PPD's Official Website

Monday, October 5, 2015

กษัตริย์ภูมิพลทรงร่วมให้การ ปรักปรำนายปรีดี และผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน

กษัตริย์ภูมิพลทรงร่วมให้การ
ปรักปรำนายปรีดี
และผู้บริสุทธิ์ทั้งสามคน
พระราชดำรัสให้การต่อศาลอาญาในปี 2493 ที่ทรงให้การเป็นพยานโจทก์ในวันศุกร์ที่ 12 และวันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม 2493 ตีพิมพ์ใน สยามนิกร วันที่ 18 พฤษภาคม 2493 เฉพาะที่นัยยะสำคัญมีดังนี้
คำให้การพยานโจทก์
คดีหมายเลขดำที่ 1898/2493
ศาลอาญา
วันที่ 12 พฤษภาคม 2493
ความอาญาระหว่าง อัยการ โจทก์
นายเฉลียว ปทุมรส กับพวก จำเลย
ข้าพเจ้าขอให้การว่า ข้าพเจ้าชื่อ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และขอให้การต่อไป (ทรงตอบโจทก์)
[2] ในเช้าวันที่ 9 มิถุนายนนั้น ฉันกินอาหารเช้าเวลาใดบอกไม่ใคร่ถูก แต่ประมาณราว 8.30 น. กินที่มุขพระที่นั่งชั้นบนด้านหน้า กินอาหารแล้วฉันได้เดินไปทางห้องบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8 ซึ่งเป็นเวลา 9.00 น.ได้พบนายชิตกับนายบุศย์ อยู่ที่หน้าห้องแต่งพระองค์ เห็นนั่งอยู่ นายชิต นายบุศย์ นั่งอยู่เฉยๆ ฉันได้ถามเขาว่า ในหลวงพระอาการเป็นอย่างไร ได้รับตอบว่าพระอาการดีขึ้น ใครเป็นผู้ตอบจำไม่ได้ เขาตอบไปว่าทรงสบายดีขึ้น ได้เสด็จห้องสรงแล้ว ต่อจากนั้น ฉันได้เดินไปยังห้องของฉัน เดินไปตามเฉลียงด้านหลัง ตรงเข้าไปในห้องนอนของฉัน แล้วก็เข้าไปในห้องเครื่องเล่น เดินเข้าๆออกๆอยู่ที่สองห้องนี้ ระหว่างนั้นซึ่งเป็นเวลาประมาณ 9.25 น. ได้ยินเสียงคนร้อง ได้ยินในขณะที่อยู่ในห้องเครื่องเล่น ก่อนได้ยินเสียงร้องได้เห็นคนวิ่งผ่านประตูห้องบันไดซึ่งอยู่ติดกับห้อง เครื่องเล่น เสียงคนร้องเป็นเสียงใครจำไม่ได้ ได้ยินเสียงร้องแล้ว ฉันได้ออกจากห้องเครื่องเล่นไปยังเฉลียงด้านหน้าโดยผ่านทางห้องบันได ได้พบน.ส.จรูญ ที่หน้าห้องข้าหลวง ถาม น.ส.จรูญ ว่ามีอะไรเกิดเรื่องอะไร ได้รับตอบว่าในหลวงยิงพระองค์ ฉันได้ยินดังนั้นก็ตรงไปยังห้องพระบรรทมในหลวงรัชกาลที่ 8
[3] เมื่อเข้าไปถึงห้องพระบรรรทมแล้ว เห็นสมเด็จพระราชชนนีและพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม สมเด็จพระราชชนนี ประทับอยู่เบื้องปลายพระบาทในหลวง โดยพระองค์อยู่บนพระแท่นครึ่งพระองค์ ส่วนพระพี่เลี้ยงเนื่องอยู่บนพระแท่นบรรทม และอยู่ตอนไปทางด้านพระเศียร

