแผ่นดิน ก็ทำให้เศรษฐกิจที่ปีที่แล้วมันติดลบอยู่ อย่าลืม ตัวเลขติดลบ ไม่ใช่เอาตัวเลขปีที่ไม่มีเหตุการณ์มาเทียบ ไม่ได้ เรารับมายังติดลบอยู่ จาก 22 พฤษภาคม แล้ววันนี้เศรษฐกิจโลกมันก็แย่ลง แต่วันนี้ตัวเลขก็ดีขึ้น โดยในไตรมาสที่ 4 ของปี 57 (ต.ค.-ธ.ค.57) เศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 2.3 เดิมเราตั้งไว้แค่ 2 ก็เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย.57) ขยายตัวร้อยละ 0.6 เอง แสดงว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ
       
       ในด้านเสถียรภาพของทางด้านเศรษฐกิจใน 2 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ก.พ.58) ทั้งดุลการค้าและบริการของประเทศยังคงเกินดุลอยู่ ประเทศเรายังมีดุลการชำระเงินที่เกินดุล ซึ่งก็อาจจะส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาทอยู่บ้าง แต่ทางแบงก์ชาติก็ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด ก็มีมาตรการรองรับไว้ตลอดเวลา
       
       ในด้านเสถียรภาพภาคการคลัง รัฐบาลยังคงมีการจัดเก็บรายได้ที่สูงกว่าปีที่แล้ว โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ จัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 973,952 ล้านบาท สูงขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 3.5 ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจในภาพรวมจะเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหา มีผลกระทบโดยตรงต่อพี่น้องเกษตรกรผู้มีรายได้น้อย ธุรกิจเอสเอ็มอี เหล่านี้ รัฐบาลไม่เคยนิ่งนอนใจ หาทางทุกอย่างไม่ได้หยุดคิดเลย ว่าจะทำยังไงราคาสินค้าทางการเกษตรที่มันตกต่ำ จะทำยังไง การค้าขายภายนอก คือ ปริมาณมากกว่าเก่า แต่ราคาน้อยกว่าเก่า มันเป็นประเด็นนะ ก็พยายามหาทางว่าทำยังไง จะใช้ในประเทศได้มั้ย มีตลาดชุมชนบ้างได้มั้ย แล้วก็เอาไปสู่การแปรรูปได้มั้ย กำลังทำอยู่ มันต้องใช้เวลา ตั้งโรงงานอย่างต่ำก็อย่างน้อย 1-2 ปี หรือ 3 ปี ก็จะทยอยมาตามลำดับ
       
       เราก็ได้เร่งรัดจัดเตรียมมาตรการต่างๆ บางอย่างก็ทำไปแล้ว ผลักดันเร่งรัดผ่านโครงการต่างๆ ให้เกิดการหมุนเวียนของเงินลงสู่เศรษฐกิจท้องถิ่น เร่งรัดให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย ช่วยกันดำเนินการก่อสร้างถนนหนทางในพื้นที่ชนบท กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการจัดหาแหล่งกักเก็บน้ำให้มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตร กระทรวงการคลังดูแลเรื่องการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งตอนนี้ขาดสภาพคล่อง ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ในภาวะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว อันนี้ต้องดูแลธุรกิจขนาดเล็กด้วย พวกการค้าปลีกอะไรต่างๆ ก็มีความเดือดร้อน กำลังจะให้เชิญธนาคารพาณิชย์ และธนาคารรัฐมาดูจะช่วยเหลือกันอย่างไร
       
       อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อมในการที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องมีกฎกติกาใหม่ เพื่อจะจัดทำกฎหมายรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับประเทศด้วย และได้รับการยอมรับว่า เราจะต้องปฏิรูปหรือไม่อย่างไร ถ้าประชาชนวันนี้คิดว่า วันนี้เราดีอยู่แล้ว ผมก็ลำบากใจ ผมคิดว่าปัญหามันมีเยอะ ถ้าคนมาอยู่อย่างที่ผมอยู่ จะรู้ว่ามันเยอะขนาดไหน ไม่ใช่ข้อแก้ตัว พยายามทำเต็มที่แล้ว ไม่ได้หยุดเลย ก็ยังทำได้เท่านี้
       
       เพราะฉะนั้นถ้าหากว่า เราจะแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เดี๋ยวประชาชนก็จะได้รับผลประโยชน์ที่เท่าเทียมเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำด้วยเหล่านี้ มันกำลังเดินมาถูกทางที่ให้เราได้มีโอกาสทำงานตรงนี้ แต่จะต้องดูว่าจะร่วมมือกันต่อไปอย่างไร แก้ไขอย่างไร โรดแมปที่ว่ามันเป็นอย่างไร มันจะปฏิรูปได้หรือไม่ สำหรับการวางรากฐานที่มั่นคงในทุกมิติ
       
       6 เดือนที่ผ่านมานั้น รัฐบาลดำเนินการไปแล้วเบื้องต้น แล้วพร้อมที่จะส่งต่อรัฐบาลต่อๆ ไป ถ้ามันสามารถได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล และยอมรับในกติกาเรื่องการปฏิรูป เราก็จะสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของประเทศได้คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนในทุกระดับ
       
       สัปดาห์นี้ขอชี้แจงความคืบหน้าบางประการให้พี่น้องทราบดังนี้ ด้านเกษตรกรรม อันนี้สำคัญระดับต้นๆ ของเรา ประเทศของเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ปัญหาคือ เกษตรกรมีรายได้น้อย ราคาผลผลิตตกต่ำ ขาดความรู้เรื่องตลาด น้ำแล้ง ขาดที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง รัฐบาลได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาอย่างครบวงจร และบูรณาการทุกหน่วยงานให้เป็นแนวทางอันเดียวกัน อาทิเช่น การโซนนิ่งพืชผล สัตว์ ก็ต้องมีการนำร่องนะครับ ประมงก็ต้องมีระบบส่งเสริมการเกษตรมิติใหม่ด้วย ทั้งพืช ปศุสัตว์ ประมง หรือจะหาอาชีพเสริมอะไรก็แล้วแต่ ได้แก่ การนำ MRCF System มาใช้ได้แก่ M-Mapping คือที่เรียกว่า ระบบแผนที่และฐานข้อมูล ในการบริหารจัดการพื้นที่ทั่วประเทศ
       
       รวมทั้งการ R-Remote Sensing คือการเข้าถึงข้อมูลระยะไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศระหว่างบุคลากรภาครัฐ-เกษตรกร และC-Community Participation การมีส่วนร่วมของชุมชน ด้วยการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้จำนวน 882 ศูนย์ เป็นของชุมชนเอง และมีนักส่งเสริมการเกษตรเข้าไปจัดกระบวนการเรียนรู้มีเกษตรกรต้นแบบ มีสินค้าจริง มีแปลงสาธิต และF-Specific Field Service มีจุดเน้นเฉพาะ ไม่ไร้ทิศทาง สร้างโอท็อปให้เข้มแข็ง ต้องเลือกกันมานะครับว่า จะทำอะไร ทำแล้วมันขายได้ ทำแล้วมีลูกค้า ถ้าทำแล้วไม่มีลูกค้าก็เปล่าประโยชน์ เสียเวลา
       
       เรื่องต่อไปคือ การจัดกิจกรรม Business Matching เพื่อสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ และพัฒนาสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว สินค้าท้องถิ่น สินค้าโอท็อป และจัดให้มีตลาดชุมชนกว่า 8 พันแห่งทั่วประเทศในปัจจุบัน เพื่อลดกลไกพ่อค้าคนกลาง สร้างทักษะความรู้การตลาดให้กับเกษตรกร ส่งเสริมการรวมกลุ่ม ตั้งสหกรณ์การเกษตร เพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง และกำหนดราคาสินค้าในตลาดเองได้
       
       อันนี้เราต้องทำควบคู่ไปกับในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำ ตามยุทธศาสตร์ 10 ปี คือ ทำทุกปี ทำไปเรื่อยๆ จะไปจบในปี 2569 ก็เป็นตามงบประมาณที่มีอยู่ เราจะมองปัญหาน้ำทั้งระบบ จะเข้าไปดำเนินการแบบบูรณาการทุกกระทรวง เพื่อยุติปัญหาอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามันไม่ต่อเนื่อง ไม่มันเป็นพื้นที่ ไม่เชื่อมโยง มันก็ไม่จบกันซักที วันนี้เราจะทำให้มันจบ ขนาดนี้ยัง 69 เลย งบประมาณเราก็จำกัดนะครับ
       
       ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำภาคการผลิต น้ำอุปโภค-บริโภค การป้องกันและบรรเทาอุทกภัยมันต้องทั้ง 3 งานให้ได้ พร้อมกันนะครับ และปัญหาคุณภาพน้ำจากแหล่งกำเนิด 22 ลุ่มน้ำ และน้ำที่จะต้องเตรียมการสำหรับผลักดันน้ำทะเลหนุน ด้วย 5 เขื่อนหลัก กับ 4 ลุ่มน้ำภาคกลาง การฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และป้องกันการพังทลายของดิน รวมทั้งระบบโทรมาตร และศูนย์ระบบป้องกันภัยน้ำท่วม โดยคาดว่าจะเห็นผลเป็นรูปธรรมในสิ้นปี 58 นี้ เช่น 1. น้ำเพื่อการผลิต ได้แก่ การปรับปรุงระบบชลประทานเดิม 35,000 ล้านไร่ พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 1.6 ล้านไร่ ฟื้นฟูแหล่งน้ำและทางน้ำธรรมชาติ 2,000 กว่าแห่ง สระน้ำในไร่นา 50,000 บ่อ รวมทั้งสระน้ำชุมชน และระบบน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรกว่า 1,500 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นต้น
       
       2. น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ได้แก่ ประปาหมู่บ้าน 2,310 หมู่บ้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาชนบท 683 แห่ง จัดหาน้ำดื่ม น้ำบาดาล ให้โรงเรียนและชุมชน 700 แห่ง
       
       โดยแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบนี้ ได้รับความชื่นชมจากองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ครั้งที่แล้วมีการจัดวันน้ำโลก ก็จัดที่ประเทศไทยส่วนหนึ่ง เขาเห็นว่าเราเสนอแผนนี้ออกไป เขาพอใจ เพราะเขาเห็นว่าเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ การเข้าถึงแหล่งน้ำของประชาชนโดยทั่วไป ซึ่งหลายประเทศในโลกนี้ยังเข้าไม่ถึง 70 กว่าเปอร์เซ็นต์ เหมือนกัน ของเราเห็นเป็นรูปธรรมมากที่สุด ก็อยากให้เราเป็นตัวอย่าง เป็นแบบอย่าง ในการเตรียมความพร้อม และป้องกันสภาวะการขาดแคลนแหล่งน้ำของโลกในอนาคตได้ ถ้าเราไม่มีน้ำมาจากหิมะ มาจากน้ำแข็ง เราก็ลำบาก เราต้องเตรียมการตั้งแต่วันนี้ เพราะฉะนั้นถ้าเราสามารถทำได้ ประชาชนคนไทยก็จะไม่เดือดร้อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านทรงเป็นห่วงอยู่แล้ว พูดมาหลายปี รับสั่งมาหลายปีกับเราแล้ว ว่าเราจะมีปัญหาเรื่องน้ำในอนาคต คนมากขึ้น การเพาะปลูกถ้ายังทำแบบนี้อยู่ มันใช้น้ำมาก ต้องแก้ทั้งหมด ทั้งใช้ที่ให้น้อย ใช้น้ำให้น้อย ได้ผลผลิตมาก สูง อะไรทำนองนี้ ต้องทำให้ครบ ในเรื่องนี้ เรื่องการเกษตรสำคัญที่สุด คือเรื่องของการลดต้นทุน อันนี้ผมสั่งการไปแล้วชัดเจนว่าต้องทำให้ได้ในปีการผลิตนี้ โดยเริ่มจากสหกรณ์ที่เข้มแข็งก่อน สหกรณ์ต้องเข้าไปดูแล ผมอาจจะจัดเครื่องไม้เครื่องมือให้สหกรณ์ที่เข้มแข็งอยู่แล้วในวันนี้ ไปรวมกลุ่มมา แล้วทั้งเมล็ดพันธุ์ ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ เครื่องจักเครื่องมืออะไรต่างๆ รวมความไม่ถึงโรงสีขนาดกลาง ขนาดเล็ก รวมความไปถึงโรงอบข้าวอะไรทำนองนี้ เพราะไม่งั้นมันไปอยู่กับโรงสีใหญ่ๆ หมด เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยตัวเอง สร้างความเข้มแข็งให้กับสหกรณ์ให้ได้ เพราะฉะนั้นทุกคนกรุณาไปขึ้นบัญชีสหกรณ์ให้ได้ เราจะได้ดูแลตามลำดับความเร่งด่วนไป ถ้าเอาพร้อมกันทั้งหมดผมไม่มีสตางค์ให้อยู่แล้ว ตังค์ไม่พออยู่แล้วที่จะให้แบบเดิม ไม่ได้แล้ว
       
       เพราะฉะนั้นเราจะต้องทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนอย่างยั่งยืน และมีการเข้าถึงแหล่งน้ำอย่างเท่าเทียม
       
       ในด้านระบบโครงสร้างคมนาคมพื้นฐาน การสัญจรของคนในเมือง ระหว่างเมือง ขนส่งสินค้า ผลผลิตทางการเกษตร และโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม จากแหล่งผลิตสู่เมืองหลวง เมืองสำคัญ เมืองท่า หรือเมืองการค้าชายแดน และเพื่อเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยว และการเชื่อมโยงเมืองสำคัญของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง 7 ปี (2558-2565) ก็ทำเป็นรายปีไป อันไหนผูกพันได้ก็ผูกพัน อันไหนมีเงินพอ ก็ทำให้จบ อะไรทำนองนี้ มีการร่วมทุนกัน ทั้งจีทูจี กับต่างประเทศ และอาจจะลงทุนร่วมกันกับภาคเอกชนของเราเองด้วย
       
       ก็ขอเรียนว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดภายในปี 58 นี้ มีอะไรบ้าง 1. การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง จะมีการส่งมอบรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ NGV 489 คันแรก จากจำนวนทั้งหมด 3,183 คัน ในเดือนกรกฎาคม 2558 2. มอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง ได้แก่ บางปะอิน-นครราชสีมา 196 กิโลเมตร บางใหญ่-กาญจนบุรี 96 กิโลเมตร และพัทยา-มาบตาพุด อีก 32 กิโลเมตร ทั้งนี้ อยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมสำรวจออกแบบเส้นทางเพื่อจะลงมือก่อสร้างโดยทันที ให้พร้อมใช้งานในปี 2562
       
       3.รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 10 เส้นทาง 464 กิโลเมตร โดยสายสีน้ำเงินตะวันออก เปิดให้บริการแล้วสายสีม่วงเหนือจะเปิดบริการในปีหน้า สายสีน้ำเงินตะวันตก และสายสีเขียวใต้ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จะแล้วเสร็จตามกำหนดทั้งหมด พร้อมใช้งานในปี 2563 ส่วนสายที่เหลืออีก 6สาย จะอยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอน ตามกฎหมาย จนแล้วเสร็จในปี 2563 ทั้งหมด 4 โครงข่ายรถไฟทางคู่ระหว่างเมือง 6 เส้นทาง 903 กิโลเมตร ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย 106 กิโลเมตร เส้นทางมาบกะเบา - ถนนจิระ 132 กิโลเมตร เส้นทางถนนจิระ - ขอนแก่น 185 กิโลเมตร เส้นทางลพบุรี - ปากน้ำโพ 148 กิโลเมตร เส้นทางประจวบคีรีขันธ์ - ชุมพร 167 กิโลเมตร เส้นทางนครปฐม - หัวหิน 165 กิโลเมตร ทั้งหมดจะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 โดยประมาณ และจะแล้วเสร็จในปี 2561
       
       5 ระบบขนส่งทางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ให้สามารถรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวได้ 2 แสนคนต่อวัน และเชื่อมโยงการเดินทางกับระบบขนส่งสาธารณะทุกประเภทได้ มีการยกระดับท่าเทียบเรือทั้ง 19 แห่ง ให้เป็นสถานีเรือ นอกจากนี้ยังมีหลายโครงการขนาดใหญ่ เช่น โครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สตูล อันนี้ขอความกรุณาว่าอย่าขัดแย้งกันมากเลย เราพยายามที่จะดูแลผู้ได้รับผลกระทบเยียวยาให้สบายใจ ถ้าเราไม่สร้างตรงนี้ก็เป็นปัญหาอีก ประตูการค้าฝั่งอันดามันเราจะไม่มี และเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าสู่ทวีปยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา ไม่ได้
       
       ต่อไปคือโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่งท่าเรือแหลมฉบัง โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมืองระยะที่ 2 ทั้งนี้เพื่อจะเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 30 ล้านคนต่อปี โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 12.5 ล้านคนต่อปี และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 เป็นต้น รวมทั้งความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างไทย - จีน ไทย - ญี่ปุ่น ผมได้เรียนให้ทราบเป็นระยะแล้ว โครงการเหล่านี้ทั้งหมด เป็นเหมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบเศรษฐกิจของเรา ทั้งภายในและระหว่างประเทศ รัฐบาลนี้ได้ริเริ่มเร่งรัดให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้
       
       ต้องบอกประชาชนให้ทราบไว้ก่อน ไม่ใช่บอกที่หลัง จะทำอะไรต้องบอกก่อน และมั่นใจว่าถ้าทำสำเร็จก็เป็นสิ่งที่ดี ถ้าไปบอกทีหลังก็เหมือนงุบงิบทำไม่ใช่ ก็บอกมาตลอด ขอให้เข้าใจด้วย เราจะต้องยกฐานะทางด้านการแข่งขันของเราให้เป็นศูนย์กลางการใช้ระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคในเวทีโลกให้ได้
       
       เรื่องของการจัดตั้งศูนย์บริการด้านธุรกิจ One Stop Service นั้น เราได้พลิกโฉมการให้บริการภาครัฐที่เคยเป็นอุปสรรควงจรธุรกิจต่างๆ การจ่ายเงินใต้โต๊ะเจ้าหน้าที่บางส่วนต้องไม่ให้เกิดขึ้นโดยเด็ดขาด เราจะเปิดให้บริการข้อมูล อำนวยความสะดวก มีกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน แก่ผู้ประกอบการ และนักลงทุน ในหลายช่องทาง ขอเรียนอีกทีว่าตรงนี้หลายท่านยังบอกว่า ไม่รู้อะไรที่ไหนอย่างไร ได้ยินแต่พูด แต่ไม่รู้จะไปไหน นี่พูดให้ฟังแล้ว
       
