PPD's Official Website

Showing posts with label นักโทษการเมือง. Show all posts
Showing posts with label นักโทษการเมือง. Show all posts

Monday, June 22, 2015

ชีวิตอันแสนหดหู่ ของ ตั้ง อาชีวะ ในแดนกีวี (ฮา)

"ตั้ง อาชีวะ" โพสต์ภาพ-คลิป โชว์พาสปอร์ต ชีวิตสบายอยู่นิวซีแลนด์(22 ธ.ค. 2557)

Posted by เสรีไทย ยูเอสเอ - Seri Thai USA on Monday, June 22, 2015

Saturday, June 6, 2015

ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างแดน: อั้ม เนโกะ ณ ฝรั่งเศส



ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างแดน: อั้ม เนโกะ ณ ฝรั่งเศส

เครดิตจาก https://www.facebook.com/mesiah.un/posts/894159733977215

ตั้งแต่การรัฐประหารยึดอำนาจโดย คสช. นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงวันนี้ มีนักกิจกรรมหนีออกไปจากประเทศไทยประมาณร้อยคนแล้ว จำนวนมากเป็นนักกิจกรรมเสื้อแดง จำนวนมากในนั้นถูก คสช.เรียกรายตัว หลายๆ คนก็ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ยิ่งต้องตัดสินใจหนี เมื่อเห็นศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยคดีหมิ่่นพระบรมเดชานุภาพอย่างหนัก โดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจทิ้งชีวิตในประเทศไทย ทิ้งการศึกษา การเงิน ทรัพย์สิน และคนที่พวกเขารัก และเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างแดนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

เหล่าผู้ลี้ภัยไปยังหลายประเทศ ส่วนใหญ่คือ ประเทศเพื่อนบ้าน ยุโรป และ อเมริกา ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในนั้น ในตอนแรกของซีรียส์ผู้ลี้ภัยในต่างแดน ผู้สื่อข่าวประชาไทเล่าชีวิตของนักกิจกรรมข้ามเพศ ซึ่งใช้นามว่า อั้ม เนโกะ นักข่าวประชาไทได้ไปเยี่ยมอั้มที่เมืองเมืองหนึ่งในฝรั่งเศส (อั้มขอไม่ให้เปิดเผยว่า เธออาศัยอยู่ในเมืองใด เพื่อความปลอดภัยของเธอ) ในช่วงเดือนเมษายน พร้อมๆ กับผู้ลี้ภัยอีกสองคน คือ นักกิจกรรมฝ่ายซ้าย จรัล ดิษฐาอภิชัย และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณสามารถชมวิดิโอสัมภาษณ์ได้ด้านล่าง

-------------------
ชื่อจริงของอั้มคือ ศรันย์ ฉุยฉาย ชื่อผู้ชายที่เธอไม่ภูมิใจนัก เฟซบุ๊ก “อั้ม เนโกะ” ของเธอถูกเฟซบุ๊กปิดไปหลังจากตรวจพบว่า ไม่ใช่ชื่อจริง อั้มปฏิเสธที่จะใช้ชื่อจริงของเธอจึงสร้างบัญชีเฟซบุ๊กขึ้นใหม่ แต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยที่นี่ได้ด้วยข้อจำกัดจากกฎหมาย มาตรา 112

อั้มเริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะในปี 2555 หลังจากที่เธอโพสต์รูปภาพที่เธอทำท่ายั่วยวนกับรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ พร้อมข้อความว่า "ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน" รูปภาพดังกล่าวทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อั้ม และเริ่มมีกระแสต่อต้านจากประชาคมธรรมศาสตร์ เธอทำให้เกิดกระแสอีกครั้งในเดือน ก.ย. 2556 ด้วยการแปะโปสเตอร์รณรงค์ยกเลิกการบังคับใส่ชุดนักศึกษา ซึ่งแสดงรูปชายหญิงแต่งชุดนักศึกษาทำกริยาเหมือนกำลังร่วมรัก
ด้วยเพศสภาพที่เธอเลือกไม่ตรงกับเพศกำเนิด อั้มถูกบังคับให้ใส่ชุดนักเรียนชายมาเกือบทั้งชีวิตนักเรียน ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศสภาพของเธอถูกมองว่า ไม่เหมาะสมกับผู้ที่จะเป็นครูในอนาคต การที่เธอถูกบังคับให้แต่งชุดนิสิตชาย เธอจึงลาออกและสอบเข้าที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เอกภาษาเยอรมัน ที่ธรรมศาสตร์เธอก็ยังหนีไม่พ้นการบังคับให้แต่งชุดนักศึกษาชายในบางครั้ง (เช่น ถ่ายรูปติดบัตรนักศึกษา) และการบังคับให้แต่งชุดนักศึกษา (หญิง) ในหลายกรณี เช่น เมื่อเข้าสอบ อั้มท้าทายเหล่าอนุรักษ์นิยม ด้วยการแต่งตัววาบหวิว เช่น กางเกงสั้นเท่าหู และบราเกาะอกไปมหาวิทยาลัย