|เห็นในหลวงบรรทมอยู่บนพระแท่นในท่าหงายอย่างปรกติ เห็นที่พระนลาตมีรอยโลหิต พระเนตรหลับ สังเกตเห็นพระกรยืดอยู่ข้างพระวรกาย อยู่ท่าคนนอนธรรมดา พระกรแนบพระวรกาย ห่างจากพระวรกายตรงขอบพระหัตถ์ด้านในประมาณ 5 ซ.ม. ที่ว่านี้หมายถึงพระกรซ้าย ส่วนพระกรข้างขวาเป็นอย่างไรไม่เห็น สังเกตเห็นพระหัตถ์อยู่ในท่าธรรมดา นิ้วพระหัตถ์ไม่งอแต่พระหัตถ์งอบ้างอย่างธรรมดา คืองอนิดหน่อย มีผ้าคลุมพระบรรทมคลุมอยู่ด้วย พระกรอยู่ภายนอกผ้านั้น เห็นแต่ข้างซ้าย ข้างขวาไม่ได้เห็น ผ้าคลุมพระองค์ขึ้นมาเสมอพระอุระ
[4] เมื่อฉันเห็นเช่นนั้นก็บอกกับคนที่อยู่ที่นั่นให้ไปตามหมอมา แล้วฉันได้เข้าไปประคองสมเด็จพระราชชนนีมาประทับที่พระเก้าอี้ปลายพระแท่น บรรทม ต่อจากนั้น หลวงนิตย์ฯได้มาถึง จะมาถึงภายหลังที่ฉันเข้าไปในห้องพระบรรทมแล้วนานเท่าใด กะไม่ถูก หลวงนิตย์ฯเข้าไปดูแล้วกก็ไม่ได้พูดว่ากะไร แต่ฉันเห็นหน้าหลวงนิตย์ฯก็รู้ได้ว่าไม่มีหวังแล้ว สมเด็จพระราชชนนีได้เสด็จไปประทับในห้องทรงพระอักษรต่อไป
[5] เมื่อทราบว่าหมดหวังแล้ว ต่อมาได้เรียกพระยาชาติฯขึ้นมาถามว่าจะทำอย่างไรต่อไป พระยาชาติฯบอกถึงพระราชพิธีเกี่ยวกับพระบรมศพแล้ว ฉันก็สั่งให้เขาจัดการไปตามระเบียบ
วันที่ 15 พฤษภาคม 2493 (ทรงตอบโจทก์) ต่อจากวันที่ 12 พฤษภาคม 2493
[10] ฉันเคยทราบว่านายเฉลียว ได้นั่งรถยนตร์เข้าไปถึงหน้าพระที่นั่งบรมพิมาน ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะทรงพอพระราชหฤทัยในการกระทำเช่นนั้นหรือไม่ ฉันไม่รู้ เคยมีครั้งหนึ่งที่สมเด็จพระราชชนนีรับสั่งเรียกรถยนตร์ไม่ได้มา เหตุที่ไม่ได้มา เพราะคันหนึ่งไปซ่อม อีกคันหนึ่งเอาไปให้นายปรีดี เขาว่ากันว่า นายเฉลียว เป็นผู้จัดส่งรถไปให้นายปรีดี แล้วนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งรถมาถวายให้ทรงใช้แทน
[11] ในหลวงรัชกาลที่ 8 ไม่เคยรับสั่งอะไรกับฉันถึงการเข้าเฝ้าของนายเฉลียวว่ามีคารวะหรือไม่ การที่นายเฉลียวพ้นตำแหน่งราชเลขานุการในพระองค์นั้น น่าจะเป็นด้วยในหลวงไม่พอพระราชหฤทัย เหตุที่ไม่พอพระราชหฤทัย เพราะอะไรไม่ได้รับสั่งแก่ฉันให้ทราบ
[12] ในคราวเสด็จประพาสหัวหิน นายปรีดีโดยเสด็จด้วย ในคราวนั้นนายปรีดีได้สั่งเอารถจี๊ปไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาต และนายปรีดีได้เคยจัดให้มีงานเลี้ยงขึ้นที่นั่น เลี้ยงพวกใต้ดิน จัดเลี้ยงโดยไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาต ในการเลี้ยงนั้นมีเสียงเอะอะ
