PPD's Official Website

Showing posts with label สาธารณรัฐ. Show all posts
Showing posts with label สาธารณรัฐ. Show all posts

Monday, April 27, 2015

คลิปแนะนำโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยประชาชน: คลิปที่จะทำลายความอำนาจของ หยดเหงื่อที่ปลายจมูก ยิ่งกว่าวาทกรรมสมเด็จเจียม!!!


คลิปแนะนำ: คลิปที่จะทำลายความอำนาจของ หยดเหงื่อที่ปลายจมูก ยิ่งกว่าวาทกรรมสมเด็จเจียม!!!



x





Wednesday, April 22, 2015

มหาวิทยาลัยประชาชน ชวนพี่น้องกล้าเขียนฝัน สร้างระบอบใหม่ ให้ปชช.​ใหญ่เหนือทุกสถาบัน

มหาวิทยาลัยประชาชน ชวนพี่น้องกล้าเขียนฝัน สร้างระบอบใหม่ ให้ปชช.​ใหญ่เหนือทุกสถาบัน


มหาวิทยาลัยประชาชน ชวนพี่น้องกล้าเขียนฝัน สร้างระบอบใหม่ ให้ปชช.​ใหญ่เหนือทุกสถาบัน







 มหาวิทยาลัยประชาชน ชวนพี่น้องกล้าเขียนฝัน สร้างระบอบใหม่ ให้ปชช.​ใหญ่เหนือทุกสถาบัน


Thursday, April 16, 2015

ดร.เพียงดิน รักไทย 2013-02-10- ประเทศไทยหลังยุคกษัตริย์ภูมิพล

ดร.เพียงดิน รักไทย 2013-02-10- ประเทศไทยหลังยุคกษัตริย์ภูมิพล

Friday, April 3, 2015

ทำไม ดร.เพียงดิน ไม่สนับสนุนให้ "พระเทพ" ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 10

ทำไม ดร.เพียงดิน ไม่สนับสนุนให้ "พระเทพ" ขึ้นเป็นรัชกาลที่ 10

Thursday, April 2, 2015

ขี้เลีย ตอแหล หลอกตัวเอง หรือไม่ยอมรับความจริง คือ สันดานชนิดหนึ่งของคนไทยที่ชอบอวยเจ้าทั้งหลาย

ขี้เลีย ตอแหล หลอกตัวเอง หรือไม่ยอมรับความจริง คือ สันดานชนิดหนึ่งของคนไทยที่ชอบอวยเจ้าทั้งหลาย


ให้พี่น้องดูภาพของพระเทพตัวจริง วันเกิดครบ  60 ปี นะครับ จากนั้น ลองไปดูภาพที่เขาเอาขึ้นตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ นะครับ




"เฮ้ย สัส! คนเดียวกันป่ะวะ" จิ๊กโก๋โฮมเลส แถวข้าง ๆ บ้าน บอก
ฮิ ๆ ... ก็สมแล้วที่มันอุทานแบบนี้ (กูเปรียบเทียบดูสิครับ)

สงสัยกันบ้างไหมครับ ทำไมไม่เอาตัวตนปัจจุบันมาชู
ดูเหมือนคนไทยเหล่านี้ พร้อมใจกันปฏิเสธความจริง
หรือหลอกลวงกันเอง หรือเลียเพื่อยกเจ้า(นาย) ที่ตนรัก

ซึ่งมันตลกนะครับ

ก็อวยพรให้คนที่อยู่ปัจจุบันอายุ 60 แต่ดันไปเอารูปตอนสาว ๆ เกือบ ๆ 16 ปีมาแทน...

เอ.. หรือว่า สภาพปัจจุบัน มันขายไม่ออกซะแล้ว!???






หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)


หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)ซับแดง หมู่บ้านเล็กๆที่ประเสริฐ จันดำ นักเขียนร้อ...
Posted by ห้องสมุดประชาชนและการปฏิวัติ on Thursday, April 2, 2015

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


The Royal Barge Procession in 2005.
The Royal Barge Procession in 2005.


The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.
The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.


อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


เพื่อความสะดวกของท่าน ขอยกมาให้อ่านกันเลยนะครับ

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
อนาคตของสถาบันกษัตริย์นั้นอย่างน้อยจะถูกกำหนดโดยจุดแข็งและจุดอ่อนของรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเส้นทางในการสืบสันตติวงศ์ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบันที่ๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก   เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี 1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 14ปี หลังจากที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกยกเลิกไป สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เกือบที่จะถูกครอบงำ ด้วยพลังและอำนาจทางการเมืองใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1960 กลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ ด้วยความร่วมมือกับกองทัพไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาสถานภาพฐานการเงินของราชวงศ์ ตลอดจนการสร้างความเคารพนับถือให้กับสถาบันพระมหากษัตรย์  ในปี 1973 และ 1992 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้ามาเพื่อยุติความรุนแรงทางทหารที่มีต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ชี้ขาดคนสุดท้ายในเวลาที่เกิดวิกฤติ
ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นานับประการทั่วประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของพสกนิกรในท้องที่ทุรกันดาร ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่อุทิศพระองค์เพื่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน  สิ่งที่แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการที่พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มากที่สุดในโลก  สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่พระองค์ทรงคิดค้น ตลอดจนพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ ดนตรี และพระราชนิพนธ์   พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ดูเหมือนพระราชพิธีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการครองราชย์ ประชาชนเรือนล้านหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง  พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญจากทั่วโลกต่างก็เดินทางมาร่วมพระราชพิธีนี้เช่นกัน ดูเหมือนในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จของรัชสมัยไว้อย่างชัดเจน
แต่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2006 ฝ่ายทหารได้ปฏิวัติ ทำรัฐประหาร เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน   ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นของการเลือกโดยสำนักพระราชวังในช่วงเวลาสี่ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัยกับการสนับสนุนในวงกว้าง ก็มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งกำลังอยู่ในจุดที่ตกต่ำลงทั้งในแง่ของความนิยมและความชอบธรรม
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงสั่งสมมาตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี? คำตอบจะเป็นสิ่งที่บอกเราได้มากถึงอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย  แม้ว่าจะไม่พิจารณาในประเด็นการสืบราชสมบัติ  กลุ่มพลังที่เป็นตัวแทนในการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นกลุ่มที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต   เมื่อประเด็นเรื่องการสืบราชสมบัติเกิดขึ้นในสภาวะที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความวิบัติได้ แต่ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯที่มีการครองราชย์มาอย่างยาวนานก็ถึงจุดที่จะต้องกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย โดยมีปัจจัยภายในหลายๆด้านทั้งที่ช่วยส่งเสริมและบั่นทอนการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นสถาบัน
King's Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
King’s Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
การเปิดเผยของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการตรวจสอบของสาธารณชน(มักเกี่ยวข้องกับการพูด) มีส่วนทำให้สถาบันมีความเข้มแข็งขึ้น  สภาองคมนตรีและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าถึงนักวิชาการในระดับหนึ่ง และสำนักพระราชวังเองก็ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชประวัติใหม่ที่ค่อนข้างสมดุลมากขึ้น ซึ่ง รวมไปถึงเรื่องต้องห้ามเดิมที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน  ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งปิด (เซ็นเซอร์ censor)บล๊อกและเวปเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ความลับทางการทูตจำนวนมากของ  Wikileaks ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่กลับไม่ได้ปิด สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์แนววิพากษ์วิจารณ์บางแห่ง เช่น บทความของ MacGregor Marshall เรื่อง  “Thailand’s Moment of Truth”  ข้อมูลงบประมาณของรัฐบาลเองเมื่อเร็วๆ นี้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับพระราชวงศ์ และค่าใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ถูกกระตุ้นโดยรายงานจากภายนอก อย่างเช่น นิตยสาร Forbes  ที่ได้รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมี  พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ถ้าจะมองเกี่ยวกับความสมดุลของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีหลายเหตุผลที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง  ประการแรก คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบุคคลบุคคลหนึ่งได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมของราชวงศ์ไทย  ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่พระองค์ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานหรือความพยายามในการประชาสัมพันธ์จากสำนักพระราชวังเองก็ตาม พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของบุคคลที่น่าเคารพบูชา แต่หากมองในด้านลบ  ยิ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะตัวบุคคลหรือพระราชกรณียกิจถูกนำเสนอมากเท่าไหร่ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น  ไม่น่าสงสัยแต่อย่างใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความนิยมในตัวของพระองค์ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องแปลไปสู่ความชอบธรรมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความจริงแล้วทางตรงกันข้ามอาจจะเป็นความจริงก็เป็นได้  อาจจะเป็นเรื่องดีที่คนไทยจำนวนมากมีความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ไม่มากไปกว่าการจงรักภักดีต่อรัชสมัยปัจจุบัน  สำนักพระราชวังประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน สร้างสถานะให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือมากขึ้น  และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของชาติ ซึ่งความสำเร็จประเภทนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้สืบทอดพระราชสมบัติองค์อื่นๆ
ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนมักจะอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยราวกับว่า       ป็นสถาบันที่มีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และใช้ “สำนักพระราชวัง” เป็นเครื่องมือในลักษณะเดียวกันกับ ทำเนียบขาว หรือ White House  ของสหรัฐอเมริกา หรือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง )10 Downing Street)ของสหราชอา ณาจักร อุปมาเปรียบได้กับศูนย์กลางของอำนาจที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน      แต่คำอธิบายนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในความเป็นจริง มีกลุ่มอิทธิพลหลายกลุ่มที่มีผลต่อราชวงศ์ไทย   บ่อยครั้งที่มีการทับซ้อนกันและมีการจัดวาระการแข่งขัน ตลอดจนการแบ่งแยกที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน             รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่หวั่นไหวในเรื่องมุมมองความคิดเห็น การแบ่งศูนย์กลางของอิทธิพลจะมุ่งเน้นไปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะองคมนตรี
หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ตามที่แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวไว้ พระองค์ก็จะทรงไม่สามารถหรือ ทรงไม่เต็มพระทัยที่จะควบคุมคนอื่นๆในสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการรัฐประหารได้  ตามที่ ข้อมูลลับทางการทูต wikileaks หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการการรัฐประหารที่เกิดขึ้น  นี่เป็นบางส่วนของสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) การเคลื่อนไหวพยายามจะขัดขวางและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยผู้สนับสนุนของพันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตรในปี 2008
ในขณะที่บางคนแย้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงถูกกดดันจากกลุ่มรัฐประหารเพื่อลงพระนามรับรองในการทำรัฐประหารดังกล่าว แต่ไม่ใช่กรณีเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เมื่อพระองค์ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานศพของผู้ประท้วงพันธมิตรที่เสียชิวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ประการที่ 3 การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  กฎหมายดังกล่าวค่อนข้างที่จะลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างน้อยในช่วงทศวรรษที่ 1990และช่วงต้นของทศวรรษที่2000  มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่เกิดขึ้น  ราชวงศ์ของยุโรปได้รับประโยชน์จากผลโพล (poll)ที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ของพวกเขา แต่สำหรับประเทศไทยด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การทำโพลเป็นไปไม่ได้ ทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังเป็นการกีดกันสถาบันพระมหากษัตริย์จากการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างถูกทำนองคลองธรรมในสภาพแวดล้อมที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน ตามเนื้อความของกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายจะปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะปกป้องสมาชิกอื่นๆ ของราชวงศ์สกุลนี้เช่นเดียวกัน
