PPD's Official Website

Showing posts with label ดร.ทักษิณ ชินวัตร. Show all posts
Showing posts with label ดร.ทักษิณ ชินวัตร. Show all posts

Friday, August 7, 2015

ทำไม กษิต ภิรมย์ จึงจ้องตามล่าล้าง ดร.ทักษิณ?? (เครดิต มติชน)

✿ แฉหมดเปลือก ปม "กษิต" โกรธ "นายกฯ ทักษิณ" 31 มีนาคม พ.ศ. 2552---------------"พ.ต.ท.ทักษิณ" กล่าวว่า "กระทรวงต่างประเ...

Posted by Yuthana Lorsamran on Wednesday, August 5, 2015

Sunday, July 26, 2015

Thaksin Shinawatra: Me and My Country (1)

 ผมขอเริ่มตอนที่หนึ่งโดยการเล่าเรื่องเบื้องหลังก ารเจรจากับญี่ปุ่นในการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิครับ   ปี 2544 ผมได้ประกาศว่าจะยกเลิกการประกวดราคาก่อสร้างอาคารผู้โดยสารของสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งประกวดราคาโดยรัฐบาลก่อนเป็นวงเงิน 54,000 ล้านบาทเศษ โดยออกแบบรองรับผู้โดยสารได้ 35 ล้านคน ซึ่งขณะนั้นผมเห็นว่าแพงและจำนวนผู้โดยสารที่รองรับได้น้อยไป เกรงจะไม่พอ เปิดปุ๊บก็ต้องเต็มปั๊บ ทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยในขณะนั้นก็วิ่งมาพบผมและขอคัดค้านเพราะเรากู้เงิน JBIC อยู่ โดยบอกว่าจะยกเลิกเงินกู้   ผมก็นั่งคิด เนื่องจากเรายังไม่พ้นวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเมื่อ ก.ค. 40 แต่ถ้าเรากลัวไม่ได้กู้เงิน เราก็ต้องสร้างสนามบินที่แพงเกินจริงและรองรับผู้โดยสารได้น้อยเกินไป เพราะจะสร้างใหม่ทั้งทีอุตส่าห์รอกันมาตั้ง 40 ปี ขณะนั้นผมอ่านออกว่าทูตญี่ปุ่นกลัวว่าประกวดราคาใหม่บริษัทญี่ปุ่นจะไม่ชนะประมูล เรื่องการไม่ให้กู้เงินคงจะไม่จริง   ผมก็เลยบอกไปว่าผมจำเป็นต้องยกเลิกการประมูลและแก้แบบใหม่ให้รองรับผู้โดยสารจาก 35 ล้านคนเป็น 45 ล้านคน ถ้าญี่ปุ่นไม่ให้กู้ก็ไม่เป็นไร ผมใช้เงินแบงค์กรุงไทยกับแบงค์ออมสินก็ได้ ผมก็เลิกการประมูล แก้แบบเป็น 45 ล้านคน และให้มีการประมูลใหม่   ผลปรากฎว่าราคาลดลงจาก 54,000 ล้านบาท เป็น 36,666 ล้านบาท ประหยัดไป 17,000 ล้านบาทเศษ พร้อมกับรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มอีก 10 ล้านคน จาก 35 เป็น 45 ล้านคน ซึ่งขนาดเพิ่มแล้ววันนี้หลังจากเปิดไม่กี่ปีก็เต็มแล้ว ทั้งๆที่ไปใช้ดอนเมืองด้วย   และในที่สุด ท่านทูตญี่ปุ่นคนเดิมก็กลับมาขอร้องให้เราใช้เงินกู้ JBIC ต่อไปเหมือนเดิม (การเจรจาต้องรู้ความต้องการของเขาและของเรา)   ถ้าท่านจำได้ช่วงผมเป็นนายกฯใหม่ๆ ผมได้ประกาศว่าไทยจะไม่ยอมกู้เงินนอกเด็ดขาดยกเว้นสัญญาที่มีอยู่เดิม ทั้งๆที่ตอนนั้นเรามีเงินสำรองอยู่ 27-28 พันล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่เรามีหนี้ต่างประเทศมากกว่าเงินสำรองเรามาก รวมทั้งหนี้ IMF ถึง 12,000 ล้าน  

