PPD's Official Website

Thursday, December 24, 2020

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน (จาก นปช.ยูเอสเอ original)

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน PDF Print E-mail
User Rating: / 93
PoorBest 
Thursday, 25 March 2010 04:18

"สยามพารากอน" เป็นธุรกิจที่ครอบครัวภูมิพล เข้าไปลงทุนอยู่อีกบริษัทหนึ่ง ไม่แปลกอะไร ถ้าสยามพารากอน จะเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ดูจากรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ นี้ก็พอจะทราบได้ไม่ยาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรร ธน์
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2553)

จุดกำเนิดของศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มูลค่า 6 พันล้านบาท เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเม ืองไทย 2 ราย กลุ่มเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์ที่ร่วมทุนกันฝ่ายละครึ่ง

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกมา 29 ปี บริหารโดยตระกูลอัมพุช ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นที่ 2

โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือครองโดยคน ตระกูลอัมพุชเกือบทั้งหมด คือบริษัทอัมพุชโฮลดิ้ง จำกัด,สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, อัจฉรา รัตนทารส, บุษราคม ชันซื่อ, บริษัท สินไอยรา จำกัด, บริษัท สินปราการ จำกัด

สำหรับบริษัทสยามพิวรรธน์มีผู้ถือหุ้นหลาก หลายจากบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้น มีทั้งหมด 257 ราย ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นจะถือในนาม บุคคลมากกว่านิติบุคคล แต่ผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก และธุรกิจสถาบันการเงิน

 




 


ผู้ถือหุ้นหลักประมาณ 8 กลุ่ม (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน ์) และผู้ถือหุ้นมากที่สุด คือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5,336,700 หุ้น อันดับที่ 2 พระราชวงศ์ 4,542,300 หุ้น อันดับที่ 3 กลุ่มตระกูล จารุวัสตร์ 1,735,700 หุ้น

อันดับ 4 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000หุ้น อันดับ 5 ธนาคารกรุงเทพ 903,800 หุ้น อันดับ 6 ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย 683,300 หุ้น อันดับที่ 7 ตระกูลภิรมย์ภักดี 403,360หุ้น อันดับ 8 ตระกูลศรีวิกรม์ 316,800หุ้น

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธ น์ ส่วนหนึ่งเป็น ผู้ประกอบการศูนย์การค้าอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทเอ็ม บี เค ที่บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือตระกูลจารุวัสตร์ บริหารศูนย์ การค้าสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงตระกูลศรีวิกรม์ บริหารธุรกิจค้าปลีกเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์

สำหรับศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย 2 บริษัท คือบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทสยามพารากอน รีเทล จำกัด

ทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทสยามพิวรรธน์และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้นฝ่ายละ 50% บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีบทบาทบริหาร อาคารและดูแลร้านค้าเช่าภายนอกที่ไม่ได้อย ู่ในห้างสรรพสินค้า

ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น คือบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 5,099,997 หุ้น, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล (น้องสาวชาญชัย จารุวัสตร์), ภาวิณี ศีตะจิตต์, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช และบริษัทเดอะมอลล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด 4,899,996 หุ้น

ส่วนบริษัทสยามพารากอน รีเทล มีหน้าที่บริหารห้างสรรพสินค้า มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 9 ราย คือบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้น 5,099,996 หุ้น, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, สุทธิพงษ์ อัมพุช, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล, จินตนา กอวัฒนา และบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้งถือหุ้น 4,899,997 หุ้น

การถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับบริษัท สยามพิวรรธน์นั้นเป็นการแบ่งบทบาทการทำงาน ให้มีความชัดเจน โดยกลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นหลักในการบริหารบร ิษัทสยามพารากอน รีเทล รวมทั้งมีผู้บริหารจากเดอะมอลล์และศูนย์กา รค้าดิเอ็มโพเรียมเข้ามาช่วย บริหารงาน โดยเฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าและซูเปอร ์มาร์เก็ตที่ผู้บริหารมีความรู้ และประสบ การณ์เชี่ยวชาญ มีศุภลักษณ์ อัมพุช และสุรัตน์ อัมพุชเป็นผู้บริหารหลัก สำหรับบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีชาญชัย จารุวัสตร์และชฎาทิพ จูตระกูล เป็นผู้บริหารหลักมีความชำนาญในการบริหารศ ูนย์การค้าอย่างสยามเซ็นเตอร์และ สยามดิสคัฟเวอรี่มาก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสอง บริษัทยังมีกำไรจากผลการดำเนินงาน (ดูตารางผลการดำเนินงานประกอบ)