ด้วยการแต่งตัววาบหวิวและการแสดงความคิดทางการเมืองที่ดุดัน มีการล่าชื่อภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อขับไล่เธอ ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้มหาวิทยาลัยตั้งกรรมการสอบเธอและมีมติลงโทษก็คือ กิจกรรมที่เธอพยายามชักธงดำขึ้นที่ตึกโดมแทนธงชาติ เพื่อประท้วงท่าทีของอธิการบดี สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ดูจะสนับสนุนกลุ่ม กปปส. มหาวิทยาลัยมีมติพักการเรียนอั้มสองปี

นอกห้องเรียน อั้มเป็นนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย และการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในปี 2556 เธอถูกฟ้องด้วยมาตรา 112 หลังไปบันทึกเทปรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง

หลังการรัฐประหาร คสช. เรียกเธอมารายงานตัวในวันที่ 9 มิ.ย. 2557 พร้อมๆ กับนักกิจกรรมเสื้อแดงอีกหลายคนที่เข้าข่ายถูกจับตาในประเด็นสถาบันกษัตริย์ ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่ก็ลี้ภัยอยู่ด้วยเช่นกันในตอนนี้ ความเสี่ยงที่ศาลทหารจะพิพากษาให้รับโทษจำคุกหลายปีในข้อหาหมิ่นพระบรม เดชานุภาพ และจะต้องไปอยู่ในคุกชายทำให้เธอตัดสินใจหนีออกนอกประเทศ นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากสำหรับอั้ม เพราะอั้มต้องทิ้งการเรียนปริญญาตรีที่อีกปีการศึกษาเดียวก็จะสำเร็จเป็น บัณฑิตจากรั้วธรรมศาสตร์

ตำรวจออกหมายจับในข้อหาไม่รายงานตัวเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2557
อั้มหนีไปประเทศเพื่อนบ้านและนั่งเครื่องบินมายังฝรั่งเศสในช่วงปลายเดือน ตุลาคม ระหว่างการเปลี่ยนเครื่องบินที่กรุงโซล เกาหลีใต้ อั้มเล่าว่า ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้มารอเธอถึงงวงเครื่องบิน และบอกว่า เธออยู่ในรายชื่อ “อาชญากร” ที่ทางการไทยส่งมา อั้มแอบเห็นชื่อของคนอื่นๆ ที่ชื่อภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยตัว S เหมือนกันว่ามีชื่อ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และ สุดา รังกุพันธุ์อยู่ด้วย
อั้มว่า เธออธิบายให้ตำรวจเกาหลีฟังว่า เธอเป็นเพียงผู้เห็นต่างจากรัฐ และตอนนี้ประเทศไทยก็อยู่ใต้เผด็จการเหมือนกับประเทศเกาหลีเหนือ ตำรวจเกาหลีก็ปล่อยให้เธอขึ้นเครื่องต่อมายังฝรั่งเศส

