PPD's Official Website

Monday, April 6, 2015

"เหตุใดรัชกาลที่ 1 ไม่ให้พระเจ้าตากฯ เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้าย" (เครดิตมติชน และ ศิลปวัฒนธรรม)




"เหตุใดรัชกาลที่ 1 ไม่ให้พระเจ้าตากฯ เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้าย"

วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2555 เวลา 20:45:00 น.


"เหตุใดรัชกาลที่๑ ไม่ให้พระเจ้าตากฯ เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้าย" ในวรรณกรรมพระราชประวัติพระเจ้าตากสิน

โดย ปฐมพงษ์ สุขเล็ก

บทนำ

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมคือเจ้าพระยาจักรีแม่ทัพคนสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี เป็นขุนศึกที่ไว้พระทัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชถวายงานสร้างความชอบจนได้รับการเลื่อนยศเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกอันสูงกว่าขุนนางทั้งปวง พระราชทานเครื่องยศเหมือนอย่างเจ้าต่างกรม

ในช่วงปลายสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเกิดพระสติวิปลาสสร้างเกิดความเดือดร้อนต่ออาณาประชาราษฎร์ ในเวลานั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้สำเร็จราชการ และชำระโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงยอมรับผิดทุกประการ จึงลงโทษด้วยการประหารชีวิต และปราบดาภิเษกพระองค์เองเป็นพระมหากษัตริย์ต่อไป 

พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับหมอบรัดเล  และพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวไว้ตรงกันว่า  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ขอผู้คุมพาไปพบสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นครั้งสุดท้าย แต่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกลับโบกมือไม่ให้พบ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดาร ดังนี้ 

เพชฌฆาตกับผู้คุมก็ลากเอาตัวขึ้นแคร่หามไป กับทั้งสังขลิกพันธนาการ  เจ้าตากจึงว่าแก่ผู้คุมเพชฌฆาตว่า ตัวเราก็สิ้นบุญจะถึงที่ตายอยู่แล้ว ช่วยพาเราแวะเข้าไปหาท่านผู้สำเร็จราชการ จะขอเจรจาด้วยสักสองสามคำ ผู้คุมก็ให้หามเข้ามา ได้ทอดพระเนตรเห็น จึงโบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า ผู้คุมและเพชฌฆาตก็หามออกไปนอกพระราชวัง ถึงหน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์ก็ประหารชีวิตตัดศีรษะเสียถึงแก่พิราลัย จึงรับสั่งให้เอาศพไปฝังไว้ ณ วัดบางยี่เรือใต้ และเจ้าตากสิ้นขณะเมื่อสิ้นบุญถึงทำลายชีพนั้นอายุได้สี่สิบแปดปี                                                                                           
(พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, น. ๒๓๐.)

จากเนื้อหาที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารข้างต้นจึงดูขัดแย้งกับความสัมพันธ์และความจงรักภักดีของทั้ง๒ พระองค์ที่มีความคุ้นเคยกันตั้งแต่วัยเยาว์ จึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ของทั้ง ๒ พระองค์ในเวลาต่อมาจึงเกิดการตั้งคำถามว่า “เหตุใดรัชกาลที่ ๑ ไม่ให้พระเจ้าตากฯ เข้าเฝ้าเป็นครั้งสุดท้าย” รวมถึงตอนอื่นๆ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารที่สร้างความกังขาในเรื่องนี้

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดตัวบทวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดีที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อมุ่งหมาย“สร้างคำตอบ” ที่เป็นคำอธิบายชุดใหม่ให้สอดคล้องกับเนื้อความในเอกสารทางประวัติศาสตร์ และความมุ่งหมายที่ต้องการ

๑. ความสัมพันธ์ ๒ มหาราช ในเอกสารทางประวัติศาสตร์ 
เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่มักถูกนำมาใช้อ้างอิงคือ พระราชพงศาวดาร และหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ 

พระราชพงศาวดารที่กล่าวถึงความสัมพันธ์นี้ที่เก่าที่สุดคือพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ในบานแผนกระบุว่าพระราชพงศาวดารฉบับนี้ชำระปี พ.ศ. ๒๓๓๘ (จ.ศ. ๑๑๕๗) ได้เริ่มปรากฏเนื้อความครั้งแรกเมื่อรัชกาลที่ ๑ เป็นพระราชรินทร์รับบัญชายกทัพไปตีพระยาวรวงศาธิราช ดังนี้ “ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธให้พระยาวงศาธิราชมาตั้งรับทางหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวดำรัสให้พระราชรินทร์ พระมหามนตรียมไปตีพระยาวงศาธิราช” สำหรับพระราชพงศาวดารที่ถูกเรียบเรียงขึ้นในเวลาต่อมาคือ ฉบับหมอบรัดเล และฉบับพระราชหัตถเลขาได้ปรับปรุงเนื้อหาเล็กน้อย และได้กล่าวถึงรัชกาลที่ ๑ ตรงกันว่าปรากฏครั้งแรกเมื่อพระอนุชา หรือพระมหามนตรีในขณะนั้นรับราชการในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอยู่ก่อน จึงขออนุญาตรับพี่ชายเพื่อถวายตัว ดังนี้ “ขณะนั้นพระมหามนตรี จึงกราบทูลพระกรุณาว่าจะขอไปรับหลวงยกบัตรราชบุรีผู้พี่นั้นเข้ามาถวายตัวทำราชการ  จึงโปรดให้ออกไปรับเข้ามาแล้วทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นพระราชรินทร์”  (ในฉบับหมอบรัดเลใช้ว่า “พระราชวรินทร์”)  

อย่างไรก็ตามพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีทั้งหมดข้างต้นนี้ได้ถูกผลิตซ้ำโดยใช้พระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ(เจิม) เป็นแม่แบบในการเรียบเรียงฉบับต่อๆ มา ซึ่งเนื้อความอาจมีการตัดทอน หรือเพิ่มเติมบ้าง แต่เนื้อหาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ พระองค์นั้นมีความสอดคล้องกันคือ รัชกาลที่ ๑ อยู่ในฐานะแม่ทัพคนสำคัญที่ทำการรบควบคู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สำหรับเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษถึงแม้เอกสารฉบับนี้ยังไม่สามารถสรุปที่มาได้ชัดเจน แต่เนื้อหาในเอกสารฉบับนี้ถูกนำไปอ้างอย่างกว้างขวางในด้านความสัมพันธ์ที่คุ้นเคยกันเป็นอย่างดีตั้งแต่พระองค์จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาทลายที่ปรากฏเรื่องราวของซินแสที่ทำนายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่ ๑ ว่าจะได้เสวยราชย์ในภายภาคหน้า หรือเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า รัชกาลที่ ๑ ได้ฝากแหวนพลอยและดาบโบราณให้แด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ตั้งค่ายอยู่ที่เมืองชลบุรีพร้อมสั่งเสียว่า“แต่เจ้าจงบอกแก่พระยาตากสินเขาด้วยว่า  ดาบเล่มนี้เปนของๆ ข้าฝากไปให้แก่เขา  แหวนสองวงนั้นเปนของเมียข้าฝากไปตามที่ระลึกถึงกันในเวลากันดารแสนยากแสนแค้น”  และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ตรัสตอบต่อผู้ที่นำมาให้ว่า “พระเจ้าตากทรงรับไว้แล้วจึงตรัสว่า ขอบใจนักหนาที่อยู่ไกลยังมีความอุตสาหะคิดถึงกัน  เช่นนี้เขาเรียกว่ากัลยาณมิตร” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์คุ้นเคยระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่ ๑ ในช่วงเวลานั้นเป็นอย่างดี 