       และอีกอัน ศูนย์ประสานการบริการด้านการลงทุนโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับด้านธุรกิจและด้านการลงทุนมากกว่า 20 หน่วยงาน ร่วมบริการให้คำปรึกษา และให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการธุรกิจ จะเป็นการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการขออนุมัติ ขออนุญาตต่างๆ เช่น การส่งเสริมการลงทุนการจดทะเบียนนิติบุคคล การขออนุญาตประกอบธุรกิจคนต่างด้าว จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งอยู่
       
       2.ศูนย์บริการต่อวีซ่า ใบอนุญาตทำงาน ให้บริการต่ออายุวีซ่า การขออนุญาตทำงานขยายเวลา ใบอนุญาตในการทำงาน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงแรงงาน ผู้ให้บริการ
       
       3.เรื่องของศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนในภูมิภาค 6 แห่ง ต่างจังหวัดก็มี 6 แห่ง ที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น ชลบุรี สงขลา สุราษฎร์ธานี จะให้บริการข้อมูลรับคำร้องและพิจารณาอนุมัติตามที่ได้รับมอบอำนาจที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด
       
       นี่เป็นตัวอย่างเท่านั้นในการแจ้งผลงานของรัฐบาลและ คสช.โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายดีอย่างดียิ่ง ก็จะเป็นการเริ่มต้นในการวางรากฐานของประเทศที่ดี ที่มั่นคงในทุกมิติ ขอขอบคุณในการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หวังว่าจะได้รับการสานต่อจากทุกๆรัฐบาลต่อไป โดยพี่น้องคนไทยทุกคน ข้าราชการทุกท่าน ต้องช่วยกันรักษาผลประโยชน์ของชาติเพื่อให้แผนยุทธศาสตร์ต่างๆสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย
       
       อีกเรื่องอยากจะคุยกับพวกเราไม่ได้ไปติเตียนใคร มีคนเขียนมาในสื่อหนังสือพิมพ์ ผมก็อ่านก็เข้าท่าดี ไม่รู้จะเห็นเป็นอย่างไร เขาบอกว่านิสัยที่ไม่ดีของคนไทยก็มีอยู่ส่วนหนึ่ง ส่วนใหญ่มันดีอยู่แล้ว ดีมากกว่าไม่ดี ไม่เช่นนั้นก็เราคงเป็นประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้ไม่ได้ ส่วนที่ไม่ดี สำคัญหรือเปล่าไม่รู้ เดี๋ยวท่านลองฟังดูนะ
       
       1.ไม่ชอบศึกษาอะไรที่ละเอียด ที่มีปลีกย่อยมากๆ คือไม่คิด และเร่งรีบวิจารณ์ไปก่อน เช่น พูดเรื่องภาษีก็โวยมาก่อนว่าเก็บเงินอีกแล้ว ไม่ดูว่ามันดีหรือไม่ดี จำเป็นกับประเทศหรือเปล่า ประเทศจะพัฒนาได้อย่างไร พอเห็นพาดหัวข่าวจากสื่อที่เลือกข้างอะไรบ้าง หรือหัวเว็บไซต์ต่างๆ ก็ด่ารัฐบาล ด่าคนคิดบ้าง คือยังไม่รู้เลยว่าเขาจะทำเพื่ออะไร บางทีก็มีวาทกรรม
       
       2.เรื่องนักการเมืองที่เป็นนักเลือกตั้ง คนดีๆเยอะ แต่บางคนก็ยังใช้วิธีการเดิมๆ อยู่ วันๆก็ตั้งหน้าตั้งตารอว่า ใครจะพาดตรงไหน จะเก็บคะแนนได้ตรงไหน และฉวยโอกาสโจมตีทุกคนที่พลาด ไม่ว่าจะนักการเมืองด้วยกัน รัฐบาลหรือใครก็แล้วแต่ที่ตั้งใจจะมาทำความดีก็ด่าไปหมด ใช้วาทกรรมเจ็บๆ วันนี้รัฐบาลกำลังจะพยายามทำเพื่อคนจน ก็มาหาว่ารัฐบาลแกล้งคนจน ไม่มีจะกินอยู่แล้ว เอาแต่ขูดรีดเก็บภาษี ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าไปเก็บตรงไหน ถ้าเราต้องการให้ประเทศก้าวหน้าต้องปฏิรูปคน 2 พวกก่อน นิสัยไม่ดี คือนิสัยไม่ศึกษาอะไรให้ละเอียด แล้วตำหนิติเตียน อันที่ 2 คือไม่นึกถึงสังคมส่วนรวม สังคมไทยตกอยู่ในสังคมวาทกรรม เชือดเฉือนด้วยถ้อยคำมากกว่าให้โอกาสพิสูจน์การทำงาน ประเทศต้องการเงิน งบประมาณไปทำให้ประชาชนเติมในสิ่งที่ขาด สร้างความเข้มแข็ง ทำไงคนยากจนไม่เหลื่อมล้ำ เป็นธรรม อะไรเหล่านี้ ไม่ให้เดือดร้อน ก็กลับไปพูดในวาทกรรมว่า ก็อุตส่าห์หาเงินซื้อบ้านมาแทบตาย ยังมาเก็บภาษีบ้านเราอีก ไอ้อย่างนี้มันใช่หรือเปล่าก็ไม่รู้นะ แล้วรู้หรือยังว่าที่เขาพูดๆ กันออกมา เป็นการเสนอให้คิด แล้วพูดให้รู้หรือยังว่าเก็บจากใคร เก็บเท่าไร เก็บเมื่อไรก็ยังไม่รู้เลย ก็ว่าไปเสียก่อน เพราะตัวเองไม่ได้ดูตัวเองนะ อะไรที่เสียก็ไม่ยอมทั้งสิ้น ก็ไปสร้างวาทกรรมผิดๆ ออกมา แล้วก็ติไว้ แล้วประเทศชาติจะไปทางไหน สร้างแนวร่วมว่าไปก่อน
       
       รัฐบาลนี้ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็ต้องการความร่วมมือในการแก้ปัญหา ท่านอย่าไปสร้างความเข้าใจผิด ไม่คำนึงถึงผลเสียต่อประเทศชาติและประชาชน เรื่องภาษี ไม่ใช่เรื่องส่วนตัว เป็นเรื่องของส่วนรวมของประเทศ คนไทยหลายคนไม่ชอบอยู่แล้วล่ะ ภาษีน่ะ แต่เมื่อถามดูว่าเทียบกับรถยนต์คันแรก จำนำข้าว แต่ละคนได้ประโยชน์ ส่วนหนึ่งเสียประโยชน์ วันนี้ไม่เห็นมีใครพูดถึง ชื่นชมด้วยซ้ำไปว่าทำดี เพื่อประชาชน มันเสียไปเท่าไหร่ ไปดูซิ อันตรายนะครับนักการเมืองเหล่านี้ ก็พยายามจะทำไปสร้างความนิยมส่วนตัว และของพรรคการเมืองอะไรก็แล้วแต่ โดยการใช้วาทกรรม ผมว่าเลิกซะทีนะ การใช้วาทกรรมที่ฟังแล้วมันแปลกๆ ไม่รู้จะทำอะไร มีหลายคนพูดแล้วว่าต้องทำยังไงให้คนจนอยู่กับเราให้ได้ อันที่ 2 ทำยังไงจะให้สื่อมาอยู่กับเราให้ได้ มีคนพูดเรื่องนี้อยู่นะ ซึ่งผมไม่ได้ใช้แบบนั้น เพราะฉะนั้นอย่าไปสร้างวาทกรรม คนจนจะได้ลืมตาอ้าปากซะที ให้ราคาข้าว ราคาผลิตผลเกษตรสูงๆ เข้าไว้ ให้ไปผ่อนรถคันแรก คืนภาษีให้ เหล่านี้ บางคนก็บอกว่าจะไม่ให้คนจนมีโอกาสเลยหรือไง ไม่มีโอกาสที่จะขับรถเลยหรือไง แล้วมันขับได้มั้ยล่ะ ผ่อนเขาไหวมั้ย ยังไม่สร้างรายได้ให้เขาเลย แล้วจะให้เขาซื้อก่อนยังไง ดีมานด์กับซัพพลายมันก็ไม่มีทางเทียมทั้งหมด ขยายงบประมาณไปเยอะแยะแล้ววันนี้ขายได้น้อยลงเขาบอกว่าเป็นความผิดของรัฐบาล ทั้งๆ ที่ขยายสมัยใครก็ไม่รู้ ไปหามา ขยายเพราะไอ้รถคันแรก คนเขาซื้อกันเยอะ ซื้อกันเยอะก็ต้องขยายโรงงาน พอวันนี้ไม่มีสตางค์ซื้อ ต้องเอาคืนกันหมด ยึดคืนกันหมด แล้วทำไงล่ะ เสียเงินไปแล้ว รายละแสน ก็เท่าไหร่ล่ะ ก็โอเคล่ะ เขาบอกว่ากลับไปให้ประชาชน ผมถามเถอะ มันกลับไปคืนประชาชนเท่าไหร่ ไปเช็กเอา
       
       เพราะฉะนั้นไม่มีระบบใดที่จะสร้างความปรองดองในประเทศได้ ไม่มีระบบการปกครองใดทำให้ประเทศเจริญได้ หากคนในชาติยังไม่ได้รับการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตน แนวคิดในทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วน ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ก็คือต้องศึกษารายละเอียดให้มากขึ้น ฟัง ฟังก่อนพูด คิดก่อนทำ และต้องคำนึงถึงส่วนรวมมาก่อนส่วนตน และสิ่งใดที่เป็นการขัดขวางความเจริญของประเทศ ก็ไม่สมควรทำ และรัฐบาลจะจับตาดูบุคคลเหล่านี้ว่าเขาทำให้ประเทศชาติเสียหายหรือเปล่า อันนี้เป็นสิ่งที่เราต้องดูกัน เพราะฉะนั้นประชาชนช่วยกันดูด้วยนะ ช่วยกันพิสูจน์ข้อเท็จจริงซิว่าที่เขาพูดมามันจริงหรือไม่ และที่ผมพูดมามันจริงหรือไม่ แล้วไปดูซิว่ามันเกิดอะไรขึ้น ตรงไหนบ้าง อันไหนเกิดก่อน อันไหนเกิดหลัง อันไหนเกิดระยะยาว มันเกิดพร้อมกันไม่ได้หรอก เพราะว่ามันหมักหมมมายาวนาน เพราะฉะนั้นเราจะทำเรื่องนี้ให้จริงจัง สำเร็จ เพื่อประชาชน ประเทศชาติ ตามครรลองที่จะเกิดขึ้น ต้องช่วยกันนะครับ รัฐบาล ข้าราชการ ประชาชน และคำว่าสิทธิเสรีภาพ หน้าที่ เคารพกฎหมาย ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม เป็นสิ่งสำคัญประกอบกันทั้งหมด
       
       อันดับต่อไปผมจะเชิญ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลด้านเศรษฐกิจ มาพูดคุยทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของประเทศ ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
       
       ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล
       
       สวัสดีครับท่านผู้ชม ผมขอเวลาสัก 30 นาที เพื่อจะรายงานให้ทราบถึงความคืบหน้าด้านเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นมาในช่วง 6 เดือน วันนี้ผมมีรัฐมนตรีมาด้วย 2 ท่าน ท่านแรกคือ คุณจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ท่านที่ 2 คือคุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
       
       ท่านผู้ชมครับ ผมคงจะขอเริ่มด้วยการเล่าให้เห็นภาพกว้างของเศรษฐกิจไทยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อยากจะขอย้อนไปถึงปีที่แล้วหน่อย ดูตารางแรกก็จะเห็นว่าเมื่อตอนต้นปีที่แล้วนั้น อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสแรกนั้น ติดลบถึง 0.5 เปอร์เซ็นต์ ไตรมาสที่ 2 นั้นบวก 0.4 เปอร์เซ็นต์ ถึงไตรมาสที่ 3 บวก 0.6 เปอร์เซ็นต์ ตอนที่รัฐบาลนี้เข้ารับงานนั้น เศรษฐกิจชะลอตัวมาก พวกเราก็นั่งคิดว่าเอ๊ะจะทำยังไงจะเร่งเศรษฐกิจให้โตขึ้น เพราะถ้าขืนให้อยู่ในอัตรา 0.6 เปอร์เซ็นต์ นั้นไม่ไหวแน่นอน ก็เลยนั่งคุยกัน ก็เลยออกมาว่าเราต้องเร่งเศรษฐกิจด้วยการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณออกเป็นอันดับแรกก่อน และเร่งทำงานทุกกระทรวงให้ดี ให้เร็วที่สุดให้ได้
       
       จากการที่เราเร่งนั้น ก็เลยปรากฏว่าเราสามารถทำให้เศรษฐกิจเราขยายตัวเพิ่มจาก 0.6 เปอร์เซ็นต์ เป็น 2.3 เปอร์เซ็นต์ ได้ในไตรมาสที่ 4 ถามว่าการขยายตัว 2.3 เปอร์เซ็นต์ มาจากไหน ถ้าท่านดูในตารางถัดไป ท่านก็จะเห็นได้ว่า ตัวที่เป็นพระเอกจริงๆ มี 3 ตัว คือ 1. การใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายภาครัฐหมายถึงรายจ่ายประจำที่เบิกงบประมาณไปนั่นเอง มีการเร่งจ่ายงบประมาณใน 3 เดือนนี้มาก จนทำให้ขยายตัวสูงกว่า 3 เดือนเดียวกันของปี 56 ถึง 5.5 เปอร์เซ็นต์ ตัวนี้เป็นตัวที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้มาก 2. คือการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งเรานึกว่าไม่ได้ขยายตัว แต่แท้ที่จริงการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วสูงถึง 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในเศรษฐกิจขณะนี้ถือว่าสูงมากทีเดียว และ 3. การส่งออกบริการ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการท่องเที่ยวนั่นเอง รายได้จากการท่องเที่ยว หรือการส่งออกบริการนั้น เพิ่มถึง 11.4 เปอร์เซ็นต์
       
       สามปัจจัยนี้เป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 ปีที่แล้ว ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 เปอร์เซ็นต์ ได้
       
       คราวนี้มาดูไตรมาสแรกของปีนี้ ซึ่งเป็นไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ ในไตรมาสของปีนี้ ถ้าถามว่าปัจจัยอะไรที่เป็นช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ดี ก็มี 3 ปัจจัยเช่นเดียวกัน แต่แปรเปลี่ยนไปนิดหน่อย การผลักดันใช้จ่ายภาครัฐยังคงขยายต่อไป แต่ไม่มากนัก แต่ตัวที่กลับมาขยายมากก็คือ การลงทุนภาครัฐ คือ โครงการต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสร้างถนนก็ดี สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล อันนี้เริ่มมาเป็นตัวที่กระตุ้นเศรษฐกิจตัวสำคัญในไตรมาสที่ 2 คือเพิ่มขึ้นถึง 5 เปอร์เซ็นต์ การลงทุนเอกชน ยังคงขยายตัวต่อไปในอัตรา 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าดีทีเดียวสำหรับโลกที่ชะลอตัวในขณะนี้ และปัจจัยที่เพิ่มมากที่สุด แม้จะฐานเล็กหน่อย ก็คือการส่งออกบริการ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือการท่องเที่ยวนั่นเอง รายได้เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
       
       ตัวเลขของไตรมาสที่ 2 นี้ ผมได้จากตัวเลขจริงของเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ และผมประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคมใส่เข้าไป เป็นการประมาณการที่ถือว่าใกล้เคียงที่สุด แม้ว่าการส่งออกจะติดลบถึง 4 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ทุกคนก็ใจหายพอสมควร เพราะว่าการส่งออกเราไม่ได้หดตัวมานาน ในปีที่แล้วก็ประมาณใกล้ๆ 0 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง เพิ่ม 1 เปอร์เซ็นต์ ด้วยซ้ำไป แต่ปีนี้การส่งออก 2 เดือนแรกนี้ เฉลี่ยประมาณ 4 เปอร์เซ็นต์ นิดๆ เมื่อรวม 3 เดือนแล้วจะหดตัวถึง 4 เปอร์เซ็นต์ แต่เนื่องจากการลงทุนภาครัฐก็ดี การลงทุนเอกชนก็ดี และการส่งออกบริการก็ดีเพิ่มสูงมาก เลยชดเชยการส่งออกสินค้าที่ลดลงไปได้ โดยรวมแล้วเชื่อว่าทำได้สูงกว่า 3 เปอร์เซ็นต์ ทีเดียวครับ
       
       โดยสรุปอยากจะสรุปอีกครั้งหนึ่งนะครับว่า เศรษฐกิจของไทยนั้น ถึงแม้ว่าการส่งออกไม่ขยายตัว เพราะโลกชะลอตัวลง ไม่มีความบกพร่องของใคร โลกชะลอตัวลง ใน 2 เดือนแรก เศรษฐกิจประเทศจีนซื้อสินค้าจากเราลดลงมากเลย ลดลงถึง 11 เปอร์เซ็นต์ เศรษฐกิจจากยุโรปซื้อสินค้าลดลงจากเรา ญี่ปุ่นก็ซื้อสินค้าจากเราลดลง อาเซียนเองก็ลดลง คงมีอเมริกาที่เรายังเพิ่มขึ้นได้ ผมเชื่อว่าพอถึงไตรมาสถัดไป เนื่องจากจีนได้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการลดดอกเบี้ยมา 2 ครั้งแล้ว และเนื่องจากยุโรปได้กระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใส่เงิน ที่เขาเรียกมาตรการคิวอี ใส่เงินในระบบมา 3 เดือนติดต่อกันแล้ว เชื่อว่าทั้ง 2 เศรษฐกิจนั้นจะกลับมาซื้อสินค้าเราเพิ่มขึ้น โดยภาพรวมแล้วยอดการส่งออกคงไม่น่าจะลดลงอีกต่อไป หากการส่งออกไม่ลดลงอีกต่อไป และปัจจัยอื่นๆ เช่น การลงทุนภาคเอกชนก็ดี การลงทุนภาครัฐก็ดียังขยายตัวต่อไป และการท่องเที่ยวค่อนข้างจะขยายตัวต่อไป เนื่องจากมีแรงส่งจากนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา อันเนื่องมาจากการที่ยกเลิกกฎอัยการศึกไปแล้ว
       
       สิ่งเหล่านี้ทำให้เชื่อได้ว่า เศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปีนี้ และไตรมาส 3 ของปีนี้ น่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากที่เป็นอยู่ ถ้าการส่งออกไม่ลดลงไปอีก แต่การขยายตัวของการลงทุนภาครัฐเดินต่อไป การขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชนเดินต่อไป และการท่องเที่ยวเดินต่อไป เศรษฐกิจเราน่าจะดีขึ้นกว่านี้แน่นอน ตรงนี้เองผมอยากให้พวกเรามาพบกับรัฐมนตรีอุตสาหกรรมนะครับ ท่านจะอธิบายให้เห็นว่า ทำไมการลงทุนภาคเอกชน ซึ่งเรานึกว่าซบเซานั้น โดยแท้จริงขยายตัวครับ ขอเชิญท่านรัฐมนตรีจักรมณฑ์ครับ
       
       จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
       
       จริงๆ แล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว จนมาถึงเดือนมีนาคม วันที่ 31 มีนาคมปีนี้ จริงๆ แล้วมีการขยายตัวด้านภาคการผลิตทางด้านอุตสาหกรรมไปมากพอสมควร ผมขอยกตัวอย่างในเรื่องของโครงการที่ไปยื่นขอ รง.4 หรือโรงงาน 4 ปรากฏว่าเรามีถึง 4 พัน ประมาณ 5 พันโครงการที่ไปยื่นขอ แล้วมีเงินลงทุนประมาณ 5.5 แสนล้านบาท จะมีคนงานประมาณ 2 แสนคน อันนี้คือตัวเลขที่มาขอ แต่ตัวเลขที่มาบอกว่า ขอเปิดโรงงานดีกว่านะครับ และมาบอกว่า จะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจดูโรงงานอะไรต่างๆ เพื่อที่เขาจะประกอบกิจการ ตัวเลขนี้ซึ่งมันจะน้อยกว่าคำขอที่มาขออนุญาตเปิดโรงงาน จะปรากฏว่า มีจำนวนโรงงานประมาณ 3,500 โรงงาน ที่มาแจ้งเปิดกิจการ ในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาฯ ปีที่แล้ว จนมาถึงเดือนมีนาฯ ปีนี้ ทั้งหมด 3,500 โรงงาน มีการลงทุน 3.5 แสนล้าน และมีการจ้างงานทั้งสิ้น 1.3 แสนคน อันนี้ผมยังไม่ได้รวมตัวเลขของการนิคมอุตสาหกรรม เพราะโครงการของการนิคมอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และระบบการขออนุญาตจะไม่เน้นเรื่องของ รง.4 เพราะว่าการนิคมฯ สามารถอนุญาตได้เลย อีกประมาณ 5 หมื่นกว่าล้าน อันนี้ยังไม่ได้รวม
       
       แต่ว่ากรณีของโรงงานนิคมอุตสาหกรรมจะเป็นปริมาณขนาดใหญ่ ใช้เครื่องจักรใหญ่ลงทุนมาก แต่ว่าจำนวนจ้างงานอาจจะน้อย และในเรื่องของจำนวนโรงงานจะสู้กับของ รง.4 คือของกรมโรงงานไม่ได้ แต่ถ้ารวมยอดนี้เข้าไปจะมียอดลงทุนทั้งหมด 4 แสนล้าน ตั้งแต่ 23 พฤษภาคมจนถึง 31 มีนาคม 4 แสนล้าน และจะมีการจ้างงานประมาณ 1.4 แสน อันนี้ยอดตัวเลขสรุปนะครับ
       
       อย่างไรก็ตาม ขอเรียนว่าผมยังไม่ได้รวมโครงการที่มาขออนุญาต อาชญาบัตร ประทานบัตรเกี่ยวกับเรื่องเหมืองแร่ กรณีนี้มีคนมายื่นขอประทานบัตรไป และเราเซ็นอนุมัติไปแล้ว 195 ราย เอาแค่ช่วง 6 เดือน เพราะผมไม่ได้เอาตัวเลขสำหรับยอดไปถึงเดือนพฤษภาคม แต่ช่วงนั้นก็ไม่มีการเซ็นอยู่ดี เราอนุมัติไปที่ว่าเซ็นไปแล้ว 195 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 44,000 ล้าน และถ้าไม่นับต่อเนื่องเพราะว่าไปลงทุนแล้วมันจะเกิดแร่ที่ออกมาเราคำนวณแล้วว่า แร่ที่ออกมาจากการที่เราไปอนุมัติเหล่านี้ประมาณ 2 แสนกว่าล้าน ซึ่งก็ต่อเป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อันนี้เป็นยอดลงทุนทางภาคเอกชน
       
       ก็สรุปประมาณตัวเลขคือว่าที่เกิดขึ้นจริงๆ 4 แสนล้าน ซึ่งก็เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา อยากจะเรียนว่า มีอะไรนะที่เขาลงทุนกันเยอะๆ ก็บอกได้เลย อุตสาหกรรมการเกษตร เรื่องแปรรูปอาหาร มามากที่สุด รวมทั้งอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทั้งหลายจะมีมากที่สุด ต่อมาจะเป็นเรื่องของชิ้นส่วนรถยนต์ โลหะอะไรต่างๆ ซึ่งก็ไปสนับสนุนอุตสาหกรรมรถยนต์ เราก็มีอีโคคาร์
       
       ถัดมาคืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับพลังงาน ไม่ว่าในเรื่องของการผลิตกระแสไฟฟ้า จากชีวมวลหรืออะไรต่างๆก็แล้วแต่ที่เรียกว่าพลังงานทดแทนที่กลับมาใช้ได้ ก็มีจำนวนมาก ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ ถ้าดูในภาพรวมก็คิดว่า ทางภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งเหมืองแร่ก็เป็นตัวที่สร้างจีดีพี หรือสร้างรายได้ให้กับประชาชนพอสมควรทั้งดูในด้านจ้างงาน อีกส่วนหนึ่งที่อยากจะเรียน ว่าเป็นข้อมูลที่เราได้รับมาก็คือ ด้านของยอดส่งออกรถยนต์ ในเดือนมกราคา และเดือนกุมภาพันธ์เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป และยอดรวมผลิตรถยนต์เอาเฉพาะเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ ที่บอกว่าดูไม่ค่อยดี แต่ยอดรวมผลิต 3 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงว่ามากกว่าช่วงเดียวกัน แต่เนื่องจากยอดส่งออกมันสูง แต่ยอดการซื้อในประเทศอาจจะต่อแต่ยอดรวมถือว่าดี และมีตัวเลขอีกหลายตัวในภาคอุตสาหกรรมก็คือเช่น การนำวัตถุดิบเข้ามาเดือนกุมภาพันธ์เกือบ 20 เปอร์เซ็นต์ อันนี้ก็เป็นเครื่องชี้ว่า มันจะมีการผลิตเกิดขึ้นในช่วงถัดไป เราสังเกตว่าในแง่ของภาคการผลิต ตัวเลขทุกอย่างมันกระเตื้องขึ้นโดยเห็นชัดเจน เป็นการใช้ตัวเลขที่ของจริง การนำเข้าวัตถุดิบก็ของจริง แจ้งประกอบการ เริ่มประกอบการก็เป็นตัวเลขที่จริง ผมมีเรื่องที่จะเรียนเพียงแค่นี้ครับ
       
       ปรีดิยาธร - ท่านรัฐมนตรีครับ ท่านออกใบอนุญาตไปแล้วประมาณ 5,000 ราย แล้วเขาก็มาแจ้งเพื่อเปิดโรงงานประมาณ 3,500 ราย ผมสงสัยว่า พวกนี้ทำไมถึงอนุมัติมากในช่วง 8- 9 เดือนที่ผ่านมา ทำไมเดิมไปค้างอยู่ที่ไหน เล่าให้ฟังได้ไหม
       
       จักรมณฑ์ - อันนี้ปัญหาอันหนึ่งก็คือว่า มีกระบวนการอนุมัติโครงการ ในช่วงก่อนหน้านี้ก็มีปัญหาพอสมควร หลังจากที่ คสช.เข้ามาบริหารบ้านเมือง รวมทั้งเป็นรัฐบาลที่มาจนถึงปัจจุบันก็ได้พยายามแก้ไขว่า เรื่องของการที่จะวิ่งไปขออนุญาตไม่ใช่เฉพาะเรื่อง รง.4 รวมทั้งเหมืองแร่ เรากำหนดเวลาชัดเจน ว่าเมื่อไหร่ อย่างกรณีของโรงงานเรากำหนดภายใน 30 วัน เหมืองแร่ไม่เกิน 45 วัน เราขอใบอนุญาตของ สมอ.ไม่เกิน 23 วัน อันนี้เรากำหนดชัดเจน สำหรับผู้ที่มายื่นขอไปเช็กออนไลน์ได้เลยว่า โครงการขณะนี้ อย่างภายใน 30 วัน อยู่ที่โต๊ะไหน จุดไหน ซึ่งก็ทำให้เกิดความสบายใจ เหมือนกับว่าก็เลยมีการอนุมัติเยอะในช่วงนี้ ไม่ค่อยมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องล่าช้า อะไรต่างๆ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมหลังจาก 22 พฤษภาคม แล้ว โครงการที่มาอนุมัติ อยู่ในล็อตที่ค่อนข้างสูง
       
       ปรีดิยาธร - อย่างที่บอกว่าใบอนุญาตประกอบโรงงาน ออกใน 30 วัน หรืออันที่เรียกว่าประทานบัตรสำรวจแร่ ใน 45 วัน อันนี้ออกเป็นระเบียบ หรือกฎหมาย หรือกฎกระทรวงหรือเปล่า
       
       จักรมณฑ์ - อันนี้เราออกเป็นระเบียบของกระทรวง แต่จริงๆ แล้วมันเป็นกฎหมายซึ่งออกมาแล้ว เมื่อวันที่ 22 มกราคม เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในการอนุญาตต่างๆ ทางราชการ ซึ่งนั่นเราก็จะใช้เป็นแม่แบบด้วย แต่ถึงตัวกฎหมายแม่ซึ่งออกมาแล้ว เรากำหนดใช้ก่อนที่ตัว พ.ร.บ.เรื่องอำนวยความสะดวก ในเรื่องการอนุญาตประชาชนออก เพราะฉะนั้นผมคิดว่านี่ก็คงเป็นส่วนหนึ่ง เพราะว่าในเรื่องของการลงทุน เรื่องของการอนุญาตคำขอต่างๆ เมื่อมันมีความสะดวกแล้ว คนก็มีความรู้สึกว่าอยากที่จะไปขอ อยากที่จะไปติดต่อ อยากที่จะไปลงทุนบ้าง ถ้าตรงนั้นติดขัดแล้ว ผมก็คิดว่ามันก็เกิดความรู้สึกว่าไม่ค่อยอยากที่จะเริ่มลงทุนอะไรนัก
       
       ปรีดิยาธร - ขอบคุณมากครับ ท่านรัฐมนตรี ท่านผู้ชมครับ ฟังดูก็เหมือนกับทุกอย่างมันราบเรียบ ที่ยังมีปัญหาก็คงจะเป็นเรื่องของส่งออกซึ่งหดตัว ซึ่งผมเชื่อว่าหลังจากเมษายนไป น่าจะดีขึ้น ตอนนี้ในภาพที่ว่าทั้งหมด เราก็มีจุดอ่อนของเศรษฐกิจเหมือนกัน ทุกคนทราบดีว่า ในสินค้าเกษตร มีอยู่ 2 ตัว คือ ข้าว และยาง ซึ่งราคาใน 6 เดือนที่ผ่านมา ต่ำกว่าเมื่อปีก่อนนั้นมากพอควรทีเดียว
       
       ในขณะที่ภาคเกษตร โดยเฉพาะเรื่องข้าวและยาง มีรายได้ต่ำกว่าคนอื่น ผมอยากจะเรียนถามท่านรัฐมนตรีเกษตรฯ ว่าท่านได้มีการกระทำที่เข้าไปช่วยชาวนาที่ปลูกข้าว หรือชาวสวนยางยังไงบ้าง เพื่อให้เขา อย่างน้อยเขามีอะไรที่ประทังไปให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้
       
       ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา
       
       ก็อยากที่ท่านรองนายกฯ ได้กล่าว ตอนที่พวกเราเข้ามาทำงานเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ปัญหาหลักมันอยู่ที่ราคาสินค้าเกษตร อันแรกก็คือข้าว ข้าวนี่อาจจะเป็นส่วนหนึ่งเราทำปัญหาเอง เพราะว่าเรามีสต๊อกประมาณ 18 ล้านตัน แล้วสต๊อกที่เกิดขึ้น เกิดจากการประกันราคาข้าว ซึ่งเวลาตลาดโลกมันปรับตัวของมันเอง ราคาข้าวจริงๆ แล้วก็ทำให้รู้สึกว่ามันต่ำกว่าราคาที่ประกันไว้พอสมควร ส่วนยางเป็นเรื่องของการปรับตัวของน้ำมันอย่างที่จริง เพราะว่าการที่น้ำมันลดลงก็ทำให้ราคาของยางปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากด้วย
       
       ทีนี้ ในแง่ของมาตรการ เราก็ได้ใช้มาตรการหลายอย่างที่จะเข้าไปเสริมในแง่ของรายได้ของผู้ที่ผลิตข้าวและผู้ผลิตยาง ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เป็นส่วนใหญ่ ข้าวนี่ก็ทั่วประเทศ ยางส่วนใหญ่ก็ทางใต้ แต่ตอนหลังๆ ก็ขยายไปทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ทางเหนือบ้าง
       
       มาตรการแรกที่เราเข้าไปดำเนินการที่เกี่ยวกับข้าวโดยตรง ก็คือเรื่องของการเข้าไปช่วยเหลือรายได้ของเกษตรกรโดยตรง นี่ไม่ใช่เรื่องของการประกันราคานะ เป็นเรื่องการเข้าไปช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ที่พอจะอยู่ได้ โดยให้ครัวเรือนละประมาณ 1,000 บาท
       
       ปรีดิยาธร - ไร่ละ 1,000
       
       ปีติพงศ์ - ไร่ละ 1,000 บาท แต่เราไปคิดว่าในแต่ละครัวเรือนมีการถือครองอยู่ในระดับเท่าใด ซึ่งอันนี้ก็ได้ดำเนินการมาถึงเดือนมีนาคม และจ่ายเงินไป 38,000 ล้านบาท จ่ายให้กับครัวเรือนประมาณ 3.5 ล้านครัวเรือน ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะจบไปแล้ว เพราะว่าส่วนที่เหลือก็มีปัญหาในเรื่องของการถือครองที่ดินบ้าง เรื่องหลักฐานต่างๆ บ้าง ซึ่งจากการสำรวจก็ปรากฏว่าเกษตรกรจำนวนมากก็พึงพอใจ แต่ส่วนหนึ่งก็เห็นว่าควรจะจ่ายเพิ่มอีก ซึ่งอันนี้ก็เป็นเรื่องปกติ ในการดำเนินการเราก็ต้องดูว่า ในที่สุดแล้วภาระของรัฐบาลมีมาก/น้อยแค่ไหน และเกษตรกรจะอยู่ได้ด้วยความช่วยเหลือขนาดไหน
       
       นอกจากนั้นแล้วก็มีมาตรการทางอ้อมอื่นๆ อีก เช่น ทางด้านของการจ้างงาน ก็มีการจ้างแรงงานถึง 38,000 ราย เพื่อที่จะปรับปรุงระบบการชลประทาน ที่จะนำน้ำไปสู่พื้นที่ของเกษตรกร มีการฝึกอบรม ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร และมีการสนับสนุนให้มีการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ซึ่งไม่ใช้น้ำมาก ประมาณ 142,000 ไร่ ทั้งหมดนี้ก็เป็นมาตรการที่พยายามที่จะช่วยเหลือชาวนาในเรื่องของราคาพืชผลที่ตกต่ำ แต่อีกส่วนหนึ่งผลมันเกิดมาจากเรื่องของความแห้งแล้งในปีที่แล้ว ก็มีมากเนื่องจากน้ำส่วนหนึ่งนำมาใช้ล่วงหน้าน้ำที่เหลือจะนำมาใช้ในเรื่องการเกษตรทั้งหมดในฤดูแล้งก็ไม่เพียงพอ
       
       มาตรการหลักมาตรการหนึ่งซึ่งเราเห็นว่า เป็นมาตรการซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้วคนให้ความสนใจมาก คือมาตรการที่จะช่วยเหลือบริเวณที่มีภัยแล้งซ้ำซาก โดยใช้เงินเข้าไปในตำบลต่างๆ 3,000 กับ 51 ตำบล เพื่อให้เกษตรกรได้คิดอ่านที่จะดำเนินอาชีพของตนเอง ทั้งในส่วนที่เป็นเรื่องของการปรับปรุงพื้นที่ การปรับปรุงอาชีพ การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ก็ปรากฏว่า ขณะนี้ได้จ่ายเงินไปแล้ว 6,590 กว่าโครงการ ก็ 3,000 กว่าล้านบาท จะหมดแล้ว มีอยู่ 1 ตำบล หรือ 2 ตำบล ที่ไม่เอา เนื่องจากเขาบอกว่า ไม่แล้ง หรือว่าเขาไม่มีความปรารถนาที่จะลงทุนอีกต่อไป อันนั้นก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อมาดูแล้วสถิติบอกว่า 51 เปอร์เซ็นต์ ของตำบลเหล่านี้ต้องการที่จะเอาเงินเหล่านี้ไปทำเรื่องพัฒนาแหล่งน้ำของตัวเอง ซึ่งก็หมายความว่า คนจะใช้แรงงานเพือ่อให้ได้น้ำมา เพื่อไปเพาะปลูกในปีต่อไป
       
       นอกจากนั้น ก็มีเรื่องของผลิตทางการเกษตร การแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มรายได้ประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือก็เป็นเรื่องของการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆเพื่อการผลิต พวกลานตาก ยุ้งฉางต่างๆ เหล่านี้ 41 เปอร์เซ็นต์ และมีการจัดการเพื่อลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร คือการเก็บให้ดีประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นเรื่องแหล่งน้ำหมดเลย 51 เปอร์เซ็นต์ ตรงนี้ก็มีความชัดเจนว่า บางกิจกรรมจะมีผลเฉพาะในเรื่องของการได้รายได้โดยตรง เช่น การจ้างงาน แต่บางกิจกรรมจะมีผลต่อเนื่อง เช่น แหล่งน้ำ ก็ทำให้มีน้ำ เช่นปรับปรุงพื้นที่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆก็จะทำให้เก็บรักษาพืชผลการผลิตได้ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
       
       ในส่วนที่ 2 คือเรื่องของยางพารา ก็มีปัญหาในเรื่องราคาเช่นกัน แต่ยางพารามีปัญหาทางด้านโครงสร้างเยอะกว่า เพราะว่ายางพาราไม่ใช่อาหารสัตว์ แต่เป็นสิ่งซึ่งเอาไปประกอบเป็นอุตสาหกรรม หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ฉะนั้นเวลาที่เศรษฐกิจไม่ดี และถูกซ้ำเติมด้วยราคาน้ำมัน หรือว่าการใช้ยางพาราเป็นปัญหาค่อนข้างจะมาก
       