หลังจากอั้มมาถึงฝรั่งเศสอย่างปลอดภัย อั้มได้ผลิตคลิปวิดิโอโจมตีราชวงศ์ไทยหลายคลิป ในคลิปๆ หนึ่งอั้มทำการ “หมิ่น” ที่จุดที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และพระนางมารีอังตัวเนตถูกประหารชีวิตโดยกิโยติน ณ จตุรัสคองคอร์ด กรุงปารีส คลิปดังกล่าวทำให้เธอโต้เถียงกับนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยไปทั่ว พวกเขาต่อว่าเธอว่า ทำอะไรอย่างสะใจ โดยไม่คิดถึงผลต่อขบวนการในระยะยาว อั้มว่า การแสดงออกดังกล่าวเป็นสิ่งที่เธอมีสิทธิจะทำได้ และไม่ได้เป็นการละเมิดความเป็นมนุษย์ของใคร เธอยอมรับว่า คลิปนั้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนความคิดของใครแน่นอน แต่เธอเหนื่อย และขี้เกียจเกินไปที่จะคิดทำอะไรสวยๆ น่ารักๆ ตอนนี้

อั้มมักจะมีข้อสังเกตเรื่องเพศต่อเหตุการณ์ต่างๆ เสมอ บุคลิกการถกเถียงที่ดุดันทำให้เธอทะเลาะกับคนไปทั่วอีกเช่นกันในเฟซบุ๊ก ฉันก็ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก และไม่เคยไปตามอ่านการถกเถียงเหล่านั้น แต่มารู้อีกทีคือ มีการล้อเลียนอั้มเกี่ยวกับเพศสภาพของเธอไปทั่ว และกลายเป็นมีมอินเทอร์เน็ตด้วย เช่น วลี “มองซิเออศรัณย์ ฉุยฉาย” และ "ถ้ามาทำแบบนี้ที่ฝรั่งเศส ดิฉันจะแจ้งตำรวจจับแน่ค่ะ" ก็กลายเป็นชื่อเพจเฟซบุ๊กเลยทีเดียว (อ่านสัมภาษณ์อั้มเรื่องการถูกล้อเลียนและทำเป็นมีมด้านล้าง)

เรื่องนี้ทำให้ฉันรู้สึกหวั่นๆ เล็กน้อย ก่อนจะพบและสัมภาษณ์เธอ ฉันไม่เคยรู้จักเธอเป็นการส่วนตัวมาก่อนเลย ได้ยินแต่ชื่อเสียงของความดุดันของเธอเมื่อเธอปรากฏในสื่อและโพสต์เฟซบุ๊ก อย่างไรก็ตาม นั่นเพียงเป็นแค่บุคลิกของเธอเมื่ออยู่หน้าสื่อ เมื่อไม่ได้ออกสื่อ อั้มกลายเป็นคนที่สุภาพและอ่อนหวานมาก ช่างเป็นภาพที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว ฉันคงบอกไม่ได้ว่า อันไหนคือ “ตัวจริง” ของเธอกันแน่ ซึ่งคนๆ หนึ่งจะมีทั้งสองด้านก็ไม่แปลก

อุปสรรคใหญ่ๆ ของการลี้ภัยในฝรั่งเศส คือภาษาฝรั่งเศส ถ้าคุณพูดฝรั่งเศสไม่ได้ คุณจะอยู่ที่นั่นอย่างลำบากมาก เพราะคนฝรั่งเศสไม่สนใจที่จะพูดภาษาอังกฤษ ป้ายตามถนน หนทาง รถไฟฟ้า ก็ล้วนเป็นภาษาฝรั่งเศส การติดต่อราชการฝรั้่งเศสเพื่อดำเนินเรื่องการลี้ภัย ก็ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่การฝึกฝนภาษาฝรั่งเศสไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับอดีตนักเรียนภาษา จากรั้วแม่โดมอย่างอั้ม เพียงไม่กี่เดือน อั้มสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสระดับชีวิตประจำวันได้แล้ว

นอกจากเรื่องภาษา อั้มปรับตัวกับชีวิตในฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี เธอเป็นผู้เชียวชาญเรื่องขนส่งมวลชนสาธารณะและเส้นทางต่างๆ ของเมืองที่เธออยู่ มีครั้งหนึ่งที่มีครอบครัวชาวฝรั่งเศสจากต่างเมือง มาถามทางเธอ ซึ่งเธอก็บอกทางพวกเขาเป็นภาษาฝรั่งเศสได้

