PPD's Official Website

Thursday, April 2, 2015

ความชั่วร้าย ของมาตรา 44 ที่ภูมิพลและทหารของเขางัดมาใช้กับคนไทย

ความชั่วร้าย ของมาตรา 44 ที่ภูมิพลและทหารของเขางัดมาใช้กับคนไทย มาตรา 44 ให้ทหารของเครือข่ายภูมิพล ทำอะไรได้บ้าง?


คำสั่ง คสช.3/2558 ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตร เป็น “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" สรุปภาพรวมเบื้องต้นดังนี้


-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.

-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ

-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ

-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์

- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ

- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ
ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก
- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการท
างปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน


โปรดอ่านซ้ำ แล้วสรุปให้ได้ว่า เผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ แปลงร่างได้เนียนขนาดไหนก็ไม่รอดพ้นสายตาชาวไทยและชาวโลกได้อีกต่อไป

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.
-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ
-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ
-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์
- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ
- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก
- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน



ความชั่วร้าย ของมาตรา 44 ที่ภูมิพลและทหารของเขางัดมาใช้กับคนไทย

ความชั่วร้าย ของมาตรา 44 ที่ภูมิพลและทหารของเขางัดมาใช้กับคนไทย มาตรา 44 ให้ทหารของเครือข่ายภูมิพล ทำอะไรได้บ้าง?


คำสั่ง คสช.3/2558 ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตร เป็น “เจ้าพนักงานรักษาความสงบเรียบร้อย" สรุปภาพรวมเบื้องต้นดังนี้


-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.

-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ

-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ

-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์

- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ

- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับ
ไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก
- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการท
างปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน


โปรดอ่านซ้ำ แล้วสรุปให้ได้ว่า เผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใหม่ แปลงร่างได้เนียนขนาดไหนก็ไม่รอดพ้นสายตาชาวไทยและชาวโลกได้อีกต่อไป

-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการฯ ตาม ม. ๑๐๗ ถึงม. ๑๑๒ ตาม ป.อาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา ๑๑๓ ถึงมาตรา ๑๑๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน
-มีอำนาจดำเนินการป้องกันปราบปราบความผิดอันเป็นการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่ง คสช. หรือคำสั่งหัวหน้า คสช.
-มีอำนาจออกคำสั่งเรียกให้บุคคลมารายงาน ตัวจับกุมตัวบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนำส่งตำรวจ
-มีอำนาจช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับตำรวจ ในการเข้าร่วมให้ถือว่าทหารเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
- มีอำนาจเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ รวมทั้งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบ
-กรณีมีความจำเป็นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง ทหารมีอำนาจออกคำสั่งห้ามการเสนอข่าว จำหน่าย หรือแพร่หลายหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์
- ทหารมีอำนาจเรียกตัวบุคคลมาสอบถามข้อมูล โดยสามารถควบคุมตัวได้ 7 วัน และห้ามควบคุมตัวที่สถานีตำรวจทัณฑสถาน หรือเรือนจำ
- ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของทหารต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดต่อสู้หรือขัดขวางทหารในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-การชุมนุมทางการเมือง จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดมีความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง แต่สมัครใจเข้ารับการอบรมจากทหาร ไม่เกิน 7 วัน และทหารเห็นสมควรปล่อยตัว ให้ถือว่าคดีเลิก
- การกระทำตามคำสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการ
ทางปกครอง และกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
- ทหารที่กระทำการไปตามอำนาจหน้าที่ได้รับความคุ้มครองตาม ม.๑๗ แห่งพรก.ฉุกเฉิน



แอมเนสตี้ฯ วิพากษ์คำตัดสิน 'ไม่ปกติ' จำคุก 25 ปีคดี 112


แอมเนสตี้ฯ วิพากษ์คำตัดสิน 'ไม่ปกติ' จำคุก 25 ปีคดี 112

Thu, 2015-04-02 17:42

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล วิพากษ์การตัดสินลงโทษและสั่งจำคุกนักธุรกิจไทย 25 ปี ฐานวิจารณ์ราชวงศ์ผ่านเฟซบุ๊ก เป็นคำตัดสินที่ไม่ปรกติ ชี้ไทยจำเป็นต้องแก้ไข กม.หมิ่นที่ล้าสมัย