จากการเปรียบเนื้อหาที่แสดงความสัมพันธ์คุ้นเคยระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่ ๑ ปรากฏในพระราชพงศาวดาร และหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษ เห็นได้ว่าเนื้อความในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษได้แสดงความคุ้นเคยกันมาตั้งแต่วัยเยาว์ในฐานะสหาย ด้วยเหตุนี้เนื้อความที่แสดงถึงความผูกพันในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษจึงขัดแย้งกับการพระราชประวัติช่วงปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารถึงแม้เนื้อหาจะมาจากเอกสารต่างชุดกันก็ตาม

๒.จากคำถามใน “ตัวบทประวัติศาสตร์” สู่คำตอบใน “ตัวบทวรรณกรรม” 

ตัวบทวรรณกรรม หรือตัวบทเรื่องเล่า คืองานเขียนประเภทบันเทิงคดีที่ถูกสร้างขึ้นคู่ขนานกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ทั้งในรูปแบบเรื่องสั้นและนวนิยายมีเนื้อหาทั้งที่สอดคล้อง และขัดแย้งกับเอกสารทางประวัติศาสตร์ การสร้าง “คำตอบ” ของข้อกังขาในเนื้อหาประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อระหว่าง ๒ มหาราชเป็นการสร้างคำอธิบายชุดใหม่ หรือสร้าง “เหตุ” ที่มีความสอดคล้องกับ “ผล” ที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการดัดแปลงแก้ไขรวมถึงตอกย้ำวาทกรรมเดิม  เพื่อยอพระเกียรติ  รวมถึงเน้นย้ำความสัมพันธ์ ในรูปแบบของตัวบทวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี

ชุดคำตอบเหล่านี้ปรากฏในตัวบทวรรณกรรม ๕ เรื่อง คือ เรื่องสั้นเรื่องใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน นวนิยายเรื่องใครฆ่าพระเจ้าตากสิน? นวนิยายเรื่องผู้อยู่เหนือเงื่อนไข นวนิยายเรื่องตากสิน มหาราชชาตินักรบ  และสารคดีกึ่งบันเทิงคดีเรื่องดวงพระเจ้าตากไม่ถูกประหาร ปรากฏคำตอบดังนี้ 

รู้ว่าเป็นพระองค์จริง “จึงต้องทำใจ”  ใน ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน

ตัวบทวรรณกรรมเรื่องสั้นเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน ผู้แต่งคือหลวงวิจิตรวาทการ ตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๔๙๔? ปรากฏเนื้อหาที่สร้างคำอธิบายในทำนองว่า รัชกาลที่ ๑ ไม่ขอมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการชำระโทษครั้งนี้ทั้งสิ้น จึงให้เป็นไปตามที่ประชุมขุนนาง จึงสามารถอนุมานได้ว่า เพราะพระองค์ยังมีความผูกพันกัน ดังนั้นรัชกาลที่ ๑ จึง “โบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า”  ดังนี้    

ส่วนทางสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกนั้น ได้ตั้งใจแน่วแน่อยู่แล้วว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้  จึงมอบหมายหน้าที่ให้ที่ประชุมข้าราชการชำระ โดยไม่ต้องมีอะไรพาดพิงมาถึงตัวท่าน จะชำระกันอย่างไร จะพิพากษาว่ากระไร มีผิดจะลงโทษอย่างไร ไม่ผิดจะทำอย่างไร สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกไม่ปรารถนาจะเกี่ยวข้อง  ต้องการจะให้เป็นไปตามความเห็นของที่ประชุม เมื่อเห็นคนพาหลวงอาสาศึกซึ่งเข้าใจว่าเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเข้ามาหา สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็โบกมือให้พาออกไป ความมุ่งหมายในการที่โบกมือนั้น ก็เพียงแต่ว่าไม่ขอเกี่ยวข้อง จะขออยู่ในอุเบกขา จะชำระกันอย่างไร ก็สุดแต่ที่ประชุมเสนามาตย์ข้าราชการ แต่พวกที่ควบคุมไปนั้นจะเข้าใจว่าอย่างไรก็ตามที เลยพาตัวไปประหารชีวิตเสียที่หน้าป้อมวิชัยประสิทธิ์                                                                                                                                     
(ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน,  น. ๓๕๖.)


จากตัวบทวรรณกรรมข้างต้น ได้สร้างคำอธิบายชุดใหม่ส่งผลให้บทบาทของรัชกาลที่ ๑ เปลี่ยนแปลงไปจากเนื้อความในพระราชพงศาวดาร ด้วยการสร้างเหตุผลที่รัชกาลที่ ๑ มีความจำเป็นที่จะต้อง “โบกพระหัตถ์มิให้นำมาเฝ้า” เพราะความรักใคร่คุ้นเคยกันตั้งแต่วัยเยาว์ เรื่อยมาจนถึงเป็นขุนศึกคู่พระทัยดังที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการสืบทอดวาทกรรมที่สร้างความหมายให้ทั้ง ๒ พระองค์เป็นสหายต่อกัน 

แต่จากตัวบทวรรณกรรมเรื่องสั้นเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ ๑ รับรู้ว่าผู้ที่ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์นั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริง ถึงแม้ว่าผู้แต่งได้นำเสนอว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริงสามารถหลบหนีไปเมืองนครศรีธรรมราชได้ก็ตาม 

รู้ว่าเป็นพระองค์ปลอม “จึงไม่สนใจ” ใน ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน? 