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะสั้นเราพยายามที่จะอัดฉีดเงินเข้าไปในระบบ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละพันบาทเช่นเดียวกัน และจ่ายไปแล้ว 7.6 แสนครัวเรือน เป็นเงิน 7 พันกว่าล้านบาท ซึ่งอันนี้ใกล้จะยุติแล้ว เหลือตกค้างเช่นเดียวกับข้าวนิดหน่อย
       
       นอกจากนั้น พยายามที่จะให้สหกรณ์ได้มีบทบาทที่จะช่วยเหลือราคายางด้วย ด้วยการที่จะให้เงินกู้หมุนเวียน เพื่อซื้อยางแก่สถาบันเกษตรกรวงเงินหมื่นล้านบาท เบิกไปแล้ว 3 พันกว่าล้านบาท อันนี้เกษตรกรไปรวบรวมยางพารา ปรับปรุงบ้าง หรือว่าเอาไปขายต่อบ้างอย่างนี้เป็นต้น สินเชื่อที่สำคัญมากที่สุดในขณะนี้ เป็นสินเชื่อเพื่อการปรับโครงสร้างระยะยาวคือ เราได้ขอสินเชื่อในวงเงินหมื่นล้าน รายละไม่เกิน 1 แสนบาท เพื่อที่จะให้เกษตรกรได้ปรับโครงสร้างการผลิตของตัวเอง เป็นการเกษตรแบบผสมผสาน เพราะว่ายางพาราจะเห็นได้ว่า ขึ้นสูงมากก็ลงต่ำมากได้เหมือนกัน ในช่วงนั้นเกษตรกรจะสร้างความมั่นคงให้กับรายได้อย่างไร เป็นเรื่องที่เราได้เปิดกว้างมาก และเกษตรกรได้ยื่นขอกู้ถึง 1.1 แสนราย แต่ว่าขณะนี้ ธ.ก.ส.จ่ายเงินกู้ไปแล้วจำนวนหนึ่ง เพราะว่าต้องดูตามระเบียบการของ ธ.ก.ส. ซึ่งอันนี้ท่านรองนายกฯ ก็คงกำลังพิจารณาให้ดูว่า จะทำให้รวดเร็วมากขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กำลังดำเนินการอยู่
       
       ทั้งหมดเป็นเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าทั้งนั้น ในช่วงระยะเวลาต่อไป เราคงจะต้องมีการปรับโครงสร้างในการพัฒนาการเกษตรให้มากยิ่งขึ้นกว่านี้ เพื่อทำให้ความมั่นคงในแง่ของรายได้ของเกษตรกรมีมากขึ้น เท่าที่เราสำรวจถามว่า โครงการทั้งหมดยังมีผลไหม เท่าที่เราสำรวจในช่วงระยะเวลาเดียวกันตั้งแต่วันที่ 1-7 มีนาคมเทียบกับปีที่แล้ว รายได้สุทธิของเกษตรกรลดลงไปประมาณ 600 บาทต่อครัวเรือน ถ้าเกิดโครงการ 3 พันกว่าล้านที่ช่วยพื้นที่ภัยแล้งมีประสิทธิภาพ และเอาไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ผมเชื่อว่าส่วนต่างตรงนี้มันอาจจะลดลงไป และตอนนี้ใกล้จะถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่แล้ว โครงการต่างๆ จะทำให้รายได้ของเกษตรกรน่าจะเพิ่มขึ้นในระดับ
       
       ผมลืมเรียนไปเรื่องหนึ่งคือ เรื่องประมง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กุ้งเคยส่งออก 5 แสนตันต่อปี เดิมลดลงเหลือประมาณแสนตัน เนื่องจากเป็นโรคอีเอ็มเอส โรคตายด่วน ขณะนี้ปรับขึ้นไปได้เกือบ 3 แสนตันต่อปี ก็เป็นส่วนที่อาจจะช่วยได้ในฤดูกาลต่อไป
       
       ปรีดิยาธร - แล้วโรคตายด่วนนี้ท่านแก้อย่างไรถึงปรับขึ้นมาได้
       
       ปีติพงศ์ - โรคตายด่วนมันมี 2 ด้าน ด้านหนึ่งคือเรื่องของสิ่งแวดล้อม อีกด้านคือเรื่องแม่พันธุ์ แม่พันธุ์ต้องใช้เวลานิดหน่อย ขณะนี้ที่แก้คือเรื่องสิ่งแวดล้อม คือการที่ไปตรวจสอบดูว่า แม่พันธุ์ป่วยตั้งแต่แม่หรือเปล่า ในบ่อๆ หนึ่งควรจะใช้เลี้ยงกุ้งซักเท่าไร แล้วก็การใช้พวกผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในการแก้ปัญหา ก็ร่วมผสมผสานกัน 2-3 อย่าง แก้ไปได้ในระดับหนึ่ง
       
       ปรีดิยาธร - ขณะนี้กำลังทำเพิ่มเติม
       
       ปีติพงศ์ - ครับ
       
       ปรีดิยาธร - สำหรับสินเชื่อยาง เพื่อปรับปรุงโครงสร้างระยะยาว ปรับปรุงสวน เป็นสินเชื่อระยะยาวนั้น ชาวสวนยางขอมาประมาณแสนกว่าราย ขณะนี้ ธ.ก.ส.อนุมัติจ่ายเงินไปแล้ว 2.7 หมื่นราย ผมได้เร่ง ธ.ก.ส.ไปแล้วให้เร่งทำมากขึ้น เพราะอันนี้เป็นสินเชื่อที่ดี เพราะว่าเป็นสินเชื่อที่เขาจะเอายางเก่าที่ส่วนเกินออก แล้วหันไปปลูกอย่างอื่น หรือทำอาชีพอื่นซึ่งจะทำให้เกิดดุลยภาพระหว่างอุปทานอุปสงค์ของยางได้ดีขึ้น อันนี้จะเร่งต่อไปให้ครับ
       
       ท่านผู้ชมครับ วันนี้เรามีเวลาเพียง 30 นาทีเท่านั้น เลยมาเล่าสู่กันฟังว่า ทางอุตสาหกรรมก็ดี ทางเกษตรก็ดีทำอะไรไปบ้าง และภาพเศรษฐกิจโดยรวมนั้น ถึงแม้ว่ายอดการส่งออกจะติดลบใน 2 เดือนแรก หรือ 3 เดือนแรกก็ตาม แต่เราเชื่อว่าเศรษฐกิจเรายังแข็งแรงพอควร แม้การส่งออกจะติดลบถึง 4 เปอร์เซ็นต์ ใน 3 เดือน การเพิ่มขึ้นของปัจจัยอื่นได้มีส่วนช่วยทำให้เศรษฐกิจของเราใน 3 เดือนแรกนี้ น่าจะขยายตัวได้ 3 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ผมเชื่อว่าในไตรมาสถัดไป เมื่อการส่งออกกลับมาปกติแล้ว ปัจจัยอื่นๆ จะช่วยให้เศรษฐกิจเรากลับมาขยายตัวดีขึ้น ผมขอลาแต่เพียงเท่านี้ครับ สวัสดีครับ 

Thursday, April 16, 2015

ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-04-16 ตอน เปรมสั่งกองทัพเตรียมฆ่าประชาชน ปกป้องราชบัลลังก์?



 ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-04-16 ตอน เปรมสั่งกองทัพเตรียมฆ่าประชาชน ปกป้องราชบัลลังก์? 


  


Friday, April 10, 2015

"ประยุทธ์" ลั่นมือฆ่า กปปส.ชุดเดียวกับที่ยิงม็อบแดงปี 53 เหน็บเป็นฝ่ายค้านหรือ รบ.ก็ยังทำแบบเดิม (Credit Manager Online)


ขอบันทึกคำพูดของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาไว้สำหรับการวิเคราะห์เชิงวิชาการในอนาคตนะครับ


ขอบคุณเมเนเจอร์ออนไลน์ ที่บันทึกถ้อยคำที่เป็นประวัติศาสตร์ที่ลูกหลานควรเอาไปศึกษาในอนาคตครับ




"ประยุทธ์" ลั่นมือฆ่า กปปส.ชุดเดียวกับที่ยิงม็อบแดงปี 53 เหน็บเป็นฝ่ายค้านหรือ รบ.ก็ยังทำแบบเดิม 
10 เมษายน 2558 21:26 น.
       “ประยุทธ์” ลั่นมือฆ่าม็อบ กปปส. ชุดเดียวกันกับที่ทำร้ายเสื้อแดงปี 53 เหน็บไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลก็ทำแบบเดิม จวกสื่อเลือกข้างหมดแล้ว เผยเรียกมาเตือน 2 - 3 แห่ง ฐานบิดเบือนข้อเท็จจริง แจงไม่ได้ให้ฝรั่งมาจุ้นเขียนรัฐธรรมนูญ แค่ขอข้อมูลเพิ่มเติม ย้ำคนไทยต้องอดทนหากต้องการประชาธิปไตยที่สมบูรณ์
     
       วันนี้ (9 เม.ย.) เมื่อเวลา 20.15 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ออกอากาศทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ว่า ขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทย ได้เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ กลับไปหาพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้มีพระคุณ สวดมนต์ไหว้พระขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิต และยังวันที่สำคัญต่อสถาบันครอบครัว ทั้งวันผู้สูงอายุแห่งชาติในวันที่ 13 เม.ย. และวันครอบครัวในวันที่ 14 เม.ย.ด้วย รัฐบาลมีความห่วงใยในเรื่องของการเดินทาง ทั้งในส่วนของทางบก ทางเรือ ทางอากาศ โดยมีการรณรงค์ผ่านโครงการ “แล้งนี้ ไม่แล้งน้ำใจ ขับขี่ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์ ลดการใช้โลหิต” เพื่อให้เราท่องเที่ยวกันโดยไม่มีการสูญเสียเหมือนกับทุกๆปีที่ผ่านมา รวมไปถึงการรณรงค์ให้ประชาชนเล่นน้ำในประเพณีสงกรานต์ตามวิถีปฏิบัติอย่างเหมาะสม เช่น การแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลม กริยาไม่สุภาพ และร่วมกันทำให้ต่างชาติประทับใจ
     
       พล.อ.ประยุทธ์ ยังได้กล่าวถึงเรื่องความร่วมมือระหว่างประเทศว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมารับบาลไทยได้มีโอกาสชต้อนรับนายกรัฐมนตรี ดมิทรี เมดเวเดฟ แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และคณะ ในการเดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 25 ปีของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย ซึ่งก็ได้มีการพูดคุยถึงการยกระดับความร่วมมือกันในทุกมิติ โดยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจภาครัฐจำนวน 5 ฉบับ และของภาคเอกชนอีก 5 ฉบับ ทั้งเรื่องการลงทุน พลังงาน วัฒนธรรม ท่องเที่ยว และเรื่องการต่อต้านยาเสพติด นอกจากนี้ยังได้พูดคุยถึงการผลักดันการค้าทวิภาคีเติบโตขึ้นจาก 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี เป็น 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯภายในปีหน้า ด้วยการเปิดตลาดสินค้าระหว่างกัน และอำนวยความสะดวกทางการค้า ก็ได้เสนอให้ทางรัสเซียพิจารณานำเข้ายางพารา และสินค้าเกษตรอื่นๆ รวมทั้งได้เชิญชวนรัสเซียให้เข้ามาร่วมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยด้วย
     
       “สำหรับข้อตกลงอื่นๆ กับประเทศอื่นๆ เราก็จะเร่งรัดขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม แล้วก็ให้ความเป็นธรรมกับประเทศ มิตรประเทศเหล่านั้นด้วย เราพร้อมจะเป็นมิตรกับทุกประเทศในโลกนี้ เราใช้หลักการคือพื้นฐานแห่งความไว้วางใจ ลดความหวาดระแวง และมีผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ทุกประเทศมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่ประเทศเล็ก” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
     
       นายกฯยังได้กล่าวถึงกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรด้วยว่า ปัจจุบันกระบวนการยังไม่เสร็จสิ้น จึงไม่อยากให้ไปตำหนิติเตียนกันหรือสร้างความขัดแย้งกัน แต่ก็เป็นเรื่องน่าดีใจที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจติดตามอย่างใกล้ชิด สิ่งที่หลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงก็มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ทั้งการเข้าสู่อำนาจ หรือที่มาของรัฐบาล ซึ่งก็มีการนำรัฐธรรมนูญของต่างประเทศมาพิจารณา เพื่อแก้ไขปัญหาของเรา และทำให้เกิดการปฏิรูป ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นจากประชาคมโลก ให้เกิดการยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ก็ได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของต่างประเทศที่เคยเกิดความขัดแย้งจนนำไปสู่การรัฐประหาร มาให้ข้อมูลเพื่อศึกาว่าเขาใช้ระยะเวลานานขนาดไหนในการแก้ไขปัญหา
     
       “มีหลายคนมาต่อว่าผม ว่าไปเอาคนอื่นมายุ่ง ท่านน่ะไปเอามายุ่งมากกว่าผม ท่านเอามาวิจารณ์มาว่าประเทศมาใช้กฎหมาย ใช้อะไรต่างประเทศมาใช้กำลัง ไอ้นั่นน่ะหนักยิ่งกว่าผมนะจะบอกให้ ผมเอามาเพื่อศึกษาเขาเท่านั้นเอง ไม่เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญของเรา บ้านเราคือบ้านเรา แต่เราจะถามเหตุผลของเขาว่าทำไมเขามีอย่างนั้น จะได้รู้ว่าทำไมเขาถึงมี แล้วเราจะมีบ้างได้ไหม” พล.อ.ประยุทธ์ ระบุ
     
       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า วันนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเดินหน้าประเทศ โดยรัฐบาล และ คสช.ก็ได้เข้ามาทำหน้าที่เกือบครบ 1 ปี มีความก้าวหน้าตามลำดับระยะต้น และระยะกลาง ในช่วง 1 ปีแรก กับช่วงของรัฐบาลอีก 1 ปี รวมกันแล้วก็ 2 ปีเท่านั้น เราต้องเดินหน้าประเทศไปสู่การปฏิรูปให้ได้ วางแผนการปฏิรูปพื้นฐานให้ได้ มีกลไกทำให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง เป็นรูปธรรม การร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไรให้เป็นเช่นนั้นได้ หรือกฎหมายลูก หรือว่าบทเฉพาะกาลต่างๆ โดยประชาชนจะต้องยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับกัน ประเทศก็ถอยหลังกลับที่เดิม ส่วนการเลือกตั้งต้องให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส มีนักการเมืองที่ดี มีธรรมาภิบาล มีคุณธรรมจริยธรรม
     
       “วันนี้ทุกคน ทุกหน่วยงาน ทุกคนเขามีความตั้งใจ มีความกระตือรือร้นอย่างแรงกล้าที่จะทำให้ได้อย่างที่ผมพูดนี่ แต่แน่นอนต้องมีความขัดแย้งมีคนไม่เห็นด้วยต่างๆ ผมต้องใช้เวลาในการสร้างความรับรู้ให้ได้ ให้เร็วที่สุดนะ เพื่อประเทศชาติ และประชาชน” นายกฯกล่าว
     
       พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ในเรื่องการเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้นไม่ได้มาเปล่าๆ ทุกคนต้องอดทน ต้องช่วยเหลือกัน แล้วมีมาตรการที่ทำให้เกิดเอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปให้ได้อย่างแท้จริง ทุกภาคส่วนต้องเข้มแข็ง ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เข้าถึงกฎหมายความยุติธรรมทุกคน แต่มาวันนี้พอตนใช้อำนาจทางกฎหมาย ก็ออกมาบอกว่า ไปปิดกั้นสิทธิเสรีภาพ โดยไม่ได้ดูว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร มีการประท้วงจนบริหารประเทศไม่ได้ แล้วเมื่อมีการประท้วง แล้วใครใช้อาวุธสงครามยิงใส่คนที่มาประท้วง ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วเมื่อปี 53 พอปี 56-57 ก็เป็นฝีมือของกลุ่มเดิมอีก
     
       “เมื่อมีการประท้วงแล้วใครใช้อาวุธสงครามยิงตอบคนที่เขามาประท้วง มันก็เกิดอย่างนี้ ปี 53 ก็ชุดเดิมพอปี 56-57 ก็ชุดเก่าอีกแหละ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือเป็นฝ่ายค้านก็ทำแบบเดิม นี่สังคมเข้าใจซะบ้างนะ ฟังอยู่ได้ อย่าไปฟังเขา ตามสื่อวิทยุโทรทัศน์ วันนี้ผมต้องปิดสถานีวิทยุ 6 พันกว่าแห่ง ผิดกฎหมายทั้งสิ้น ไม่เคยปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะสนับสนุนฝ่ายนักการเมือง เป็นของนักการเมืองซะส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยดี ไอ้ที่ดีอย่าไปพูด ผมไม่ได้ว่าทุกคน คนดีๆเยอะแยะไป นะ ผมไม่ได้เข้าข้างใครทั้งสิ้น ใครรู้ตัวว่าดี ผมไม่ได้ว่าท่าน ถ้าใครรู้ตัวว่าไม่ดี ผมว่าท่าน” พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
     
       นายกฯ กล่าวต่อว่า วันนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลนี้ประชานิยมมากกว่าในอดีต ซึ่งตนไม่เข้าใจว่ามากกว่าตรงไหน ที่นำเงินไปให้สวนยาง ชาวไร่ ก็เป็นการช่วยปัจจัยการผลิต แต่ไม่ได้ไปรับซื้อของ ปล่อยให้เป็นเรื่องของระบบสหกรณ์ แล้วใช้งบประมาณน้อยกว่ามหาศาล ส่วนการขึ้นเงินเดือนข้าราชการก็เพราะไม่ได้ขึ้นมานาน และก็ขึ้นจำนวนไม่มาก ขณะที่เกษตรกรก็มีการใช้งบประมาณเป็นแสนล้าน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทุกภาคส่วน ดูแลทุกคนให้ทั่วถึง ปัญหาที่ผ่านมาคือ การเมืองเข้าไปบิดเบือนทุกอย่าง ที่ผ่านมาตนก็ไม่เคยไปโต้แย้งกับรัฐบาลเลย สั่งการสิ่งใดก็ปฏิบัติ
     
       “ในเรื่องของการดูแลพี่น้องเกษตรกร บอกว่าการประชานิยมในสมัยที่ผ่านมานั้นเป็นเรื่องของให้ความเป็นธรรมแก่ราษฎร ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผมถามว่ามีดีขึ้นไหม ตอนนี้ชาวนาเป็นหนี้อยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือยังมากเหมือนเดิมหรือเปล่า วันนี้ชาวนาเป็นหนี้มากขึ้น ไหนบอกว่าดีขึ้นไง ดีขึ้นต้องหนี้ลดลง” หัวหน้า คสช.กล่าว
     
       พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถึงการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนด้วยว่า สื่อต่างๆเลือกข้างทั้งหมด สัปดาห์ที่ผ่านมามีเตือนกัน 2-3 สถานี เพราะพูดในสิ่งที่โกหก ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ซึ่งก็เคยเตือนไปแล้ว จึงอยากให้ระมัดระวัง เดี๋ยวจะหาว่าไปละเมิดสิทธิสื่อด้วย ทุกคนรู้ดีแก่ใจ ว่าใครถูกใครผิด อย่ามาโกหก บิดเบือนกันอีกต่อไป
     
       คำต่อคำ : รายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" วันที่ 10 เมษายน 2558
     
       สวัสดีครับ พี่น้องประชาชนที่รักทุกท่าน พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันหยุดของเทศกาลสงกรานต์ของคนไทย และเป็นวันที่สำคัญต่อสถาบันครอบครัวด้วย วันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายน และวันครอบครัวไทย 14 เมษายน ผมขอให้พี่น้องประชาชนชาวไทยได้เดินทางกลับภูมิลำเนาโดยสวัสดิภาพ กลับไปหาพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย รดน้ำดำหัวขอพรจากผู้มีพระคุณ สวดมนต์ไหว้พระ ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลกับชีวิตด้วย
     
       รัฐบาลมีความห่วงใยในเรื่องของการสัญจรไปมา การเดินทาง ทั้งในส่วนของทางบก ทางเรือ ทางอากาศ ก็ตาม ก็เป็นห่วง เราได้มีการรณรงค์ผ่านโครงการ แล้งนี้ไม่แล้งน้ำใจ ขับขี่ปลอดภัย ไร้แอลกอฮอล์ ลดการใช้โลหิต คือหมายความว่าอย่าให้ต้องมีการท่องเที่ยวกันแล้วเสียเลือดเนื้อ ต้องมีการใช้การบริการเลือดเป็นจำนวนมาก เหมือนกับทุกๆ ปีที่ผ่านมา ก็อยากให้เป็นเทศกาลแห่งความสุขทั่วหน้า ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พนักงานส่วนท้องถิ่น อปพร. อาสาสมัคร ตำรวจ ทหารที่เสียสละเวลาทุ่มเทแรงกายในห้วงวันหยุดยาว เพื่อจะดูแลความปลอดภัย ดูแลบ้านให้กับประชาชน การบริการจัดจุดพักรถพักสายตา จุดบริการประชาชน ซ่อมยานพาหนะ มีการบริการทางการแพทย์ การตั้งด่านตรวจแอลกอฮอล์ ตั้งป้ายจราจร ป้ายบอกทาง และเส้นทางลัดอื่นๆ จะช่วยให้ทุกคนกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย บรรดาคนขับรถสิบล้อ พนักงานขับรถสาธารณะพักผ่อนให้เพียงพอนะครับ ไม่ดื่มสุรา เพราะว่าชีวิตทุกคนนั้นฝากไว้กับท่าน ลองดูว่าเราจะขับรถอย่างไรให้ปลอดภัย มีความสุข ลดอันตรายต่อชีวิตตนเองและผู้อื่น ท่านจะต้องทำให้เรารู้สึกว่า ประเทศชาติของเรานั้น น่าอยู่ขนาดไหน นอกจากนั้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมดีงามของไทย รัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการรณรงค์โครงการให้ประชาชนเล่นน้ำในประเพณีสงกรานต์ตามวิถีปฏิบัติอย่างเหมาะสม เช่นการแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่ใส่เสื้อผ้าที่ล่อแหลม กิริยาไม่สุภาพ ไม่ใช่วัฒนธรรมของเรา และก็ให้ต่างชาติประทับใจ พร้อมทั้งรณรงค์การแต่งกายด้วยผ้าไหมผ้าไทย ผ้าพื้นเมือง เสื้อลายดอก ต้องขอความร่วมมือในการงดจำหน่ายสุราด้วยนะครับ งดดื่มเครื่องดื่มมึนเมา ในบริเวณที่จัดกิจกรรมงานสงกรานต์ ก็ขอความร่วมมือกับประชาชนที่เล่นน้ำว่าต้องไม่ให้มีสิ่งเจือปน แป้ง น้ำแข็ง รวมทั้งงดการใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง อย่าให้ผิดกฎหมาย หรืออุปกรณ์เล่นน้ำอื่นที่ทำให้เกิดอันตราย รวมถึงไม่ขับรถกระบะบรรทุกน้ำไปในที่ชุมชนหรือบริเวณจัดงานนะครับ โดยรณรงค์ให้ใช้ขันน้ำตามประเพณีดั้งเดิม การส่งเสริมภาพลักษณ์เรื่องการแสดงกิจกรรมที่เหมาะสม ในการเล่นน้ำงกรานต์ งดการแสดงหรือการต้นที่ไม่เหมาะต่อวัฒนธรรมไทย อย่างเช่นที่ผ่านมาทุกครั้ง ก็จะมีบุคคลเหล่านี้อยู่ เพราะฉะนั้นขอให้มีการกำหนดเวลาการเล่นน้ำที่ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาการจราจร และป้องกันการเกิดอาชญากรรมในยามวิกาลด้วย
     
       ช่วงนี้อากาศร้อน เรามีความเสี่ยงในเรื่องพายุฤดูร้อน 2-3 ครั้งที่ผ่านมา ก็มีอันตรายเกิดขึ้น เราก็ได้เตือนไปแล้วแต่ยังมีจุดบกพร่องอยู่ เพราะฉะนั้นหลายพื้นที่ของประเทศจะประสบปัญหาฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก ผมขอให้พี่น้องทุกคนรักษาสุขภาพ ในส่วนของรัฐบาลผมได้สั่งการให้ทุกกระทรวงตรวจสอบความเสี่ยง ดำเนินมาตรการป้องกันเชิงรุก เช่น การตรวจสอบ แก้ไขโครงสร้างของป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้า ต้นไม้ใหญ่ริมทาง ไม่ให้เกิดความเสียหาย โค่นล้มลงมา มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งเตรียมคนและเครื่องมือให้พร้อมสำหรับความช่วยเหลือ บรรเทาความเดือดร้อน เยียวยา เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้วอย่างทันที ช่วยกันดูแลนะครับ
     
       รวมความไปถึงเรื่องขยะ ขณะนี้ก็มีปัญหาในเรื่องการระบายน้ำ ท่อระบายน้ำเต็มไปด้วยขยะ ซึ่งเราก็คงโทษเจ้าหน้าที่ฝ่ายเดียวไม่ได้ ประชาชนทุกคนต้องร่วมมือกัน ผมได้รับรายงานว่า ในแต่ละวันคลองบางคลองที่มีเครื่องมือในการกำจัดขยะรวบรวมขยะในแต่ละวันมีขยะที่เป็นถุงพลาสติก หรือของที่มันทำให้ท่ออุดตันเป็นจำนวนมาก วันละประมาณ 30 ตัน อุดตันทำให้ระบายน้ำไม่ออก ส่วนใหญ่จะเป็นคลองที่มีประชาชนอยู่อาศัยตามแนวคลองทั้งสิ้น จะทิ้งลงไปในคลองบ้าง หรือแม้แต่ขยะตามบ้านเรือนก็ตาม ทิ้งลงไปไหลไปอุดท่อที่น้ำจะลงไปในท่อใหญ่ มันก็เกิดปัญหาหมด น้ำก็ท่วม ถ้าไม่ช่วยกันแบบนี้ก็ไปไม่ไหว รัฐบาลก็ทำไม่ไหว ก็อย่าโทษกันไปมาแล้วกัน มาร่วมมือกันทำ
     
       สำหรับในเรื่องของความร่วมมือระหว่างประเทศ เมื่อวันพุธที่ 8 เมษายนที่ผ่านมานั้น มีโอกาสต้อนรับนายกรัฐมนตรี นายดมิทรี เมดเวเดฟ แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และคณะ ในการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล นับเป็นการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรอบ 25 ปี ของนายกรัฐมนตรีรัสเซีย
     
       ทั้งนี้ รัสเซียกับไทยนั้น เป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันมาอย่างยาวนานเกือบ 120 ปีแล้ว ปัจจุบันก็ประมาณ 118 ปี 2560 จะครบ 120 ปี ในการเดินทางมาไทยครั้งนี้ จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดให้มากขึ้น ยาวนานแต่ค่อนข้างที่จะมีความสัมพันธ์กันในแต่ละมิตินั้นค่อนข้างจะน้อย วันนี้เราจะต้องเพิ่มกันให้มากขึ้น ก็จะเป็นการยกระดับความร่วมมือในทุกมิติ บนพื้นฐานของการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยผมและท่านนายกรัฐมนตรีเมดเวเดฟ ได้ร่วมกันเป็นสักขีพยานในการลงนามในเอ็มโอยูภาครัฐ 5 ฉบับ จะครอบคลุมในเจตนารมณ์ของเรา ของผู้นำสองประเทศ และของสองประเทศนั้นด้วยเรื่องของการลงทุน เรื่องพลังงาน เรื่องวัฒนธรรม เรื่องการท่องเที่ยว เรื่องการต่อต้านยาเสพติด ซึ่งผมก็เรียนให้พี่น้องทราบพอสังเขปไปบ้างแล้ว ก็จะเพิ่มเติมในเรื่องด้านเศรษฐกิจดังนี้ เราจะร่วมกันผลักดันให้การค้าทวิภาคีเติบโตขึ้นจาก 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ให้เป็น 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปีหน้า โดยการเปิดตลาดสินค้าระหว่างกัน การลดอุปสรรค และอำนวยความสะดวกทางการค้า ผมได้ขอให้นายกรัฐมนตรีรัสเซียได้พิจารณานำเข้ายางพารา สินค้าเกษตรอื่น ๆ และอาหาร เช่น ข้าว เนื้อหมูแช่แข็ง ผักและผลไม้สด รวมทั้งได้เชิญชวนรัสเซียให้เข้ามาร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ของไทย ตามยุทธศาสตร์แผนการลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนผู้ประกอบการของไทยก็มีความสนใจจะไปลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอาหารในรัสเซียเพิ่มขึ้น ทั้งสองฝ่ายจะอำนวยความสะดวกให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ แก่นักลงทุน ภาคเอกชนอย่างเต็มที่
     
       ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รัสเซียปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าในด้านนี้สูงกว่าเรามากนะครับ ?ทั้งในด้านการศึกษาและการวิจัย และการนำผลวิจัยมาผลิตเป็นสินค้า เราจะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับ ศูนย์นวัตกรรสโคลโกโว อินโนเวชั่น เซนเตอร์ (Skolkovo Innovation Center) นอกจากนั้นยังเห็นพ้องหลายๆ เรื่องนะครับ เช่น การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์ การแพทย์ และอวกาศ การสานต่อความร่มมือในด้านการส่งเสริมธุรกิจปิโตเลียมและการพัฒนาบุคลากรในด้านนี้ และการร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมนำทางอีกด้วย แนวทางในการสานต่อความร่มมือต่อไปอย่างยั่งยืน และเป็นที่หน้ายินดี คือ มอสโก รีเจียน สเตด ยูนิเวอร์ซิตี (Moscow Region State University) กับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ในการพัฒนาหลักสูตรมัคคุเทศก์และภาษารัสเซีย นอกจากนี้ ยังมีการลงนามความตกลงของภาคเอกชนอีก 5 ฉบับ เกี่ยวกับความร่วมมือภาคเอกชนทั้งสองฝ่าย ในด้านหนึ่ง คือ การสำรวจตลาดและกระจายสินค้ารัสเซียในไทย สอง คือการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ สาม ความร่วมมือด้านการลงทุนในประเทศที่สาม สี่ ความร่วมมือด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียมนำทาง ห้า ความร่วมมือด้านการศึกษาในสาขาการบริหารจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม คือต้องเพิ่มทั้งสองด้าน ทั้งเราไปเขา และเขามาเราด้วย ทั้งหมด ทุกประเด็น
     
       ทั้งนี้ ผมได้สั่งการให้ขยายผลความร่วมมือดังกล่าวไปสู่แผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรม ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมทวิภาคีไทย-รัสเซีย ซึ่งเราจะมีการประชุมในกลางปีนี้ ก็ต้องเตรียมข้อมูลให้พร้อมก่อน เราจะได้ก้าวหน้าโดยทันที ไม่ใช่ต้องรอประชุมกันอีกครั้ง และต้องมาสั่งกันอีกครั้ง ไม่เอา ผมได้ตกลงกันท่านแล้วว่า ในระหว่างที่ก่อนจะประชุม หาข้อมูล หาข้อยุติให้ได้เรียบร้อย แล้วจะได้ดำเนินการได้ทันที
     
       สำหรับข้อตกลงอื่นๆ กับประเทศอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน เราก็จะเร่งรัดขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรม และตรงความต้องการของเรา แล้วก็ให้ความเป็นธรรมกับมิตรประเทศเหล่านั้นด้วย เราพร้อมจะเป็นมิตรกับทุกประเทศในโลกนี้ เราใช้หลักการคือ พื้นฐานแห่งความไว้วางใจ ลดความหวาดระแวง และมีผลประโยชน์ที่เท่าเทียมกัน ทุกประเทศมีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นประเทศใหญ่ หรือประเทศเล็ก
     
       ในเรื่องของภาพรวมทางเศรษฐกิจ วันนี้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงทรงตัวอยู่ ตลาดกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป เศรษฐกิจยังหด อัตราการว่างงานสูง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ค่อยๆ ฟื้นตัวนะครับ เศรษฐกิจจีนชะลอการขยายตัวลงบ้างเล็กน้อย และเศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ชะลอตัวเช่นเดียวกัน อันนี้มันเป็นทุกประเทศนะครับ ทุกประเทศก็พยายามจะแก้ไขปัญหาอยู่ ประเทศไทยอาจจะเผชิญมากหน่อย เพราะเราต้องพึ่งพาต่างประเทศ อาจจะมากเกินไปด้วยซ้ำไป วันนี้เราต้องผลิตเองใช้เอง และเพิ่มมูลค่าของสินค้าต่างๆ เหล่านั้น ให้มีราคาสูงขึ้นเพื่อเป็นรายได้ของประเทศ หากเราไม่แข็งแรงพอ เราก็ต้องนำเข้าสินค้าอื่นๆ เขาเข้ามา ก็ทำให้มูลค่าของสินค้านำเข้าสูงขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าส่งออกของเราก็ส่งได้น้อยลง ราคามันตกต่ำ โดยเฉพาะสินค้าด้านเกษตรกรรรม อันนี้ต้องเข้าใจตรงนี้ด้วย มันไม่สามารถจะถ่วงดุลกันได้
     
       เพราะฉะนั้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศเราซับซ้อน เราต้องสร้างความเข้มแข็งก่อน วันนี้เศรษฐกิจของเราก็เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองของต่างประเทศ ในประเทศก็ต้องพยายามเข้าใจกัน ต่างประเทศเขามองเราอย่างไร ขณะนี้ก็มีบริษัทจัดลำดับของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น บริษัท เจแปน เครดิต เรทติ้ง เอเยนซี่ (JCR) ของญี่ปุ่น ได้ประกาศความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้รัฐบาลไทย โดยปรับมุมมองจากลบเป็นมีเสถียรภาพ
     
       สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค กระทรวงพาณิชย์ รายงานเงินเฟ้อในเดือนมีนาคมว่า ราคาสินค้าในภาพรวมลดลงร้อยละ 0.57 บางอย่างมันก็ลดมากลดน้อยก็ถัวเฉลี่ยกันไป หรือต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี 6 เดือน ทั้งนี้เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่งถูกลง เราก็เข้าไปควบคุมดูแลด้วย ถ้าต้นทุนมันไม่ได้เพิ่มขึ้นมันไม่สมควรที่จะขึ้นราคา ถ้าขึ้นราคามันต้องดำเนินการต่อไปในทางกฎหมายบ้าง ต้องขอร้องกัน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าราคาเชื้อเพลิงจะถูกลง ก็ต้องประหยัดกัน ประหยัดการใช้พลังงานบ้าง ก็จะช่วยลดการทำให้โลกร้อนด้วย
     
       ในภาคอุตสาหกรรม ล่าสุดผมได้รับรายงานว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ ระดับที่สูงที่สุดในรอบ 23 เดือน เนื่องจากการผลิตในอุตสาหกรรมอาหาร การกลั่นน้ำมัน รถยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวดี อุตสาหกรรมรถยนต์ก็ส่งสัญญาณที่ดี ดูจากการผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ ขยายตัวกว่าร้อยละ 11.3
     
       นอกจากนี้ ยอดการจองรถยนต์ในงานมอเตอร์โชว์ที่เพิ่งจะผ่านไปจำนวน 37,000 คัน ซึ่งก็ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าตัวเลขจะน้อยลง แต่ก็เป็นรถยนต์ที่มีราคาสูงกว่า 1 ล้านบาท แสดงว่าคนไทยก็ยังมีสตางค์ และซื้อรถยนต์ที่มีราคาสูงขึ้น ถึงแม้ว่ารถยนต์ขนาดเล็กราคาถูกจะน้อยลง อันนี้ต้องดูว่าดีมานด์ มันเป็นดีมานด์แท้หรือเทียม ในช่วงที่ผ่านมา ฉะนั้นราคาที่ค้าขายรถยนต์ในปีนี้คนดูมากขึ้น ขายรถน้อยลง แต่เม็ดเงิน 46,000 ล้านบาท ซึ่งก็ไม่ได้ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
     
       ในภาคเกษตรกรรม รัฐบาลต้องการสร้างความเข้มเเข็ง ให้เกษตรกรไทยมีความมั่นคงในอาชีพอย่างยั่งยืน เราจะเน้นฤดูกาลใหม่นี้ โดยการเข้าไปดูแลทั้งระบบให้เป็นรูปธรรม ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง จากขั้นตอนการผลิต จนถึงการตลาด การบริโภคภายในประเทศ มาตรการในการลดต้นทุนการผลิตนั้น รัฐบาลได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการ ให้ลดราคาปุ๋ยเคมี และเรียกบริษัทประกอบการปุ๋ยมาพบ จริงๆ แล้วเราอยากให้ใช้น้อยที่สุด ไปใช้ปุ๋ยอินทรีย์แต่มันก็จำเป็น เพราะดินบ้านเรามันใช้ปุ๋ยเคมีมานาน และวันนี้ก็ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวมันก็ไม่ฟื้นนะ ต้องผสมไปก่อนให้มันลดลง และวันไหนไม่ต้องใช้ได้เลยยิ่งดี บางพื้นที่ไม่ต้องใช้ได้ เราต้องผลิตปุ๋ยอินทรีย์ขึ้นมาเอง ขายกันเอง ให้เกษตรกรผลิตหรือรัฐจะผลิตก็ได้ วันนี้ก็ได้สั่งให้กระทรวงเกษตรไปเพิ่มเติมเรื่องการผลิตปุ๋ยอินทรีย์แล้ว ก็เป็นรูปแบบสหกรณ์หรือชุมชน
     