2 เม.ย. 2558 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 31 มี.ค. เรื่อง "บทลงโทษจำคุก 25 ปีที่ไม่ปรกติสำหรับการวิจารณ์ราชวงศ์ ท่ามกลางแผนการยกเลิกกฎอัยการศึก"
     
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลระบุว่า การตัดสินลงโทษและสั่งจำคุกนักธุรกิจไทยในเช้าวันที่ 31 มีนาคม 2558 เป็นเวลา 25 ปี ฐานการวิพากษ์วิจารณ์ราชวงศ์ผ่านข้อความในเฟซบุ๊ก เป็นคำตัดสินที่ไม่ปรกติ และแสดงให้เห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยต้องแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ล้าสมัย
     
ศาลทหารของไทยมีความเห็นว่า นายเธียรสุธรรม (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 58 ปี มีความผิดห้ากระทงฐานโพสต์ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงพฤศจิกายน 2557
     
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ว่า ในวันเดียวกับที่มีการตัดสินคดีนี้ นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชามีคำขอพระบรมราชโองการเพื่อประกาศยกเลิกกฎอัยการศึก รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวมอบอำนาจที่ปราศจากการตรวจสอบให้นายกรัฐมนตรีที่จะประกาศใช้กฎหมายใหม่แทนกฎอัยการศึก โดยอ้างว่าเพื่อรักษาความมั่นคงของชาติ
     
นับแต่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกในไทยเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 ประชาชนหลายร้อยคนได้ถูกควบคุมตัวโดยพลการ และอีกหลายสิบคนต้องเข้ารับการไต่สวนในศาลทหาร เนื่องจากใช้สิทธิการชุมนุมและการแสดงออกอย่างสงบ
     
รูเพิร์ต แอ็บบอตต์ (Rupert Abbott) รองผู้อำนวยการงานวิจัยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเปิดเผยว่า การยกเลิกกฎอัยการศึกจะไม่ช่วยให้สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยดีขึ้น หากมีการนำกฎหมายที่กดขี่ปราบปรามฉบับนี้มาใช้ แทนที่จะทำเช่นนั้น รัฐบาลไทยควรฟื้นฟูหลักนิติธรรมและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ถูกทำลายไปอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากรัฐประหารเมื่อปี 2557
     
“การตัดสินลงโทษนายเธียรสุธรรมครั้งนี้ เป็นหนึ่งในบทลงโทษรุนแรงที่สุดที่ทางเราได้เห็นมา แสดงถึงสัญญาณที่น่ากังวลว่าทางการไทยมุ่งปราบปรามบุคคลที่แสดงความเห็นต่าง”
     
“เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่ในศตวรรษที่ 21 นี้ยังมีการคุมขังบุคคลเป็นเวลาหลายทศวรรษเพียงเพราะการวิจารณ์สถาบันกษัตริย์ การแสดงความเห็นอย่างสงบไม่ใช่อาชญากรรม นายเธียรสุธรรมต้องได้รับการปล่อยตัวทันที และต้องมีการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีสิทธิมนุษยชนของไทย”
     
ศาลทหารตัดสินลงโทษจำคุกนายเธียรสุธรรม 50 ปี แต่ลดโทษลงกึ่งหนึ่งเนื่องจากรับสารภาพผิด เขาไม่มีสิทธิอุทธรณ์คดีนี้
     
ทั้งนี้ แถลงการณ์ระบุด้วยว่า นักธุรกิจคนดังกล่าวได้ถูกทหารควบคุมตัวเป็นเวลาห้าวันโดยไม่มีการตั้งข้อหา แต่เป็นการอ้างอำนาจตามกฎอัยการศึก เขาถูกเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวโดยพลการและสอบปากคำจนกระทั่งเขายอมรับสารภาพต่อความผิดตามข้อกล่าวหา ในระหว่างนั้นเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบกับทนายความหรือครอบครัว
     
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2557 นายเธียรสุธรรมถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการว่าละเมิดมาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา (กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) โดยถูกนำตัวไปควบคุมที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และถูกคัดค้านการประกันตัว


หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)ซับแดง หมู่บ้านเล็กๆที่ประเสริฐ จันดำ นักเขียนร้อ...