ผู้เสนอกฎหมายได้พยายามที่จะขยายการคุ้มครองตามกฎหมายให้ถึงแม้กระทั่งสมาชิกของคณะองคมนตรี  ทุกคนสามารถทำให้ข้อกล่าวหากลายเป็นอาวุธที่แสนสะดวกเพื่อใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ส่วนตัวของกฎหมายเองก็มีความคลุมเครือในแง่ไม่ค่อยดีและศาลก็ได้ตีความไว้อย่างกว้างๆ
ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา  ระหว่างปี 1992 และ 2004  จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี  2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
สุดท้ายนึ้ยังคงมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนรูปภูมิทัศน์ทางการเมืองในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่  การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดท่ามกลางบรรยากาศสลัวของรัชสมัยปัจจุบัน คือ การพัฒนาจิตสำนึกทางด้านการเมืองการปกครองให้ลึกซึ้งและแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เครือข่ายกษัตริย์เข้าถึงการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2006  เช่นเดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านๆ มาในอดีด คือ การรัฐประหารได้รับการรับรองจากสถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้ก่อรัฐประหารให้เหตุผลแสดงความบริสุทธิ์ว่า การทำรัฐประหารนั้นทำเพื่อสาธารณชนโดยอ้างเรื่องการทุจริตของนักการเมืองและภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  หลังจากนั้นก็จะมีการนิรโทษกรรม และในที่สุดการทำรัฐประหารก็จะถูกลืมเลือนไป
แต่ประชาชนกลุ่มใหม่ผู้ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองกลับไม่เคยลืมการทำรัฐประหาร  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) ยังคงมีการจัดระเบียบเพื่อที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากการทำรัฐประหารออกไป โดยสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นำประโยคที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมออกไปและดำเนินคดีผู้ทำรัฐประหาร และพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายหรือการพิจารณาคดีที่มาจากการทำรัฐประหาร การเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการตื่นตัว หรือ ตาที่เปิดขึ้น (ตาสว่าง)  ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการพูดปากต่อปากของผู้ประท้วง ปรากกฎการณ์ตาสว่างทำให้สายตาของพวกเขาเพ่งมองไปที่บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของสถาบันอย่างเต็มที่
มีการแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบรหัสเฉพาะเพื่อที่จะหลบเลี่ยงการจับกุม การขับเคลื่อนในครั้งนี้ไม่มีภาพลวงอีกต่อไป จึงเห็นความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีกของสำนักพระราชวังเพื่อป้องกันอำนาจของกษัตริย์ที่เป็นที่นิยมผ่านศาลยุติธรรม คณะองคมนตรีและสมาชิกบางองค์ของราชวงศ์ แทนที่จะลืมการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในงานศพของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรในเดือนตุลาคม 2008 เหตุการณ์นี้กลับเป็นสิ่งที่ขุ่นเคืองสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และตั้งวันนั้นให้เป็นอนุสรณ์ว่าเป็น “วันตาสว่างแห่งชาติ” การออกมาเลือกข้างอย่างเปิดเผยของราชวงศ์ได้ถอดถอนความพยายามที่จะสื่อให้เห็นว่าสำนักพระราชวังเป็นกลางซึ่งความรู้สึกด้านลบของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงยิ่งสูงขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลือกที่จะไม่แทรกแซงเมื่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 เหนือกว่าสิ่งอื่นใด การตัดสินใจในการร่วมงานศพของกลุ่มพันธมิตรในปี 2008และไม่ไปร่วมงานศพของกลุ่ม นปช.ในปี 2010 ถือว่าเป็นจุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดี  การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสำนักพระราชวังในการทำรัฐประหาร การปรากฎตัวแบบเลือกข้างของสมาชิกราชวงศ์ในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง  การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการตระหนักถึงเรื่องความมั่งคั่งของราชบัลลังก์ ได้ทำให้ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นลดลงและเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต
แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 อาจจะเป็นการที่สำนักพระราชวังไม่สามารถที่จะนำเสนอแผนของการสืบราชสันตติวงศ์ในแง่บวก แทนที่จะทรงสละราชสมบัติ ตามที่พระองค์ได้เคยพิจารณาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จากการที่ทรงเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะยังคงอยู่ในพระราชบัลลังก์ต่อไป ในปี 1972 ทรงสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เนื่องจากพระพลานามัยของรัชกาลที่ 9 ที่แย่ลงในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเจ้าฟ้าชายนั้นกลับล้มเหลว อีกทั้งความขัดแย้งในสำนักพระราชวังก็เพิ่มขึ้น แผนการสืบต่อราชสันตติวงศ์อีกแผนหนึ่งจึงปรากฎขึ้น  ด้วยที่ผ่านมาในความทรงจำของประเทศไทยยังไม่เคยมีการขัดแย้งในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์  จึงทำให้มีช่องว่างที่ปรับเปลี่ยนได้ทางกฎหมายมากพอสำหรับการจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับคณะองคมนตรีที่อาจจะเข้ามาจัดการในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่่รัชกาลถัดไป 1
กรณีตัวอย่าง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรีและประธานองคมนตรีก็จะมีความคลุมเครือ และอาจจะถูกตีความได้ว่าพลเอกเปรมจะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากเสด็จสวรรคต และการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเขาอาจจะสามารถปรับปรุงกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์ปี 1924 ได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่ช่วยให้คณะองคมนตรีสามารถที่จะกำหนดพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ต่างออกไปได้ ซี่งมีข้อสันนิษฐานว่า จะเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรืออาจจะส่งชื่อผู้สืบราชสันตติวงศ์ไปยังรัฐสภาเพื่อการพิจารณาล่าช้า ในช่วงที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้อย่างแน่นอน  หรือถ้าทั้งหมดล้มเหลว การทำรัฐประหารอาจจะอยู่ในลำดับต่อไป โดยอ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารอาจจะยกเลิกรัฐสภาและอนุญาตให้กองทัพมีสิทธิ์ที่จะเสนอพระนามผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ หรืออย่างน้อยก็ให้สามารถชะลอกระบวนการดังกล่าวได้  หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงจัดวางพระองค์เองให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระประชวร และยังทรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ไม่มีแผนการใดเลยที่ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมมากขึ้น  มีเพียงแผนการเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วย นั่นก็คือ การที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในลำดับถัดไป และทรงปรับปรุงพฤติกรรมของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อเครือข่ายกษัตริย์ (monarchy network) และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนครองราชย์ตามระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่อื่นๆในโลกปัจจุบัน ส่วนแผนการอื่นๆจะนำไปสู่ความหายนะไม่ว่าจะเป็นความพยายามของคณะองคมนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งอาจจะป็นการล้างความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้พลเอกเปรม หรือ สมเด็จพระราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่จุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
สุดท้ายนี้ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องความชอบธรรมตามกฎหมาย รัชกาลในปัจจุบันได้มีการปลูกฝังชุดค่านิยมและความสนใจซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และก้าวต่างไปจากระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก  สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางการแถลงการณ์และการกระทำต่างๆ  สิ่งนี้สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้อนุญาตให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกกีดกันให้ยังคงใช้ได้อยู่ และสิ่งนี้อยู่อย่างใกล้ชิดมากเกินไปกับการจัดวาระอย่างสุดขั้วของกลุ่มผู้จงรักภักดีในราชวงศ์แบบสุดโต่ง สิ่งนี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันโดยมีการเปรียบเทียบกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จตามอย่างได้  ในที่สุด ด้วยการเตรียมตัวที่ไม่พร้อม ทำให้เกิดแม้กระทั่งคำถามเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ที่กำลังมีภัยเพราะเต็มไปด้วยทางเลือกอื่นที่ล้วนล่อใจแต่อันตราย   สรุปได้ว่า สิ่งนี้ล้มเหลวที่จะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่เส้นทางที่ดำเนินควบคู่ไปกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย ในประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัชสมัยนี้ กำลังจะส่งมอบสถาบันหนึ่งซึ่งกำลังอ่อนแรงและแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เป็นมรดกแก่ผู้สืบทอด พร้อมๆ กับหนทางที่ไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างไร
 David StreckfussUniversity of Wisconsin-Madison
Notes:
  1. Michael J. Montesano, “Contextualizing the Pattaya Summit Debacle: Four April Days, Four Thai Pathologies,” Contemporary Southeast Asia, vol. 31, no. 2 (2009), p. 233. 