ตัวบทวรรณกรรมนวนิยายเรื่อง ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?  ผู้แต่งคือ ภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๑๖  ผู้แต่งได้เพิ่มเติมตัวบทด้วยการนำเสนอพระเจ้าตากสินมหาราชที่ถูกประหารชีวิตตัดศีรษะเป็น “พระองค์ปลอม”  เพื่อให้สอดคล้อง และแสดงเหตุผลในเนื้อความที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารคือ  หลังจากที่รัชกาลที่ ๑ ทรงปราบดาภิเษก และสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว พระองค์และกรมพระราชวังบวรฯ ได้โปรดให้ขุดศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมาบังสุกุล ขณะนั้นเจ้าจอมบางส่วนแสดงอาการเสียใจ พระองค์ทั้งสองจึงให้ลงพระราชอาญา ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา ดังนี้

ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ดำรัสให้ขุดหีบศพเจ้าตากขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือใต้ ให้มีการมหรสพและพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุล เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพทั้งสองพระองค์ ขณะนั้นพวกเจ้าจอมข้างใน ทั้งพระราชวังหลวงวังหน้า ซึ่งเป็นข้าราชการครั้งแผ่นดินเจ้าตากคิดถึงพระคุณชวนกันร้องไห้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ทรงพิโรธดำรัสให้ลงพระราชอาญา                                                                                                      
(พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา, น. ๒๔๓.)


เนื้อความข้างต้นเป็นอีกตอนหนึ่งที่สร้างความกังขาในเรื่องความสัมพันธ์ที่รัชกาลที่ ๑ สั่งลงพระราชอาญาพวกเจ้าจอมข้างในที่ยังอาลัยอาวรณ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ที่ยังมีความผูกพันกัน ตัวบทวรรณกรรมเรื่องนี้จึงสร้างวาทกรรมสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์ปลอมขึ้นมา เพื่อตอกย้ำมิตรภาพต่อกัน ดังนี้

แต่เมื่อเรารู้ความจริงแล้วว่า ท่านขุดศพคุณมั่น ผู้กตัญญูกตเวทีขึ้นมาเผา เผาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้คุณมั่นวีรบุรุษอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเพื่อให้คนที่ฝักใฝ่ในองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะได้เห็นจริงว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว จะได้เลิกคิดเรื่องการเมืองต่อไป และอย่างน้อยก็เพื่อให้คนทั้งหลายเห็นน้ำพระทัยว่า  ท่านยังระลึกถึงอยู่จึงขุดศพมาเผาให้ แต่เสียงร้องไห้นั้นคงทำให้ท่านรำคาญเพราะไม่ใช่พระศพ เป็นเพียงศพคุณมั่นต่างหาก                                                                                                                  
(ใครฆ่าพระเจ้าตากสิน?, น. ๑๔๗.)


จากตัวบทวรรณกรรมข้างต้น ผู้แต่งได้สร้างคำอธิบายถึงเหตุผลในการกระทำของพระองค์เช่นนี้  เนื่องด้วยรู้ว่าผู้ที่ถูกประหารชีวิตที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ในครั้งนั้นไม่ใช่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์จริงอีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่ารัชกาลที่ ๑ รับรู้ในการวางแผนผลัดแผ่นดินครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ยังสอดคล้องกับเนื้อความที่ปรากฏในหนังสืออภินิหารบรรพบุรุษที่กล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองพระองค์ 

แท้ที่จริงเป็นแผนของ“หลวงสรวิชิต”  ใน ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข 
ตัวบทวรรณกรรมนวนิยายเรื่อง ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข ผู้แต่งคือ สุภา ศิริมานนท์ ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๔๕  ผู้แต่งได้สร้างคำอธิบายชุดใหม่ไว้อย่างน่าสนใจคือ ผู้ที่วางแผนการทั้งหมดนั้นคือหลวงสรวิชิต หรือเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ผู้แต่งนำเสนอว่าหลวงสรวิชิตโกรธแค้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่สังหารพระเทพโยธาที่ขัดคำสั่งห้ามแวะบ้านด้วยพระองค์เองเพราะพระเทพโยธาเป็นญาติกับหลวงสรวิชิต ด้วยเหตุนี้หลวงสรวิชิตจึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังแผนการทั้งหมด รวมถึงเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินพระองค์ปลอม ดังนี้ 

หลวงอาสาศึกตัดสินใจเสียสละชีวิตครั้งนี้โดยไม่ต้องการที่จะให้ท่านรู้เลยด้วยซ้ำ เขาบอกพวกเราอย่างเดียวว่า  ถ้าเขาถูกตัดสินประหารในนามของท่าน เขาจะขอเข้าพบสมเด็จเจ้าพระยาสักเล็กน้อย แต่ผมคิดว่าหลวงอาสาศึกคงจะไม่ได้รับโอกาสนั้นแน่นอน หลวงสรวิชิตเขารู้แก่ใจของเขาดีว่าเรื่องจริงๆ เป็นมาอย่างไร และบุรุษในนามเจ้าตากคนนั้นคือใคร ซึ่งเขาก็ย่อมไม่ปรารถนาจะให้สมเด็จเจ้าพระยาต้องรู้เรื่องที่เขาจัดการไปโดยพลการนั้นด้วย หลวงสรวิชิตรู้ดีว่าผู้ที่จะขอเข้าพบมูลนายของเขานั้นเป็นเจ้ากรุงธนตัวปลอม ความมันอาจจะแตกขึ้น เรื่องก็จะไปกันไกล อันล้วนแต่กลายเป็นข้อซึ่งพิสูจน์ถึงความไม่สามารถของเขา  ทั้งๆ ที่ความจริงเขาสามารถสังหารเสียได้ทั้งเจ้ากรุงธนตัวจริงและตัวปลอมด้วยซ้ำ อีกข้อหนึ่ง ม็อง เยเนราล ข้อหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ  หลวงสรวิชิตรู้ว่าท่านกับมูลนายของเขาเป็นสหายศึกร่วมใจกันมานาน มีความเกี่ยวดองกันในชั้นลูกหลานหลายชั้น...ถ้าหากมีการพูดจารู้เรื่องกันขึ้น โดยอาจจะรำลึกถึงความสัมพันธ์ในอดีต...ผมจึงคิดว่าหลวงอาสาศึกคงไม่ได้รับโอกาสให้พบสมเด็จเจ้าพระยาอย่างเด็ดขาดหลวงสรวิชิตย่อมจะต้องกีดกันไว้ล่วงหน้าแล้วทุกๆ ทาง หรือมิฉะนั้นอีกแง่หนึ่งสมเด็จเจ้าพระยาเขาอาจจะรู้ความจริงโดยถี่ถ้วนหมดแล้วจากหลวงสรวิชิต จึงไม่ยอมที่จะให้เจ้ากรุงธนตัวปลอมเข้าพบก็เป็นได้                                                                                                                                     
(ผู้อยู่เหนือเงื่อนไข,  น. ๙๗-๙๘.) 