Posted by ห้องสมุดประชาชนและการปฏิวัติ on Thursday, April 2, 2015
หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)


หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)ซับแดง หมู่บ้านเล็กๆที่ประเสริฐ จันดำ นักเขียนร้อ...
Posted by ห้องสมุดประชาชนและการปฏิวัติ on Thursday, April 2, 2015

หนังสือ ร้อยกรองจากซับแดง-ประเสริฐ จันดำ (100หนังสือดีของคนเดือนตุลา)

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


The Royal Barge Procession in 2005.
The Royal Barge Procession in 2005.


The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.
The Chakri Mahaprasat, inside the Grand Palace in Bangkok, the Dynastic seat and official residence of the Chakri Monarchs.


อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar


เพื่อความสะดวกของท่าน ขอยกมาให้อ่านกันเลยนะครับ

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย

Kyoto Review of Southeast Asia. Issue 14 (September 2013). Myanmar

อนาคตของสถาบันพระมหากษัตริยในประเทศไทย
อนาคตของสถาบันกษัตริย์นั้นอย่างน้อยจะถูกกำหนดโดยจุดแข็งและจุดอ่อนของรัชกาลปัจจุบัน ตลอดจนเส้นทางในการสืบสันตติวงศ์ นี่คือความจริงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในปัจจุบันที่ๆ ซึ่งพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยังทรงพระชนม์ชีพซึ่งครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก   เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในปี 1946 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่ 14ปี หลังจากที่ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ถูกยกเลิกไป สถาบันพระมหากษัตริย์ก็เกือบที่จะถูกครอบงำ ด้วยพลังและอำนาจทางการเมืองใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1960 กลุ่มผู้สนับสนุนพระมหากษัตริย์ ด้วยความร่วมมือกับกองทัพไทย ประสบความสำเร็จในการรักษาสถานภาพฐานการเงินของราชวงศ์ ตลอดจนการสร้างความเคารพนับถือให้กับสถาบันพระมหากษัตรย์  ในปี 1973 และ 1992 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเข้ามาเพื่อยุติความรุนแรงทางทหารที่มีต่อกลุ่มผู้ประท้วงที่ต่อต้านการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งเป็นการสร้างบทบาทของพระองค์ในฐานะที่เป็นผู้ชี้ขาดคนสุดท้ายในเวลาที่เกิดวิกฤติ
ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินไปยังพื้นที่ห่างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีการประชาสัมพันธ์อย่างแพร่หลายตลอดจนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นานับประการทั่วประเทศที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนของพสกนิกรในท้องที่ทุรกันดาร ทำให้พระองค์ถูกมองว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่อุทิศพระองค์เพื่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน  สิ่งที่แสดงถึงพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือการที่พระองค์ทรงได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มากที่สุดในโลก  สิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ที่พระองค์ทรงคิดค้น ตลอดจนพระปรีชาสามารถในด้านศิลปะ ดนตรี และพระราชนิพนธ์   พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในเดือนมิถุนายน ปี 2006 จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี ดูเหมือนพระราชพิธีดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จในการครองราชย์ ประชาชนเรือนล้านหลั่งไหลเข้าสู่กรุงเทพมหานครเพื่อมีส่วนร่วมในงานเฉลิมฉลอง  พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญจากทั่วโลกต่างก็เดินทางมาร่วมพระราชพิธีนี้เช่นกัน ดูเหมือนในช่วงเวลานั้นซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้พิสูจน์ถึงความสำเร็จของรัชสมัยไว้อย่างชัดเจน