ผมเข้าใจโลกทุนนิยมดีครับ มันเปรียบเสมือนว่าเมื่อแดดออก มีแต่คนจะเอาร่มมาให้เราถือเต็มไปหมดทั้งๆที่เราไม่ต้องใช้ แต่ยามฝนตก เราอยากได้ร่มสักคันก็ไม่มีใครให้ยืม เพราะฉะนั้นจึงต้องสร้างคำว่า Trust & Confident ให้ได้ เงินถึงจะมา   ผมเลยใช้นโยบายว่า กัดฟันไม่กู้เงินนอกเท่านั้น ต่างประเทศก็เริ่มมั่นใจขึ้น เงินต่างประเทศก็เริ่มเข้ามาประกอบกับการปรับนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยในขณะนั้นให้สอดคล้องกัน ทำให้พ่อค้านำเข้าและส่งออกที่เก็บเงินไว้ต่างประเทศก็เริ่มนำกลับเข้ามา เสถียรภาพเงินบาทก็แข็งขึ้น เงินสำรองก็มากขึ้นจนเราสามารถใช้หนี้ IMF ได้ ซึ่งตอนเกิดวิกฤตตอนเราต้องยืมเงิน IMF ทุกคนก็คิดว่าต้องใช้เวลาเป็นสิบๆปีกว่าจะใช้หนี้ได้   ตอนที่ผมตัดสินใจใช้หนี้หลายคนก็ห้ามผมว่าทำไมต้องรีบใช้ เดี๋ยวเงินสำรองจะพร่องมากไปไม่พอใช้ บังเอิญผมมีประสบการณ์เป็นนักกู้เงินมาก่อน ถ้าเราเป็นหนี้แล้วใช้คืนได้เขาถึงว่าเราเป็นลูกค้าชั้นดีที่จะให้กู้มากขึ้นอีก ผมก็เลยสั่งให้ใช้หนี้ทั้งหมดทีเดียว หม่อมอุ๋ยขอต่อรองเป็นอีก6 เดือน ผมก็เลยบอกว่าผมประกาศเลยนะว่าอีก 6 เดือนจะชำระ   ก็เลยเกิดการชำระหนี้ IMF ก่อนครบกำหนดถึง 2 ปี ทำให้ชื่อเสียงของประเทศไทยดีขึ้นมาก เงินก็เริ่มไหลเข้าประเทศไทยอย่างต่อเนื่องจนเรากลายเป็นประเทศที่เรียกว่าเป็น Net Creditor Nation คือเป็นประเทศที่มีเงินฝากเป็นเงินตราต่างประเทศมากกว่าเงินกู้ต่างประเทศ โดยรวมตัวเลขทั้งภาครัฐและภาคเอกชนด้วย เป็นครั้งแรกของไทย  

สรุปก็คือว่าถ้าเรามียุทธศาสตร์การเงินและการทำงานที่ควบคู่กันได้ดี เราจะสร้างTrust & Confident ให้กับองค์กรของเรา(ซึ่งในที่นี้ก็คือประเทศ) แล้วเราจะเติบโตได้ เพราะจะมีเงินทุนเข้ามาให้เราได้ใช้บริหารและสร้างรายได้อย่างไม่จำกัดครับ วันนี้เอาเท่านี้ก่อนครับ////




Tuesday, June 23, 2015

คลิปดร.ทักษิณ หมิ่นในหลวง (ความจริง)

ความจริงเกี่ยวกับคลิปทักษิณจาบจ้วง แท้จริงถูกตัดต่อ

Posted by รวมคลิปเด็ด V.2 on Sunday, June 21, 2015

Sunday, May 31, 2015

การยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ Passport ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่? (ตอนที่ ๑)

Thanaboon Chiranuvat
ปํญหาของการไม่ให้หนังสือเดินทาง หรือ Passport = การยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ Passport ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่? (ตอนที่ ๑)
ขณะนี้ได้เกิดคำถามตัวโตๆขึ้น ท่ามกลางจิตใจของคนไทยโดยทั่วไปว่า: “การทำการเพิกถอน หนังสือเดินทาง (Passport) ของคนไทย ผู้ถือหนังสือเดินทาง [barer of passport] ที่ออกโดยรัฐบาลไทย [Thai Government]) ที่ถือกำเหนิดเกิดมาโดยพ่อแม่ที่มีสัญชาติไทย (เป็นคนไทยและได้สัญชาติไทยโดยสายเลือด) และการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (The Nationality conferred by the Territorial Rights) จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่?”