จากตัวบทวรรณกรรมข้างต้น แสดงให้เห็นว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ในครั้งนั้นตกอยู่กับหลวงสรวิชิตเท่านั้น และหลวงสรวิชิตยังคงทราบถึงความคุ้นเคยในฐานะสหายและเครือญาติของทั้ง ๒ พระองค์ แต่สำหรับรัชกาลที่ ๑ ยังปรากฏการสร้างคำตอบคล้ายคลึงกับตัวบทวรรณกรรมทั้ง ๒ เรื่องในข้างต้น คือ พระองค์ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประหารชีวิตสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อีกทั้งการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชไม่ได้เข้าพบรัชกาลที่ ๑ เป็นครั้งสุดท้ายเกิดจากการถูกกีดกันของหลวงสรวิชิต หรือคำอธิบายอีกชุดหนึ่งคือ เพราะรัชกาลที่ ๑ ทราบว่านักโทษผู้นั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระองค์ปลอม 

รัชกาลที่ ๑ เป็นผู้ถวายพระเกียรติยศสูงสุด  ใน ตากสิน มหาราชชาตินักรบ   
ตัวบทวรรณกรรมนวนิยายเรื่อง ตากสิน มหาราชชาตินักรบ ผู้แต่งเป็นชาวต่างชาติคือ Claire Keefe-Fox  (แปลโดย กล้วยไม้  แก้วสนธิ) ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๔๙  ผู้แต่งยังคงอ้างอิงกับเนื้อความตามประวัติศาสตร์ แต่แก้ไขเพิ่มเติม และผสานกับจินตนาการของตน โดยเลือกเนื้อหาการชำระโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจากที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ว่า พระองค์ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์  แต่ตัวบทวรรณกรรมได้นำเสนอว่าพระองค์ถูกสำเร็จโทษตามโบราณราชประเพณีสมพระเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และที่สำคัญบุคคลที่ต้องการถวายพระเกียรติยศนั้นคือ รัชกาลที่ ๑ ดังนี้

กฎมนเทียรบาลถูกนำมาใช้ในการสำเร็จโทษพระเจ้าตากสินเช่นเดียวกับครั้งกรมหมื่นเทพพิพิธ

มาธิวเคยได้ยินข่าวว่าขุนนางบางคนไม่อยากถวายพระเกียรติดังนี้จะให้ประหารแบบคนทรยศ
 
แต่รัชกาลที่ ๑ ทรงตัดสินให้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเยี่ยงกษัตริย์
 
ทรงพิจารณาเห็นว่า การที่ราชอาณาจักรสยามยังตั้งอยู่ได้ ก็เพราะพระเจ้าตากสิน

เจ้าหน้าที่ถอดโซ่ที่ล่ามอดีตกษัตริย์ออก ให้พระองค์ทรงภูษาสีแดง ให้ทรงนั่งคุกเข่า มัดพระหัตถ์กับพระบาท จากนั้นจึงคลุมถุงกำมะหยี่สีแดง

เพชฌฆาตยกท่อนไม้จันทน์ขึ้นฟาดแรงๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนพระวรกายไม่ขยับ และพระโลหิตเปื้อนถุงเป็นปื้นดำ ไม่มีเสียงครวญครางใดๆ อีก                                                                                                                
(ตากสิน มหาราชชาตินักรบ, น. ๔๓๖-๔๓๗.)


จากตัวบทวรรณกรรมข้างต้น เป็นการกล่าวถึงวาระสุดท้ายของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ถูกชำระโทษ เป็นการสร้างตัวบทเรื่องเล่าที่ตอกย้ำความสัมพันธ์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรัชกาลที่ ๑ ตามที่ถูกสร้างความหมายตั้งแต่ตอนต้น  ด้วยการถวายพระเกียรติยศอย่างสูงสุดจากรัชกาลที่ ๑ ในฐานะที่มีความผูกพันกันตั้งแต่ครั้งวัยเยาว์ การสร้างตัวบทวรรณกรรมที่กล่าวถึงการชำระโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชนั้น ตัวบทเรื่องนี้ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อเน้นย้ำความสัมพันธ์เฉพาะ ๒ พระองค์อย่างเด่นชัด  เพื่อแสดงให้เห็นว่าการกระทำของพระองค์เป็นการกระทำต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ยังคงความผูกพันกันมาตั้งแต่อดีต 

ดวงชะตาต้องสั่งฆ่าพระเจ้าตากฯ (พระองค์ปลอม)  ใน ดวงพระเจ้าตากไม่ถูกประหาร 

ตัวบทวรรณกรรมสารคดีกึ่งบันเทิงคดีเรื่อง ดวงพระเจ้าตากไม่ถูกประหาร ผู้แต่งคือ อ.เล็ก พลูโต (บุญสม ขอหิรัญ) ตีพิมพ์ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ตัวบทเรื่องเล่าถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อมูลด้านโหราศาสตร์ มีเนื้อหาที่ตอกย้ำถึงการปฏิเสธการสั่งลงอาญาประหารชีวิตตัดศีรษะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชของรัชกาลที่ ๑ ด้วยการนำเสนอเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช “พระองค์ปลอม” แต่ที่น่าสนใจคือ การสร้างตัวบทเรื่องเล่าด้วยการใช้ข้อมูลด้านโหราศาสตร์จากดวงพระชะตารัชกาลที่ ๑  ดังนี้   

อาทิตย์ (๑) ของรัชกาลที่ ๑ เป็นดาวเจ้าเรือนมรณะอยู่ในภพสหัชชะ จึงเป็นเหตุทำให้พระองค์ต้องสั่งประหารชีวิตพระเจ้าตากสิน (องค์ปลอม) ด้วยความจำเป็น และพระเจ้าตากสิน (พระองค์จริง) ก็ต้องลี้ภัยการเมือง  ต้องสูญสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ตายก็เหมือนตาย พระเจ้าตากสินเสด็จสวรรคตไปพร้อมกับคุณงามความดี  แต่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ กลับเสด็จสวรรคตไปพร้อมคำครหาอย่างมากมาย  นั่นเป็นเพราะดวงชะตาลิขิตไว้

...

เมื่อท้องฟ้าสว่าง ความมืดมัวก็หมดไป เหลือแต่ความจริงที่กระจ่างชัดถึงพระเกียรติคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงไว้ซึ่งความดีและความเสียสละไม่น้อยไปกว่าพระเจ้าตากสิน  ใครที่เคยมีอคติต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ ในเรื่องต่างๆ เช่น แย่งชิงราชบัลลังก์ ฆ่าเจ้านาย และพวกพ้องที่รบทัพจับศึกด้วยกันมา ฯลฯ ก็ควรที่จะคิดเสียใหม่...                                                                                                      
(ดวงพระเจ้าตากไม่ถูกประหาร, น. ๓๙.)