       ในเรื่องสารการกำจัดศัตรูพืชได้มีการผลิตหลายอย่างออกมา ทั้งในส่วนของน้ำยาเคมี ในส่วนของแมลงกำจัดโรค เมล็ดพันธุืที่มีคุณภาพ ราคาถูก และส่งเสริมให้ประชาชน เกษตรกรได้ไปเพาะปลูกที่มันมีราคาที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามก็ต้องควบคุมนะครับ ไม่ใช่เปลี่ยนพฤติกรรมไปปลูกที่มีราคาแพง ราคาสูง คุณภาพสูงอย่างเดียว และก็ปลูกมากเกินไป ต้องระวังเรื่องข้าวไรซ์เบอรี่เหมือนกันนะ ปลูกกันใหญ่โต มันต้องการแค่ไหน อย่างไร จนล้นตลาดอีก เพราะฉะนั้นต้องแบ่งพื้นที่ชัดเจน แบ่งกลุ่ม สร้างความเข้าใจเกษตรกร ไปดูแล ต้องให้เข้าไปดูว่าพื้นที่ไหนควรจะปลูกอะไรต่างๆ และมาดูว่าเรามีความต้องการกันอย่างไรในประเทศ ต้องการขนาดไหน ที่จะขายต่างประเทศ ที่เหลือควรจะสำรองไว้ไหม กรณีที่ขาดน้ำขาดแคลนน้ำในห้วงฤดูการต่อไป มันต้องมีสำรองไม่ใช่ผลิตอย่างเดียว แล้วก็เก็บ แล้วก็ไปอุดหนุนกันเข้ามา แล้วก็เก็บไว้ในคลัง มันไม่ใช่ความยั่งยืนนะ
     
       เราพูดไปถึงค่าบริการรถเกี่ยว รถตัด รถเกรด ทุกอย่างนะ วันนี้เราต้องใช้เทคโนโลยี แต่ปัญหาก็คือว่า เกษตรกรนั้นไม่มีความสามารถเพียงพอ เป็นแปลงนาขนาดเล็ก ก็ต้องรวมแปลงนาให้มันใหญ่ขึ้น ความหมายก็คือ เอาทุกแปลงมารวมกัน ก็เป็นของใครของมันเหมือนเดิม เพียงแต่มันใหญ่ขึ้น จะได้มีอำนาจในการต่อรองราคาในการใช้เครื่องจักร เครื่องไม้เครื่องมือ ค่าเช่าที่นาก็เหมือนกัน ต้องสำรวจให้ได้ว่ามันเป็นที่นาเช่าหรือที่นาของตัวเอง แล้วเราก็มี พ.ร.บ.การเช่า อยู่แล้ว พ.ร.บ.การทวงถามหนี้สิน อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ต้องร่วมมือกัน ถ้ายังรักษาผลประโยชน์กันเอง นายทุนก็ไม่ยอมเปิดเผย หรือก็ไปให้เกษตรกรได้ไปแสดงตัวกับราชการ หรือกับหน่วยงานแทนตัวเอง แล้วก็รับผลประโยชน์ทั้งสิ้นไป ผมว่ามันไม่เป็นธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเกษตรกรคิดว่าจะแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ท่านต้องบอกความจริง ท่านอย่าไปช่วยเขา ไม่ต้องกลัวนะครับ ไม่ต้องกลัวว่าเขาจะไม่ให้ท่านเช่าที่ต่อไป เพราะเรามี พ.ร.บ.เรื่องนี้อยู่เหมือนกัน ต้องคุ้มครองทั้งผู้เช่า และผู้ให้เช่า การไม่ให้เช่าที่นั้นมันต้องแจ้งล่วงหน้า ไม่ใช่ไม่ให้ตั้งแต่วันนี้ พอไม่พอใจกันก็ไม่ให้ เพราะฉะนั้นเกษตรกรเขาก็ไม่มีอำนาจต่อรองอะไรเลย ถ้ามีปัญหาเหล่านี้ ขอให้ไปแจ้งศูนย์ดำรงธรรมได้โดยทันที หรือว่าศูนย์การเกษตรใน 800 กว่าแห่ง รับแจ้งไว้ทั้งหมดแล้วผมจะดำเนินการแก้ไขให้โดยทันที ท่านต้องช่วยเรา ท่านอย่าปกปิดซึ่งกันและกัน เอาประโยชน์แต่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือคนใดคนหนึ่งไม่ได้ วันนี้ต้องเผื่อแผ่แบ่งปัน
     
       เรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าว และพันธุ์อ้อย พันธุ์มันสำปะหลังอะไรต่างๆ มันต้องแก้ไขหมด เราได้มีการจัดตั้งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มเติมอีก 15 ศูนย์ ใน 15 จังหวัด เพื่อจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ รักษาคุณภาพข้าวไทยให้ได้ แล้วในเรื่องของมัน ของอ้อย สับปะรด ก็สั่งให้กระทรวงเกษตรฯ นั้นไปหาพันธุ์ที่เหมาะสม ไม่ใช่เฉพาะป้อนโรงงานอย่างเดียว อาจจะต้องนำไปสู่การผลิตไบโอดีเซลเพิ่ม เกี่ยวกับเรื่องการที่นำสับปะรดที่มีคุณภาพมารับประทานกัน และส่งออกเป็นผลไม้ส่งออกต่างประเทศ วันนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นสับปะรดที่ปลูกส่งโรงงานทั้งสิ้น พอโรงงานเกินความต้องการ คราวนี้ก็ขายใครไม่ได้ เพราะมันกินอร่อยไม่ได้ มันคนละอย่างกัน ก็เร่งให้ปรับพื้นที่ และจัดหาพันธุ์ใหม่ให้ดี
     
       มันสำปะหลังก็ต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพ หัวใหญ่ ใช้น้ำน้อย ต้องลดพื้นที่ให้ได้ แล้วเพิ่มปริมาณการผลิตให้ได้ ต้องอยู่ในกรอบของดีมานด์ที่เรากำหนดไว้ ไม่อย่างนั้นการผลิตหรือซับพลายมันมากเกินไป ทุกอย่างเลยนะ ทั้งปาล์มน้ำมัน คงต้องสนับสนุนให้ปลูกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ก่อนจะปลูกปาล์มน้ำมัน ไปดูว่าขบวนการพร้อมหรือยัง เช่น พลังงาน ต้องไปดูว่า ขบวนการในการผลิตน้ำมันพร้อมหรือยัง จะได้เปลี่ยนจากการปลูกยาง มาเป็นปลูกปาล์ม แล้วนำปาล์มมาผสมน้ำมันปาล์ม และผสมในน้ำมันดีเซล เป็นบี 5 ดี 7 ต่อไปอาจจะเป็น ดี10 ในอนาคต คือผสมถึง 10 % วันนี้ตรงนี้ยังไม่พร้อม ต้องมาเตรียมกระบวนการผลิตตรงนี้ให้ได้ ถ้าได้ราคา ปาล์มก็จะสูงขึ้น ยางก็ลดลง
     
       ฉะนั้นเมื่อเราใช้ในประเทศ เรามีการใช้น้ำมันดีเซลมาก ถ้าเราผลิตน้ำมันดีเซลได้เอง หรือเอาน้ำมันมาผสมเป็นดีเซล น้อยลง ถ้า 5% 7% 10% มันต่างกันอยู่แล้ว แต่เรายังไม่พร้อม ความต่อเนื่องมันยังไม่มี พอผลิตแล้วก็ต้องดูว่าราคาต้นทุนเท่าไหร่ มันควรจะเท่าไหร่ มันควรจะถูกกว่าน้ำมันทั่วไปไหมที่ผลิตจากปิโตรเลียม ต้องคำนวณให้หมด ไม่เช่นนั้นคนก็ไม่นิยม พอผลิตออกมาแล้วมันแพงอีก ไม่ได้ ต้องผลิตแล้วถูกกว่าเดิม ถูกกว่าน้ำมันประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นแก๊สโซฮอล์ ราคายังสูงอยู่ กำลังทบทวนอยู่ว่า จะทำอย่างไร ระบบเท่าที่ผ่านมา มันไม่ครบทั้งระบบ จะให้ใช้อะไรต่างๆ ก็ตามสนับสนุนไปมันจะไม่ขาดๆ ตอนๆ ไม่ต่อเนื่องกัน มันไม่เข้มแข็งซักที วันนี้ราคายังสูงอยู่แล้วใครจะไปใช้ พอไม่ใช้ขึ้นมาขายได้น้อยขึ้นมา ปั๊มน้ำมันอะไรก็ไม่สร้างกัน พอไม่สร้างไม่รู้จะไปเติมที่ไหน ต่อไปเป็นเรื่องอะไรอีก เรื่องของที่มาทำวัตถุดิบไม่ว่าจะเป็นกากอ้อย กากน้ำตาล ต้องมาทำใช้ทั้งสิ้น มันก็พันกันไปหมด อันนี้ไม่ได้ใช้ อันนี้ก็ราคาแพง อันนี้ราคาตก ทำอย่างไรระบบ เวลาแก้ปัญหาแก้ทั้งระบบมันยาก มันไม่ใช่ง่ายๆ วันนี้แก้มาตั้งแต่ 6-7 เดือนยังไปได้ไม่ถึงไหนเลย ของเก่ามันก็ติดลบอยู่ทั้งหมด
     
       เพราะฉะนั้นต้องแก้ปัญหาให้อย่างยั่งยืน เรื่องสินค้าอ้อย วันนี้ก็จะมีนโยบายในการจัดตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่ม อย่ามาคัดค้านกันเลย ถ้าเราตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่ม ไม่จำเป็นต้องขนาดใหญ่มากหรอกครับ แต่ปรับระยะห่างให้พอสมควร บางคนขอ 80 กิโลฯ บางคน 40-50 บางคน 50-60 ในขั้นนี้จะให้เกิดอุตสาหกรรมน้ำตาล และเปลี่ยนพฤติกรรมในการปลูกพืชที่มันขาดทุนมาตลอด ชาวไร่ชาวนาทำนาแล้วราคาข้าวมันก็ตก อาจจะเปลี่ยนมาเป็นปลูกอ้อยบ้างก็ได้ แล้วก็ป้อนโรงงานน้ำตาลใหม่ขึ้นมา และเราไปดูในเรื่องของการตลาดให้มันดีขึ้น และทำน้ำตาลที่มีคุณภาพ
     
       สิ่งสำคัญก็คือ ไม่ว่าจะห่างเท่าไรก็ตาม วันนี้ห่าง 50 กิโลเมตรต่อแห่ง อย่าต่อต้าน แต่ผมจะกำชับว่า โรงงานน้ำตาลเหล่านั้นจะต้องไม่ไปแย่งสมาชิกกันที่ปลูกอ้อยอยู่เดิม ลูกอ้อย ในการป้อนโรงงานเดิมไม่ได้ เพราะฉะนั้นท่านจะต้องไปตั้งโรงงานใหม่ และไปสร้างสมาชิกของท่านขึ้นมาใหม่ ไม่อย่างนั้นมันจะแย่งกัน ทะเลาะกัน ตัดราคากัน มันก็เหมือนเดิม ผมไม่ยอมอยู่แล้ว ให้เข้าใจด้วย
     
       มันสำปะหลังเหมือนกัน ต้องไปดูว่า จะเพิ่มการเพาะปลูกด้วยน้ำหยดได้ไหม บางครั้งดินมันก็เสียหาย และน้ำมันไม่เพียงพอ น้ำหยดก็ต้องใช้เงินทุน เพราะฉะนั้นต้องสร้างความเข้มแข็งให้สหกรณ์ ว่าทำอย่างไรถึงจะมีเงินกองทุนให้เขากู้ไปทำน้ำหยด อย่างไรก็แล้วแต่วันนี้รัฐบาลต้องนำร่องเหมือนที่มาเลเซียเขาทำนะครับ เรื่องน้ำมันปาล์มเขาทำกัน 20 ปีแล้วนะ เรื่องการส่งเสริมให้ปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพาราที่ล้นตลาด ในปัจจุบันมีหลายมาตรการ ในเรื่องของการแก้ปัญหาเรื่องยางพารามันต้องลดปริมาณการผลิตลงให้มากที่สุด ให้อยู่ในกรอบในเกณฑ์ที่ใช้ในประเทศ ซึ่งเราก็ยังสร้างโรงงานไม่เท่าไหร่ โรงงานปัจจุบันต้องใช้ยางไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ นอกนั้นต้องขายวัตถุดิบไป 90 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเราเอายางมาใช้สัก 50 เปอร์เซ็นต์ ผมว่าราคามันโอเค รับได้ อยู่ได้เฉลี่ยกันไปมา เราก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเหล่านั้น ที่ลดลงไป เช่น จากการปลูกยางพารา มาปลูกปาล์มน้ำมันแทน ปาล์มน้ำมันก็ต้องมาเตรียมการทำไบโอดีเซล มันต้องสอดคล้องกับเรื่องที่ผมกล่าวมาสักครู่นะครับ ราคามันจะได้ถูกลง เรื่องการใช้น้ำมันดีเซลต้องสั่งซื่อต่างประเทศมา และพลังงานเราก็ลดน้อยลง
     
       ด้านการตลาดวันนี้ก็ส่งเสริมให้มีตลาดชุมชน กระทรวงมหาดไทย และศูนย์ราชการที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ 2,000 กว่าแห่งฝาก ท้องถิ่นช่วยดูด้วยนะครับ พยายามที่จะตัดกลไกพ่อค้าคนกลางนะ เขาควรจะได้รู้ว่ากำไรเท่าไหร่ รายได้เท่าไหร่ เกษตรกรเราก็จนอยู่อย่างนี้กี่ปีกี่ชาติ ก็โทษรัฐบาล เกษตรกรต้องมีความรู้นะครับ มีความเข้าใจเรื่องการตลาด มีความรู้เรื่องเกษตรสมัยใหม่ รู้ราคา รู้ว่าการขายสินค้าควรทำไง ราคาควรเป็นอย่างไร มันจะได้รู้กันซะที ไม่ทะเลาะกันต่อไป
     
       ในเรื่องของที่ดินทำกันนั้น รัฐบาลก็ได้ทยอยมอบเอกสารในการขอใช้ประโยชน์ที่ดินให้กับเกษตรกรที่ยังไม่มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เราจะทำอย่างเป็นระบบ บูรณาการ 6 กระทรวงที่เกี่ยวข้อง มีการขึ้นทะเบียนเกษตรกร สำรวจการใช้สอยที่ดินทั่วประเทศ ทั้งจากดาวเทียม ภาพถ่ายดาวเทียม และในเรื่องของการเข้าไปสำรวจในพื้นที่โดยหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปดูแล เราก็จะรู้ว่าพื้นที่ตรงไหนเป็นพื้นที่ที่บุกรุกอยู่แล้วบ้าง ถ้าบุกรุกมาเป็นเวลานานแล้ว 10 ปี 20 ปีขึ้นไป มันก็เป็นป่าที่เสื่อมโทรมอยู่แล้ว แต่มันผิดกฎหมาย ทำยังไงให้เขาอยู่ที่นั่น แล้วก็จำกัดให้เขาทำให้ได้ตรงนั้น แล้วไม่ไปขายต่อ อันนี้เราก็ใช้มาตรา 44 ดูแล ที่เราทำไป ไม่งั้นมันไปไม่ได้ เราจะยกเขาไปที่ไหนอีกล่ะ แล้วตรงนั้นมันก็บุกรุกมานานแล้วด้วย มันก็ไม่ได้เป็นป่าอยู่แล้ว ทำชัดเจน ไม่ได้ไปเลือกปฏิบัติกับใคร ขึ้นอยู่กับผู้ที่เขาสรุปขึ้นมา การโซนนิ่ง การทำข้อมูล ปัญหาของเราคือการทำข้อมูลยังไม่พร้อมเลย เราก็ต้องค่อยๆ ทำไป มีหลายระยะ แต่ข้อสำคัญคือเราจะไม่ซื้อขาย ไม่ให้มีการซื้อขายอีกต่อไป ที่ดินเหล่านั้นยังคงเป็นของรัฐอยู่ อันนี้ก็จะทำให้ทั่วประเทศ ก็มีระยะ 1 ระยะ 2 มีอยู่หลายจังหวัด ที่ต้องเอาคนส่วนที่ 1 ที่ต้องเอาออกมาทันที โดยเร็ว ด้วยความสมัครใจด้วย จากป่าต้นน้ำ ออกมาหาที่ให้เขาอยู่ ถ้าอยู่ต่อไปมันก็เป็นอย่างนี้ ชำรุดทรุดโทรมไปเรื่อง เดี๋ยวก็ต้องทำถนนหนทาง ทำไฟฟ้า ทำประปาเข้าไป แล้วก็เรียกร้องว่าทำไมไม่ได้ซะที ก็มันอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำ ทำให้มันก็ขยายต่อไป มีลูกมีหลาน ป่าก็หมดอีก เหมือนเดิม ต้องเอาออกมา มาอยู่ข้างนอก มาอยู่ในพื้นที่ที่ผมกำหนดไว้แล้ว คณะกรรมการเขาเลือกมาแล้ว มีพื้นที่ที่บุกรุกอยู่แล้วเดิม มีพื้นที่ที่ว่างเปล่า เป็นที่ราชพัสดุ ที่ของราชการ เราก็จะใช้มาตรา 44 ให้สามารถอยู่ได้ อยู่ได้แล้วทำกินนะ ห้ามขาย หรือขยายพื้นที่รุกล้ำไปเหมือนเดิมอีกไม่ได้ ต้องดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อจะลดปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในสังคม ความเป็นธรรม ยุติธรรม
     
       ระยะที่ 1 พื้นที่เป้าหมาย 6 แห่ง 4 จังหวัด 53,694 ไร่ ระยะที่ 2 พื้นที่เป้าหมายอีก 8 แห่ง ในอีก 8 จังหวัด อีก 51,929 ไร่ จะเห็นว่าพื้นที่มีไม่มากนัก ทั้งหมด 12 จังหวัด เราก็ต้องหาเอาคนที่ผิดกฎหมาย และไม่มีที่ทำกินจริงๆ เข้ามาอยู่อาศัย คนที่เดือดร้อนเยอะแยะไป ถูกเขาหลอกบ้าง อะไรบ้าง บางทีก็มีคนไปหลอกว่าให้มาทำกินที่นี่ แล้วก็จ่ายเงินให้เขา เขาก็จะไปทำให้ เสร็จแล้วก็ทำไม่ได้ วันนี้ที่รัฐเข้าไปสำรวจ ส่วนใหญ่ที่ประชาชนเข้าไป ไม่รู้เรื่องนะ มีคนชี้นำเขามา มันก็ผิดกฎหมายอยู่อย่างนี้ พอเราเข้าไปจัดการ ก็กลายเป็นว่าเราไปรังแกประชาชน คนจน นี่ไง ประเทศไทย ก็มีคนไปใช้ประโยชน์ถึงเยอะแยะ
     