การจะตอบคำถามข้อนี้ ก่อนอื่นท่านมีความจำเป็นต้องหารือกับคำว่า “กฏหมาย” ให้ดีเสียก่อนว่า ถ้อยคำๆนี้ หาได้หมายรวมถึง กฏหมายภายในของประเทศไทย แต่อย่างใดไม่ เพราะในประวัติศาสตร์ของไทยไม่เคยมีการบันทึกเรื่องราวของ การมีและใช้หนังสือเดินทาง แม้ว่าไทยหรือสยาม จะเคยติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูตกับต่างประเทศ มาแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ที่ส่งราชฑูตจากราชสำนักไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ตาม ประเทศไทยหรือสยาม เพิ่งจะมามีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างชุก ก็ในยุคการล่าอาณานิคม (Colonialism) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แม้กระนั้นก็ไม่มีการบันทึกเรื่องราวถึง “หนังสือเดินทาง หรือ Passport” แต่อย่างใด
คนไทยที่ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับกฏบัตร กฏหมายเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนกฏหมายเน้นหนักไปที่ความสำคัญเกี่ยวกับ หนังสือเดินทาง หรือ Passport แต่อย่างใด ทั้งที่ในเวลานั้นเรามีเรื่องของกงศุล และศาลกงศุล หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ Extra-Territorial Rights” เข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ เป็นประจำวันของคนไทยในสมัยนั้นแล้วก็ตาม
ในขณะเดียวกันกับประเทศในยุโรปผู้ล่าเมืองขึ้น กลับมีความเจนจัดและช่ำชองเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายกงศุล (Consular Law or Consular Relations) กฏหมายที่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติในทางการฑูต (Diplomatic Relations) กฏหมายระหว่างประเทศ (Law of Nations or Classical International Law) กฏหมายทะเล (Law of the Sea)ไม่ว่าจะเป็นชาวดัชท์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ชาวเสปญฯ เป็นต้น แต่คนไทย หรือคนในสยามประเทศ ก็ไม่สนใจในเรื่องที่กล่าวมานี้ วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับ คำว่า “กฏหมาย” โดยคิดไปว่า จำเป็นต้องพิจารณาว่า “กฏหมายของไทย” เท่านั้นที่มีความสำคัญที่สุด


คนไทยไม่จำต้องไปพิจารณาโดยคำนึงถึงคำว่า “ กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ Law of Nations or International Law ” เลย เพราะฉะนั้นคนไทยในทุกวันนี้ เป็นส่วนใหญ่ จึงตกอยู่ในภวังค์ หรือ ความคิดที่เรียกว่า “โง่ดักดาน” ทั้งๆที่โลกวันนี้ได้ผ่านห้วงเวลาของ “Y to K” หรือผ่านห้วงเวลาของ Millennium มาแล้ว พูดกันแบบง่ายๆ ผ่านค.ศ. ๒๐๐๐ มาแล้วแบบฉลุย และประเทศของเราเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงผลของการไม่ยอมเรียนรู้ และขาดสำนึกกับการไม่ยอมรับว่า กับคำว่า “กฏหมาย” นั้นไม่รวมถึง “กฏหมายภายใน” ของประเทศไทยอย่างเดียว