[13] นายปรีดีเคยว่า จะสั่งให้เอาเปียโนมาถวาย จะสั่งมาจากไหนไม่ได้บอก ขณะนำมาถวายฉันไม่ได้อยู่ด้วย ในขั้นต้นฉันเข้าใจว่า เปียโนนั้นเป็นของนายปรีดี ต่อมาพระยาชาติฯบอกว่าเป็นของสำนักพระราชวัง
[14] เกี่ยวกับการตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในการที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 จะเสด็จต่างประเทศนั้น ฉันได้รู้บ้าง ความเห็นของนายปรีดีในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการ จะตรงกับพระราชดำริหรือไม่ ฉันไม่ทราบ
[15] เกี่ยวกับการตั้งราชเลขานุการแทนนายเฉลียวที่พ้นตำแหน่ง ฉันรู้บ้าง ในหลวงมีพระราชประสงค์จะทรงตั้งท่านนิกรเทวัญ เทวกุล นายปรีดีปฏิบัติการสนองพระราชประสงค์นั้นชักช้า
[16] ในการที่ในหลวงจะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ โดยผ่านไปทางประเทศอเมริกาและยุโรปนั้น เป็นพระราชประสงค์ของพระองค์ท่าน และทรงพระประสงค์จะได้เสด็จไปโดยเร็ว พระราชประสงค์นี้จนใกล้จะสวรรคตก็มิได้เปลี่ยนแปลง รัฐบาลจัดการเรื่องเสด็จนั้นเร็วช้าประการใดไม่ทราบ ในที่สุด ได้กำหนดเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 มิถุนายน 2489
[17] นายมี พาผล เคยบอกฉันว่า วันที่ 13 จะเสด็จกลับไม่ได้ บอกเมื่อในหลวงเสด็จสวรรคตแล้วราว 2-3 อาทิตย์ ว่านายชิตเป็นผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13
[18] ตามที่ตอบไว้เมื่อวันก่อนว่า เห็นคนวิ่งผ่านห้องบันไดไปนั้น ต่อมาฉันได้สอบสวนดู ฉันเคยถามนายชิตเขาบอกว่า เขาวิ่งมาทางหน้าพระที่นั่ง และบอกอีกครั้งหนึ่งว่าวิ่งมาทางหลังพระที่นั่งแล้วออกไปทางหน้า เขาไม่แน่ใจ นายชิตบอกและชี้ทางด้วย แต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน
[24] นายฉันท์ หุ้มแพร เป็นคนจงรักภักดี และเป็นห่วงในความสุขสบายของเรา เกี่ยวกับการปลอดภัย เขาเป็นห่วงเหมือนกัน นายฉันท์ฯไม่เคยพูดกับฉันมาก เป็นแต่เคยบอกกับฉันว่า ต้องระวัง ที่ว่าต้องระวังนั้น เข้าใจว่าระวังคน บอกตั้งแต่ฉันมาถึงเมืองไทย
[25] รถจี๊ปที่นายปรีดีเอาไปใช้นั้น เป็นรถส่วนพระองค์
[33] การที่นายปรีดีโดยเสด็จไปหัวหินด้วยนั้น นายปรีดีไม่มีหน้าที่โดยเสด็จ แต่จะเป็นพระราชประสงค์หรือเปล่า ฉันไม่รู้
[34] เรื่องสมเด็จพระราชชนนี ทรงเรียกรถใช้ไม่ได้นั้น จะก่อนหรือหลังกลับจากหัวหินจำไม่ได้ ได้ยินเขาพูดกันว่า รถนั้นนายปรีดีเอาไปใช้ โดยนายเฉลียวส่งไปให้
ลงพระปรมาภิไธย
ภูมิพล ปร.