       เพราะฉะนั้นวันนี้ ในเรื่องที่เราจะเร่งรัดให้มากขึ้น เพราะว่าเป็นแหล่งรายได้ของประเทศที่สำคัญในปัจจุบัน คือในภาคการท่องเที่ยวและบริการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น มีความสดใส และจะใช้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเราด้วยในขณะนี้ เพราะว่าเราลงทุนไม่มากนัก ถ้าไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ลงทุนเศรษฐกิจ เหล่านั้นมันต้องใช้เวลา ใช้เงินจำนวนมาก อันนี้เราก็สร้างให้มันปลอดภัย ให้มันสะอาด มีส้วม มีสุขา วันนี้ก็เห็นหลายที่มีการประกวดห้องน้ำ ห้องสุขา ในสถานที่ท่องเที่ยว ผมว่าเป็นสิ่งที่ดีนะ ริเริ่มอย่างนี้ดีกว่า คนที่เขามาเที่ยวจะได้พอใจ มีความสุข ถ้ามาแล้วก็ แน่นก็แน่น มองอะไรก็ไม่เห็น ส้วม ห้องน้ำ ก็สกปรกอีก แถมมีโจรผู้ร้ายอีก มีหลอกลวงเข้ามาอีก มีของปลอมเข้ามาอีก แล้วมันจะไปได้รายได้เข้าประเทศได้ยังไง ผมไม่เข้าใจ เพราะฉะนั้นรัฐบาล โดยเจ้าหน้าที่ทุกส่วน ทุกฝ่าย ก็จะเข้มงวดในเรื่องเหล่านี้ อย่าทำอีกเลย ทำลายประเทศกันไป จะทำลายกันไปถึงไหน
     
       เพราะฉะนั้นกลุ่มนักท่องเที่ยวปัจจุบันนั้นมีโอกาสขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจีน มาเลเซีย เกาหลี รัสเซีย ญี่ปุ่น ไตรมาสแรก มกราคม-มีนาคม 58 นี้ นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเรา ประมาณ 8 ล้านคนนะครับ ขยายตัวร้อยละ 23 จากปีที่แล้ว ใครบอกว่าลดลงมาหาผม อย่าไปพูดในสื่อตัวเลขที่กระทรวงเขาคุมท้องถิ่นเขารายงานกันขึ้นมา ถ้าท่านไม่ฟังทางวิทยาศาสตร์ ท่านจะไปเชื่อใคร ข้างนอกพูดมาไม่มีหลักเกณฑ์ ไม่ได้ เดือนเมษายนนี้ห้วงเทศกาล สงกรานต์ เราคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเที่ยวในบ้านเราประมาณ 5 แสนคนนะครับ คนไทยเองก็จะมีการเฉลิมฉลอง พักผ่อน ท่องเที่ยว จับจ่ายใช้สอย เดินทางกลับภูมิลำเนาก็จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศมีเงินมาใช้มาก มีเงินน้อยใช้น้อย ถ้ามีน้อยใช้มากก็ไม่ใช่อีก ถ้าไม่ให้ใช้เลยก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องเผื่อแผ่ต้องมีเงินมาใช้จ่ายกัน คนไม่กล้าใช้เงินให้เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างไร เศรษฐกิจมันต่อกันมันเป็นห่วงโซ่กัน รัฐบาลเขาทำขนาดใหญ่ลงมาถึงเล็ก เล็กก็ต้องช่วยเล็กดันขึ้นไปใหม่ สร้างเถ้าแก่ใหม่ ต้องมองในภาพรวมด้วยนะครับ อย่ามุ่งแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำเพียงฝ่ายเดียวไม่ได้ เศรษฐกิจท้องถิ่นตลาดชุมชนก็ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยน ค้าขาย และดูแลซึ่งกันและกัน ตามแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถ้ามีมากก็ขาย ถ้าอะไรขายไม่ได้ราคาก็ไม่มีภูมิคุ้มกันว่าอย่าปลูกให้มากนัก
     
       ในเรื่องของการแข่งขันของประเทศนั้นทำให้เข้มแข็งในเวทีโลกนั้น เราต้องทำหลายอย่างนะครับ การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานประเทศ ราง ทางน้ำ ทางอากาศ เราต้องพยายามให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุน เชื่อมโยงขนถ่ายสินค้าในภูมิภาค และมีโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการจะได้ส่งเสริมภาคการผลิต ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรมให้เกิดเสถียรภาพ น้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค น้ำประปา ปัญหาของเราคือการบริหารจัดการน้ำมัน ไม่ได้ทำทั้งระบบมาโดนตลาดอย่างต่อเนื่องทำมาเป็นปี ๆ ไม่ได้ มันต้องมาผูกโยงกันวันนี้เริ่มต้นมาได้สมัยนี้ ระยะที่ 1 มันต้องมีกี่ระยะ มีแหล่งน้ำให้กับประปาหมู่บ้านครบ อีก 6,000 กว่าแห่ง ปี 60 และแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดย่อย แหล่งน้ำในที่นา ไม่ใช่มีเงิน และไปลงในพื้นที่ที่มันขุดไปแล้วไม่มีน้ำ เก็บน้ำไม่อยู่ มันก็ต้องไป ขุดที่มันมีน้ำ และจัดระบบส่งน้ำไปที่มันไปได้
     
       วันนี้มีการจดทะเบียนนวัตกรรมจากการวิจัยในประเทศ และนำไปสู่สายการผลิต ได้สั่งการแก้ไขหลายอย่าง ราชการต้องเอาไปทดลองใช้งาน ในจากงบประมาณของหน่วยงานเอง 10-30% ต้องทดลองไปใช้ก่อน เพราะต้องมีการทดลอง มีมาตรฐานในประเทศ เราต้องผ่อนผันกฎกติกาอื่นๆ ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างเยอะแยะ เราต้องทำ ไม่เช่นนั้นมันซื้อไม่ได้ เพราะกฎหมายมันเขียนไว้อย่างนั้น อีกอันคือว่า ถ้าจะไปขายต่างประเทศเราก็ต้องส่งไปทดสอบต่างประเทศให้เขายอมรับมาตรฐาน ไม่ใช่คิดจะทำอะไรก็ขายได้หมด มันต้องผ่านมาตรการกีดกันทางการค้าเข้าไปอีก ข้อตกลง WTO, FTO อีกเยอะแยะไปหมดที่เขากำหนดไว้ ปีนี้ต้องเจรจา FTA อีกหลายประเทศเหมือนกันนะ เพราะเราไปถูกปรับเป็นประเทศรายได้ปานกลาง ฉะนั้นภาษีมันเปลี่ยนไปหมดเลย เราต้องไปเปิดเจรจากับประเทศนั้นประเทศนี้เพิ่มเติมทำให้เราขายสินค้าได้มากขึ้น ในประเทศที่ไม่ได้จำกัดเราในด้านเหล่านี้
     
       การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย การลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ค่อนข้างจะก้าวหน้ามากขึ้น แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่แค่ลงทะเบียน มันจะต้องไปดูเรื่องของการพิสูจน์สัญชาติอีก ต้องมีการรับรองโดยประเทศคู่สัญญา เช่น ประเทศรอบบ้านเรา ซีอาร์วี เขาต้องจัดชุดพิสูจน์สัญชาติเข้ามาตรวจสอบที่จดทะเบียน บางประเทศตรวจได้นิดเดียว เพระาคนเขาน้อย บางประเทศจดได้ 70-80% เขาต้องต่ออายุของการถือใบอนุญาตชั่วคราว ผ่อนผันไว้ก่อนให้ทำงานได้ก่อน แต่ขอร้องว่า พวกนี้อย่าเพิ่งย้ายไปที่ไหน เพราะฉะนั้นต่อไปจะมีการสำรวจด้วยว่า ผู้ประกอบการที่ขอจดทะเบียนไปแล้ว คนที่จดทะเบียนไปแล้วยังอยู่หรือเปล่า ไม่ใช่พวกนี้หายไปไหนหมดก็ไม่รู้ เพราะฉะนั้นต้องช่วยกันดูแล ส่วนใหญ่ก็ถูกซื้อตัวไปอีก ทำที่นี่เสร็จพอที่นี่ให้รายได้สูงขึ้นก็ไปทางด้านโน้น มันไม่มีกติกากันเลย
     
       การปฏิรูปการศึกษาก็สำคัญ ผมให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์มาก เพราะคนในแต่ละประเทศมันขึ้นอยู่กับคุณภาพของคน คุณภาพของคนมันมาจากการศึกษา ผมเองก็ต้องพัฒนาตัวเอง หลายๆ คนต้องพัฒนาตัวเอง ประชาชนก็ต้องเรียนรู้ ต้องมีความรู้ ต้องเรียนหนังสือ ต้องส่งลูกเรียน เรียนอะไรที่เป็นประโยชน์มีงานทำ ถ้าทุกคนมองแต่เพียงว่า จะหาเงินอย่างไรก็ได้ จะถูกจะผิดก็ได้ ไม่ถูก เป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดกับประเทศ ประเทศก็ไปไม่ได้ วันหน้าก็ทุจริตกันแบบเดิมอีกเยอะแยะไป ไม่ได้ มันต้องพัฒนาคนให้มากที่สุด พัฒนาฝีมือแรงงานให้ตรงกับความต้องการของตลาด วันนี้ก็เร่งทุกวัน และจะต้องรองรับภาคการผลิตในกรอบอาเซียนที่มันจะมากขึ้นเรื่อยๆ วันนี้เราผูกโยงห่วงโซ่เยอะแยะไปหมด ธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ทั้งต่างประเทศ ในประเทศ สร้างความเข้มแข็งระหว่างกัน ความเชื่อมโยงระหว่างกัน สนับสนุนซึ่งกันและกัน ไปดูแลเรื่องการศึกษาด้วย สถานประกอบการต่างๆ ต้องรับผิดชอบในพื้นที่ด้วย ต้องไปดูแลการวิจัย พัฒนา เอาคนไปเรียนรู้ในสถานประกอบการ ทำทั้งหมด รัฐบาลก็จะทำ ในระหว่างนี้เราต้องสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต เพื่อยกระดับความร่วมมือเศรษฐกิจกับตลาดใหม่ เช่น ผมเรียนไปแล้วว่า ตลาดที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอาจจะอยู่ในขั้นประเทศที่มีรายได้น้อย รายได้ต่ำ เช่น ไปดูๆ เขา วันหน้าเดี๋ยวถ้าเขาทำดี เขาอาจจะแซงเราก็ได้ ถ้าเราทะเลาะกันอยู่ เช่น แอฟริกา เอเชียใต้ ต้องดูแลเขา ผมอยากให้มองว่า ต้องดีทั้งคู่ เราดีขึ้น เขาก็ต้องดีขึ้น ไม่ใช่เราไปสูบเลือดสูบเนื้อเขามา ไม่มีความสุขหรอกครับ เผื่อแผ่แบ่งปันประชาคมโลก
     
       ตลาดที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจปานกลาง จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา รัสเซีย ประเทศหมู่เกาะ และการเพิ่มมูลค่าสินค้าชายแดนเศรษฐกิจพิเศษ ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางฮับ ทางด้านการบิน การท่องเที่ยว ฮับในเรื่องการรักษาพยาบาล การแพทย์ โรงพยาบาล ทั้งหมดนี้มันจะทำให้ประเทศเรามีรากฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงในอนาคต ต้องใช้เวลา รัฐบาลใครก็ต้องทำแบบนี้ถ้าเป็นรัฐบาลที่มีธรรมาภิบาล นึกถึงประชาชนเป็นหลัก
     
       ในการร่างรัฐธรรมนูญนั้นมีความสำคัญ ปัจจุบันก็อยู่ในกระบวนการ ก็ยังไม่เสร็จสิ้น แต่อยากจะบอกทุกคนว่า อย่าไปตำหนิติเตียนกันนักเลย น่าดีใจที่ทุกฝ่ายให้ความสนใจ ติดตามอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามในประเด็นที่ยังไม่เรียบร้อย ยังไม่ได้ข้อยุติ ก็อย่าเพิ่งไปขัดแย้งกันเลย ประเทศเราต้องไปดูก่อนว่า เราจำเป็นต้องปฏิรูปหรือเปล่า ถ้าคิดว่าไม่จำเป็นก็จบ ไม่จำเป็นต้องไปร่างใหม่ เอาอันเก่าไปใช้เมื่อไหร่ก็ได้ แต่ถ้าทุกคนคิดว่าต้องปฏิรูปแล้ว มันก็ต้องมาดูว่า จะเขียนอย่างไรให้คนในประเทศยอมรับ ให้นักการเมืองยอมรับด้วย ประเทศเราจำเป็นต้องปฏิรูปไหม และที่ผ่านมากฎกติกาบ้านเมืองมีช่องว่างตรงไหน เราก็แก้ตรงนั้น ไม่ใช่ต้องแก้กันทั้งหมด เขาทำอยู่ ก็เป็นห่วงเรื่อง ประเด็นคือกลุ่มการเมือง การเข้าสู่อำนาจ การเป็นรัฐบาล การแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์แบบครั้งที่แล้ว เขาห่วงตรงนั้น ก็เลยเขียนอะไรออกมาแบบนั้น ปัญหาคือเรายอมรับได้ไหม ยอมรับไม่ได้เพราะอะไร ถ้าได้ได้เพราะอะไร ถ้าได้เป็นผมนะ ในฐานะคนไทย ถ้าได้คือเราอยากให้ปฏิรูปได้ เราอยากให้การเมืองเราโปร่งใส อยากให้บ้านเมืองมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นก็ต้องแก้ไข มันอาจจะไม่ตรงกับประเทศอื่นๆ เพราะประเทศอื่นเขาพัฒนาเลยไปแล้ว แต่เรายังติดตรงนี้ไง เราไปเอาตรงโน้นมาทำตรงนี้ได้ไหม แล้วต่างประเทศเขาว่าไง แล้วเราแก้ตรงนี้ช้ากว่าเขาไง ท่านไปคิดใหม่นะ ไปดูว่าจะทำอย่างไร ถ้าท่านคิดว่าไม่ต้องปฏิรูป อยากให้เป็นแบบเดิม มีการใช้กำลัง ไม่ใช้อาวุธ มีเสรีภาพและข้อจำกัด กฎหมายใช้ไม่ได้ ก็ตามใจท่านแล้วกัน ผมไม่รู้จะว่าอย่างไร
     
TV24 รำลึก...ทหารล้อมยิงประชาชน 5 ปี 10 เมษายน 2553

รายงานพิเศษ ...TV24 รำลึก...ทหารล้อมยิงประชาชน 5 ปี 10 เมษายน 2553การต่อสู้เื่พื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพแห่งประชาธิปไตย ของประชาชนและคนเสื้อแดงเคียงข้าง กับกลุ่ม นปช ...ณ.ราชประสงค์ ผ่านฟ้า ราชดำเนิน 10 เมษายน 2553

Posted by Red Thai V2 on Friday, April 10, 2015


       ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ ประชาคมโลก ให้เขารู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย ผมว่าไม่ต้องอาย ถ้าทำแล้วอย่าอาย รัฐบาลไหนก็ตาม ถ้าทำแล้วยอมรับกันบ้าง ยอมรับกติกา ยอมรับกฎหมายบ้าง ผมว่าผมมอบนโยบายไปแล้วเมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา ให้ไปเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญของต่างประเทศที่เขาเกิดเหตุการณ์แบบเรา ว่ามีการปฏิวัติรัฐประหาร มีการใช้อาวุธสงคราม มีการต่อสู้กันในเมือง แล้วขันตอนเหล่านั้นจากนั้นมาจนถึงวันนี้เขาทำอะไรมาบ้าง ใช้เวลาเท่าไหร่ เราต้องถามเขาแบบนี้ ไม่ใช่ให้เขามาวิเคราะห์มาตรารัฐธรรมนูญไทยอย่างไร ไม่ใช่ ให้คนไทยได้รับรู้ ว่าถ้าจะเป็นแบบที่เขาเป็นในวันนี้ มันต้องผ่านกระบวนการอะไรมาบ้าง
     
       วันนี้ทุกคนไม่ได้มองอะไรเลย มองว่าทำอย่างไรจะมีสตางค์ ทำอย่างไรจะแก้ปัญหาโน้นนี้ได้ ทำอย่างไรจะร่ำรวย ไม่ได้คิดว่า แล้วประเทศชาติอยู่ตรงไหน แล้วขั้นตอนมันเป็นอย่างไร ใจร้อนทุกคน ก็เลยต้องเปลี่ยนแปลง ต้องใช้กำลัง ใช้อาวุธสงคราม ผมว่าไม่ใช่ เราเคยเลิกทาสมา ไม่ได้เสียชีวิตเสียอะไรกันเลย ต่างประเทศเขาก็มีเหมือนกัน ที่ผมอยากให้เอามา ก็คือฝรั่งเศส และเยอรมัน สถานการณ์คล้ายๆเรา อย่ามาบอกว่าเขาเกิดนานมาแล้ว ไม่ใช้กับวันนี้ วันนี้มันต้องย้อนกลับไปที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เอาเขามาดู แล้วเราก็ย่อมมา ว่าจะทำอย่างไร ต่อจากนั้นเราก็มาถามกันเองว่า เราต้องการอะไร เขาเป็นอย่างนี้เพราะอะไรจะถามเขาดู การมีมาตรา 16 มาตรา 17 อะไรของเขา ทำไมถึงต้องมี ไม่ใช่มานั่งเถียงของเรา แล้วไม่ดูของเขา ขณะเดียวกันคนเก่าก็ต้องการแบบเดิม มันไม่เกิดประโยชน์ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะไปได้หรือไม่ได้อยู่กับคนไทยทุกคน อยากจะให้มันดีกว่าเดิมไหม อยากอยู่ในความขัดแย้งอีกหรือเปล่า อยากมีการเมืองที่บริสุทธิ์ ยุติธรรมไหม เป็นธรรมไหม สร้างความเข้มแข็งให้ประเทศไหม เกษตรกรจะต้องมีเงิน มีรายได้มากขึ้นไหมในอนาคต ทุกอย่างมันต้องพัฒนาหมด แล้วประเทศไทยก็อ่อนด้อยแบบนี้ตลอดไป ฉะนั้นก็เร่งดำเนินการ อย่าหาว่าผมไม่เอาใครเขามาเลย มีหลายคนต่อว่าผม ว่าผมไม่เอาคนอื่นมายุ่ง ท่านไปเอายุ่งมากกว่าผม ท่านมาวิจารณ์ มาว่าประเทศ มาใช้กฎหมาย ใช้อะไร ต่างประเทศมาใช้กับเราประเทศไทย นั่นน่ะหนักยิ่งกว่าผมนะ จะบอกให้ ผมเอามาเพื่อศึกษาข้อมูล ไม่เกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญของเรา ไม่เกี่ยว บ้านเราส่วนบ้านเรา แต่เราจะถามเหตุผลของเขา ว่าทำไมถึงมีอย่างนั้น แล้วเราดูว่าทำไมถึงไม่มี แล้วเราจะมีบ้างได้มั้ย
     