อั้มให้ความสำคัญกับการเรียนภาษามาเป็นอันดับหนึ่ง แม้ว่าเธอจะใช้ชีวิตด้วยเงินอันน้อยนิด และต้องคิดถึงทุกยูโรที่ใช้ แต่เธอเลือกที่ลงทุนกับการเรียนภาษา เพราะทักษะภาษาฝรั่งเศสของเธอจะเป็นตัวกำหนดอนาคตในการศึกษาและการงานหลัง จากนี้ อั้มเรียนภาษาฝรั่งเศสทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ในช่วงเช้า และยังเรียนภาษาเยอรมันในตอนบ่ายบางวันอีกด้วย ตอนนี้อั้มกำลังเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับ A2 (ระดับพื้นฐาน) และเรียนภาษาเยอรมันในระดับ C1 (ระดับสูง)

นอกจากนี้ อั้มยังดูมีความรื่นรมย์กับการใช้ชีวิตในประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องการเดิน ขบวนประท้วงยิ่งนัก แถมยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย อั้มเล่าให้ฉันฟังถึงการเมืองฝรั่งเศสและกิจกรรมเดินขบวนต่างๆ ที่เธอไม่ร่วมมาอย่างกระตือรือร้น ประเด็นที่อั้มแอคทีฟที่สุดในการไปร่วมกิจกรรมที่ฝรั่งเศสคือ กิจกรรมประเด็นผู้อพยพ สิทธิผู้หญิง และ LGBT อั้มยังเข้าร่วมกับกลุ่ม FEMEN ซึ่งเป็นกลุ่มเฟมินิสต์ที่มีชื่อเสียงจากการชอบเปลือยอกประท้วงอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม อั้มมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก อั้มเป็นคนที่ต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง เธอไม่ได้ติดต่อกับครอบครัวของเธอที่กรุงเทพบ่อยนักเพราะเป็นห่วงความ ปลอดภัยของพวกเขา เมื่อมาถึงฝรั่งเศสแรกๆ จรัลได้ช่วยประสานกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่นั่น ที่มีน้ำใจให้อั้มพักอยู่ฟรีๆ อั้มต้องย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ โดยอยู่ที่ละเดือนสองเดือน อั้มต้องทำงานอย่างหนัก เช่น การเป็นพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อหาเงินเลี้ยงตัวเอง

อั้มเข็มงวดกับการใช้เงินมาก เธอจะกินแต่แมคโดนัลด์ และขนมปังฝรั่งเศสที่รวมแล้วตกมื้อละไม่เกินสามยูโร “อั้มชอบแมคโด” (คนฝรั่งเศสเรียกแมคโดนัลด์ว่า “แมคโด”) เธอบอกฉันเมื่อฉันถามเธอว่า เธอไม่เบื่อกับการกินจังก์ฟู้ดบ้างหรอ เธอบอกว่า เธอเป็นคนกินง่าย กินอะไรก็ได้ และชอบจังก์ฟู้ดอยู่แล้ว แต่จริงๆ ฉันคิดว่า เธอพยายามประหยัดมากกว่า
ตอนที่ฉันไปถึง เธอเพิ่งย้ายไปอพาร์ทเมนต์ใหม่ซึ่งแชร์กับเพื่อนนักกิจกรรมคนหนึ่ง และจึงเพิ่งได้ฤกษ์ฝึกทำอาหาร เธอบอกฉันว่า เธอลองทำไข่เจียวที่อพาร์ทเมนต์และนั่นช่วยให้เธอประหยัดเงินได้มากเลย
หลังจากฉันใช้เวลากับอั้มพอสมควร ฉันพบว่า อั้มมีเสน่ห์ต่อผู้ชายฝรั่งเศสไม่น้อยเลยทีเดียว มีอยู่สองครั้งที่หนุ่มบริกรฝรั่งเศสเดินเข้ามาจีบเธอ และครั้งหนึ่งขอเบอร์เธอด้วย อั้มจะบอกพวกเขาว่าเธอชื่อ “มีมี่” เพราะว่า “อั้ม” น่าจะออกเสียงยากเกินไปสำหรับชาวฝรั่งเศส เธอบอกว่า Mimi ย่อมากจาก Mignon (มิยง) ที่แปลว่า น่ารัก ภาษาฝรั่งเศส