ความร่วมมือของกลุ่มเดอะ มอลล์และบริษัทสยามพิวรรธน์ในการสร้างศูนย ์การ ค้าสยามพารากอน เป็นปรากฏการณ์ที่เล่าขานมาจวบทุกวันนี้

ในอนาคตทั้งสองบริษัทอาจจะสร้างความยิ่งให ญ่อีกครั้งก็เป็นได้

รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน 

กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์มีทั้ งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 257 ราย ผู้จัดการ 360 ํ จัดลำดับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไว้ 8 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 5,038,000 หุ้น และ 298,700 หุ้น

2. พระราชวงศ์ 4,524,300 หุ้น

3. ตระกูลจารุวัสตร์
ชฎาทิพ จูตระกูล 29,400 หุ้น และ 700 หุ้น
เด็กหญิงชญาภา จูตระกูล 39,200 หุ้น
พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ 9,800 หุ้น
ชาลี จารุวัสตร์ 2,000 หุ้น
ชาญชัย จารุวัสตร์ 1,600 หุ้น

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น

5. ธนาคารกรุงเทพ 506,000 หุ้น และ 397,800 หุ้น

6. ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย
ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ 15,360 หุ้น
สุภวรรณ ล่ำซำ (ปันยารชุน) 4,320 หุ้น
บัณฑูร ล่ำซำ 4,320 หุ้น
บรรยงค์ ล่ำซำ 71,900 หุ้น
ธนาคารกสิกรไทย 298,700 หุ้น และ 288,700 หุ้น

7. ตระกูลภิรมย์ภักดี
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 353,500 หุ้น
วุฒา ภิรมย์ภักดี 13,750 หุ้น
วาปี ภิรมย์ภักดี 7,950 หุ้น
ปิยะ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
จวบจันทร์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
สันติ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
พรภิรมย์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น

8. ตระกูลศรีวิกรม์
สิริมา ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาญ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาย ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
กรกฎ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
บริษัทศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง 105,600 หุ้น

ที่มา: http://www.gotomanager.com/news/printnew s.aspx?id=84354


ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน (จาก นปช.ยูเอสเอ original)

ความจริงเกี่ยวกับสยามพารากอน กับสถาบันกษัตริย์นักลงทุน PDF Print E-mail
User Rating: / 93
PoorBest 
Thursday, 25 March 2010 04:18

"สยามพารากอน" เป็นธุรกิจที่ครอบครัวภูมิพล เข้าไปลงทุนอยู่อีกบริษัทหนึ่ง ไม่แปลกอะไร ถ้าสยามพารากอน จะเป็นศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ดูจากรายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ นี้ก็พอจะทราบได้ไม่ยาก

ความสัมพันธ์ระหว่างเดอะมอลล์กับสยามพิวรร ธน์
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา( มกราคม 2553)

จุดกำเนิดของศูนย์การค้าสยามพารากอน ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย มูลค่า 6 พันล้านบาท เกิดจากความร่วมมือของบริษัทยักษ์ใหญ่ในเม ืองไทย 2 ราย กลุ่มเดอะมอลล์ และสยามพิวรรธน์ที่ร่วมทุนกันฝ่ายละครึ่ง

บริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนิน ธุรกิจค้าปลีกมา 29 ปี บริหารโดยตระกูลอัมพุช ปัจจุบันบริหารงานโดยรุ่นที่ 2

โครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือครองโดยคน ตระกูลอัมพุชเกือบทั้งหมด คือบริษัทอัมพุชโฮลดิ้ง จำกัด,สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, อัจฉรา รัตนทารส, บุษราคม ชันซื่อ, บริษัท สินไอยรา จำกัด, บริษัท สินปราการ จำกัด

สำหรับบริษัทสยามพิวรรธน์มีผู้ถือหุ้นหลาก หลายจากบัญชี รายชื่อผู้ถือหุ้น มีทั้งหมด 257 ราย ส่วนใหญ่ผู้ถือหุ้นจะถือในนาม บุคคลมากกว่านิติบุคคล แต่ผู้ถือหุ้นนิติบุคคลจะเป็นกลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก และธุรกิจสถาบันการเงิน

 




 