"สมเด็จพระเทพฯ"ความหวังของพสกนิกรในยุค"สถาบันกษัตริย์"เปราะบาง

"สมเด็จพระเทพฯ"ความหวังของพสกนิกรในยุค"สถาบันกษัตริย์"เปราะบาง
Published on Apr 1, 2015

คุณจรรยา ยิ้มประเสริฐ นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาชน­ธิปไตย ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชมพรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี มีพระชนมายุครบ 60 พรรษา วันที่ 2 เมษายน 2558 ว่า ด้วยศักกยภาพ และพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระเทพฯ รวมทั้งการวางพระองค์ให้เป็นที่รักและศรัท­ธาของประชาชนตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่า สมเด็จพระเทพฯ มีศักยภาพพร้อมที่สุดที่จะขึ้นเป็น กษัตริย์รัชกาลที่ 10 แต่อย่างไรก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระยะ 10 ที่ผ่านมา ประชาชนจำนวนมาก มีคำถามสำหรับสถาบันกษัตริย์ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองในระบอบประชาธิ­ปไตย จึงไม่ต้องการ ให้ สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศูนย์กลางของการอำนาจทั้งหมดของประเทศ­อีกต่อไป แต่ต้องการให้ สถาบันกษัตริย์หันมาส่งเสริมการปกครองแบบป­ระชาธิปไตยและยอมรับอำนาจของประชาชน 