แต่เมื่อเดือนกันยายน ปี 2006 ฝ่ายทหารได้ปฏิวัติ ทำรัฐประหาร เพื่อขับไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางของ พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน   ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นของการเลือกโดยสำนักพระราชวังในช่วงเวลาสี่ทศวรรษที่ผ่านมาได้เปิดเผยสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่พระมหากษัตริย์ทรงพอพระทัยกับการสนับสนุนในวงกว้าง ก็มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่งกำลังอยู่ในจุดที่ตกต่ำลงทั้งในแง่ของความนิยมและความชอบธรรม
สิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงสั่งสมมาตลอดช่วงรัชสมัยของพระองค์ จะถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองได้อย่างไรภายในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี? คำตอบจะเป็นสิ่งที่บอกเราได้มากถึงอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศไทย  แม้ว่าจะไม่พิจารณาในประเด็นการสืบราชสมบัติ  กลุ่มพลังที่เป็นตัวแทนในการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์กลับเป็นกลุ่มที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต   เมื่อประเด็นเรื่องการสืบราชสมบัติเกิดขึ้นในสภาวะที่สถาบันพระมหากษัตริย์มีความอ่อนแอ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดความวิบัติได้ แต่ไม่ว่าจะดีหรือร้ายก็ตาม รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชฯที่มีการครองราชย์มาอย่างยาวนานก็ถึงจุดที่จะต้องกำหนดอนาคตของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย โดยมีปัจจัยภายในหลายๆด้านทั้งที่ช่วยส่งเสริมและบั่นทอนการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ให้คงไว้ซึ่งความเป็นสถาบัน
King's Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
King’s Standard of Thailand. This flag was first adopted by King Vajiravudh in 1910.
การเปิดเผยของสถาบันหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการตรวจสอบของสาธารณชน(มักเกี่ยวข้องกับการพูด) มีส่วนทำให้สถาบันมีความเข้มแข็งขึ้น  สภาองคมนตรีและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าถึงนักวิชาการในระดับหนึ่ง และสำนักพระราชวังเองก็ให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเนื้อหาพระราชประวัติใหม่ที่ค่อนข้างสมดุลมากขึ้น ซึ่ง รวมไปถึงเรื่องต้องห้ามเดิมที่เกี่ยวข้องกับการหมิ่นสถาบัน  ในขณะที่รัฐบาลได้สั่งปิด (เซ็นเซอร์ censor)บล๊อกและเวปเพจที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ความลับทางการทูตจำนวนมากของ  Wikileaks ที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย แต่กลับไม่ได้ปิด สื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์แนววิพากษ์วิจารณ์บางแห่ง เช่น บทความของ MacGregor Marshall เรื่อง  “Thailand’s Moment of Truth”  ข้อมูลงบประมาณของรัฐบาลเองเมื่อเร็วๆ นี้ก็สามารถเข้าถึงได้ผ่านระบบออนไลน์ รวมไปถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณให้กับพระราชวงศ์ และค่าใช้จ่ายของพระมหากษัตริย์ การเปิดเผยข้อมูลตรงนี้ถูกกระตุ้นโดยรายงานจากภายนอก อย่างเช่น นิตยสาร Forbes  ที่ได้รายงานว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก โดยมี  พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่ถ้าจะมองเกี่ยวกับความสมดุลของสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะของสถาบันแห่งหนึ่ง โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีหลายเหตุผลที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อ่อนแอลง  ประการแรก คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ จากบุคคลบุคคลหนึ่งได้กลายมาเป็นจุดศูนย์รวมของราชวงศ์ไทย  ไม่ว่าจะเป็นเพราะการที่พระองค์ทรงครองราชย์มาอย่างยาวนานหรือความพยายามในการประชาสัมพันธ์จากสำนักพระราชวังเองก็ตาม พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการเป็นตัวแทนของบุคคลที่น่าเคารพบูชา แต่หากมองในด้านลบ  