คำให้การของกษัตริย์ภูมิพลก็เป็นเพียงการปรักปรำที่หาพยานหลักฐานเชื่อมโยงกับการปลงพระชนม์ไม่ได้เลย ที่จริงศาลที่ยึดหลักนิติธรรมก็ไม่น่าจะรับฟัง แต่ศาลก็พยายามโยง จับแพะชนแกะเพื่อหาเหตุมาลงโทษจำเลย รวมทั้งการปั้นพยานเท็จขึ้นมารองรับเรื่องโกหกที่แต่งกันขึ้นมา 
เป็นไปได้ว่ากษัตริย์ภูมิพลก็มีส่วนรวมในการแสดงละครโกหก เป็นคนให้การเพื่อที่ศาลจะได้อ้างเอาไปเล่นงานจำเลยผู้บริสุทธิ์ สังเกตได้จากคำพิพากศาลฎีกาที่ว่า....นายเฉลียวเป็นคนสนิทชิดชอบของนายปรีดี เป็นคนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ..ในหลวงกับนายปรีดีมีข้อขัดแย้งกันในการจะตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นายปรีดีได้พูดกับนายวงศ์ เชาวนะกวี เมื่อก่อนสวรรคตเพียงวันเดียว ว่าจะไม่คุ้มครองราชบัลลังก์........นายเฉลียวขาดความเคารพยำเกรงต่อพระเจ้าอยู่หัว ส่งรถยนต์ประจำพระองค์ไปให้ผู้อื่นใช้ จนขัดข้องแก่การที่จะทรงใช้ นั่งรถยนต์ไขว่ห้างล่วงล้ำเข้าไปถึงหน้าพระที่นั่ง ถวายหนังสือราชการด้วยอาการขาดคารวะ จูบหญิงพนักงานในที่ทำการซึ่งอยู่ตรงหน้าพระที่นั่งพระบรมพิมานจนพระเจ้าอยู่หัวทรงเห็น เหล่านี้เป็นการเหยียดหยามพระราชประเพณีและพระองค์ท่าน ไม่เป็นที่ต้องพระราชอัธยาศัย ทรงรับสั่งแก่นายปรีดีขอเปลี่ยนราชเลขานุการ ต่อมา นายเฉลียวมีอาการกระด้างกระเดื่องต่อรัชกาลที่ 8 ไม่เกรงพระทัย นายชิตและนายบุศย์เป็นลูกน้องนายเฉลียว ส่วนเรือเอก วัชรชัยมิได้ปฏิบัติงานในหน้าที่ราชองค์รักษ์ตามสมควร ขาดราชการบ่อย ๆ ฝักใฝ่อยู่ทางทำเนียบท่าช้าง ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย ภายหลังที่ถูกปลดจากตำแหน่งราชองครักษ์แล้ว ก็ได้เป็นเลขานุการนายกรัฐมนตรี แถมศาลฎีกายังโยงเรื่องไปถึงนายฉันท์ หุ้มแพร ผู้เป็นห่วงในหลวงให้พกปืนและคอยระแวดระวัง แต่นายฉันท์ก็มาตายเสียก่อนเมื่อสวรรคตแล้วไม่ถึงเจ็ดวัน และนายชิตผู้พูดว่าในหลวงจะไม่ได้เสด็จกลับวันที่ 13 มหาดเล็กคอยเตือนเรื่องความปลอดภัย...ซึ่งล้วนมาจากการปะติดปะต่อคำให้การหรือการปรักปรำของกษัตริย์ภูมิพลทั้งสิ้น เป็นการปรักปรำให้ร้ายใส่ความโดยไม่เกี่ยวกับพยานหลักฐานแม้แต่น้อย ประกอบกับการให้การของพยานที่ไม่มีหัวนอนปลายเท้าที่คือนายตี๋ ศรีสุวรรณที่พระพินิจชนคดีจ้างมาให้การ เท็จ ว่านายตี๋แอบไปได้ยินการวางแผนได้ยินเสียงพูดกันในห้องรับแขกของพลเรือตรี กระแสว่า "ผมไม่นึกเลย เด็กตัวนิดเดียว ปัญญาจะเฉียบแหลมถึงเพียงนี้.... พี่ชายว่าจะสละราชสมบัติให้น้อง คิดจะสมัครเป็นผู้แทน เป็นนายกฯ... เขาคิดเรื่องนี้สำเร็จออกไปได้ พวกเราจะเดือดร้อน ไม่ได้ อย่าให้พ้นไปได้ รีบกำจัดเสีย....นั่นตกเป็นพนักงานพวกผมเอง..พวกผมทำสำเร็จแล้ว ขอให้เลี้ยงดูให้ถึงขนาดก็แล้วกัน ...แล้วนายตี๋ก็ให้การว่าเห็นนายปรีดีคนเดียวออกจากบ้านไป พลเรือตรี กระแสตามออกไปส่ง ส่วนพวกที่มากับนายปรีดีอีกห้าคนนั้นออกไปนั่งดื่มสุรากันใต้ต้น มะม่วง...