คุณจรรยา ยังได้กล่าวถึง ข้อวิตกของ ม.ล.จุลเจิม ยุคล ที่เป็นห่วงว่า การให้ นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจสูงสุดของประเทศตาม ม.44 จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ มีอำนาจเทียบเท่ากับ พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขแห่่งรัฐ นั้น ไม่เชื่อว่า เป็นสัญญาณความไม่สบายใจของสถาบันกษัตริย์ เพราะลำพังกองทัพ ยังไม่สามารถมีอำนาจเหนือสถาบันกษัตริย์ได­้ กองทัพ ยังคงเกรงกลัวสถาบันกษัตริย์ และสถาบันกษัตริย์ก็ยังใช้ อำนาจของกองทัพเพื่อค่ำบัลลังค์อยู่ต่อไปเ­ช่นเดียวกัน









Wednesday, April 1, 2015

สันดานชนชั้นเจ้า... จุลเจิม ยุคล A monarchist's dictatorial and terroristic view in Thailand

สันดานชนชั้นเจ้า... จุลเจิม ยุคล A monarchist's dictatorial and terroristic view in Thailand

Here is the direct translation of the above web-based opinions by Chulcherm Yugala, a monarchist: 

"I think Prime Minister Prayuth should use Article 44 to order execution and imprisonment against the 20-30 scums (including some shitty monks) so that the country would be peaceful. All depends on whether the PM is brave enough to do it."
ชัดเจนว่า หม่อมฯ ตนนี้ สมควรต้องถูกปรับทัศนคติ เมื่อประชาชนยึดอำนาจอธิปไตยคืนมา และสร้างประชาธิปไตยได้สำเร็จแล้ว 







สันดานชนชั้นเจ้า... จุลเจิม ยุคล A monarchist's dictatorial and terroristic view in Thailand

ประเทศไทย อย่างไรเสีย ก็ต้องมีสถาบันกษัตริย์...!! จริงหรือ?

ประเทศไทย อย่างไรเสีย ก็ต้องมีสถาบันกษัตริย์...!! จริงหรือ?
คำถามที่ควรจะพูดได้ ตอบได้ ถกได้
แต่วันนี้ หากทำ ก็จะโดนมาตรา  44 ที่ภูมิพลเปิดโอกาสให้ประยุทธ์ ก่อกรรมเป็นทรราช โดยเขาไม่ต้องรับโทษ เหมือนเดิม และประยุทธ์ ก็เป็นเหยื่อหน้าโง่คนต่อไป ของระบบกษัตริย์ไทย



 

ประเทศไทย อย่างไรเสีย
ก็ต้องมีสถาบันกษัตริย์...!! จริงหรือ?


ข้อคิดวันละข้อ: ประมุขระบอบประชาธิปไตย


ประมุขระบอบประชาธิปไตย แต่ยึดอำนาจประชาชนทั้งประเทศไปให้ทหารที่จงรักภักดีต่อตนคนเดียว  คือประมุขที่ควรให้เป็นประมุขอีกต่อไปหรือ?





















(หมายเหตุภาพ:  ทีมโฆษณาชวนเชื่อ กลัวคนไม่สนใจเหงื่อที่บรรจงสร้าง ต้องให้เอาปลายนิ้วชี้เพื่อดึงความสนใจด้วย ฮา...อุจจาระแตกเลยครับ ท่าน)

สามสิบคำถาม เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ไทย สำหรับคนไทยทุกหมู่เหล่า


....


 ผมจะเขียนบทความชิ้นนี้ ในรูปคำถามทั้งหมด เพื่อให้พี่น้องคนไทยทุกหมู่เหล่า ได้คิดตาม คำถามผม อาจจะเหมือนมีอคติอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นโอกาสให้คนที่รักสถาบันกษัตริย์ได้คิดหาคำตอบ หาหลักฐานมาหักล้าง และอธิบายความให้สังคมไทยได้เช่นกัน
 หวังว่า คำตอบ จะทำให้ท่านเดินหน้าไปอีกหลายก้าวในเชิงการเมือง เพื่อจะได้ตาสว่างกันยิ่งขึ้น และกลายเป็นผู้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ที่ชาติเราต้องการในที่สุดในเวลานี้  หรือท่านอาจจะรักสถาบันกษัตริย์ และระบอบการปกครองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ต่อไปหรืออาจจะมากขึ้นด้วยซ้ำ.... ผมไม่ได้คิดเรียบเรียงอย่างรอบคอบนักนะครับ  ลองคิดไปด้วย และหากมีคำถามชวนคิดมากกว่านี้  ก็กรุณาช่วยกันเติมได้นะครับ เชื่อว่ามีอีกมากมาย และการได้เกิดสัมมาทิฏฐิ ไม่อยู่บนความลุ่มหลง หรือถูกผลักดันด้วยความโกรธแค้น หรือรักแบบงมงาย แล้วทำลายแบ่งแยกกันเอง แล้วให้ชนชั้นปกครองหลอกใช้