ยิ่งพระองค์ประสบความสำเร็จในฐานะตัวบุคคลหรือพระราชกรณียกิจถูกนำเสนอมากเท่าไหร่ สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะสถาบันก็ยิ่งอ่อนแอลงเท่านั้น  ไม่น่าสงสัยแต่อย่างใดที่พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก อย่างไรก็ตามความนิยมในตัวของพระองค์ก็ไม่ได้จำเป็นที่จะต้องแปลไปสู่ความชอบธรรมที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ในความจริงแล้วทางตรงกันข้ามอาจจะเป็นความจริงก็เป็นได้  อาจจะเป็นเรื่องดีที่คนไทยจำนวนมากมีความจงรักภักดีต่อพระราชบัลลังก์ไม่มากไปกว่าการจงรักภักดีต่อรัชสมัยปัจจุบัน  สำนักพระราชวังประสบความสำเร็จในการสร้างภาพลักษณ์ส่วนพระองค์ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน สร้างสถานะให้พระองค์เป็นที่เคารพนับถือมากขึ้น  และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมทางจิตวิญญาณของชาติ ซึ่งความสำเร็จประเภทนี้ไม่สามารถใช้ได้กับผู้สืบทอดพระราชสมบัติองค์อื่นๆ
ในขณะที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนมักจะอ้างถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยราวกับว่า       ป็นสถาบันที่มีความเป็นเอกภาพ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และใช้ “สำนักพระราชวัง” เป็นเครื่องมือในลักษณะเดียวกันกับ ทำเนียบขาว หรือ White House  ของสหรัฐอเมริกา หรือบ้านเลขที่ 10 ถนนดาวน์นิ่ง )10 Downing Street)ของสหราชอา ณาจักร อุปมาเปรียบได้กับศูนย์กลางของอำนาจที่มีการกำหนดอย่างชัดเจน      แต่คำอธิบายนี้ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน
ในความเป็นจริง มีกลุ่มอิทธิพลหลายกลุ่มที่มีผลต่อราชวงศ์ไทย   บ่อยครั้งที่มีการทับซ้อนกันและมีการจัดวาระการแข่งขัน ตลอดจนการแบ่งแยกที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลานาน             รวมไปถึงความสัมพันธ์ที่หวั่นไหวในเรื่องมุมมองความคิดเห็น การแบ่งศูนย์กลางของอิทธิพลจะมุ่งเน้นไปที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ   สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ   สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และคณะองคมนตรี
หากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯ ทรงต่อต้านการรัฐประหารเมื่อปี 2006 ตามที่แหล่งข่าวหลายแห่งกล่าวไว้ พระองค์ก็จะทรงไม่สามารถหรือ ทรงไม่เต็มพระทัยที่จะควบคุมคนอื่นๆในสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการรัฐประหารได้  ตามที่ ข้อมูลลับทางการทูต wikileaks หลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้เคลื่อนไหวคนสำคัญที่อยู่เบื้องหลังการการรัฐประหารที่เกิดขึ้น  นี่เป็นบางส่วนของสำนักพระราชวังที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้ประท้วงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (PAD) การเคลื่อนไหวพยายามจะขัดขวางและล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งซึ่งนำโดยผู้สนับสนุนของพันตำรวจโททักษิณ ชิณวัตรในปี 2008
ในขณะที่บางคนแย้งว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงถูกกดดันจากกลุ่มรัฐประหารเพื่อลงพระนามรับรองในการทำรัฐประหารดังกล่าว แต่ไม่ใช่กรณีเดียวกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  เมื่อพระองค์ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปร่วมงานศพของผู้ประท้วงพันธมิตรที่เสียชิวิตในการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ประการที่ 3 การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอย่างไม่จำเป็น ส่งผลเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  กฎหมายดังกล่าวค่อนข้างที่จะลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่อย่างน้อยในช่วงทศวรรษที่ 1990และช่วงต้นของทศวรรษที่2000  มีเพียงบางกรณีเท่านั้นที่เกิดขึ้น  ราชวงศ์ของยุโรปได้รับประโยชน์จากผลโพล (poll)ที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์ของพวกเขา