ผู้ถือหุ้นหลักประมาณ 8 กลุ่ม (ดูรายละเอียดในล้อมกรอบ รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน ์) และผู้ถือหุ้นมากที่สุด คือบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 5,336,700 หุ้น อันดับที่ 2 พระราชวงศ์ 4,542,300 หุ้น อันดับที่ 3 กลุ่มตระกูล จารุวัสตร์ 1,735,700 หุ้น

อันดับ 4 ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000หุ้น อันดับ 5 ธนาคารกรุงเทพ 903,800 หุ้น อันดับ 6 ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย 683,300 หุ้น อันดับที่ 7 ตระกูลภิรมย์ภักดี 403,360หุ้น อันดับ 8 ตระกูลศรีวิกรม์ 316,800หุ้น

จะเห็นได้ว่าผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธ น์ ส่วนหนึ่งเป็น ผู้ประกอบการศูนย์การค้าอยู่แล้ว อย่างเช่นบริษัทเอ็ม บี เค ที่บริหารศูนย์การค้ามาบุญครอง หรือตระกูลจารุวัสตร์ บริหารศูนย์ การค้าสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่ รวมถึงตระกูลศรีวิกรม์ บริหารธุรกิจค้าปลีกเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์

สำหรับศูนย์การค้าสยามพารากอน บริหารงานโดย 2 บริษัท คือบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทสยามพารากอน รีเทล จำกัด

ทั้ง 2 บริษัท มีบริษัทสยามพิวรรธน์และบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้นฝ่ายละ 50% บริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีบทบาทบริหาร อาคารและดูแลร้านค้าเช่าภายนอกที่ไม่ได้อย ู่ในห้างสรรพสินค้า

ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้น คือบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 5,099,997 หุ้น, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล (น้องสาวชาญชัย จารุวัสตร์), ภาวิณี ศีตะจิตต์, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช และบริษัทเดอะมอลล์ ชอปปิ้ง คอมเพล็กซ์ จำกัด 4,899,996 หุ้น

ส่วนบริษัทสยามพารากอน รีเทล มีหน้าที่บริหารห้างสรรพสินค้า มีผู้ถือหุ้นทั้งหมด 9 ราย คือบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ป ถือหุ้น 5,099,996 หุ้น, สุรัตน์ อัมพุช, ศุภลักษณ์ อัมพุช, กฤษณา อัมพุช, สุทธิพงษ์ อัมพุช, ชาญชัย จารุวัสตร์, ชฎาทิพ จูตระกูล, จินตนา กอวัฒนา และบริษัทสยามพิวรรธน์ โฮลดิ้งถือหุ้น 4,899,997 หุ้น

การถือหุ้นไขว้กันระหว่างบริษัทเดอะมอลล์ กรุ๊ปกับบริษัท สยามพิวรรธน์นั้นเป็นการแบ่งบทบาทการทำงาน ให้มีความชัดเจน โดยกลุ่มเดอะมอลล์จะเป็นหลักในการบริหารบร ิษัทสยามพารากอน รีเทล รวมทั้งมีผู้บริหารจากเดอะมอลล์และศูนย์กา รค้าดิเอ็มโพเรียมเข้ามาช่วย บริหารงาน โดยเฉพาะในส่วนของห้างสรรพสินค้าและซูเปอร ์มาร์เก็ตที่ผู้บริหารมีความรู้ และประสบ การณ์เชี่ยวชาญ มีศุภลักษณ์ อัมพุช และสุรัตน์ อัมพุชเป็นผู้บริหารหลัก สำหรับบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ มีชาญชัย จารุวัสตร์และชฎาทิพ จูตระกูล เป็นผู้บริหารหลักมีความชำนาญในการบริหารศ ูนย์การค้าอย่างสยามเซ็นเตอร์และ สยามดิสคัฟเวอรี่มาก่อน

แม้ว่าเศรษฐกิจจะซบเซาในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา แต่ทั้งสอง บริษัทยังมีกำไรจากผลการดำเนินงาน (ดูตารางผลการดำเนินงานประกอบ)

ความร่วมมือของกลุ่มเดอะ มอลล์และบริษัทสยามพิวรรธน์ในการสร้างศูนย ์การ ค้าสยามพารากอน เป็นปรากฏการณ์ที่เล่าขานมาจวบทุกวันนี้