       วันนี้ก็มีหลายเรื่องนะ เนื่องจากเป็นสงกรานต์ ผมก็ไม่อยากจะพูดอะไรที่มันแรงๆ นะ แต่มันก็อดไม่ได้ ขออนุญาตพูด เนื่องจากเป็นวันสุดท้ายของปีนะ วันนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญนะ ของการเดินหน้าประเทศ ที่ผมพูดมาทั้งหมด ตลอดระยะเวลาการเป็นรัฐบาล คสช. ก็ 6 เดือนใช่มั้ย 6 เดือน กับ 5 เดือน 11 เดือนแล้ว จะปีแล้ว ก็พูดตลอดนะ ความก้าวหน้า มันก็มีตามลำดับนะ แต่ผมบอกแล้วว่า มีระยะต้น ระยะกลาง ระยะปลาย จะทำระยะต้น ระยะกลาง 1 ปีแรก กับ 1 ปีที่สองที่เป็นรัฐบาล รวมแล้วก็ 2 ปีเท่านั้นล่ะ ต่อไปก็เป็นเรื่องของรัฐบาลที่โรดแมป ถ้าทำได้ก็ทำไป
     
       แต่วันนี้ต้องเดินหน้าประเทศไปสู่การปฏิรูปให้ได้ วางแผนปฏิรูปพื้นฐานให้ได้ มีกลไกในการที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปอย่างแท้จริง เป็นรูปธรรม มันก็ต้องไปดูว่าจะทำยังไงให้มันเกิดตรงนั้น กฎหมายลูก หรือบทเฉพาะกาล จะทำยังไง ถ้ายอมรับ โอเค ประเทศไปได้แน่ ถ้าไม่ยอมกัน ประเทศถอยหลังกลับที่เดิม ผมสรุปง่ายๆ แค่นี้
     
       การเลือกตั้ง เราต้องการให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรม โปร่งใส มีนักการเมืองที่ดี มีธรรมาภิบาล มีคุณธรรม จริยธรรม ก็ต้องเข้าใจสิว่าความตั้งใจของเขา ของ สนช. สปช. กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ วันนี้ ทุกคน ทุกหน่วยงาน เขามีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะทำให้ได้อย่างที่ผมพูด แต่แน่นอน มันต้องมีความขัดแย้ง มีคนไม่เห็นด้วยอะไรต่างๆ ผมก็ต้องใช้เวลาในการสร้างความรับรู้ให้ได้ ให้เร็วที่สุด เพื่อประเทศชาติและประชาชน เพื่อจะได้ปลอดภัยในช่วงการเปลี่ยนผ่าน วันนี้ผมถือว่าเป็นช่วงการเปลี่ยนผ่าน หรือส่งผ่าน ไปสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อย่างที่โลกต้องการ อย่างที่โลกเขาไม่มีปัญหา หลายประเทศผ่านการจัดการมาก่อน ผมว่าอาจจะพูดได้ว่าทุกประเทศ วันนี้ขอเวลาหน่อยเถอะ อาจจะนานสักหน่อย ไม่ได้พูดมาหลายครั้งแล้ว
     
       เพราะฉะนั้นในเรื่องของการเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์นั้น ไม่มีอะไรที่ได้มาเปล่าๆ ทุกคนต้องอดทน ต้องช่วยเหลือกัน มีมาตรการที่จะทำให้เกิดเอื้ออำนวยต่อการปฏิรูปให้ได้อย่างแท้จริง ไม่งั้นก็พูดแต่ปาก แล้วทำอะไรไม่ได้ วันหน้าก็กลับที่เก่า เพราะฉะนั้นความเข้มแข็งของข้าราชการ ข้าราชการท้องถิ่น ประชาชน เราต้องทำให้เขาแข็งแรงในอนาคต ทุกภาคส่วน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ เข้าถึงกฎหมาย กระบวนการยุติธรรมทุกคน มีเงินมีทองใช้อย่างถูกต้อง เจริญเติบโตอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
     
       ก็พูดถึงแต่สิ่งที่ทำมาแล้ว และมีปัญหาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม ก็บอกว่าไม่เป็นธรรม อะไรเหล่านี้ ผมว่าท่านหยุดพูดได้แล้วนะ หยุดพูดได้แล้ว พอผมไปใช้อำนาจทางกฎหมาย ท่านก็บอกว่าผมไปปิดกั้นเสรีภาพสิทธิ สิทธิเสรีภาพที่ผ่านมาเป็นยังไงล่ะ บริหารประเทศได้มั้ย มีการประท้วงหรือเปล่า มีการประท้วงแล้วใครใช้อาวุธสงครามยิงตอบต่อคนที่เขามาประท้วง มันก็เกิดอย่างนี้ 53 ก็ชุดเดิม 56-57 ก็ไอ้ชุดเก่าอีกล่ะ ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือเป็นฝ่ายค้าน ก็ทำแบบเดิม สังคมเข้าใจซะบ้าง ฟังอยู่ได้ อย่าไปฟังเขา ตามสื่อวิทยุ โทรทัศน์ วันนี้ผมต้องปิดสถานีวิทยุเท่าไหร่ล่ะ 6 พันกว่าแห่ง ผิดกฎหมายทั้งสิ้น ไม่เคยปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะอะไร เพราะสนับสนุนฝ่ายนักการเมือง เป็นของนักการเมืองเสียส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยดี ที่ดีๆ อย่าไปพูด ผมไม่ได้ว่าทุกคน คนดีๆ เยอะแยะไป ผมไม่ได้เข้าข้างใครทั้งสิ้น ใครที่รู้ตัวว่าดี ผมไม่ได้ว่าท่าน ใครที่รู้ตัวว่าไม่ดี ผมว่าท่านก็แล้วกัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องนำพาประเทศไปสู่อนาคต ท่านพยายามจะพูดอะไรก็ตามให้มันกลับไปที่เก่าให้ได้ สร้างการรับรู้ที่มันผิดๆ ไปอีกเหมือนเดิม ต้องการจะมีสิทธิเสรีภาพอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ได้พูดถึงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ไม่มีเลย กฎหมายไม่เป็นกฎหมาย แล้วก็บางสถานการณ์ที่อ้างด้วยความเป็นธรรม แล้วก็ทำไม่ได้ ต่างๆ ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการประท้วง อ้าวแล้วที่ผ่านมาครั้งก่อน ประท้วงหรือเปล่า ก็ประท้วงอีกเหมือนกัน มีการใช้อาวุธสงครามเหมือนกัน ไม่รู้สิ กลับไปดูของเก่าแล้วกัน สื่อต่างๆ ช่วยนะครับ หลักฐานอย่าไปทิ้งทั้งหมด ผมถ่ายรูป ถ่ายอะไรไว้เยอะแยะไปหมด วิดีโอ หนังสือพิมพ์ ทั้งหมดเดินตามเป็นร้อย ตามทหารเข้าไป แล้วก็หลบกระสุน ทำไมไม่พูดให้ผมบ้างเล่า ใครจะอยากไปใช้ทำร้ายประชาชน เขาก็มีชีวิตจิตใจนะ ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ รัฐบาลต้องดูแล เมื่อสถานการณ์ไม่ดี รัฐบาลต้องแก้ปัญหาให้ได้ จะด้วยวิธีไหนก็ต้องว่ากันไป จะผิดหรือถูกก็ไปว่ากันตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่อย่ามาบิดเบือน ทำให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อายเขานะ เดี๋ยวพอมันออกมาปรากฏจริงๆ แล้วท่านจะว่ายังไง ผมไม่รู้ ประเด็นสำคัญคือการใช้งบประมาณในการทำประชานิยม วันนี้มาบอกว่ารัฐบาลนี้ประชานิยมมากกว่า มากกว่าตรงไหน บอกว่าเราเอาเงินไปให้สวนยาง ชาวไร่ ก็ช่วยปัจจัยการผลิตเขา ผมไม่ได้ไปซื้อของเขามา การจะรับซื้อของก็เป็นเรื่องของระบบสหกรณ์ แล้วใช้เงินน้อยกว่าท่านมหาศาล ท่านบอกว่า เอ๊ะ แล้วทำไมไปขึ้นเงินข้าราชการ ก็เนี่ย จ่ายเงินไปให้เกษตรกรเป็นแสนล้าน ข้าราชการเขาไม่ได้ขึ้นเงินเดือนมากี่ปีแล้วล่ะ ไม่เคยได้ขึ้น แล้วขึ้นคนละ 300-500 บาท เนี่ยเหรอ ให้เกษตรกร เดี๋ยวก็เดือดร้อน ก็ขออีก เนี่ย ผมต้องการให้เกิดความเป็นธรรม ความเข้าใจซึ่งกันและกัน เกษตรกรก็ไม่ไปรังแก ไม่ไปร้องให้กับข้าราชการที่เขาดีๆ ปัญหาที่ผ่านมาคือการบิดเบือนทุกอย่างไปหมด ผมก็ต้องโทษล่ะ เพราะที่ผ่านมาก็เป็นการเมือง ผมไม่เคยไปโต้แย้งกับรัฐบาลไหนสักรัฐบาลหนึ่ง สั่งมาผมก็ทำให้หมด
     
       ประเด็นสำคัญก็คือว่า ที่เขาทำวันนี้ ทำให้เกิดความเป็นธรรม ดูแลทุกคนให้ทั่วถึง ให้เกิดความรัก ความสามัคคี วันนี้บอกว่าใช้เงินไปเยอะ แต่รัฐบาลก็ยังมีทำรถไฟ รถไฟฟ้า ตั้งเยอะตั้งแยะ ผมถามว่าถ้ามันไม่เสียเงิน เรื่องที่มันอยู่ในคดีตั้งหลายแสนล้าน เราก็คงไม่ต้องไปกู้เงินเขามาอีก เอาเงินตรงนี้มาลงทุนตรงนี้ได้ต่อ หนี้สิน หนี้สาธารณะทั้งหมดมันเกิดขึ้นมาโดยมันไม่มีรูปธรรม ไม่มีอะไรที่สำเร็จเป็นเรื่องเป็นราวชัดเจน เราก็ต้องทำต่อ หนี้เก่าก็ต้องผ่อนชำระ เดินหน้าประเทศก็ต้องทำ ลงทุนใหม่ก็ต้องลงทุน แต่มันติดด้วยวงเงินเหล่านี้ ไปคิดเอาเองนะ
     
       เรื่องของการดูแลพี่น้องเกษตรกร บอกว่าการประชานิยมในสมัยที่ผ่านมานั้น เป็นเรื่องของการให้ความเป็นธรรมกับราษฎร ให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผมถามว่าดีขึ้นมั้ย ตอนนี้ชาวนาเป็นหนี้อยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า หนี้สาธารณะ หนี้ครัวเรือน ยังมากขึ้นเหมือนเดิมหรือเปล่า วันนี้ชาวนาเป็นหนี้มากขึ้น ไหนบอกว่าดีขึ้นไง ดีขึ้นก็ต้องหนี้ลดลง ใช่มั้ย หรือเป็นหนี้ที่มันมีคุณค่า เป็นหนี้ที่เป็นทุน เป็นหนี้ที่มีบ้าน หรือต่อเติมบ้าน หรือว่าทำซื้อยานพาหนะ ซื้ออะไรที่เป็นเรื่องเป็นราว นี่หายไปหมด เพราะไปใช้หนี้เก่า วนอยู่อย่างนี้ ถ้าอันนั้นโอเค เราบรรเทาความเดือดร้อนได้ก้อนหนึ่ง อีกก้อนหนึ่งต้องให้เขามีรายได้ที่เพียงพอ นั่นต้องไปสร้างความเข้มแข็งในภาคการเกษตร การขาย การตลาดอีกเยอะแยะ ทำแบบนี้ ทำเป็นปีๆ ไป ใช้กันเข้าไป ทุกปีหนี้มันก็ขึ้นทุกปี แล้วถึงวันนี้เราพอจะเดินหน้า ติดไปหมด เงินก็ต้องไปกู้เขาอะไรเขา ผมก็ไม่ได้กู้ก้อนใหญ่ กู้เป็นปีๆ ไป กู้เป็นโครงการๆ ไป ถ้าเห็นชอบว่าอยากจะมีต้องมี เพื่อเป็นอนาคตต้องกู้ก็ต้องกู้ เพราะอดีตไม่ได้ทิ้งเงินให้ผม
     
       แล้ววันนี้ข้าราชการทำไมต้องไปขึ้นเงินให้เขา เพราะเขาเป็นคนเสียภาษีส่วนใหญ่ด้วยนะ วันนี้ข้าราชการเป็นคนเสียภาษี เพราะมันล็อกด้วยอะไร การจ่ายภาษี ณ ที่จ่าย หนีไม่ได้ซักคน วันนี้หลายๆ คนจ่ายภาษีกันทั้งนั้น ประชาชนที่ยังไม่เข้าเกณฑ์ก็ไม่จ่าย บรรดาเศรษฐีต้องไม่โกงภาษี และการเก็บภาษีเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณภาพ กฎหมายภาษีก็ต้องปรับปรุง ที่แล้วดูซิว่า กฎหมายท้องถิ่นการเก็บเงินภาษีท้องถิ่น บำรุงท้องถิ่น มันเป็นอย่างไร วันก่อนทองบาทเท่าไร วันนี้ทองบาทเท่าไร ภาษีตัวเดิม แล้วเงินตรงไหนมันจะเอามาพัฒนา แล้วท่านก็อยากจะได้เงินท้องถิ่น มากขึ้น มันจะไปเอาที่ไหน เก็บภาษีไม่ได้ สื่อกำลังเลือกข้างทั้งหมด วันนี้ผมก็ว่ามันต้องไปเตือนกัน 2-3 สถานีพูดอยู่นั่นแหละ พูดในสิ่งที่มันโกหก ผมอยากจะพูดว่าโกหก ผมก็เตือนแล้วอะไรแล้ว ผมไม่อยากไปยุ่งอะไรกับท่าน ที่ผ่านมาท่านก็ทำแบบนี้ แล้วพอท่านทำแบบนี้อีกคนเข้ามาสู้ท่าน ท่านก็ไปรังแกอีกพวก เพื่อจะพูดข้างเดียว ไม่ใช่ ถ้าจะปิดก็ปิดทั้งหมด เพราะฉะนั้นก็ระมัดระวังแล้วกัน เดี๋ยวจะหาว่าผมไปละเมิดสิทธิสื่อที่มีจรรยาบรรณพวกนี้
     
       เพราะฉะนั้นขอตักเตือนให้หยุด การกระทำไม่ใช่ข้อเท็จจริง และอ้างว่าเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของสื่อ ไม่ใช่ ผมไม่ต้องการ เพราะฉะนั้นทำถูกทำผิดอะไรก็แล้วแต่ ทุกวันนี้รู้แก่ใจว่าใครถูกใครผิด อย่ามาโกหกบิดเบือนอะไรอีกต่อไป ให้มีเขาเรียกว่าอะไร ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์หน่อยแล้วกัน คงเข้าใจกันนะ คงไม่แรงไปหรอก ขอโทษแล้วกันถ้าใครคิดว่าแรง อย่าไปหลบซ่อนที่อยู่นั่นที่นี่มาสู้ตามกฎหมายให้ชัดเจนขึ้น ผมจะดำเนินความเป็นธรรมให้ อย่าไปกล่าวอ้าง ประเทศชาติเสียหาย แล้วเอาคนนั่นคนนี้มาแก้ปัญหาให้เรา มันไม่ใช่เรื่อง โอเคนะครับ ขอบคุณนะครับ ขอให้ความสุขในช่วงวันหยุดสงกรานต์หลายวัน ย้ำอีกครั้ง หยุดแค่เสาร์-อาทิตย์ใช่ไหม เสาร์-อาทิตย์แล้วก็ต่อ จันทร์ อังคาร พุธ มีคนบางคนบอกว่า รัฐบาลนี้ใจดี ไปต่อพฤหัสฯ ศุกร์อีก 9 วัน ไม่ใช่ หยุดกันนานๆ เดี๋ยวก็มีเรื่องอีก มีปัญหาอีก การติดต่อราชการมีปัญหา เศรษฐกิจก็แย่อยู่ แต่ในระหว่างนี้ในส่วนของรัฐบาลก็พร้อมนะครับ ผมไม่ได้ไปไหน พร้อมจะแก้ปัญหา พร้อมจะดูแลประชาชนที่มีเรื่องเดือดร้อน เวลาที่ประชาชนพักผ่อน ผมก็ต้องทำงาน เวลาทำงานผมก็ต้องทำงาน เพราะเวลาผมมีน้อย จำกัดไง ขอบคุณในความร่วมมือ ขอบคุณทุกคนขอให้มีความสุข เดินทางไปกลับโดยปลอดภัย และพ่อแม่ลูกหลาน ครอบครัวอยู่กันให้ครบพร้อมหน้า กราบคุณพ่อคุณแม่ไปถึงแล้ว ผู้มีพระคุณทั้งหมด นั่นแหละคือค่านิยมของคนไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องวัฒนธรรมประเพณีสงกรานต์ของเราที่มีมายาวนาน เป็นเจ้าบ้านที่ดีกับนักท่องเที่ยวด้วยนะครับ จะเข้ามาเยอะแยะอย่าให้เห็นภาพเดิมๆ อีก เจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้มแข็ง หามาตรการที่เหมาะสม อย่าให้มันรุนแรง ขอบพระคุณนะครับ สวัสดีครับ
พิมพ์จาก http://manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9580000041885
เวลา 11 เมษายน 2558 02:22 น.
ผู้จัดการออนไลน์ - Manager Online (http://www.manager.co.th)
 Thailand Web Stat
และนี่คือหลักฐานอีกด้านหนึ่ง จากรายงานของสำนักข่าวฝั่งประชาชนแดง

รายงานพิเศษ ...TV24 รำลึก...ทหารล้อมยิงประชาชน 5 ปี 10 เมษายน 2553การต่อสู้เื่พื่อให้ได้มาซึ่งเสรีภาพแห่งประชาธิปไตย ...

Posted by Red Thai V2 on Friday, April 10, 2015