 1.     ประเทศไทย เป็นของประชาชนทุกคนโดยเท่าเทียมกัน หรือเป็นของกษัตริย์คนเดียว หรือเป็นของชนชั้นสูงส่วนน้อยที่เขาอ้างว่ามีอำนาจ มีคุณธรรม และมีบุญบารมีมากกว่าประชาชนทั่วไป? 
2.     กษัตริย์ภูมิพลและบรรพบุรุษท่านใดเคยรบข้าศึก เคยปกป้องประเทศ เคยก่อตั้งประเทศอย่างแท้จริง? ในการรบแต่ละครั้ง กษัตริย์ได้รบจริงกี่ครั้ง ในกองทัพมีครอบครัวกษัตริย์กี่คน มีลูกหลานชาวบ้านกี่คน? การอ้างว่ากษัตริย์รักษาบ้านเมือง ทำให้ชาติอยู่รอด เป็นวาทกรรมโดยใคร? เพื่ออะไร?  
3.     พฤติกรรมใดของกษัตริย์ คือพฤติกรรมที่เหมือนพ่อของท่านจริง ๆ? สิ่งใดที่ทำให้ประชาชน สมควรต้องเคารพรักและเทิดทูนไว้เหนือหัว เสมือนบิดามารดา หรือดั่งเทวดา? พฤติกรรมใดของกษัตริย์และครอบครัวที่ทำให้เราสมควรอยู่ใต้ฝุ่นที่อยู่ใต้เท้าของพวกเขา? 
4.     กษัตริย์ภูมิพลและครอบครัว แสดงอาการใดบ้าง ที่สรุปได้ชัดว่า รักประชาชน ห่วงใยประชาชน และทำประโยชน์ให้ประชาชน? ท่านมีหลักฐานใดชัดเจนที่ไมใช่แค่เขาเล่ามา? 
5.     ในบรรดาพระราชกรณียกิจ และโครงการพระราชดำริที่ออกอากาศแทบทุกวัน ท่านได้รับประโยชน์โดยตรงใด ๆ บ้าง  ทำให้ชีวิตท่านดีขึ้นอย่างไรบ้าง มีหลักฐานใด? ทำไมต้องมีการนำเสนอกันแบบสม่ำเสมอ? หากให้เลือกดูข่าวสารความรู้เกี่ยวกับโลก วิชาชีพ และองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ต่าง ๆ ในช่วงสองทุ่มทุก ๆ วัน วันนี้ความรู้ของท่านจะก้าวไกลไปแค่ไหน?  และการโฆษณาเรื่องผลงานครอบครัวกษัตริย์ ทำขึ้นเพื่อสิ่งใด เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนจริงหรือ? 
6.     กษัตริย์ภูมิพลเหาะมาจากฟ้าพร้อมกับวงศ์ตระกูลหรือไม่? ทราบได้อย่างไรว่าท่านมีบุญบารมีเหนือมนุษย์? ก่อนเป็นกษัตริย์ ฐานะท่านและครอบครัวเป็นอย่างไร? วันนี้ฐานะท่านเป็นอย่างไร? 
7.     ทำไมพิธีกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการชูกษัตริย์เป็นเทวดา ตามลัทธิพราหมณ์  ทั้ง ๆ ที่กษัตริย์เป็นผู้ที่นับถือพุทธ และต้องพระราชทาน พระบรมราชูปถัมน์ให้กับศาสนานี้?  
8.     การที่กษัตริย์ยกตัวเหนือสงฆ์ ด้วยการแต่งตั้งและให้ลาภยศแก่พระสงฆ์นั้น ส่งเสริมหรือทำลายศาสนาพุทธ ที่สอนให้ลด ละ และเลิก ความเป็นตัวตน การครอบครองสิ่งต่าง ๆ อันรวมถึงลาภ ยศ สรรเสริญ เพื่อเข้าสู่การก้าวไปสู่นิพพาน? 
9.     ทำไมท่านต้องจงรักภักดีกับกษัตริย์? การจงรักภักดีนั้น ชูกันขึ้นมาเพื่อชาติ หรือเพื่อใคร?  
10.  ใครเป็นคนสร้างความคิดว่า คนทั้งหลายต้องรัก ต้องภักดี แบบไม่ต้องคิดถึงเหตุผล เขาทำเพื่ออะไร? ท่านสมควรเชื่อตามนั้นหรือไม่? เพราะเหตุใด? 