ในขณะที่ชายไทยคงสามารถบอกว่าเธอเป็นกะเทยได้ไม่ยาก และปฏิบัติกับเธอในฐานะที่เธอเป็นกะเทย แต่ชายฝรั่งเศสไม่น่าจะดูออก และปฏิบัติกับเธอเหมือนที่เธอเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ฉันคิดว่า มีบางอย่างเกี่ยวกับบุคลิกของอั้มที่ถูกใจหนุ่มฝรั่งเศส แต่ฉันอยู่ฝรั่งเศสสั้นเกินไปที่จะรับรู้ได้

แม้ว่าอั้มจะไม่ได้อยู่อย่างสบาย เธอกลับดูร่าเริงและมีกำลังใจดีตลอดเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน เธอยังคงคอนเซปต์ “อั้ม เนโกะ” โดยการทำท่าแมวกวักและร้อง “เมี้ยวๆ” เรื่อยๆ โดยเฉพาะเวลาเธอกำลังมีความสุข “เมี้ยวๆ” แม้กระทั่งเวลาโดยสารรถไฟใต้ดิน
อั้มดูผอมมาก และผิวก็แห้งมาก ฉันเกรงว่าเธอประหยัดเกินไปจนไม่ยอมซื้อโลชั่นมาทาหรือเปล่า จึงให้โลชั่นเธอไปกระปุกหนึ่ง แม้ว่าอากาศในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิจะหนาว อั้มก็ยังแต่งตัวค่อนข้างเปิดเผย (แต่เปิดเผยน้อยกว่าตอนอยู่กรุงเทพมาก) ในบางคืน แม้ว่าเธอจะหนาวจนตัวสั่น ก็ยังเดินมาส่งฉันถึงที่โรงแรม

อั้มเปิดเผยต่อสาธารณะว่าเป็นผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ เมื่อออกจากประเทศไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้มีความหวังสูงนักต่ออนาคตของการเมืองไทย เธอเพียงหวังว่า สังคมไทยจะมีความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเรื่องสาธารณรัฐมากขึ้น เหมือนในประเทศอังกฤษที่ซึ่งกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์สามารถอยู่ร่วมกับกลุ่ม นิยมสาธารณรัฐได้อย่างสันติ และประชาชนก็มีเสรีภาพถึงการพูดคุยเรื่องระบอบสาธารณรัฐโดยไม่ต้องติดคุก ฉันถามเธอว่า เธอเริ่มสนใจเรื่องสาธารณรัฐตั้งแต่เมื่อไหร่ อั้มว่า ตั้งแต่เธอเรียนปีหนึ่งที่จุฬา เมื่อลงวิชาสถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย สอนโดย ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งได้เปิดมุมมองของเธอให้เห็นว่า มีระบอบการปกครองหลายแบบในโลกนี้ รวมถึงระบอบสาธารณรัฐด้วย
อั้มบอกฉันว่า เธอมุ่งมั่นว่า ต้องจบปริญญาตรีที่ฝรั่งเศสเป็นอย่างน้อย และอยากเรียนวรรณคดีฝรั่งเศส ซึ่งต้องใช้ทักษาภาษาฝรั่งเศสระดับสูง เธอเชื่อว่า ทักษะสี่ภาษาของเธอจะทำให้หางานง่ายในฝรั่งเศสเมื่อเธอเรียนจบ
อั้มพูดถึงแผนชีวิตที่ดูเป็นแผนระยะยาวทีเดียว ฉันถามว่า แล้วเธอยังอยากจะกลับไทยไหม เธอว่า เธออาจจะกลับ เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย และมีการยกเลิกมาตรา 112
“ไม่คิดถึงบ้านหรอ” ฉันถาม “ไม่อ่ะค่ะ” อั้มตอบ “คิดถูกที่หนีมา เพราะมองว่า การที่อยู่ในสภาพสังคมที่ต้องปิดหูปิดตาตัวเองนั้นอึดอัด และน่าขยะแขยง”