เรื่องปัญญาอ่อนแบบนี้ แต่ศาลฎีกาก็ยังมีเจตนาที่จะเชื่อเรื่องโกหกทุกเรื่อง ทั้งๆที่ไม่เกี่ยวกับการปลงพระชนม์แม้แต่น้อย ที่ฝรั่งเรียกว่าทฤษฎีสมคบคิด หรือ เป็นการสมรู้ร่วมคิดเตรียมการกันมา... โดยมีคนเขียนบท เขียนคำให้การให้กษัตริย์ภูมิพล และเขียนบทให้พระพินิจชนคดีไปจ้างพยานเท็จและเป็นคนเดียวกันที่เขียนคำ พิพากษาให้ศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตผู้บริสุทธิ์เพื่อปิดคดีให้กษัตริย์ภูมิ พลพ้นมลทินจากการเป็นผู้ต้องสงสัย
ก็คงไม่ต่างจากการที่พรรคประชาธิปัตย์สร้างพยานเท็จเพื่อให้ศาลรัดทำมะนวยที่หาเรื่องยกเลิกการเลือกตั้ง ยุบพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับนักการเมืองที่รับรับเรื่องจากคตส.ให้จำคุก นายกทักษิณสองปีเพราะไปเซ็นรับรองให้ภรรยาไปประมูลซื้อที่ดินจากองทุนฟื้นฟู เป็นเรื่องที่ชี้ให้เห็นว่าศาลไทยที่แขวนรูปพระเจ้าอยู่หัวไว้ในห้องพิจารณา คดี ได้ยึดถือเอาพระเจ้าอยู่หัวเป็นหลัก เหนือกฎหมายและความชอบธรรมใดๆ ตั้งแต่เริ่มต้นรัชกาลที่ 9 เมื่อกว่า 60 ปีมาแล้ว
ประหารผู้บริสุทธิ์ 
เพื่อให้ท่านหลุดพ้นจากคดี 
ได้เป็นกษัตริย์ที่สง่างามสืบต่อไป
เช้ามืด ของวันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2498 นักโทษชายที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำกลางบางขวาง 3 คน ได้ถูกนำตัวไปยังหลักประหารของเรือนจำ คือ เฉลียว ปทุมรส ชิต สิงหเสนี และบุศย์ ปัทมศริน ผู้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนลอบปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 หรือเป็นเวลา 8 ปี 8 เดือน 8 วันก่อนหน้านั้น
การสวรรคต ของในหลวงอานันท์ เป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สังคมและการเมืองไทย แต่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดแต่ห้ามพูดถึงโดยเด็ดขาด 
ก่อนหน้ากรณีสวรรคตไม่กี่ปี ในช่วงที่คณะราษฎรยังเข้มแข็งสามัคคีกันดี สามารถปราบกบฏบวรเดชลงได้และศาลพิเศษ 2482 ยังได้วินิจฉัยว่ารัชกาลที่ 7 เป็นกบฏด้วยการบ่อนทำลายระบอบใหม่และช่วยเหลือกบฏบวรเดช แต่กรณีสวรรคตเกิดขึ้นในปี 2489 ในเวลาที่เริ่มเกิดการแตกหักระหว่างจอมพล ป.กับนายปรีดี และการเริ่มกลับมีบทบาทของกลุ่มนิยมกษัตริย์ที่เสียอำนาจไปเมื่อ 2475 กรณีสวรรคตจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นและสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่สร้างประเพณีห้ามพูดเรื่องของกษัตริย์
และเป็นโอกาสที่ฝ่ายนิยมกษัตริย์ได้หวนกลับมารื้อฟื้นทวงคืนอำนาจและอิทธิพลของระบอบราชาธิปไตยให้แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น
ในความเงียบงันของคดีสวรคต ผู้ที่ได้รับผลโดยตรงหนักที่สุดก็คือ ผู้บริสุทธิ์ที่ถูกประหารชีวิตไปทั้ง สามคนนั่

No comments:

Post a Comment