แต่ตามความเป็นจริงนั้นให้หมายรวมไปถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law”หรือ Law of Nationsไปด้วย และการกระทำใด อันจะชอบ ด้วยครรลองของกฏหมาย สิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกๆ ก็คือ “ความชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ” หรือไม่? มิฉะนั้นเรา ก็จะมองหาช่องทางให้หลุดรอดออกไปจาก ความวุ่นวาย (Chaos) ที่เราประสบอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ถ้าเรา ยังมะงุมมะงาหรากับ การเที่ยวไปตีความคำว่า “กฏหมาย” เป็นแค่เพียง “กฏหมายภายในของไทย”เท่านั้น ในรูปแบบนักกฏหมายในโครงร่างของ “ศรีธนญชัย” ที่ล้าสมัย ต้องถามใจท่านให้ชัดเจนว่า “โลกในวันนี้คือโลกในยุคค.ศ. ๒๐๐๐”
เราไม่อยู่ในห้วงเวลา ที่นับว่า เป็นตอนต้นของคริตศตวรรษที่ ๑๗ คือหลังค.ศ. ๑๖๕๐ เรื่อยมาแล้ว เพราะในวันนั้น ต้องถือว่าโลกยังป่าเถื่อนอยู่ มีการใช้ “กฏโจร” แทนที่ “กฏหมาย”อยู่มาก มิฉะนั้นไม่เกิดสงครามครูเสด และสงครามโลกทั้งสองครั้งอุบัติขึ้นในโลกใบนี้ ซึ่งไม่นับรวมถึง สงครามอื่นๆอีกหลายสิบครั้งบนพื้นแผ่นดินของยุโรป

กล่าวโดยสรุปคำว่า “กฏหมาย” ย่อมหมายถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law หรือ Law of Nations” เป็นลำดับแรก ตามความในลำดับต่อๆไป ในบทความนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง คำว่า “กฏหมายภายในของไทย” หาก จะมีการนำมาใช้ปรับได้ ก็ต่อเมื่อ “กฏหมายภายในของไทยนั้น ได้อภิวัฒน์ตามกฏหมายระหว่างประเทศจนทันแก่กาลสมัย” แล้วเท่านั้น.

๑. การขอมีหนังสือเดินทาง หรือ Passport เป็น สิทธิของพลเมือง (The Application to have the passport is the right of any citizen) ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง (It is borne out of the citizenship) ผู้ใดจะปฏิเสธเสียมิได้ (Nobody is entitled to negate or abridge such right).
ก่อนที่จะเข้าสู่การอธิบายในหัวเรื่องนี้ เห็นควรเน้นย้ำว่าสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓{The Vienna Convention on Consular Relations, 1963 Article 5 in accordance with Article 36 (1), (2) and (3)} บทบัญญัติที่ ๕ (d) ประกอบด้วยบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) บัญญัติให้กงศุล หรือเจ้าหน้าที่กงศุล ต้องกระทำการทุกๆอย่างเพื่อเป็นการให้สิทธิแก่คนในชาติของตน และมิใช่กระทำการใดๆอันเป็นการทำลายสิทธิของคนในชาติของตน

การเพิกถอนสิทธิต่างๆในหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ การยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ล้วนเป็นไป เพื่อ เป็นการทำลายสิทธิ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง (Bearer of the Passport) ทั้งสิ้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำได้ หรือไม่? คำตอบก็คือทำไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างคดีมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ได้อ่านกันทั้งสองคดี:
คดีหนึ่งพิพากษาโดยศาล Supreme Court ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ อีกคดีหนึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลโลก หรือ The International Court of Justice, ICJ (แกนหลักที่ ๖ ขององค์การสหประชาชาติ) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกงศุล
ศาลโลกตีความบทบัญญัติที่ ๕ (d) ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกงศุล ประกอบบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) ของสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ. ๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963)
ทั้งนี้โดยศาลโลกได้ตีความโดยได้เน้นย้ำไป ที่อำนาจหน้าที่ของกงศุลกับคนในชาติของตนว่า กงศุลมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในชาติของตนในทุกสถานการณ์ และในบางสถานการณ์ เช่น คนในชาติของตน ถูกจับกุมคุมขัง อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในประเทศ ที่สถานกงศุลของตนตั้งอยู่ หรือแม้แต่คนในชาติของตน ถูกศาลยุติธรรมพิพากษาหรือ ตัดสินในคดีจนถึงที่สุด และมีการบังคับคดีในศาลแล้ว โดยศาล ที่ว่านั้นของประเทศที่สถานกงศุลตั้งอยู่ฯลฯ เป็นต้น กงศุลมีอำนาจหน้าที่ๆ ต้องปฏิบัติต่อคนในชาติของตนจนถึงที่สุด โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ (ให้ไปดูสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963) ตามที่กล่าวมา
อนึ่งการที่บุคคลที่เป็นคนในชาติไปขอมีหนังสือเดินทาง (Passport) ไม่ว่าคนในชาติบุคคลคนนั้น จะเกิดการได้สัญชาติมา โดยหลักสายเลือด (พ่อแม่เป็นคนในชาติสมรสกันแล้ว ก่อเกิดบุคคลผู้นั้นออกมา) หรือบุคคลผู้นั้นเกิดหรือคลอดออกมาเป็นทารกและมีลมหายใจอยู่รอดในแผ่นดินที่ ตนคลอด อันเรียกว่าได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (Acquiring the Nationality by Territorial Principles) หรือแม้แต่การได้สัญชาติของดินแดน ที่ตนอยู่อาศัยตามกฏหมาย ที่เรียกว่า “การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ” (Acquiring the Nationality by Naturalization) ก็ตาม และปรากฏว่าในเวลาต่อมารัฐ หรือ ชาติ (State or Nation) ปฏิเสธสิทธิที่จะได้มี หรือได้ครอบครองหนังสือเดินทาง (Passport) ของบุคคลในรัฐหรือชาตินั้น (State or Nation)