ในอนาคตทั้งสองบริษัทอาจจะสร้างความยิ่งให ญ่อีกครั้งก็เป็นได้

รายชื่อผู้ถือหุ้นหลักในบริษัทสยามพิวรรธน 

กลุ่มผู้ถือหุ้นในบริษัทสยามพิวรรธน์มีทั้ งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 257 ราย ผู้จัดการ 360 ํ จัดลำดับกลุ่มผู้ถือหุ้นหลักไว้ 8 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

1. บริษัทเอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) 5,038,000 หุ้น และ 298,700 หุ้น

2. พระราชวงศ์ 4,524,300 หุ้น

3. ตระกูลจารุวัสตร์
ชฎาทิพ จูตระกูล 29,400 หุ้น และ 700 หุ้น
เด็กหญิงชญาภา จูตระกูล 39,200 หุ้น
พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ 9,800 หุ้น
ชาลี จารุวัสตร์ 2,000 หุ้น
ชาญชัย จารุวัสตร์ 1,600 หุ้น

4. ธนาคารไทยพาณิชย์ 1,653,000 หุ้น

5. ธนาคารกรุงเทพ 506,000 หุ้น และ 397,800 หุ้น

6. ตระกูลล่ำซำ และธนาคารกสิกรไทย
ม.ร.ว.สำอางวรรณ ล่ำซำ 15,360 หุ้น
สุภวรรณ ล่ำซำ (ปันยารชุน) 4,320 หุ้น
บัณฑูร ล่ำซำ 4,320 หุ้น
บรรยงค์ ล่ำซำ 71,900 หุ้น
ธนาคารกสิกรไทย 298,700 หุ้น และ 288,700 หุ้น

7. ตระกูลภิรมย์ภักดี
บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด 353,500 หุ้น
วุฒา ภิรมย์ภักดี 13,750 หุ้น
วาปี ภิรมย์ภักดี 7,950 หุ้น
ปิยะ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
จวบจันทร์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
สันติ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น
พรภิรมย์ ภิรมย์ภักดี 7,040 หุ้น

8. ตระกูลศรีวิกรม์
สิริมา ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาญ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
ชาย ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
กรกฎ ศรีวิกรม์ 52,800 หุ้น
บริษัทศรีวิกรม์ กรุ๊ป โฮลดิ้ง 105,600 หุ้น

ที่มา: http://www.gotomanager.com/news/printnew s.aspx?id=84354


เหตุที่ต้องล้มระบอบเจ้าเป็นใหญ่ ในคำประกาศคณะราษฎร 24 มิถุนายน 2475

ราษฎรทั้งหลาย

เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจและความฝืดเคืองในการทำมาหากินซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้

การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎรตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาลของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่าไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดียรัจฉาน ไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เหตุฉะนั้น แทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่า ภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ปีหนึ่งเป็นจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แม้แต่เล็กน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียเงินราชการหรือภาษีใดๆ ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นก็ได้โค่นราชบัลลังก์ลงเสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎร มีเป็นต้นว่าหลอกว่าจะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้กิน ว่าราษฎรยังมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรโง่ คำพูดของรัฐบาลเช่นนี้ใช้ไม่ได้ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นเป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าเมื่อราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่พวกเจ้าทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้เจ้าทำนาบนหลังคนอีกต่อไป

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่า ประเทศเรานี้เป็นของราษฎร ไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้ช่วยกันกู้ให้ประเทศเป็นอิสรภาพพ้นมือจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบและกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน? ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั้นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนา เพราะทำนาไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คนงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนแล้วก็ไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการชั้นผู้น้อย นายสิบ และเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วก็ไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่พวกเจ้ากวาดรวบรวมไว้มาจัดบำรุงบ้านเมืองให้คนมีงานทำ จึงจะสมควรที่สนองคุณราษฎรซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินเหลือเท่าไหร่ก็เอาไปฝากต่างประเทศ คอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรม ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือน ที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎรขึ้น และได้ยึดอำนาจของกษัตริย์ไว้ได้แล้ว คณะราษฎรเห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายนี้ได้ก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึงได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมาก็จะได้ชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่าราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำ เพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคนตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูขึ้นเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎรจะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎรวางไว้ มีอยู่ว่า

๑.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่นเอกราชในทางการเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง

๒.จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก

๓.ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก

๔.จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่ในเวลานี้)

๕.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก ๔ ประการดังกล่าวข้างต้น

๖.จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมาหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมบริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า "ศรีอาริยะ" นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร

๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