....
11.  กษัตริย์ไทยร่ำรวยที่สุดในโลก ในบรรดาราชาทั่วโลก แล้วทำไมจึงทรงสอนให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง? กษัตริย์ไทยทำตัวอย่างไรที่เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าอยู่อย่างพอเพียง?  การบีบหลอดยาสีฟัน เป็นภาพความจริง หรือแค่ภาพเล็ก ๆ ท่ามกลางภาพความหรูหรา เช่น เครื่องบิน รถ ปราสาท อาหารการกิน ฯลฯ ของคนในราชสำนัก? 
12.  ทำไมประเทศที่กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก จึงมีโสเภณีเต็มทั่วทุกจังหวัด มีนักท่องเที่ยวเพื่อกิจกรรมทางเพศ เข้าประเทศไทยเพื่อเสวยสุขจากเด็กหญิง เด็กชาย และหนุ่มสาวของประเทศอย่างคับคั่ง? ท่านรวยได้อย่างไร ทำมาหากินอะไร รับเงินภาษีประชาชนไปใช้ทางตรงและทางอ้อมเท่าได้ และได้ช่วยเหลือประชาชนแค่ไหน?  ท่านมีหลักฐานในประเด็นเหล่านี้เพียงใด? ท่านได้พยายามหาเพิ่มหรือไม่? 
13.  ทำไมมีการฆ่าประชาชนในประเทศไทยในช่วงรัชกาลที่เก้า จนมีคนตายมากมาย หลายครั้ง นับตั้งแต่ตุลาคม 251425-16, พฤษภาคม 2535, เมษายน 2552 และเมษา-พฤษภา 2553 โดยคนสั่งและคนปฏิบัติการฆ่าไม่ได้ถูกพิจารณาและลงโทษเลย แถมผู้เกี่ยวข้องจำนวนหลายคน โดยเฉพาะในกลุ่มทหารและผู้ใกล้ชิดกับวัง ต่างได้ดิบได้ดีหลังความรุนแรงแทบทุกครั้ง? 
14.  ทำไมเราบอกว่า ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอำนาจเป็นของประชาชน แต่รัฐบาลที่ประชาชนเลือกเข้าไปหลายครั้ง ถูกทหารแย่งอำนาจแบบหน้าตาเฉย แล้วก็มีความชอบธรรม เพียงแค่กษัตริย์ลงนาม? ทำไมความผิดใด ๆ ที่หนักหน่วงขนาดถึงกับต้องโทษประหารชีวิต ก็ได้รับการพระราชทานอภัยโทษหมด?  แปลว่ากษัตริย์ร่วมกับทหารและนักการเมืองมักง่าย ปล้นอำนาจประชาชน ใช่หรือไม่ใช่? เพราะเหตุใด? ทำไมเวลามีการรัฐประหาร การทำม็อบล้มรัฐบาลฝั่งปชต. หรือเวลามีทหารหรือกองกำลังพลเรือนออกมาฆ่าประชาชนหัวก้าวหน้าหรือเอียงซ้าย จึงต้องมีการใช้สัญลักษณ์ของกษัตริย์หรืออ้างความจงรักภักดี โดยกษัตริย์เองก็ไม่ได้คัดค้านหรือห้าม?