แต่สำหรับประเทศไทยด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพทำให้การทำโพลเป็นไปไม่ได้ ทั้งกฎหมายฉบับนี้ยังเป็นการกีดกันสถาบันพระมหากษัตริย์จากการแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอาจจะช่วยทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ได้อย่างถูกทำนองคลองธรรมในสภาพแวดล้อมที่ประชาธิปไตยกำลังเบ่งบาน ตามเนื้อความของกฎหมายฉบับนี้ กฎหมายจะปกป้องพระมหากษัตริย์ พระราชินี ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ และผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แต่ในทางปฏิบัติดูเหมือนว่าจะปกป้องสมาชิกอื่นๆ ของราชวงศ์สกุลนี้เช่นเดียวกัน
ผู้เสนอกฎหมายได้พยายามที่จะขยายการคุ้มครองตามกฎหมายให้ถึงแม้กระทั่งสมาชิกของคณะองคมนตรี  ทุกคนสามารถทำให้ข้อกล่าวหากลายเป็นอาวุธที่แสนสะดวกเพื่อใช้ต่อต้านฝ่ายตรงข้าม ส่วนตัวของกฎหมายเองก็มีความคลุมเครือในแง่ไม่ค่อยดีและศาลก็ได้ตีความไว้อย่างกว้างๆ
ตามกฎหมายที่ตั้งขึ้นในส่วนการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติของประมวลกฎหมายอาญา สิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น ผู้ถูกกล่าวหามักจะถูกปฏิเสธไม่ให้ได้รับการประกันตัว ที่ร้ายแรงที่สุด เป็นคำตัดสินโทษที่หนักและมีจำนวนคดีที่คาดไม่ถึง คำตัดสินจำคุก สูงสุดคือ 15 ปี ซึ่งนับว่าเป็นโทษสูงที่สุดของทุกๆ แห่งในโลกในศตวรรษที่ผ่านมา  ระหว่างปี 1992 และ 2004  จำนวนคดีเฉลี่ยอยู่ที่ 5 คดีต่อปี แต่ในปี  2010 ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 478 คดี โดยผู้ที่เสนอให้ปรับแก้กฎหมายนี้ ถูกบังคับให้โดนเนรเทศ ทรมานร่างกาย และถูกขู่ว่าจะมีอันตรายถึงชีวิต
สุดท้ายนึ้ยังคงมีอีกปัจจัยหนึ่งที่เปลี่ยนรูปภูมิทัศน์ทางการเมืองในขณะที่สถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่  การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดท่ามกลางบรรยากาศสลัวของรัชสมัยปัจจุบัน คือ การพัฒนาจิตสำนึกทางด้านการเมืองการปกครองให้ลึกซึ้งและแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ เครือข่ายกษัตริย์เข้าถึงการก่อรัฐประหารเมื่อปี 2006  เช่นเดียวกันกับการรัฐประหารที่ผ่านๆ มาในอดีด คือ การรัฐประหารได้รับการรับรองจากสถาบันพระมหากษัตริย์  ผู้ก่อรัฐประหารให้เหตุผลแสดงความบริสุทธิ์ว่า การทำรัฐประหารนั้นทำเพื่อสาธารณชนโดยอ้างเรื่องการทุจริตของนักการเมืองและภัยคุกคามต่อสถาบันพระมหากษัตริย์  หลังจากนั้นก็จะมีการนิรโทษกรรม และในที่สุดการทำรัฐประหารก็จะถูกลืมเลือนไป
แต่ประชาชนกลุ่มใหม่ผู้ตระหนักถึงความสำคัญทางการเมืองกลับไม่เคยลืมการทำรัฐประหาร  แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช. หรือ “เสื้อแดง”) ยังคงมีการจัดระเบียบเพื่อที่จะนำผลกระทบที่เกิดจากการทำรัฐประหารออกไป โดยสร้างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น นำประโยคที่ระบุถึงการนิรโทษกรรมออกไปและดำเนินคดีผู้ทำรัฐประหาร และพิจารณาการดำเนินการทางกฎหมายหรือการพิจารณาคดีที่มาจากการทำรัฐประหาร การเคลื่อนไหวดังกล่าวนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการตื่นตัว หรือ ตาที่เปิดขึ้น (ตาสว่าง)  ด้วยเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการพูดปากต่อปากของผู้ประท้วง ปรากกฎการณ์ตาสว่างทำให้สายตาของพวกเขาเพ่งมองไปที่บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมืองและประวัติศาสตร์ของสถาบันอย่างเต็มที่