จากตัวบทวรรณกรรมข้างต้น ถึงแม้ใจความสำคัญจะอยู่ที่การเน้นย้ำถึงพระองค์ปลอม ที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างรัชกาลที่ ๑ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  แต่ที่จริงแล้วผู้สร้างต้องการเน้นย้ำให้เห็นความทุกข์ร้อนและความเสียสละของรัชกาลที่ ๑ ด้วยการนำเสนอถึงคุณงามความดีของรัชกาลที่ ๑ ในการกระทำครั้งนี้ที่ไม่น้อยไปกว่าวีรกรรมของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในเหตุการณ์นี้  ผู้แต่งใช้ถ้อยคำว่า “แต่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ กลับเสด็จสวรรคตไปพร้อมคำครหาอย่างมากมาย” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงภาวะทางสังคมที่เกิดข้อกังขาในเรื่องความเป็นสหายระหว่าง ๒ พระองค์  สุดท้ายผู้แต่งได้กล่าวสรุปในเชิงแก้ไขภาพลักษณ์ของรัชกาลที่ ๑ อันเป็นใจความสำคัญของตัวบทเรื่องเล่าว่า “ใครที่เคยมีอคติต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ ในเรื่องต่างๆ เช่น แย่งชิงราชบัลลังก์ ฆ่าเจ้านาย และพวกพ้องที่รบทัพจับศึกด้วยกันมา ฯลฯ ก็ควรที่จะคิดเสียใหม่...” ซึ่งเป็นการแก้ไขความหมาย รวมถึงปรับประวัติศาสตร์ผ่านตัวบทวรรณกรรมอย่างชัดเจน

สรุป 
การเน้นย้ำถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัชกาลที่๑ และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จากเนื้อความที่ “สร้างข้อกังขา” ในประวัติศาสตร์สู่การสร้าง “คำตอบ” ในตัวบทวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี  เป็นการสร้างตัวบทเรื่องเล่าที่สอดรับ รวมถึงเพิ่มเติมและปฏิเสธบางเนื้อหา เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ มหาราช รวมถึงสืบทอดและตอกย้ำวาทกรรม “ความเป็นมิตร” ที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์บางฉบับ  การนำเสนอพระราชประวัติรัชกาลที่ ๑ ด้วยเรื่องสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช “พระองค์ปลอม” หรือการนำเสนอคำตอบชุดต่างๆ ผ่านตัวบทวรรณกรรมเหล่านี้ จึงมีนัยที่แสดงถึงความพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรอยต่อของประวัติศาสตร์ทั้ง ๒ สมัยในยุคปัจจุบัน ดังส่วนหนึ่งที่ปรากฏในตัวบทเรื่องเล่าว่า

“ใครที่เคยมีอคติต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๑ ในเรื่องต่างๆ เช่น แย่งชิงราชบัลลังก์ ฆ่าเจ้านาย และพวกพ้องที่รบทัพจับศึกด้วยกันมา ฯลฯ ก็ควรที่จะคิดเสียใหม่...”

อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ พร้อมเชิงอรรถและบรรณานุกรม ได้ที่ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับประจำเดือนเมษายน 2555

อีกครั้ง มาตรา 44 ตามคำสั่งโจร คสช. 3/2558 เลวร้ายแค่ไหน


อีกครั้ง มาตรา 44 ตามคำสั่งโจร คสช. 3/2558 เลวร้ายแค่ไหน


คำสั่ง คสช.3/2558 ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตร เป็น “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" สรุปภาพรวมเบื้องต้นดังนี้

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.

-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ

-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ

-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์

- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ

- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ
ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก

- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน
______________________________

แผนกอบโกยผลประโยชน์ที่จะเข้ามาในจังหวัดน่าน กลุ่มทุนอำมาตย์ครองธุรกิจประเทศไทยถึงกับไปสร้าง โรงงานอาหารฮัลลาลในพื้นที่จังหวัดน่านแล้ว มีการจัดเตรียมการนำคนของกลุ่ม กปปส.มุสลิมเข้าไปตั้งชุมชนเพื่อสร้างเมืองอย่างเร่งด่วนก่อนเปิดรับการโครงการไหลมาเทมาของธุรกิจอำมาตย์ ก่อนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจที่จะมากับถนนนสายหลักที่ตัดผ่านมาจากประเทศจีนเข้าไทย  ส่วนประชาชนชาวน่านเจ้าในพื้นที่ อำมาตย์ไม่เคยถามไถ่ กูจะเอาตามใจพวกกูทุกเรื่อง!!ชาวน่านจึงต้องรณรงค์ต่อต้านทุกรูปแบบ  ถ้าจะกดหัวเรา พวกเราก็จะเงยหน้าขึ้นสู้กับปัญหาที่กำลังสะสมไว้ให้ลูกหลายในอนาคตข้างหน้า
______________________________

ศึกชิงเก้าอี้ผบ.ทบ.มาผูกติดขาพลเอกประยุทธ์ไว้ก่อน เพื่อชิงการนำตั้งพลเอกปรีชา จันทร์โอชาขึ้นเป็น ผบ.ทบ.หลังพลเอกอุดมเดช สีตะบุตรอำลาเก้าอี้ หรือเกิดการเมืองสะดุดบิ๊กตู่จะใช้อำนาจเต็มของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ม.44 ตั้งน้องชายตัวเองขึ้นเป็นผบ.ทบ.ได้ทันที ...ความในแตกเสียแล้วแหล่งข่าวร้อนผ่านมาทางคนใกล้ชิดของบิ๊กตู่เองกล่าวว่าแบบผยองการยึดอำนาจ ผบ.ทบ.มาอยู่ที่หัวหน้า คสช.ผ่านการใช้มาตรา 44 นั้นทำให้พลเอกประยุทธ์มีอำนาจเบ็ดเสร็จเต็มองค์รัฐาธิปัตย์ครอบคลุมการสั่งการทั่วราชอาณาจักรไทย มีเพียงเหตุผลส่วนตัวของสองพี่น้องสกุลจันทร์โอชาเท่านั้นที่ใช้เป็นเหตุจูงใจให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาฉกฉวยโอกาสนำมาตรา 44มาใช้ประโยชน์ในครอบครัว เพียงเพื่อการแต่งตั้งน้องชายขึ้นเป็น ผบ.ทบ.คนใหม่ในอีก 4-5 เดือน ข้างหน้า(เดือนกันยายนมีพล1 ตุลาคม 58)ให้ได้ นี่เป็นไปตามสันดานของพลเอกประยุทธ์ที่ไม่เคยนึกถึงชาติบ้านเมืองและประชาชนเลย ( ม. 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวมีเบื้องหลังได้ ดร.วิษณุ รองนายกฯชงให้ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อสมประโยชน์กันทางอำนาจกับพลเอกประยุทธ์นั่นเอง)
______________________________