15.  กษัตริย์อยู่เหนือการเมือง เป็นวาทกรรมที่หลอกลวง หรือเป็นจริง?  อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ต้องผ่านด้วยลายเซ็นต์ของกษัตริย์ทุกครั้ง ใช่หรือไม่?
16.  ทำไมทหารที่อยู่ใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์ คือกษัตริย์และพระราชินี จึงออกมามีส่วนในกิจกรรมการเมือง จนทำให้มีการยิงหัวประชาชนมือเปล่านับร้อยคน  และกษัตริย์ไม่ได้แสดงความเสียพระทัยหรือให้ข้อคิด เตือนสติ หรือห้ามปรามใด ๆ เลย?  นี่ใช่ครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทยหรือไม่ใช่? ทำไมจึงไม่มีการลงสัตยาบันรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ? ทำไมจึงมีการปิดปากประชาชนไม่ให้วิพากษ์วิจารณ์กษัตริย์และสถาบันด้วยมาตรา 112? 
17.  กษัตริย์ภูมิพล ถือศีลห้า ครบหรือไม่?  ท่านทราบได้อย่างไร?  
18.  ในทศพิธราชธรรม สิบข้อนั้น มีสิ่งใดบ้าง ท่านทราบหรือไม่ว่าเหตุใดคนถึงอ้างว่ากษัตริย์ไทยเป็นธรรมราชา?  ประเทศที่มีธรรมราชา ควรมีคุณลักษณะอย่างประเทศไทยหรือ? 
19.  เอาล่ะ ช่วยทบทวนความจำให้นะครับ ทศพิธราชธรรมประกอบด้วย ๑. ทาน l ๒. ศีล l ๓. บริจาค l ๔. ความซื่อตรง l ๕. ความอ่อนโยน l ๖. ความเพียร ๗. ความไม่โกรธ l ๘. ความไม่เบียดเบียน l ๙. ความอดทน l ๑๐. ความเที่ยงธรรม   ท่านคิดว่า กษัตริย์ภูมิพล ถือครบสิบข้อนี้หรือไม่ ดีเพียงใด? ทราบได้อย่างไร? ครอบครัวของท่านปฏิบัติศีลและธรรมเหนือกว่ามนุษย์ธรรมดาจริงหรือ? ท่านมีหลักฐานเต็มหูเต็มตาหรือไม่? 
20.  มีคนกล่าวว่า รัฐธรรมนูญการปกครองประเทศไทย มีพัฒนาการเชิงเป็นประชาธิปไตยน้อยลง หรือหมกเม็ดเพื่อริดรอนเสรีภาพ และความเสมอภาค แล้วก็สร้างความแตกแยกรุนแรงในชาติไทยเพิ่มยิ่งขึ้นในระยะหลังนี้ เพราะอะไร?  บางคนบอกว่า เพราะประชาชนรู้ความจริง และความกลัวก็ทำให้คนสำคัญ ๆ ของชาติต้องออกมาใช้อำนาจเผด็จการ ผ่านการสุมหัวกันของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ทหาร ศาลที่คณะรัฐประหารตั้ง สื่อที่เอียงขวาและอิงกับพ่อค้าและผู้ดีที่ได้ประโยชน์จากการทำธุรกิจเคียงข้างหรือได้ผลประโยชน์ร่วมกับเจ้า ถึงกับต้องสั่งฆ่าประชาชน   ท่านเห็นด้วยหรือไม่? เพราะอะไร? 
21.  เกิดมาชาตินี้ ท่านเคยเจอกษัตริย์ตัวเป็น ๆ กี่ครั้ง?  พระองค์และครอบครัวได้ทำอะไรที่ให้ประโยชน์กับท่านหรือครอบครัว หรือคนในชุมชนท่านบ้าง? คิดเป็นเงินได้กี่บาท? คิดเป็นความเจริญได้กี่กิโลกรัม? 
22.  การมีกษัตริย์อยู่ ให้คุณประโยชน์อะไรแก่ประเทศชาติ ที่จับต้องได้ อยู่บนหลักเหตุผลมากกว่าอารมณ์ และมีหลักฐานชัดเจนที่ท่านเห็นและรับรู้กับหู กับตา? 
23.  หากสถาบันกษัตริย์หมดไปจากสังคมไทย หรือไม่มีอำนาจใด ๆ ให้ใครไปอ้างใช้ได้อีก จะมีอะไรเกิดขึ้นที่เป็นผลร้ายที่แก้ไขไม่ได้?  คนไทยขาดกษัตริย์ไม่ได้จริง ๆ หรือ? ให้คิดทั้งทางการปกครอง การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา และแม้แต่วิถีชีวิตประจำวันของท่าน และระบบราชการในบ้านในเมืองระดับต่าง ๆ? 
24.  หากกษัตริย์หมดไป หรืออำนาจกษัตริย์หมดไป ประเทศไทยจะได้อะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?  ใครจะได้ประโยชน์สูงสุด? ใครจะเสียประโยชน์สูงสุด? 
25.  ที่บอกว่ากษัตริย์ไทยทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรี กีฬา เรื่องน้ำ เรื่องเขื่อนฝายกั้นน้ำ เรื่องการพัฒนา เรื่องเทคโนโลยี ฯลฯ  ท่านเห็นด้วยหรือไม่? มีหลักฐานและการตรวจสอบใด ๆ หรือไม่? ท่านทราบได้อย่างไร? ทำไมกษัตริย์และราชวงศ์จึงไม่ได้เรียนจบอะไรมากมาย? ทำไมกษัตริย์ภูมิพลและพระราชินีจึงไม่จบปริญญาตรี และลูก ๆ ไม่มีใครเรียนจบปริญญาเอกเหมือนลูกชาวบ้านสักคน?  
26.  ทำไมคนบางกลุ่มถึงอ้างว่าเขาจงรักภักดีกษัตริย์นักหนาและมากกว่าคนอื่น เขารู้ได้อย่างไร เรารู้ได้อย่างไร   และพวกเหล่านั้น ได้ประโยชน์มากกว่าพวกเราหรือไม่ อย่างไร?   
27.  ท่านทราบไหมว่ากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกของพระราชา เสียภาษีเท่าไหร่  เอาเงินภาษีประชาชนเข้าไปใช้ปีละเท่าไหร่  และเงินบริจาคแต่ละปีเป็นเงินเท่าไหร่ กษัตริย์และราชวงศ์บริจาคเงินและทรัพย์สินในยามชาวบ้านเดือดร้อนเท่าไหร่?  พฤติกรรมของพ่อของแผ่นดิน สรุปได้จากความรักความใสใจตรงนี้ ได้มากน้อยแค่ไหน? 
28.  กษัตริย์ไทยดีจริงแค่ไหน  ทำไมต้องมีการบังคับให้ยืนเคารพในโรงหนัง ทำไมต้องมีซุ้มเต็มบ้านเมือง ทำไมต้องจัดงานต่าง ๆ อย่างยิ่งใหญ่เพื่อเชิดชู ทำไมต้องแสดงภาพการมีคนบริจาคเงินแทบทุกวัน และทำไมจึงต้องห้ามประชาชนวิพากษ์วิจารณ์ หรือละเมิดไม่ได้เลย? 
29.  ความดีของกษัตริย์ภูมิพล วัดได้จากตรงไหน? ท่านมีเหตุผลและหลักฐานใดบ้าง? คนดี ของระบอบการปกครองปัจจุบัน ทำไมต้องจงรักภักดีและมียศตำแหน่งใกล้ชิดและรับใช้วังด้วย?   
30.  เมื่อมีกษัตริย์ ก็มีชนชั้น และการแบ่งชนชั้น  ทำให้คนเหยียดหยามคนที่ตนมองว่าต่ำกว่า  ซึ่งไม่ใช่สิ่งดี  หากไม่มีกษัตริย์ ปัญหาใด ๆ ของชาติจะลดหรือหายไปได้ง่ายหรือเร็วขึ้น? เสรีภาพ เสมอภาค และภราดรภาพ (ความเป็นพี่น้องและกลมเกลียว) ถูกส่งเสริมหรือบั่นทอนโดยสถาบันกษัตริย์ไทย??? กษัตริย์ไทยส่งเสริมประชาธิปไตยหรือบ่อนทำลาย? ท่านมีเรื่องราวและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ใดสนับสนุนคำตอบของท่าน