การที่รัฐผู้มีหน้าที่ต้องออกหนังสือเดินทาง (Passport) เพราะบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ถือสัญชาติของตน ปฏิเสธไม่ออกหนังสือเดินทาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดในทางสังคมหรือในทางการเมืองตามความเชื่อของผู้มีสิทธิ ที่จะได้หนังสือเดินทาง หรือบุคคลผู้นั้น ถูกยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ที่อยู่ในความครอบครองของตน โดยรัฐ เจ้าของหนังสือเดินทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่เสมอเหมือนกัน หรือเป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ การปฏิเสธไม่ให้บุคคลผู้นั้น มีหนังสือเดินทาง (Passport) ของรัฐหรือชาติ ที่บุคคลผู้นั้น ถือสัญชาติ และ สังกัดอยู่ และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
การที่รัฐปฏิเสธ ไม่ให้หนังสือเดินทาง= ยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทางของคนในรัฐ แก่คนที่ถือสัญชาติของรัฐ, การกระทำของรัฐ=ทำให้บุคคลนั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person) ที่มีสนธิสัญญาว่าด้วย บุคคลไร้รัฐ ของสหประชาชาติ ที่ได้ประกาศ และ บังคับใช้เพื่อคุ้มครองบุคคลใดๆ ที่ตกอยู่ในสภาพการอย่างที่ว่านั้นอยู่ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนท้ายของบทความนี้ รวมทั้งสหประชาชาติ มีอำนาจออกหนังสือเดินทางเองโดยอำนาจขององค์การตัวเองเสียด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะปกป้องสิทธิ ที่เกิดมาตามธรรมชาติ (Natural Rights) ให้แก่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ที่ยังมีลมหายใจอยู่บนพื้นพิภพนี้.............(มีต่อ)

Saturday, May 30, 2015

ใครสั่งฆ่า? ... วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544

เครดิต สหาย รุ่งศิลา

ใครสั่งฆ่า? ... วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544




วางระเบิดเครื่องบินทักษิณ 3 มีนาคม 2544

วันที่ 3 มีนาคม 2544 หลายคนยังจำกันได้ในสมัย "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" เป็นนายกรัฐมนตรีในครั้งนั้นเป็นข่าว
ครึกโครมไปทั่วประเทศและทั่วโลกเมื่อ เครื่องบินของสายการบินไทย ที่จอดเทียบท่าอยู่สนามบินดอนเมืองเพื่อรอ
รับผู้โดยสารบินไปยังจังหวัดเชียงใหม่ โดยหนึ่งในผู้โดยสารในเที่ยวบินดังกล่าวก็มีผู้นำของประเทศ"พ.ต. ต.ทักษิณ"
ก่อนที่ผู้โดยสาร ขึ้นเครื่องไม่กี่นาที เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดระเบิดขึ้น กลางสนามบินดอนเมือง สร้างความแตก
ตื่นให้กับผู้คนจำนวนมาก โชคดีของผู้โดยสารที่ยังไม่มีใครขึ้นบนเครื่องบิน  จึงไม่มีใครสังเวยชีวิตในครั้งนั้น แต่ก็เป็น
ที่กังขาของหลายฝ่ายว่าระเบิดเครื่องบินไทยครั้งนั้นเกิดจากเหตุอะไรกันแน่