เปิดสถานที่ให้แดงชุมนุมหลายครั้ง คงจะถูกแก้เผ็ด                            
กระทรวงยุติธรรมนำเจ้าหน้าที่ลุยตรวจสอบโบนันซ่าเขาใหญ่ ของ ไพวงษ์ เตชะณรงค์  
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU9EQTRNRGt4TVE9PQ==&sectionid=
________________________________



อีกครั้ง มาตรา 44 ตามคำสั่งโจร คสช. 3/2558 เลวร้ายแค่ไหน


อีกครั้ง มาตรา 44 ตามคำสั่งโจร คสช. 3/2558 เลวร้ายแค่ไหน


คำสั่ง คสช.3/2558 ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตร เป็น “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" สรุปภาพรวมเบื้องต้นดังนี้

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.

-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ

-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ

-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์

- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ

- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ
ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก

- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน
______________________________

แผนกอบโกยผลประโยชน์ที่จะเข้ามาในจังหวัดน่าน กลุ่มทุนอำมาตย์ครองธุรกิจประเทศไทยถึงกับไปสร้าง โรงงานอาหารฮัลลาลในพื้นที่จังหวัดน่านแล้ว มีการจัดเตรียมการนำคนของกลุ่ม กปปส.มุสลิมเข้าไปตั้งชุมชนเพื่อสร้างเมืองอย่างเร่งด่วนก่อนเปิดรับการโครงการไหลมาเทมาของธุรกิจอำมาตย์ ก่อนเปิดเป็นเขตเศรษฐกิจที่จะมากับถนนนสายหลักที่ตัดผ่านมาจากประเทศจีนเข้าไทย  ส่วนประชาชนชาวน่านเจ้าในพื้นที่ อำมาตย์ไม่เคยถามไถ่ กูจะเอาตามใจพวกกูทุกเรื่อง!!ชาวน่านจึงต้องรณรงค์ต่อต้านทุกรูปแบบ  ถ้าจะกดหัวเรา พวกเราก็จะเงยหน้าขึ้นสู้กับปัญหาที่กำลังสะสมไว้ให้ลูกหลายในอนาคตข้างหน้า
______________________________

ศึกชิงเก้าอี้ผบ.ทบ.มาผูกติดขาพลเอกประยุทธ์ไว้ก่อน เพื่อชิงการนำตั้งพลเอกปรีชา จันทร์โอชาขึ้นเป็น ผบ.ทบ.หลังพลเอกอุดมเดช สีตะบุตรอำลาเก้าอี้ หรือเกิดการเมืองสะดุดบิ๊กตู่จะใช้อำนาจเต็มของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ม.44 ตั้งน้องชายตัวเองขึ้นเป็นผบ.ทบ.ได้ทันที ...ความในแตกเสียแล้วแหล่งข่าวร้อนผ่านมาทางคนใกล้ชิดของบิ๊กตู่เองกล่าวว่าแบบผยองการยึดอำนาจ ผบ.ทบ.มาอยู่ที่หัวหน้า คสช.ผ่านการใช้มาตรา 44 นั้นทำให้พลเอกประยุทธ์มีอำนาจเบ็ดเสร็จเต็มองค์รัฐาธิปัตย์ครอบคลุมการสั่งการทั่วราชอาณาจักรไทย มีเพียงเหตุผลส่วนตัวของสองพี่น้องสกุลจันทร์โอชาเท่านั้นที่ใช้เป็นเหตุจูงใจให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาฉกฉวยโอกาสนำมาตรา 44มาใช้ประโยชน์ในครอบครัว เพียงเพื่อการแต่งตั้งน้องชายขึ้นเป็น ผบ.ทบ.คนใหม่ในอีก 4-5 เดือน ข้างหน้า(เดือนกันยายนมีพล1 ตุลาคม 58)ให้ได้ นี่เป็นไปตามสันดานของพลเอกประยุทธ์ที่ไม่เคยนึกถึงชาติบ้านเมืองและประชาชนเลย ( ม. 44 ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวมีเบื้องหลังได้ ดร.วิษณุ รองนายกฯชงให้ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพื่อสมประโยชน์กันทางอำนาจกับพลเอกประยุทธ์นั่นเอง)
______________________________

เปิดสถานที่ให้แดงชุมนุมหลายครั้ง คงจะถูกแก้เผ็ด                            
กระทรวงยุติธรรมนำเจ้าหน้าที่ลุยตรวจสอบโบนันซ่าเขาใหญ่ ของ ไพวงษ์ เตชะณรงค์  
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRReU9EQTRNRGt4TVE9PQ==&sectionid=
________________________________



รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

Thanaboon Chiranuvat
บทที่ว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างกันอยู่นี้ มีสถานะที่ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่? เพราะเหตุใด?





การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ทำกันอยู่นี้ สำเร็จยาก เพราะไปร่างให้มันขัด หรือแย้งกับ ธรรมนูญโลก คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖..........ฯ

กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ และในวันเดือนเดียวกัน ปีพ.ศ.๒๕๔๑ ตามลำดับ............ฯ
๑. แม้แต่สถานะของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็มีสถานภาพทางกฏหมายที่ขัด หรือแย้ง กับกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ ไม่ได้มีสถานภาพทางกฏหมายใดๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศดังกล่าวทั้งสองฉบับ.....ฯ

นั่นคือ มิได้มีที่มา ตามการแสดงเจตจำนงค์ของคนทั้งประเทศ ที่ให้อัตวินิจฉัยในการก่อเกิดแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งคณะ...............ฯ
[เกิดเป็นคณะกรรมการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ "เถื่อน" บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)]........................ฯ

เมื่อต้องด้วยข้อกฏหมายดั่งที่ว่ามาจึงทำให้ตัว ผู้มีอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำการยกร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่กลายเป็นเถื่อน ไม่ชอบด้วยกฏหมายในสถานภาพของตัวผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเอง.....................ฯ

๒. การกำหนดกฏเกณฑ์ ที่ตราลงบนตราสำคัญของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ที่ไปขัด หรือ แย้งกับ พันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานาชาติดังกล่าวข้างต้น กลายเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือ ก่อให้เกิดการจัดทำกฏหมายเถื่อนๆ ยกกำลังสอง อย่างนี้แล้ว  รัฐธรรมนูญ เป็นเอกสารตราสาร ที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่เหล็กไหล ที่ต้องไปตัดเอาด้วยคาถาอาคมในถ้ำด้วยวิทยาคม จึงต้องตกเป็นโมฆะ (Null & Void ) บนที่ราบแห่งนานาชาติ อย่างช่วยไม่ได้








รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

Thanaboon Chiranuvat
บทที่ว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างกันอยู่นี้ มีสถานะที่ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่? เพราะเหตุใด?