การสัมภาษณ์เพิ่มเติมทางตัวอักษร

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อั้มถูกล้อเลียน (bully) ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เยอะมาก เช่นการเรียกว่า "มองซิเออศรัณย์ ฉุยฉาย" และประโยค "ถ้ามาทำแบบนี้ที่ฝรั่งเศส ดิฉันจะแจ้งตำรวจจับแน่ค่ะ" ซึ่งมีคนเอาไปทำเป็นเพจเฟซบุ๊กเลยทีเดียว อยากทราบว่า 1 คนที่มาล้อเลียนอั้มส่วนใหญ่คือใคร 2 ทำไมถึงคิดว่าโดนแบบนี้ และ 3 รู้สึกอย่างไร

ก่อนจะตอบคำถามแรกอั้มคงต้องตอบข้อ 2 กับ 3 ก่อนเพื่อที่จะปูความเป็นมาว่าการ bully เหล่านี้มันมีปัญหาอย่างไร ชัดเจนมากว่านี้คือปัญหาทางวิธีคิดอย่างหนึ่งในขบวนการต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยในไทยที่เรียกได้ว่าเหมือนจะก้าวหน้าแต่ก็ก้าวหน้าไม่ถึงไหน โดยเฉพาะเรื่องของการเมืองเชิงอัตลักษณ์ที่เป็นเรื่องของการเมืองวัฒนธรรม ของประชาชนที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย อันเป็นหนึ่งในปัจจัยชี้วัดสำคัญว่าสภาพสังคมและรัฐเหล่านั้นมีความเป็น ประชาธิปไตยมากแค่ไหน คือ ถ้าเป็นรัฐที่เคารพหลักการประชาธิปไตยที่เชื่อในความเสมอภาคของศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานของทุกคนรัฐก็จะมีนโยบายในการยอมรับการมีอยู่ของ อัตลักษณ์เหล่านี้ และการคุ้มครองการกดขี่และเลือกปฏิบัติต่อตัวบุคคลด้วยอัตลักษณ์ส่วนบุคคล นี้คือสิ่งที่ขบวนการประชาธิปไตยในไทย "กระแสหลัก" เลือกที่จะผลักประเด็นเหล่านี้ออกไป จะเรียกว่าเป็นประเด็นชายขอบมาตลอดก็ว่าได้ แถมบางส่วนของขบวนการยังแชร์ไอเดียร่วมกันกันฝั่งอนุรักษ์นิยมที่มีความคิด เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน (homophobia) และ เกลียดกลัวคนข้ามเพศ (transphobia) อีกด้วย

ดังนั้นเนี่ยเมื่อเราในฐานะที่ติดตามความเคลื่อนไหวจริงๆ จังๆ ของฝากฝั่งประชาธิปไตยในไทยมาตั้งแต่เริ่มเป็นนักศึกษาปีแรกๆ ที่โหนหินปรีดี บอกก่อนว่าตอนนั้นยังไม่รุ้หรอกเฟมินิสม์มีหน้าตาอย่างไร แต่เราตระหนักเสมอว่าความไม่เสมอภาคมีอยู่จริงในฐานะที่เราต่อสู้ในสายคิด ของนักมนุษยนิยมทั่วๆ ไป อั้มเองโดน bully ครั้งแรกแบบเป็นทางการคือหลังจากสื่อ matichon online เอาเรื่องเราปีนหินปรีดีคือ ไม่ต้องอัญเชิญเด็จแม่เดอ โบวัว (de Beauvoir มาก็รู้สึกเองได้ค่ะว่าคำพูดที่เขาแทนตนเราตอนนั้นค่อนข้างเหยียดเพศไม่ใช่ เรื่องคำนำหน้านะคะ แต่คือการบรรยายอัตลักษณ์ความเป็นคนข้ามเพศเราอะไรแบบนั้น จนเราไปถามพี่ที่รู้จักว่าแบบอ่านข่าวแล้วรู้สึกไม่ดีเลย คือแบบไปบอกใครได้บ้าง พี่คนนั้นจึงให้ส่งข้อความไปหาคนที่ทำงานมติชนคนหนึ่งและได้แก้ตัวข่าวให้