ลอบวางระเบิดนายกฯ..? วินาศกรรม..? ความประมาท..? อุบัติเหตุ..?
จนวันนี้คำถามเหล่านี้ก็ยังไม่ได้รับความชัดเจน

24 ชั่วโมงของทักษิณ : บทที่ 1 เสียงโทรศัพท์ยามรุ่งอรุณ (ตอนที่1)
        นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทักษิณเอาชีวิตรอดมาได้ ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 5 มีนาคม2544
เมื่อเขาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพียง 25 วัน  เขาก็ได้รับรู้รสชาติของการถูกลอบสังหารในวันนั้น
เครื่องบินโบอิ้ง 747 ลำหนึ่งของการบินไทยซึ่งบรรทุกผู้โดยสารจำนวน 129 คน เดินทางจากกรุงเทพฯ  ไปยัง
จังหวัดเชียงใหม่ผู้โดยสารบนเครื่องซึ่งรวมทั้งทักษิณที่เพิ่งได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยลูกชายรวมทั้ง
ข้าราชการจำนวน 20 คนเตรียมพร้อมขึ้นเครื่องวินาทีที่เครื่องบินเตรียมทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้านั้นที่นั่งชั้นหนึ่งหมาย
เลข 11A ที่เขาได้จองไว้เกิดระเบิดขึ้นกะทันหัน ผู้โดยสารที่อยู่บริเวณรอบๆที่นั่งนั้น ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากแต่
ที่โชคดีก็คือ ที่นั่งนี้ไม่มีใครนั่งอยู่ในตอนนั้น ทักษิณผู้ซึ่งตรงต่อเวลามาโดย   ตลอดตัดสินใจที่จะรอลูกชายซึ่งก็
คือ นายพานทองแท้  ที่มาถึงช้า วันนั้นลูกชายก็ไม่ทราบสาเหตุ  ว่าทำไมถึงมาช้า 25 นาที แต่ในที่สุดก็ได้ช่วย
ชีวิตพ่อของตนไว้ได้
Boeing  737-400 

กรรมที่ก่อต่อ ดร.ทักษิณ มีผลทางกฎหมายนานาชาติ อย่างไรบ้าง?