มีการแสดงออกโดยใช้ภาษาแบบรหัสเฉพาะเพื่อที่จะหลบเลี่ยงการจับกุม การขับเคลื่อนในครั้งนี้ไม่มีภาพลวงอีกต่อไป จึงเห็นความพยายามซ้ำแล้วซ้ำอีกของสำนักพระราชวังเพื่อป้องกันอำนาจของกษัตริย์ที่เป็นที่นิยมผ่านศาลยุติธรรม คณะองคมนตรีและสมาชิกบางองค์ของราชวงศ์ แทนที่จะลืมการเสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานในงานศพของผู้ชุมนุมกลุ่มพันธมิตรในเดือนตุลาคม 2008 เหตุการณ์นี้กลับเป็นสิ่งที่ขุ่นเคืองสำหรับกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดง และตั้งวันนั้นให้เป็นอนุสรณ์ว่าเป็น “วันตาสว่างแห่งชาติ” การออกมาเลือกข้างอย่างเปิดเผยของราชวงศ์ได้ถอดถอนความพยายามที่จะสื่อให้เห็นว่าสำนักพระราชวังเป็นกลางซึ่งความรู้สึกด้านลบของกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อแดงยิ่งสูงขึ้นเมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์เลือกที่จะไม่แทรกแซงเมื่อผู้ชุมนุมเสื้อแดงถูกฆ่าตายโดยกองกำลังของรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2010 เหนือกว่าสิ่งอื่นใด การตัดสินใจในการร่วมงานศพของกลุ่มพันธมิตรในปี 2008และไม่ไปร่วมงานศพของกลุ่ม นปช.ในปี 2010 ถือว่าเป็นจุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยซึ่งเป็นเรื่องที่ทราบกันดี  การเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของสำนักพระราชวังในการทำรัฐประหาร การปรากฎตัวแบบเลือกข้างของสมาชิกราชวงศ์ในเรื่องความขัดแย้งทางการเมือง  การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามอำเภอใจ หรือแม้กระทั่งการตระหนักถึงเรื่องความมั่งคั่งของราชบัลลังก์ ได้ทำให้ความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นลดลงและเป็นภัยอย่างใหญ่หลวงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต
แต่ความล้มเหลวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 อาจจะเป็นการที่สำนักพระราชวังไม่สามารถที่จะนำเสนอแผนของการสืบราชสันตติวงศ์ในแง่บวก แทนที่จะทรงสละราชสมบัติ ตามที่พระองค์ได้เคยพิจารณาไว้ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จากการที่ทรงเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงตัดสินพระทัยที่จะยังคงอยู่ในพระราชบัลลังก์ต่อไป ในปี 1972 ทรงสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ ทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร แต่เนื่องจากพระพลานามัยของรัชกาลที่ 9 ที่แย่ลงในช่วงเวลาสิบปีที่ผ่านมา ความพยายามที่จะสร้างภาพลักษณ์ของเจ้าฟ้าชายนั้นกลับล้มเหลว อีกทั้งความขัดแย้งในสำนักพระราชวังก็เพิ่มขึ้น แผนการสืบต่อราชสันตติวงศ์อีกแผนหนึ่งจึงปรากฎขึ้น  ด้วยที่ผ่านมาในความทรงจำของประเทศไทยยังไม่เคยมีการขัดแย้งในเรื่องการสืบราชสันตติวงศ์  จึงทำให้มีช่องว่างที่ปรับเปลี่ยนได้ทางกฎหมายมากพอสำหรับการจัดการเรื่องนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับคณะองคมนตรีที่อาจจะเข้ามาจัดการในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านสู่่รัชกาลถัดไป 1
กรณีตัวอย่าง ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯไม่ได้ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าว สถานะทางกฎหมายของคณะองคมนตรีและประธานองคมนตรีก็จะมีความคลุมเครือ และอาจจะถูกตีความได้ว่าพลเอกเปรมจะกลายเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากเสด็จสวรรคต และการเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเขาอาจจะสามารถปรับปรุงกฎหมายการสืบราชสันตติวงศ์ปี 1924 ได้เป็นครั้งแรก ในลักษณะที่ช่วยให้คณะองคมนตรีสามารถที่จะกำหนดพระนามผู้สืบราชสันตติวงศ์ที่ต่างออกไปได้ ซี่งมีข้อสันนิษฐานว่า จะเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรืออาจจะส่งชื่อผู้สืบราชสันตติวงศ์ไปยังรัฐสภาเพื่อการพิจารณาล่าช้า ในช่วงที่อยู่ระหว่างการไว้ทุกข์ซึ่งไม่ได้มีการกำหนดช่วงเวลาไว้อย่างแน่นอน  หรือถ้าทั้งหมดล้มเหลว การทำรัฐประหารอาจจะอยู่ในลำดับต่อไป โดยอ้างเหตุผลเพื่อความถูกต้องว่าเป็นการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติและการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ การรัฐประหารอาจจะยกเลิกรัฐสภาและอนุญาตให้กองทัพมีสิทธิ์ที่จะเสนอพระนามผู้ที่จะสืบราชบัลลังก์ หรืออย่างน้อยก็ให้สามารถชะลอกระบวนการดังกล่าวได้  หรืออาจจะเป็นไปได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะทรงจัดวางพระองค์เองให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ที่ทรงพระประชวร และยังทรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เสด็จสวรรคตไปแล้ว