การร่างรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ทำกันอยู่นี้ สำเร็จยาก เพราะไปร่างให้มันขัด หรือแย้งกับ ธรรมนูญโลก คือ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ รวมทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖..........ฯ

กติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ประเทศไทยมีพันธกรณีอยู่กับนานาชาติ ในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ และในวันเดือนเดียวกัน ปีพ.ศ.๒๕๔๑ ตามลำดับ............ฯ
๑. แม้แต่สถานะของผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ก็มีสถานภาพทางกฏหมายที่ขัด หรือแย้ง กับกติการะหว่างประเทศทั้งสองฉบับ ที่กล่าวอ้างข้างต้น คือ ไม่ได้มีสถานภาพทางกฏหมายใดๆที่เป็นไปตามบทบัญญัติที่ ๑ ของกติการะหว่างประเทศดังกล่าวทั้งสองฉบับ.....ฯ

นั่นคือ มิได้มีที่มา ตามการแสดงเจตจำนงค์ของคนทั้งประเทศ ที่ให้อัตวินิจฉัยในการก่อเกิดแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญทั้งคณะ...............ฯ
[เกิดเป็นคณะกรรมการร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ "เถื่อน" บนที่ราบแห่งนานาชาติ (International Plane)]........................ฯ

เมื่อต้องด้วยข้อกฏหมายดั่งที่ว่ามาจึงทำให้ตัว ผู้มีอำนาจในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำการยกร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญ ที่กลายเป็นเถื่อน ไม่ชอบด้วยกฏหมายในสถานภาพของตัวผู้ร่างกฏหมายรัฐธรรมนูญเอง.....................ฯ

๒. การกำหนดกฏเกณฑ์ ที่ตราลงบนตราสำคัญของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญ ที่ไปขัด หรือ แย้งกับ พันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานาชาติดังกล่าวข้างต้น กลายเป็น การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย หรือ ก่อให้เกิดการจัดทำกฏหมายเถื่อนๆ ยกกำลังสอง อย่างนี้แล้ว  รัฐธรรมนูญ เป็นเอกสารตราสาร ที่สำคัญของชาติ ไม่ใช่เหล็กไหล ที่ต้องไปตัดเอาด้วยคาถาอาคมในถ้ำด้วยวิทยาคม จึงต้องตกเป็นโมฆะ (Null & Void ) บนที่ราบแห่งนานาชาติ อย่างช่วยไม่ได้








รัฐธรรมนูญโจรกบฏไทย ร่างแบบโจรไทย ละเมิดหลักสากล และถือเป็นโมฆะ หรือไม่?

ขอบันทึกไว้....ทำไมรัชกาลที่ 1 สั่ง"เผาศพ" พระเจ้าตาก ในปี พ.ศ.2327 ?



ทำไมรัชกาลที่ 1 สั่ง"เผาศพ" พระเจ้าตาก ในปี พ.ศ.2327 ?

วันที่ 07 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เวลา 12:00:24 น.

โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com มติชน 7 ส.ค.2555
Source: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1344310768
พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินหน้าพระอุโบสถหลังใหม่ วัดอินทาราม ธนบุรี
บรรดาพระมหากษัตริย์ของสยามเรื่องราวเกี่ยวกับ "พระเจ้าตาก" มีการกล่าวถึงมากที่สุดพระองค์หนึ่ง 
ใครจะคิดว่ากษัตริย์ที่ถูกรัฐประหาร ต้องโทษจนสิ้นพระชนม์ ราชธานีกรุงธนบุรี และพระราชวงศ์ที่มีอายุแค่ 14-15 ปี ไม่ได้มีเวลาสร้างรากฐานมั่นคง ยิ่งใหญ่ หรือเป็นที่ยำเกรงเท่าใดนัก จะเป็นที่สนใจของผู้คนและสังคมมากกว่า 200 ปี

นั่นเพราะอีกมุมหนึ่ง พระองค์คือกษัตริย์ผู้กอบกู้อิสรภาพของสยามจากพม่า

ปรามินทร์ เครือทอง ค้นหามาเล่าสู่กันฟังในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนสิงหาคม ในบทความที่ชื่อว่า "สงสัย รัชกาลที่ 1 รออะไรถึง 2 ปี ก่อนขุดหีบศพพระเจ้าตากมาเผา?"

เมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการสำเร็จโทษพระเจ้าตากโดยตัดพระเศียร ณ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ แล้วนำพระบรมศพไปฝังที่วัดบางยี่เรือใต้ (วัดอินทาราม) ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325

หลังจากนั้น 2 ปี (พ.ศ.2327) พระองค์มีพระราชดำรัสให้ "ขุดศพ" พระเจ้าตากขึ้นมาเผา อะไรคือเหตุผลในครั้งนั้น ปรามินทร์สงสัยและตั้งคำถามได้น่าสนใจ

1.เป็นการดำเนินการตามโบราณราชประเพณีหรือ? 

วัดโคกพระยา สถานที่สำเร็จโทษและฝังพระศพพระมหากษัตริย์และเจ้านายในสมัยกรุงศรีอยุธยา


ที่ผ่านมาการปราบดาภิเษกในอดีตของสยามประเทศมีมาหลายต่อหลายครั้ง อดีตกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์ด้วยการสำเร็จโทษหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เกือบทั้งหมดน่าจะยังคงฝังอยู่ที่ "วัดโคกพระยา" เท่าที่มีหลักฐานในพระราชพงศาวดารไม่เคยมีการขุดพระบรมศพขึ้นมาบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระเพลิง

หากยึดตามโบราณราชประเพณี จึงน่าสรุปได้ว่า "ไม่ขุด ไม่เผา ไม่ผิด"

2.เมื่อไม่มีพระราชประเพณีกำหนดไว้ก็ต้องถามว่า เช่นนั้นวัตถุประสงค์ในการนี้จึงมีคำตอบอยู่ระหว่าง "การเฉลิมพระเกียรติ" หรือ "การทอนพระเกียรติ"
ซึ่งข้อมูลที่ผู้เขียน (ปรามินทร์) อ้างอิงจากการค้นคว้าพระราชพงศาวดารต่างๆ ดังนี้