นั้นไม่ใช่แค่ครั้งแรกแต่คือการเอาอัตลักษณ์ของเรามาเป็นตลกมุกโง่ๆ เหยียดเพศมีมาเสมอ ในขณะที่นักกิจกรรม และนักวิชาการส่วนมากในขบวนการที่ส่วนมาก perform sexuality แบบผู้ชายเสียส่วนใหญ่กลับไม่ถูกนำมาเหยียดอะไรแบบนี้ เพราะมันชัดเจนแล้วว่า sexuality แบบไหนในสังคมรวมทั้งขบวนการประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เป็น "ความแปลกแยก" และชัดเจนที่สุดคืออัตลักษณ์ที่ลื่นไหลอย่างการเป็นคนข้ามเพศโดยเฉพาะข้ามมา perform "femininity" นี้จึงเป็นจุดที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของระบบคิดชายเป็นใหญ่เหล่านี้ที่ครอบ อยู่ทั้งในกระแสคิดของฝั่งอนุรักษ์นิยมและฝั่งประชาธิปไตย แต่ทว่านั้นฝ่ายประชาธิปไตยก็ไม่กล้าที่จะผลักเราออกไปเต็มๆ ตัวเพราะเรายังเป็นเหมือน "ไม้ประดับ" ให้อุดมการณ์ของพวกเขาดูเปิดกว้างทางสังคม ทางเพศ ดูก้าวหน้า ดู international (เบะปากรัวๆๆ)
แต่คือหลังจากเราโดนแซะนิดแซะหน่อยมาเรื่อยมาจนคนที่ bully เหล่านั้นคิดว่าการทำสิ่งเหล่านี้คือสิ่งปกติทั่วๆ ไป เราก็ยังทนมาเป็นปีๆ คิดในแง่ดีว่า เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก ฮาๆ บ้าง แม้ว่าเราจะรับรู้ว่า การสร้างบางสิ่งให้ตลกก็เป็นสิ่งหนึ่งในสร้างความชอบธรรมให้แก่การกดขี่หรือ การกดทับทางสังคมให้มันดูเป็นเรื่องเฮฮาปกติไปก็ตาม คือโลกสวยไงคะตอนนั้น จนกระทั่งมาพูดมาเคลื่อนไหวประเด็นความเสมอภาคทางเพศจริงๆ จังๆ เราก็เริ่มไม่เชื่อฟังขบวนการนี้แบบเดิมๆ อีกต่อไป การที่เราออกมายืนยันในหลักการว่าการดูถูกคนเพียงเพราะชาติกำเนิด เพศสภาพ ความพิการ อะไรเหล่านี้คือสิ่งที่ผิดต่อหลักการประชาธิปไตย และย้ำว่าความเสมอภาคทางเพศคือส่วนหนึ่งของขบวนการ ก็กลับกลายเป็นว่าอีพวกที่เคย bully เราเป็นงานปกติโมโหสิคะ เพราะปกติอินี้เชื่องไง ขบวนการก็พร้อมต้อนรับไงได้คนให้กดขี่เล่นในขบวนการตาใสๆ ไม่มีปากเสียง พอมันริมาด่าพวกเดียวกันว่าขบวนการมึงห่วยแตก บุคคลเหล่านี้จึงรับไม่ได้