สิ่งที่ คณะคสช และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้คือ:
(๑) เพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ passport
(๒) สั่งให้นายทหารพระธรรมนูญ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ในฐานความผิดดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒ เพื่อฟ้องในศาลทหาร
(๓) ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานที่เป็นผู้หลบหนี หรือ หลบหนีหมายจับในคดีที่ดินรัชดาภิเษก
ทั้งสามกรณี เป็นความผิดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.๑๙๔๘; กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖(เป็นสนธิสัญญา) รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ (เป็นสนธิสัญญา)
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานานชาติ และองค์การสหประชาชาติ ทั้งสามสิ่งที่ระบุมาข้างต้น คือ "ธรรมนูญของโลกว่าด้วย กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน หรือ International Bill of Rights"
การจะใช้ธรรมนูญของโลกในเรื่อง กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน ได้อย่างถูกต้องแท้จริง จำต้องอาศัยคำอธิบายจากบรรทัดฐานในคดี และบรรทัดฐานนี้ มีที่มาจากคดีที่พิพากษาไว้โดยศาล Supreme Court ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญศาลแรกของโลกในยุคของรัฐใหม่ (Modern State) คดีที่กล่าวอ้างถึงนี้คือ:
(๑) Kent v. Dulles, 357 U.S. 116 (1958)
(๒) Trop v. Dulles, 356 U.S. 86 (1958)
คดีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสองคดี องค์การสหประชาชาติ ยอมรับนำมาใช้อ้างอิง และ ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย อาจค้นคว้าหาอ่านได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล โดยพิมพ์ชื่อคดี และหมายเลขต่อท้ายใส่ลงไปบนช่องสี่เหลี่ยม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่สองนั้น เหตุผลของคดี หรือในคดี ใช้เป็นข้อที่นำมาโต้เถียงได้ หากเหตุผลที่ผู้พิพากษาผู้ทรงคุณวุฒิ (Learned Judge) เหล่านั้นในคดี เป็นด้านบนของเหรียญบนด้านเดียวกัน เหตุผลที่นำมาเป็นข้อคิดคำนึง และใช้โต้แย้งเป็นด้านล่างของเหรียญหน้าเดียวกัน เมื่อนำมาโต้เถียงแล้ว ฝ่ายตรงข้ามจนมุม
อนึ่งสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดของ คณะ คสช. และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ในขณะนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อความตามที่บัญญัติไว้ใน (สนธิสัญญา) Convention against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย ได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ. ๒๕๕๔ รวมทั้งฝ่าฝืนต่อ (สนธิสัญญ่า) Convention against Transnational Organized Crime, 2000 มีผลบังคับทั่วไปในเดือน กันยายน ปีค.ศ.๒๐๐๓ ประเทศไทยไปลงนามให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฉบับหลังนี้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖
ที่จริงแล้ว คณะ คสช. และฝ่ายบริหาร ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายนี้ ต้องถูกจัดการโดยสนธิสัญญา ทั้งสองฉบับ ดังกล่าวข้างต้น เพราะความผิดตามสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ หรือ International Crimes
นายตำรวจคน ที่ออกมาแถลงข่าว ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีๆ เพราะตัวท่านเอง ได้กระทำความผิดตามกฏหมายในฐานะ ที่เป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง (ละเว้น เท่ากับ กระทำการ) ให้ไปอ่านคำพิพากษาของ ศาลอาญาพิเศษของ องค์การสหประชาชาติ ในคดีที่ชื่อว่า " Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic ให้ขึ้นใจ
คำพิพากษาฉบับนี้ ยังได้อธิบายถึงว่า "ทำอย่างไร จึงเป็น ผู้ร่วมขบวนการ ในการกระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ" เอาไว้โดยละเอียด นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "อย่าเห็นความผิดผู้อื่น สูงเป็นภูเขาเลากา แต่ความผิดของตนเอง เสมอเพียง "เส้นขน" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.

Friday, May 29, 2015

การถอดยศ ดร.ทักษิณ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่?

การถอดยศ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ได้มาตามกฏหมาย ทำได้หรือไม่?
นี่คือ คำตอบของผมในฐานะที่เป็นนักกฏหมาย
สิ่งที่เขาได้ยศ ได้ศักดิ์มา เป็นเพราะกฏหมายบัญญัติ ให้เขาได้ และ เขาปฏิบัติตัวตามกฏเกณฑ์ (Requirement of Law) ของกฏหมาย จึงได้สิทธิเหล่านั้นมาโดยชอบ คำว่า "โดยชอบ" ก็คือ "โดยชอบด้วยกฏหมาย"
การเที่ยวไปสั่ง หรือแอบสั่ง ให้ถอดถอนยศ หรือบรรดาศักดิ์ ของเขาในยุค ที่ประเทศปกครองในระบอบประชาธิปไตย ภายใต้กฏเหล็กของ การแบ่งแยกอำนาจ (the Separation of Powers) โดยไปบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทย เกือบทุกฉบับ
ขอถามว่า "ข้ออ้างของคุณอย่างนี้ เป็นการอ้าง หรือใช้ อำนาจตุลาการ ก้าวก่าย อำนาจนิติบัญญัติ หรือไม่?"
คนที่นำเอาเหตุผลเช่นนี้มาอ้าง และใช้ ต้องใช้สมองตรองคิด ก่อนใช้ หรือ ก่อนพูดพ่นนะครับ

Thursday, May 21, 2015

ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-05-22 ตอน ดร.ทักษิณ ชี้เป้าผู้บงการการล้มอำนาจประชาชน (จาก เกาหลีใต้)

ดร.เพียงดิน รักไทย 2015-05-22 ตอน ดร.ทักษิณ ชี้เป้าผู้บงการการล้มอำนาจประชาชน (จาก เกาหลีใต้)
Download