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ฉบับตัวเขียน บันทึกว่า "ฝ่ายข้างกรุงเทพมหานครฯ สมเดจพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ ดำรัศให้ขุดหีบศพเจ้ากรุงธนบุรี ขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือไต้ ให้มีการมโหรศพ แลพระราชทานพระสงฆบังสกุล เสดจพระราชดำเนิรไปพระราชทานเพลิงทั้งสองพระองค์"

ส่วนพระราชพงศาวดารอื่นๆ บันทึกตรงกันว่าให้ "ขุดหีบศพ" ขึ้นตั้งไว้ ณ เมรุวัดบางยี่เรือใต้

พระอุโบสถหลังใหม่ วัดอินทาราม พระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 "ตำนานวัด" เล่าว่าเป็นจุดที่ฝังพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าตากสิน



พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรวจชำระและทรงพระนิพนธ์อธิบาย มีข้อความเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานพระบรมศพพระเจ้าตากคือ "ดำรัสให้ขุดศพเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นทำการฌาปนกิจ ที่เมรุวัดบางยี่เรือใต้"

จากคำที่ใช้ไม่ว่า หีบศพ, บังสุกุล, ขุดศพ, ฌาปนกิจ แสดงให้เห็นว่าไม่มีการพระราชทานพระโกศอย่างศพเจ้า ไม่มีการใช้ราชาศัพท์

งานที่จัดเป็นเพียง "การเผาศพ" มากกว่า "การส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย"
3.นอกจากนี้ ประเด็นเรื่อง "เงื่อนเวลา" เหตุใดต้องรอเวลาถึง 2 ปี จึงค่อยจัดงาน ปรามินทร์ตั้งสมมติฐานไว้ว่า
หนึ่ง คือหลังวันประหารพระเจ้าตาก 6 เมษายน ปี พ.ศ.2325 ทั้งปีเป็นช่วงเวลาการกวาดล้างบารมี, แบบแผน ฯลฯ ของกลุ่มการเมืองเก่าให้หมดจด หลังจากนั้น ยังต้องสถาปนาราชวงศ์ใหม่, แต่งตั้งขุนนาง, สร้างราชธานีใหม่, กำหนดระเบียบบ้านเมือง ฯลฯ เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มการเมืองเก่าหมดทางฟื้นคืน

ก่อนระยะเวลา 2 ปี จึงเป็นไปได้ยาก ด้วยเหตุสนับสนุนดังนี้

หนึ่งคือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงเห็นแก่เจ้าฟ้าเหม็นหลานตาอันเป็นที่รัก พระราชโอรสของพระเจ้าตากกับเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (พระราชธิดาของรัชกาลที่ 1) ในวัย 5 พรรษาเริ่มรู้ความ และช่างซักถาม แต่ก็จัดงานศพให้แบบสามัญชนเท่านั้น

หนึ่งเพราะต้องการปิดฉาก "อดีต" ของกรุงธนบุรีให้หมดจด เพื่อการเริ่มต้นเมืองใหม่ที่ดี โดยพิจารณาได้จากพระราชกรณียกิจต่างๆ ภายหลังงานฌาปนกิจพระเจ้าตากดังนี้

หลังจากการ "ฌาปนกิจ" พระบรมศพพระเจ้าตากในปี พ.ศ.2327 แล้ว ยังมีการยกยอดพระมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ตามมาด้วยการอัญเชิญพระแก้วมรกตข้ามฟากมาประดิษฐานที่วัดพระแก้วในพระบรมมหาราชวัง

ปี พ.ศ.2328 เมื่อการสร้างพระนครและพระราชวังใหม่เสร็จสมบูรณ์แล้ว จึงโปรดให้มีพระราชพิธีปราบดาภิเษกใหม่ เป็นอย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี, งานฉลองสมโภชพระนครและพระราชทานนามใหม่ว่า "กรุงเทพมหานครฯ"

ประเด็นข้างต้นนั้นเป็นเพียงเนื้อหาส่วนหนึ่งที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ที่ต้องการชวนให้ท่านผู้อ่านช่วยกันตั้งคำถาม หาคำตอบจากประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ซึ่งไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่สามารถโต้แย้ง ถกเถียงได้ 





แล้วน้องแต๋วบวรศักดิ์ ก็หางโผล่ ถูกร้องเป็นประธาน บริษัทถ่านหินจีน

แล้วน้องแต๋วบวรศักดิ์ ก็หางโผล่ ถูกร้องเป็นประธาน บริษัทถ่านหินจีน


นายสมบูรณ์ ทองบุราณ อดีตสว.ยโสธร พร้อมด้วยประชาชนจ.ระยอง ได้เดินทางเข้ายื่นหนังสือถึงนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติ (สนช.) ให้ดำเนินการตรวจสอบนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ สมาชิกสภาปฏิรูป (สปช.) ในฐานะเลขาธิการสภาบันพระปกเกล้าฯ ดำเนินการเข้าข่ายขัดต่อประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้าฯ และประมวลจริยธรรมบุคลากรของสถาบันพระปกเกล้าฯ โดยเข้าไปดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ไทยเจนเนอรัลไนซ์โคล  แอนด์ โค้ก จำกัด ที่กำลังดำเนินกิจการโรงงานผลิตถ่านโค้กในพื้นที่ต.มาบข่า จ.ระยอง ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่ชุมชนและยังติดกับสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
นอกจากนี้ โรงงานดังกล่าวก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งมีข้าราชการรู้เห็นเป็นใจ เอาแรงงานต่างด้าวมาทำ โดยมีอดีตนักการเมืองชื่อย่อ"พ" ซึ่งชาวจ.ระยองได้ประท้วงคัดค้านการดำเนินการดังกล่าวมานานกว่า7ปี และได้นำข้อพิพาทไปร้อง ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ในชั้นศาลปกครองระยอง และศาลปกครองกลางแล้ว 3 คดี
ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวได้ก่อให้เกิดมวลพิษและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน และไม่ได้ผ่านการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือรายงานอีไอเอและอีเอชไอเอ ซึ่งจ.ระยองมีคนป่วยที่เป็นโรคมะเร็งอันดับ 1 ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้นายพรเพชรทำการตรวจสอบเรื่องนี้ และดำเนินการให้นายบวรศักดิ์ลาออกจากตำแหน่งประธานฯด้วย
ขณะที่นายบวรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวเป็นประธานฯแล้วผิดอะไร เพราะเป็นประธานอีกหลายบริษัท ทั้งนี้ ยืนยันว่าเรื่องทั้งหมดนี้เกี่ยวโยงกับเรื่องการเมืองทั้งสิ้น โดยจะนำเรื่องดังกล่าวไปพิจารณาอีกครั้ง