และบุคคลเหล่านี้คือ "ใคร" ??? ?
ชัดเจนค่ะว่าคนเหล่านี้ที่มา bully โดยมากกำลังใช้เพศสภาพชายในการแสดงออก และที่สำคัญคือบุคคลที่ใช้เพศสภาพชายเหล่านี้ในสังคม คือ บุคคลที่ได้รับ (male) privilege หรืออภิสิทธิ์ทางสังคมในฐานะของการครอบครองความเป็นชายเอาไว้ การที่สถานะความเป็นชายที่มันถูกประเมินค่าไว้ดีอยู่แล้ว ไม่ได้ถูกกดทับทางอัตลักษณ์ให้ต่ำกว่าเท่ากับอัตลักษณ์อื่นๆ ง่ายๆ คำด่าอิงเพศสภาพชายมีแค่ไม่กี่คำเช่น "หัวควย" แต่คำด่าอิงเพศสภาพหญิงมีมหาศาล "หน้าหี" "เอาผ้าถุงไปใส่" "หน้าตัวเมีย" "อีกากี" "อีแพศยา" "ใจตุ้ด" "กะหรี่" และอีกมากมาย นี้คือสิ่งที่คนที่นิยามตนเป็นชายยากที่จะหันมาเข้าใจเพราะตัวเองไม่ได้คิด ว่ามันเป็นปัญหาของตนเพราะทั้งระบบคิดในสังคม ระบบการศึกษา เศรษฐกิจ การเมืองล้วนเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกเขาทั้งนั้น การที่เขาจะมาสู้เพื่อให้คนอื่นที่ต่ำกว่าเขามามีสถานะเท่าๆ กันจริงๆ จึงเป็นแค่ "เรื่องตอแหล" เพราะพวกนี้เอาเข้าจริงที่เข้ามาสู้เพื่อสังคมยุติธรรมประชาธิปไตยอะไรพวก นี้จริงๆ ก็แค่อยากถีบตัวเองขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองระบอบทางการเมือง สังคม เศรษฐกิจแบบเดิมๆ ที่ตัวเองมีโอกาสน้อยกว่า ลูก "ผู้มีอันจะกิน" เช่น ลูกข้าราชการ เด็กเส้น ลูกท่านหลานเธอบ้าง คือ ง่ายๆ อยากไปอยู่แบบเขาแต่คนเป็น somebody มันถีบตัวเองเข้าสังคมตอแหลยากไง และระบบที่จะทำให้ somebody พวกนี้ถีบตัวเองไปสรรแบ่งอำนาจกับลูกผู้ดีก็คือประชาธิปไตย ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงต้องการประชาธิปไตยแค่เป็นการสรรอำนาจให้ตนได้ไปสวาปาม ร่วมกับเผด็จการ โดยไม่ได้ใส่ใจประเด็นอื่นๆ ทางสังคมมากจริงๆ ถ้า "ไม่ใช่เรื่องที่พวกเขา (ผู้ชาย) เดือดร้อน


Thursday, April 30, 2015

1 ปี "นักโทษการเมือง" ความหวัง-ความต้องการ-กำลังใจ: ท่านช่วยได้อย่างไร?

1 ปี "นักโทษการเมือง" ความหวัง-ความต้องการ-กำลังใจ:  ท่านช่วยได้อย่างไร?

 

พี่น้องสามารถพิจารณาช่วยเหลือและสนับสนุน ตามเนื้อหาในคลิปนะครับ


Wednesday, April 29, 2015

สมยศ และ นักโทษ 112 กับ "ตรวนพระราชทาน"

สมยศ และ นักโทษ 112 กับ "ตรวนพระราชทาน"


ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง
ปล่อยสมยศ ปล่อยนักโทษการเมือง


Sunday, April 5, 2015

ผลกระทบ การนิรโทษกรรม ในงานวันเกิดสิรินธร

มีผู้ตั้งข้อสังเกตเรื่อง ผลกระทบ การนิรโทษกรรม ในงานวันเกิดสิรินธร
จึงขอยกมาชวนคิด ชวนคุย กันนะครับ


เมื่อนักโทษ 38,000 คนถูกปล่อยออกมา ในยามที่เศรษฐกิจตกต่ำที่สุดและคนเริ่มตกงาน และเงินหายากสุด ผู้คุมนักโทษที่คลุกคลีกับนักโทษบอกใว้ชัดเจนมากว่า นักโทษคดียาเสพติดและคดีปล้น วิงราว ลักทรัพย์ นักโทษพวกนี้โอกาศกลับมาก่อเหตุซ้ำอีกสูงมากและวนเวียนเข้าออกเรือนจำเป็นปกติและการก่อคดีก็รุนแรงและหนักขึ้น และไม่กลับตัวกลับใจเลย กลับตัวก็เฉพาะเวลาสารภาพเพราะจำนนต่อหลักฐานและเพื่อให้โทษน้อยลงเท่านั้นและวันนี้กลุ่มที่ได้รับการปล่อยตัวมากสุดก็คือนักโทษกลุ่มนี้ และในยามประเทศตกต่ำแบบนี้ อะไรจะเกิดกับสังคมของสุจริตชน ความห่วงใยจากคนในเรือนจำ....น่าคิดๆๆ
ควรระมัดระวังตัวเองให้มากขึ้น การจอดรถ การขึ้นรถ การเดินในที่เปลี่ยว มืดค่ำ ฯลฯ
ผลกระทบ การนิรโทษกรรม ในงานวันเกิดสิรินธร