ไม่มีแผนการใดเลยที่ที่จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความชอบธรรมมากขึ้น  มีเพียงแผนการเดียวเท่านั้นที่มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งก็เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ด้วย นั่นก็คือ การที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมาร เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ในลำดับถัดไป และทรงปรับปรุงพฤติกรรมของพระองค์ และใช้โอกาสนี้เพื่อที่จะรื้อเครือข่ายกษัตริย์ (monarchy network) และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนครองราชย์ตามระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เหมือนกับที่อื่นๆในโลกปัจจุบัน ส่วนแผนการอื่นๆจะนำไปสู่ความหายนะไม่ว่าจะเป็นความพยายามของคณะองคมนตรีที่จะเปลี่ยนแปลงการตัดสินพระทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ซึ่งอาจจะป็นการล้างความชอบธรรมของสถาบันพระมหากษัตริย์ในอนาคต โดยการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะทำให้พลเอกเปรม หรือ สมเด็จพระราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านอย่างรุนแรงและอาจนำไปสู่จุดจบของสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งหมด
สุดท้ายนี้ การดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยนั้นขึ้นอยู่กับคำถามเรื่องความชอบธรรมตามกฎหมาย รัชกาลในปัจจุบันได้มีการปลูกฝังชุดค่านิยมและความสนใจซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามกันกับอำนาจอธิปไตยของประชาชน และก้าวต่างไปจากระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญของทั่วโลก  สิ่งนี้ได้ลดทอนอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง และได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่คับแคบผ่านทางการแถลงการณ์และการกระทำต่างๆ  สิ่งนี้สนับสนุนและรับรองการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง สิ่งนี้อนุญาตให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกกีดกันให้ยังคงใช้ได้อยู่ และสิ่งนี้อยู่อย่างใกล้ชิดมากเกินไปกับการจัดวาระอย่างสุดขั้วของกลุ่มผู้จงรักภักดีในราชวงศ์แบบสุดโต่ง สิ่งนี้สร้างภาพลักษณ์ให้กับพระมหากษัตริย์ในรัชกาลปัจจุบันโดยมีการเปรียบเทียบกับผู้สืบราชสันตติวงศ์ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จตามอย่างได้  ในที่สุด ด้วยการเตรียมตัวที่ไม่พร้อม ทำให้เกิดแม้กระทั่งคำถามเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ที่กำลังมีภัยเพราะเต็มไปด้วยทางเลือกอื่นที่ล้วนล่อใจแต่อันตราย   สรุปได้ว่า สิ่งนี้ล้มเหลวที่จะนำสถาบันพระมหากษัตริย์ไปสู่เส้นทางที่ดำเนินควบคู่ไปกับค่านิยมแห่งประชาธิปไตย ในประเทศไทยที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย รัชสมัยนี้ กำลังจะส่งมอบสถาบันหนึ่งซึ่งกำลังอ่อนแรงและแบ่งพรรคแบ่งพวกให้เป็นมรดกแก่ผู้สืบทอด พร้อมๆ กับหนทางที่ไม่ชัดเจนว่าจะดำเนินการกับสิ่งนี้ต่อไปอย่างไร
 David StreckfussUniversity of Wisconsin-Madison
Notes:
  1. Michael J. Montesano, “Contextualizing the Pattaya Summit Debacle: Four April Days, Four Thai Pathologies,” Contemporary Southeast Asia, vol. 31, no. 2 (2009), p. 233. 

อายแทน!!! ประยุทธ์ โพล่ง I know everything! รีบอวดรู้ แต่ฟังคำถามภาษาอังกฤษฝรั่งไม่ค่อยออก และอ่อนศัพท์ภาษาอังกฤษ (น่าจะระดับ ม.3)

ไม่มีประชาธิปไตยตรงไหน ?

Speak English again 'พลเอกประยุทธ์' ตอบนักข่าวต่างชาติ จากสำนักข่าว ABC Newsชมคลิปย้อนหลังรายการ Wake Up Thailand วันนี้ (1 เม.ย.58) ได้ที่shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand/186771.html#WakeUpTH #VoiceTV21

Posted by Voice TV on Wednesday, April 1, 2015
อายแทน!!! ประยุทธ์ โพล่ง I know everything! รีบอวดรู้ แต่ฟังคำถามภาษาอังกฤษฝรั่งไม่ค่อยออก และอ่อนศัพท์ภาษาอังกฤษ (น่าจะระดับ ม.3)